พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,443 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินที่ได้ไปโดยปราศจากมูลละเมิด: ลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 มีอายุความ 1 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยเบิกไปโดยจำเลยไม่มีสิทธิเบิกจากทางราชการตาม พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2527 มาตรา 7 (1) อันเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายให้จำเลยและจำเลยก็ไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าว แต่จำเลยรับไปโดยสุจริตเข้าใจว่า ตนมีสิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยรับเงินไปจากโจทก์จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกทรัพย์คืนในฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จึงอยู่ในบังคับกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ที่โจทก์ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกคืนจากจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำคู่ความไม่ถูกต้อง ทำให้ทายาทผู้มีสิทธิคัดค้านไม่ทราบเรื่อง ศาลฎีกายกคำสั่งเดิมและสั่งดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
เมื่อศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินตามคำร้องเป็นของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ แล้วตรวจพบว่า ด. ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินผู้หนึ่งถึงแก่ความตาย จึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องแถลงชื่อและที่อยู่ของทายาท ด. ซึ่งผู้ร้องได้แถลงชื่อและที่อยู่ของทายาท ด. คือ ว. บ. และผู้คัดค้าน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องขอให้แก่ ว. กับ อ. ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมเท่านั้น ทำให้ผู้คัดค้านและ บ. ไม่ทราบถึงการร้องขอของผู้ร้องอันทำให้เสียสิทธิในการที่จะคัดค้าน อีกทั้งผู้คัดค้านยังได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่า ในขณะผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องและไต่สวนคำร้องนั้น ว. และผู้คัดค้านมิได้อยู่บ้านแต่ไปรับจ้างทำงานอยู่ต่างจังหวัด หากได้ความดังกล่าวย่อมแสดงว่า การส่งสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้แก่ทายาทของ ด. กระทำโดยมิชอบทำให้ฝ่ายผู้คัดค้านไม่มีโอกาสที่จะคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้เป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นส่งคำคู่ความใหม่ให้ครบถ้วนแล้วไต่สวนและมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกฟ้องประเด็นเจตนาบริจาคที่ดินนอกประเด็นฟ้อง ชี้เป็นเรื่องนอกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้อง คำให้การและฟ้องแย้ง และคำให้การแก้ฟ้องแย้งมีเพียงว่า ที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสามครอบครองเป็นของโจทก์หรือเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยทั้งสามเท่านั้น ซึ่งหากศาลฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ก็ชอบที่จะพิพากษาขับไล่จำเลยและยกฟ้องแย้ง หากฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยทั้งสามก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์และบังคับให้ไปตามคำขอท้ายฟ้องแย้ง การที่ศาลชั้นต้นรับฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แล้วยังวินิจฉัยต่อไปว่าการที่ ถ. ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็โดยมีเจตนาให้บุตรทุกคนที่ยังไม่มีครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน บุตรซึ่งมีครอบครัวและหากมีเงินให้แยกไปปลูกบ้านอยู่ต่างหากนอกที่ดินพิพาท โดยจำต้องผูกพันตามเจตนาของ ถ. เมื่อจำเลขที่ 1 ยังไม่มีครอบครัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีเงิน โจทก์จึงจำต้องให้จำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามโดยจำเลยทั้งสามมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การและฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นพิพาท ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้บัตรเครดิต: การชำระหนี้โดยโจทก์ก่อนแล้วเรียกเก็บภายหลังเป็นงานบริการ อายุความ 2 ปี
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ จำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ประเภทบัตรเครดิตยอมผูกพันตามเงื่อนไขของผู้ถือบัตร การที่จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดล่วงหน้าจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของสถาบันการเงินอื่น โจทก์จำเป็นต้องชำระเงินแทนจำเลยไปก่อนแล้วมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยในภายหลัง จึงเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก โดยโจทก์เรียกค่าธรรมเนียมจากสมาชิก เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) มิใช่กรณีของลักษณะสัญญาพิเศษอันไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความจึงมีอายุความ 2 ปี
จำเลยใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2535 โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตภายในวันที่ 2 มกราคม 2536 แต่จำเลยไม่ชำระตามกำหนด ถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2536 เป็นต้นไป ครบกำหนดอายุความในวันที่ 3 มกราคม 2536 การที่โจทก์นำเงินจำนวน 4,326.42 บาท ของจำเลยมาชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 เป็นการนำเงินฝากจากบัญชีอื่นตามที่โจทก์และจำเลยได้เคยตกลงกันไว้มาหักชำระหนี้โดยที่จำเลยไม่ได้รู้เห็นด้วยจึงเป็นการกระทำของโจทก์เพียงฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลย อีกทั้งเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 พ้นกำหนดเวลา 2 ปี จึงขาดอายุความ
จำเลยใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2535 โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตภายในวันที่ 2 มกราคม 2536 แต่จำเลยไม่ชำระตามกำหนด ถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2536 เป็นต้นไป ครบกำหนดอายุความในวันที่ 3 มกราคม 2536 การที่โจทก์นำเงินจำนวน 4,326.42 บาท ของจำเลยมาชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 เป็นการนำเงินฝากจากบัญชีอื่นตามที่โจทก์และจำเลยได้เคยตกลงกันไว้มาหักชำระหนี้โดยที่จำเลยไม่ได้รู้เห็นด้วยจึงเป็นการกระทำของโจทก์เพียงฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลย อีกทั้งเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 พ้นกำหนดเวลา 2 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจากการไม่วางค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษา ศาลชอบที่จะไม่รับอุทธรณ์ได้
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 229 หาได้ใช้บังคับเฉพาะการอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีเท่านั้นไม่ แม้จะเป็นเพียงการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย แต่จำเลยมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยอนุญาตให้จำเลยดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไป ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว และการที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งและเสียเฉพาะค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่กฎหมายบังคับให้จำเลยต้องเสียในขณะยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ เงินดังกล่าวเป็นคนละส่วนกับเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ครบถ้วนจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที และกรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่ศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์มาก็ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2035/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจขัดคำสั่งนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้ไล่ออกได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
เมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยมีคำสั่งบริษัท ส. เรื่อง การลงบันทึกเวลาในระดับผู้บริหารที่ไปจัดการธุรกิจให้บริษัทซึ่งเป็นคำสั่งในหน้าที่เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การดื่มสุราในที่ทำงาน ไม่ถึงขั้นร้ายแรงพอที่จะเลิกจ้างได้
แม้ผู้คัดค้านซึ่งทำงานเป็นพนักงานเย็บจักรจะดื่มสุราและชักชวนผู้อื่นดื่มสุราในขณะปฏิบัติงานในสถานประกอบการของผู้ร้องอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องก็ตาม แต่ผู้คัดค้านก็สามารถปฏิบัติงานโดยเย็บเก้าอี้โซฟาได้ถูกต้องตามแบบที่กำหนด และลักษณะงานที่ผู้คัดค้านปฏิบัติโดยสภาพไม่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นได้ ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านมีอาการเมาสุราจนถึงขั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้อง และในวันเกิดเหตุเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งผู้ร้องให้พนักงานทำงานจนถึงเวลา 14 นาฬิกาเท่านั้น แล้วจัดให้มีพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่และให้พนักงานเล่นน้ำสงกรานต์ภายในบริษัทผู้ร้อง ทั้งโทษสถานหนักตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องก็มีระดับโทษตั้งแต่ตัดโบนัส งดโบนัส งดขึ้นเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออกและไล่ออก การที่ผู้ร้องขอเลิกจ้างผู้คัดค้านอันเป็นระดับโทษหนักที่สุดจึงยังไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการจากการลงทุนผิดนโยบาย และผลกระทบต่อการชำระหนี้
ลูกหนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงินการลงทุนลูกหนี้ในฐานะตัวแทนต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝืมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ และสมควรจะต้องใช้ในการนำเงินของเจ้าหนี้ไปลงทุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 807 วรรคสอง ประกอบมาตรา 659 วรรคสาม การที่ลูกหนี้นำเงินของเจ้าหนี้ไปซื้อลดตั๋วแลกเงินที่ออกโดยบริษัท ก. และเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินสั่งจ่ายให้แก่ ม. กับมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เป็นผู้อาวัล เป็นการลงทุนโดยไม่ปฏิบัติตามหนังสือยืนยันนโยบายการลงทุนที่ลูกหนี้มีถึงประธานคณะกรรมการของเจ้าหนี้ว่า จะลงทุนในตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรองจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจตามที่ตัวการได้มอบหมาย ซึ่งผลปรากฏต่อมาว่าเจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นได้ แม้เจ้าหนี้ได้ยื่นฟ้องเรียกเงินตามตั๋วแลกเงินจากผู้สั่งจ่าย ผู้อาวัล และผู้สลักหลัง กับได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้อาวัลและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้ว แต่ไม่เป็นที่แน่นอนว่าเจ้าหนี้จะได้รับเงินครบถ้วนหรือไม่ การกระทำของลูกหนี้จึงเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาลิฟต์อาคารชุดเป็นทรัพย์ส่วนกลาง เจ้าของร่วมต้องชำระตาม พ.ร.บ.อาคารชุด อายุความ 5 ปี
ลิฟท์ซึ่งติดตั้งไว้ที่อาคารชุด มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของเจ้าของร่วมจึงถือเป็นทรัพย์ส่วนกลาง การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบำรุงรักษาลิฟท์จึงต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 วรรคสอง ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเป็นรายเดือน ค่าใช้จ่ายในส่วนที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระจึงถือเป็นเงินค้างจ่าย ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) และต้องถือว่าสิทธิเรียกร้องประเภทนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลยกคำร้องงดบังคับคดี ถือเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 ที่เป็นที่สุดแล้ว ไม่อุทธรณ์ได้
คำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 ที่เป็นที่สุด มิได้หมายความเฉพาะคำสั่งที่เกิดจากการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่มีการกล่าวอ้างในคำร้องขอให้งดการบังคับคดีเท่านั้น แต่รวมถึงคำสั่งที่เกิดจากการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย โดยเห็นว่าจำเลยฟ้องโจทก์เป็นกรณีเดียวกันหาใช่ฟ้องเรื่องอื่นตามมาตรา 293 นั้น ถือได้ว่าเป็นการสั่งตามมาตรา 293 จึงเป็นที่สุด