พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,443 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8306/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาสิทธิซื้อหุ้น (Warrant) และดอกเบี้ยคืนภาษีอากร: หลักเกณฑ์การคำนวณราคาที่เป็นธรรมและขอบเขตการชำระดอกเบี้ย
โจทก์ได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ช. ซึ่งมีเงื่อนไขว่า มีราคาเสนอขายหน่วยละ 0 บาท อัตราการใช้สิทธิ 1 หน่วยมีสิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น ราคาการใช้สิทธิ 4.50 บาทต่อหน่วยย่อมเป็นประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับ นอกจากนี้ ใบสำคัญแสดงสิทธินี้ยังมีอีกสถานะหนึ่งซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่บุคคลนำมาซื้อขายกันได้โดยตรง และเมื่อเป็นหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันได้ก็ย่อมจะต้องคิดคำนวณได้เป็นเงินด้วย จึงถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39 โจทก์ได้รับจัดสรรเนื่องจากโจทก์เป็นกรรมการอิสระของบริษัท จึงถือเป็นเงินได้ตาม มาตรา 40 (2) โจทก์ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8303/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบกำกับภาษีที่ไม่ตรงตามทะเบียน ไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ไม่ถือเป็นข้อความไม่ถูกต้อง
ป.รัษฎากร มาตรา 86/4 บัญญัติว่า ใบกำกับภาษีต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ... (3) ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ โดยบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้บัญญัติไว้เป็นที่ชัดเจนว่าจะต้องให้ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตรงกับรายการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ทั้งโจทก์ขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยผู้ออกใบกำกับภาษีแก้ไขแล้ว แต่ผู้ออกใบกำกับภาษีพิพาทไม่ยินยอมแก้ไขให้ เพียงแต่รับรองว่าเป็นใบกำกับภาษีที่ออกให้แก่โจทก์จริง ดังนั้น แม้ใบกำกับภาษีพิพาทระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ไม่ตรงหรือไม่ครบถ้วนตามรายการที่จดทะเบียน แต่ก็ไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการรายอื่น จึงไม่ถือว่าใบกำกับภาษีพิพาทที่โจทก์ได้รับจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดไว้ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีพิพาทมาหักในการคำนวณภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7426-7427/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความรับผิดทางอาญาและค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การนำข้อเท็จจริงจากคดีแพ่งมาใช้ในคดีอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติว่า ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โดยไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ให้นำข้อเท็จจริงที่ได้จากคำพิพากษาของคดีในส่วนแพ่งมาฟังเป็นยุติในคดีส่วนอาญาได้ การที่ข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยจึงคงเพียงแต่นำมาฟังประกอบในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนว่าโจทก์ร่วมควรจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพียงใดเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยโดยนำข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณาคดีส่วนแพ่งมารับฟังในการวินิจฉัยคดีส่วนอาญาว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แล้วพิพากษายกคำร้องของ ว. บิดาผู้ตายที่ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6828/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประมูลอากรเก็บรังนกอีแอ่นมีผลผูกพัน แม้มีกฎหมายใหม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ตามประกาศของจังหวัด เรื่อง ประมูลเงินอากรรังนกอีแอ่น ระบุว่า ผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาตให้เป็นผู้ชนะการประมูลจะต้องมาทำสัญญาอนุญาตเก็บรังนกอีแอ่นกับโจทก์ที่ 2 เมื่อได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่ 1 กับจำเลยมีเจตนาตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือ ก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะทำสัญญาอนุญาตเก็บรังนกอีแอ่นเป็นหนังสือ โจทก์ที่ 1 อนุญาตให้จำเลยเข้าดูแลรักษาเกาะรังนกท้องที่จังหวัดตรังในช่วงปลอดสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลยได้ตามที่จำเลยขอ และจำเลยให้การยอมรับว่าการที่จำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าไปดูแลเกาะรังนกอีแอ่นในระหว่างปลอดสัญญาเป็นการเข้าไปเพื่อสำรวจเส้นทางที่ตั้งของเกาะและจุดที่ตั้งของถ้ำที่มีรังนกอีแอ่น มีกรณีเป็นที่สงสัยว่าโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 มีสัญญาอนุญาตจัดเก็บรังนกต่อกันกับจำเลยแล้วหรือไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ แต่อย่างไรก็ตาม แม้จำเลยยังไม่มีความรับผิดตามสัญญาหลักคือสัญญาอนุญาตเก็บรังนกอีแอ่น เนื่องจากสัญญาดังกล่าวยังไม่เกิดจนกว่าโจทก์ที่ 1 ให้ความเห็นชอบ และจำเลยไปทำสัญญาอนุญาตเก็บรังนกอีแอ่นเป็นหนังสือกับโจทก์ที่ 2 แต่ประกาศของจังหวัด เรื่อง ประมูลอากรรังนกอีแอ่น และเอกสารแนบท้ายมีความชัดเจนเพียงพอ เมื่อโจทก์ที่ 2 ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ประมูลสูงสุดและแจ้งให้จำเลยทราบแล้วจึงมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยโดยจำเลยต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาประกวดราคา เมื่อจำเลยไม่ยอมไปทำสัญญาอนุญาตเก็บรังนกอีแอ่น โจทก์ที่ 1 ผู้มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ.2482 และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการประมูลเงินอากรรังนกอีแอ่นย่อมเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกวดราคาย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6513/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และผลของการแก้ไขคำฟ้องโดยเปลี่ยนตัวโจทก์
ผู้ที่จะฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลนั้น ต้องมีสภาพเป็นบุคคล ดังที่ ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติไว้ว่า คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ซึ่งคำว่า บุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ มี ส. จดทะเบียนพาณิชย์เพื่อประกอบพาณิชยกิจ แต่มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์จึงมิใช่บุคคลธรรมดาและไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ไม่อาจฟ้องคดีต่อศาลได้
ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในส่วนชื่อคู่ความและรายละเอียดในคำฟ้อง เป็นเพียงการระบุถึงตัวบุคคลที่เป็นผู้กระทำการแทนห้างหุ้นส่วนสามัญ ศ. เท่านั้น มิได้มีความหมายว่า ส. เป็นผู้ฟ้องคดีเป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด ทั้งการขอแก้ไขคำฟ้องโดยการเปลี่ยนตัวบุคคลผู้เป็นโจทก์ มีผลเป็นการเพิ่มตัวบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความคนใหม่ ย่อมไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 67 และมาตรา 179 ด้วย
ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในส่วนชื่อคู่ความและรายละเอียดในคำฟ้อง เป็นเพียงการระบุถึงตัวบุคคลที่เป็นผู้กระทำการแทนห้างหุ้นส่วนสามัญ ศ. เท่านั้น มิได้มีความหมายว่า ส. เป็นผู้ฟ้องคดีเป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด ทั้งการขอแก้ไขคำฟ้องโดยการเปลี่ยนตัวบุคคลผู้เป็นโจทก์ มีผลเป็นการเพิ่มตัวบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความคนใหม่ ย่อมไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 67 และมาตรา 179 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5812/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มทุนโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเพื่อชำระหนี้ก่อนเลิกกิจการ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินและรายได้จากกิจการ
แม้โจทก์สามารถออกหุ้นเพิ่มทุนโดยมีราคาสูงกว่ามูลค่าหุ้นที่ตั้งไว้ได้และส่วนล้ำมูลค่าหุ้นต้องนำไปบวกทบเข้าในทุนสำรองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1105 และมาตรา 1202 ก็ตาม แต่การกระทำของโจทก์ที่มีการสร้างขั้นตอนที่ซับซ้อนขึ้นมาก่อนที่จะมีการทำสัญญาปลดเปลื้องและชดใช้หนี้เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อให้เงินที่โจทก์จะได้จากบริษัท อ. หลุดพ้นจากนิยามคำว่า เงินได้พึงประเมินหรือรายได้เนื่องจากการประกอบกิจการ เป็นผลให้ไม่เกิดภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินจำนวนดังกล่าว ซึ่งท้ายที่สุดแล้วเงินจำนวนดังกล่าวที่โจทก์ได้รับจากบริษัท อ. จะถูกนำไปชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ของโจทก์ก่อนที่โจทก์จะเลิกกิจการ โดยไม่มีลักษณะเป็นการออกหุ้นเพิ่มทุน เพื่อให้กิจการของบริษัทดำเนินต่อไปได้ พฤติการณ์ของโจทก์แสดงให้เห็นว่า สัญญาปลดเปลื้องและชดใช้หนี้ถูกทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่จำเลย โจทก์จึงไม่ได้ออกหุ้นเพิ่มทุนแบบมีส่วนเกินมูลค่าหุ้นตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาปลดเปลื้องหรือชดใช้หนี้ซึ่งเป็นการเพิ่มทุนเพื่อการประกอบธุรกิจตามปกติ แต่เป็นการทำสัญญาปลดเปลื้องหรือชดใช้หนี้เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของโจทก์ตามแนวทางที่ น. ที่ปรึกษากฎหมายของโจทก์วางแผนไว้ ดังนั้น เงิน 906,296,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากบริษัท อ. โดยอ้างว่าเป็นส่วนล้ำมูลค่าหุ้นจึงมีลักษณะเป็นเงินให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ที่ได้รับจากบริษัท อ. ถือเป็นเงินได้พึงประเมินและเป็นรายได้เนื่องจากกิจการที่โจทก์ต้องนำมารวมคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5808/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าสิทธิฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แม้จะอ้างเป็นค่าบริการ
ตามสัญญาให้บริการด้านการตลาดระหว่างบริษัท อ. ประเทศสวีเดนกับโจทก์มีข้อตกลงว่า บริษัท อ. จะให้บริการความช่วยเหลือด้านการตลาดแก่โจทก์ โดยจะจัดส่งสิ่งพิมพ์ เช่น แผ่นพับ แคตตาล็อกและเอกสารเกี่ยวกับการโฆษณาซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการตลาดของโจทก์ เอกสารซึ่งส่งให้แก่โจทก์ตามสัญญานี้ รวมทั้งแผ่นพับเกี่ยวกับการโฆษณา หนังสือเผยแพร่ และภาพต่าง ๆ นั้น เป็นทรัพย์สินของโจทก์ และโจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเหล่านั้นได้ เพื่อเป็นการตอบแทน โจทก์ตกลงจ่ายเงินค่าบริการเท่ากับร้อยละ 5 ของยอดขายสุทธิในแต่ละปี จากพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่า บริษัท อ. อนุญาตให้โจทก์จัดพิมพ์แผ่นพับที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำและนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ ดังนี้ ค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายไปตามสัญญานี้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการทำซ้ำและเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมและภาพพิมพ์อันมีลิขสิทธิ์ต้องด้วยลักษณะเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3)
เงินค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้บริษัท อ. เป็นการจ่ายค่าตอบแทนค่าสิทธิตามที่ระบุในข้อ 12 วรรคสาม แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70
เงินค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้บริษัท อ. เป็นการจ่ายค่าตอบแทนค่าสิทธิตามที่ระบุในข้อ 12 วรรคสาม แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5807/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าสิทธิ เงินได้พึงประเมิน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ตามสัญญาให้บริการด้านการตลาดระหว่างบริษัท อ. ประเทศสวีเดนกับโจทก์มีข้อตกลงว่า บริษัท อ. จะให้บริการความช่วยเหลือด้านการตลาดแก่โจทก์ เพื่อช่วยให้โจทก์สามารถจัดจำหน่ายเครื่องใช้ซึ่งโจทก์ซื้อมาจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและนอกประเทศไทย และดำเนินการด้านการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท อ. จะจัดส่งสิ่งพิมพ์ เช่น แผ่นพับ แคตตาล็อกและเอกสารเกี่ยวกับการโฆษณาซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการตลาดของโจทก์ เอกสารซึ่งส่งให้แก่โจทก์ตามสัญญานี้ รวมทั้งแผ่นพับเกี่ยวกับการโฆษณา หนังสือเผยแพร่ และภาพต่าง ๆ นั้น เป็นทรัพย์สินของโจทก์ และโจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเหล่านั้นได้ เพื่อเป็นการตอบแทน โจทก์ตกลงจ่ายเงินค่าบริการเท่ากับร้อยละ 5 ของยอดขายสุทธิในแต่ละปี จากพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่า บริษัท อ. อนุญาตให้โจทก์จัดพิมพ์แผ่นพับที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำและนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ ค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายไปตามสัญญาดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการทำซ้ำและเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมและภาพพิมพ์อันมีลิขสิทธิ์รวมทั้งข้อสนเทศ จึงต้องด้วยลักษณะเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3)
เงินค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้บริษัท อ. เป็นการจ่ายค่าตอบแทนค่าสิทธิตามที่ระบุในข้อ 12 วรรคสาม แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70
เงินค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้บริษัท อ. เป็นการจ่ายค่าตอบแทนค่าสิทธิตามที่ระบุในข้อ 12 วรรคสาม แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4280/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ของผู้เสียหายเฉพาะความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แม้ความผิดอื่นมีโทษหนักกว่าก็ไม่อาจอ้างสิทธิอุทธรณ์ได้
โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นผู้เสียหายเฉพาะความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เท่านั้น มิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นด้วย และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 2 เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ร่วมที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะอุทธรณ์เฉพาะในความผิดที่โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นผู้เสียหาย เมื่อความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358 มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 193 ตรี แม้ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 จะมีอัตราโทษที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 358 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมที่ 2 มิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด โจทก์ร่วมที่ 2 จึงไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์โดยอ้างว่าเมื่อโทษตามบทหนักไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ความผิดตามฐานในบทเบาย่อมอุทธรณ์ได้ด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้รับประเมินต้องยื่นคำขอยกเว้นตามกฎหมายก่อน หากไม่ทำ ไม่มีสิทธิฟ้องขอคืนภาษีย้อนหลัง
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบเนื่องจากโรงเรือนที่โจทก์ต้องเสียภาษีมีตามจำนวนที่แจ้งไว้ในปีภาษี 2545 และปีภาษี 2546 เท่านั้น ส่วนโรงเรือนอื่นในพื้นที่ของโจทก์ไม่ได้ใช้งานและไม่ได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าและประกอบการอุตสาหกรรม จึงเป็นการฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยอ้างว่าโรงเรือนอื่นของโจทก์นอกจากที่แจ้งไว้ในปีภาษี 2545 และปีภาษี 2546 ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (5) ซึ่งเป็นบทบัญญัติในภาค 1 ของ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 อันเป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้รับประเมินที่จะต้องจัดทำคำขอยกเว้นภาษียื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้สอบสวนให้แน่นอนก่อนว่าทรัพย์สินที่พิพาทควรได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งยกคำขอยกเว้นภาษี โจทก์ก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 2 พิจารณาชี้ขาดและฟ้องคดีต่อศาลตามลำดับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 34 ประกอบมาตรา 25 และมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้พิจารณายกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนพิพาท และการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ในคดีนี้ก็เป็นการโต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มิใช่การยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 2 พิจารณาคำชี้ขาดของพนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 34 ประกอบมาตรา 25 และมาตรา 26 ที่สืบเนื่องมาจากการขอยกเว้นค่าภาษีตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อโต้แย้งว่าโรงเรือนที่พิพาทได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินในปีภาษีพิพาทได้อีกตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 33 และมาตรา 34 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 246 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้