พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,443 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13936/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินที่ได้รับจากการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน ไม่ถือเป็นเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร ไม่ได้รับเครดิตภาษี
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1084 แสดงให้เห็นว่า เงินปันผลของห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องเป็นส่วนแบ่งจากกำไรที่ห้างหุ้นส่วนจ่ายตอบแทนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนตามส่วนแห่งการลงหุ้น ดังนี้ กำไรยังไม่ได้แบ่งหรือเหลือจากการแบ่งย่อมไม่อาจถือเป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรอันจะได้รับเครดิตภาษีตาม มาตรา 47 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร เนื่องจาก ป.รัษฎากร มิได้บัญญัติให้เครดิตภาษีแก่กำไรทั้งหมดของห้างหุ้นส่วน แต่ให้เครดิตภาษีแก่เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรของผู้เป็นหุ้นส่วนเพื่อเป็นการบรรเทาภาษีแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนมิให้ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนกับหุ้นส่วน และสนับสนุนการลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน เงินที่โจทก์ได้รับเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกหุ้นส่วนจำนวน 66,188.86 บาท มิได้จ่ายตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1084 กำหนดไว้ แต่เป็นการเฉลี่ยแจกกำไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ซึ่งจะเห็นได้ว่า การชำระบัญชีเมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันนี้ กฎหมายมิได้กำหนดให้จ่ายกำไรสะสมแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากออกจากทรัพย์อื่นของห้างหุ้นส่วนได้ แต่ต้องนำมารวมกันเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นไป โดยกำไรที่จะแจกกันในระหว่างการชำระบัญชีนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการชำระหนี้ ชดใช้เงิน และคืนทุนทรัพย์ตามลำดับไปแล้วยังมีทรัพย์เหลือ ดังนั้น กำไรที่แจกระหว่างการชำระบัญชีจึงมิใช่ผลกำไรที่ห้างหุ้นส่วนทำมาค้าได้อันจะนำมาแบ่งเป็นเงินปันผลได้อีกต่อไป ส่วนเงินที่โจทก์ได้รับมีส่วนที่เป็นกำไรจากการปรับปรุงบัญชีรวมอยู่ด้วย 9,470.49 บาท เมื่อเงินที่โจทก์ได้รับเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกหุ้นส่วนจำกัด เป็นกำไรที่เกิดขึ้นระหว่างการชำระบัญชี จึงไม่ใช่เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ข) แห่ง ป.รัษฎากร แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับจากการที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกัน เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์ลงทุนซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ฉ) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13935/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินปันผล vs. ส่วนแบ่งกำไรจากการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน: การพิจารณาเพื่อประโยชน์ทางภาษี
ป.รัษฎากร มิได้บัญญัติถึงความหมายของคำว่า เงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไรไว้โดยเฉพาะการพิจารณาว่าเงินได้พึงประเมินที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. เป็นเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไรหรือไม่ จึงต้องพิเคราะห์จากบทบัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 1084 ที่แสดงให้เห็นว่า เงินปันผลของห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องเป็นส่วนแบ่งกำไรที่ห้างหุ้นส่วนจ่ายตอบแทนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนตามส่วนแห่งการลงทุนขณะที่ยังประกอบกิจการปกติยังมิได้เลิกห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ข้อเท็จจริงฟังยุติว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ไม่แบ่งกำไรดังกล่าวจนกระทั่งจดทะเบียนเลิกห้าง ดังนี้ กำไรที่ยังไม่ได้แบ่งหรือเหลือจากการแบ่งย่อมไม่อาจถือเป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร อันจะได้รับเครดิตภาษี เงินที่โจทก์ได้รับเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน มิได้จ่ายตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1084 กำหนดไว้ แต่เป็นการเฉลี่ยแจกกำไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ดังนั้น กำไรที่แจกระหว่างการชำระบัญชีจึงมิใช่ผลกำไรที่ห้างหุ้นส่วนทำมาค้าได้ อันจะนำมาแบ่งเป็นเงินปันผลได้อีกต่อไป เงินที่โจทก์ได้รับเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. เป็นกำไรที่เกิดขึ้นในระหว่างการชำระบัญชี จึงมิใช่เงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ข) ป.รัษฎากร แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับจากการที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกัน เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์ลงทุน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ฉ) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตาม มาตรา 47 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13933/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์ไม่ใช่ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม เหตุเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ใช่ค่าตอบแทนจากการให้บริการ
แม้โจทก์จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่การพิจารณาว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการกิจการใดบ้างนั้น ต้องพิจารณาตามสภาพของการประกอบกิจการแต่ละประเภท สำหรับค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย เป็นเงินที่โจทก์ได้รับตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดว่าในการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีสหกรณ์ ให้จัดสรรเป็นค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยไม่เกินร้อยละห้าของกำไรสุทธิ จึงเห็นได้ว่าเงินค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยมิใช่เป็นการชำระค่าบริการในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ เงินดังกล่าวเป็นเพียงเงินที่สหกรณ์มีหน้าที่ต้องจัดสรรให้แก่โจทก์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งโจทก์ไม่อาจนำเงินดังกล่าวไปใช้เพื่อการอย่างอื่นได้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของโจทก์ตามที่ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 108 กำหนดให้ต้องกระทำการอันมิใช่เป็นการแสวงหาผลกำไรหรือรายได้ส่วนที่โจทก์มีหน้าที่ตามมาตรา 110 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 ได้แก่ ส่งเสริมและเผยแพร่กิจการสหกรณ์ และอื่น ๆ ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์เองที่ต้องกระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ กรณีจึงมิใช่เป็นการงานที่โจทก์กระทำให้เป็นการตอบแทนสำหรับการรับเงินค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยโดยตรง การที่สหกรณ์ผู้จ่ายเงินและโจทก์ผู้รับเงินแต่ละฝ่ายต่างมีหน้าที่ต่อกันโดยผลของกฎหมายเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำสัญญาให้บริการอันเป็นการหาประโยชน์อันมีมูลค่าของโจทก์ การกระทำของโจทก์ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าบริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป.รัษฎากร เงินค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยจึงไม่เป็นมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12211/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากร: สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมาย และผลของการไม่ใช้สิทธิ
จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้วไม่อุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ฉ ทั้งมิได้อุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 การประเมินจึงยุติ ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าหนังสือแจ้งการประเมินไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินตามหลักเกณฑ์แห่งกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิกล่าวอ้างว่าการประเมินที่ยังมีผลสมบูรณ์โดยไม่ถูกเพิกถอนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 42 วรรคสอง เป็นการประเมินที่ไม่ชอบเพื่อปฏิเสธความรับผิดในอันที่จะต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากร
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12210/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: การแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับเป็นขั้นตอนก่อนฟ้อง การยังไม่ได้แจ้งการประเมินถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77 และเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89/2 มาตรา 88/5 บัญญัติว่า เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ให้แจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี หากผู้เสียภาษีมิได้เสียหรือนำส่งภาษีเมื่อถึงกำหนดชำระจึงจะถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 ซึ่งจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้เสียภาษี กรณีของโจทก์ การที่สำนักงานสรรพากรภาค 7 มีหนังสือเรื่อง อนุมัติให้ลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนภาษีมิถุนายน 2548 แจ้งแก่โจทก์ว่า คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายและหนังสือเรื่อง ผลการทบทวนการพิจารณาคำร้องของดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม แจ้งแก่โจทก์ว่ากรณีของโจทก์ยังไม่มีเหตุอันควรผ่อนผันงดหรือลดเบี้ยปรับให้อีก และหนังสือสำนักงานสรรพากรพื้นที่นครสวรรค์ เรื่อง เตือนให้นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระนั้น หนังสือทั้งสามฉบับเป็นขั้นตอนก่อนมีการแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ หากโจทก์ไม่ชำระเบี้ยปรับตามหนังสือเตือนดังกล่าว เบี้ยปรับก็หาใช่ภาษีอากรค้างตาม ป.รัษฎากร ไม่ จำเลยย่อมไม่มีอำนาจเรียกเก็บจากโจทก์ได้ เพราะฉะนั้นหนังสือทั้งสามฉบับที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์ตามฟ้องจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.รัษฎากร ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11271/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันระหว่างบริษัทในเครือ ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ยืมบริษัทในเครือทั้งสองหลายฉบับในวงเงินจำนวนมาก แต่โจทก์ก็มิได้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน และการทำสัญญาค้ำประกันก็เพื่อช่วยเหลือให้บริษัทในเครือทั้งสองได้รับเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ อันเป็นการกระทำเฉพาะในระหว่างนิติบุคคลที่มีส่วนได้เสียผูกพันกันอยู่เท่านั้น แม้โจทก์ต้องใช้เงินให้แก่สถาบันการเงินตามสัญญาค้ำประกันแทนบริษัทในเครือทั้งสองเนื่องจากบริษัทในเครือทั้งสองล้มละลาย ซึ่งโจทก์สามารถหักวงเงินค้ำประกันดังกล่าวเป็นหนี้สูญนำไปเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องของภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ การค้ำประกันของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์โดยการให้บริการค้ำประกันตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (5) ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10906/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มในสัญญาจ้าง: การตีความเจตนาคู่สัญญาและหน้าที่ทางภาษีของผู้ประกอบการ
ตามสัญญาจ้างไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าภาษีมูลค่าเพิ่มรวมไว้กับราคาค่าจ้าง ทั้งจำนวนเงินค่าจ้างตามสัญญาก็ตรงกับใบเสนอราคา โดยใบเสนอราคามีข้อสังเกตระบุว่า ราคานี้ไม่รวมภาษี จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ามีข้อตกลงให้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในจำนวนเงินค่าจ้างด้วย
ในส่วนงานว่าจ้างตกแต่งเพิ่มเติมอาคารสำนักงานใหญ่ งานติดตั้งโคมไฟฟ้า และตกแต่งอาคารสำนักงานที่จังหวัดเชียงใหม่ จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งจำเลยหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ร้อยละ 3 หากมีข้อตกลงให้ภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในค่าจ้างด้วย จำเลยก็น่าจะแยกค่าภาษีมูลค่าเพิ่มออกต่างหากจากจำนวนเงินที่จะนำมาคำนวณเพื่อหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังกล่าว ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่จัดทำและออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีขาย ส่วนจำเลยก็มิได้เรียกเอาใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นหลักฐานนำไปใช้เป็นภาษีซื้อ แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 82 บัญญัติให้ผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มาตรา 82/4 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลย
ในส่วนงานว่าจ้างตกแต่งเพิ่มเติมอาคารสำนักงานใหญ่ งานติดตั้งโคมไฟฟ้า และตกแต่งอาคารสำนักงานที่จังหวัดเชียงใหม่ จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งจำเลยหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ร้อยละ 3 หากมีข้อตกลงให้ภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในค่าจ้างด้วย จำเลยก็น่าจะแยกค่าภาษีมูลค่าเพิ่มออกต่างหากจากจำนวนเงินที่จะนำมาคำนวณเพื่อหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังกล่าว ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่จัดทำและออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีขาย ส่วนจำเลยก็มิได้เรียกเอาใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นหลักฐานนำไปใช้เป็นภาษีซื้อ แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 82 บัญญัติให้ผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มาตรา 82/4 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10701/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการพนันหวยใต้ดินเป็นเงินได้พึงประเมิน แม้ผิดกฎหมาย, การแก้ไขการประเมินโดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมาย
เงินได้จากการเล่นพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) แม้เป็นเงินได้ที่มาจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ตามมาตรา 40 (1) ถึง (7) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
เงินได้จากการพนันหวยใต้ดินไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่สามารถพิสูจน์ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ จึงไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งสามได้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้เป็นเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมิน และผู้ที่ต้องเสียภาษีอากรได้อุทธรณ์การประเมินไว้ การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยไม่หักค่าใช้จ่ายตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินมิใช่เป็นกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินและผู้อุทธรณ์มิได้อุทธรณ์การประเมิน แต่เป็นกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทำการแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนของค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง แม้จะมีผลทำให้โจทก์ทั้งสามต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษีพิพาทเพิ่มขึ้นจากที่เจ้าพนักงานประเมินไว้ก็ตาม ทั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น ผู้อุทธรณ์จะต้องชำระภายในกำหนดเวลาเช่นเดียวกับวรรคก่อน ซึ่งกรณีดังกล่าวคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่จำต้องต้องยกเลิกการประเมินของจำเลยที่ 1 เพื่อให้ทำการประเมินใหม่ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เงินได้จากการพนันหวยใต้ดินไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่สามารถพิสูจน์ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ จึงไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งสามได้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้เป็นเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมิน และผู้ที่ต้องเสียภาษีอากรได้อุทธรณ์การประเมินไว้ การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยไม่หักค่าใช้จ่ายตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินมิใช่เป็นกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินและผู้อุทธรณ์มิได้อุทธรณ์การประเมิน แต่เป็นกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทำการแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนของค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง แม้จะมีผลทำให้โจทก์ทั้งสามต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษีพิพาทเพิ่มขึ้นจากที่เจ้าพนักงานประเมินไว้ก็ตาม ทั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น ผู้อุทธรณ์จะต้องชำระภายในกำหนดเวลาเช่นเดียวกับวรรคก่อน ซึ่งกรณีดังกล่าวคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่จำต้องต้องยกเลิกการประเมินของจำเลยที่ 1 เพื่อให้ทำการประเมินใหม่ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9039/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีจากการได้รับการยกเว้นเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อเกษียณอายุ แม้ลาออกก่อนกำหนดโดยความตกลง
ตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ว่า เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นกรณียกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (17) ซึ่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ข้อ 1 (1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 151) และ (ฉบับที่ 158) ตามลำดับ กำหนดว่า กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งออกจากงานเพราะครบกำหนดหรือสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ดังนี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 52) ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วดังกล่าว มิได้มีบทบังคับเด็ดขาดว่ากรณีเกษียณอายุจะต้องเป็นกำหนดเวลาทำงานที่มีอยู่แล้วตั้งแต่เวลาที่ลูกจ้างเริ่มเข้าทำงานแต่อย่างใด จึงไม่อาจขยายความให้เป็นผลร้ายแก่ผู้เสียภาษีอากรได้ แม้ตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2532 จะกำหนดเวลาการจ้างแรงงานไว้ในข้อ 26 คือ พนักงานคนใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ให้พ้นจากตำแหน่งเพราะครบเกษียณอายุเมื่อสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณของปีที่พนักงานผู้นั้นมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ก็ตาม แต่การที่โจทก์ออกจากงานก่อนกำหนดดังกล่าวตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันโดยความตกลงของทั้งสองฝ่ายที่เป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลังอันมีผลให้กำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง หาใช่เป็นการทำข้อตกลงให้โจทก์ลาออกในกรณีปกติตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย จึงถือได้ว่าโจทก์ออกจากงานเพราะสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ตามหลักเกณฑ์กรณีเกษียณอายุในข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 52) แล้ว เมื่อขณะออกจากงานโจทก์มีอายุ 58 ปี และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินได้ที่โจทก์ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคลธรรมดา
มาตรา 63 แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้ว ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไปนั้น เป็นกรณีผู้นั้นมีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีมาโดยตลอดตั้งแต่ต้น คดีนี้เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประจำปีภาษี 2547 นั้น ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 52) ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 151) ลงวันที่ 16 มกราคม 2549 และ (ฉบับที่ 158) ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2549 ตามลำดับ ทั้ง (ฉบับที่ 151) ยังระบุให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำ พ.ศ.2537 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ.2538 เป็นต้นไป อันเป็นการยกเว้นให้ย้อนหลังไปถึงเงินได้ที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไปด้วย ซึ่งอาจไร้ผลหรือก่อผลประหลาดหากจะบังคับให้เป็นไปตามมาตรา 63 ดังนั้น เมื่อเงินได้ของโจทก์ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในคดีนี้ได้รับผลย้อนหลังตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 151) จึงต้องคืนเงินภาษีอากรให้แก่โจทก์
มาตรา 63 แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้ว ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไปนั้น เป็นกรณีผู้นั้นมีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีมาโดยตลอดตั้งแต่ต้น คดีนี้เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประจำปีภาษี 2547 นั้น ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 52) ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 151) ลงวันที่ 16 มกราคม 2549 และ (ฉบับที่ 158) ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2549 ตามลำดับ ทั้ง (ฉบับที่ 151) ยังระบุให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำ พ.ศ.2537 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ.2538 เป็นต้นไป อันเป็นการยกเว้นให้ย้อนหลังไปถึงเงินได้ที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไปด้วย ซึ่งอาจไร้ผลหรือก่อผลประหลาดหากจะบังคับให้เป็นไปตามมาตรา 63 ดังนั้น เมื่อเงินได้ของโจทก์ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในคดีนี้ได้รับผลย้อนหลังตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 151) จึงต้องคืนเงินภาษีอากรให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9038/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีออกจากงานก่อนเกษียณ โดยความตกลงของทั้งสองฝ่าย
แม้ตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2532 กำหนดเวลาจ้างแรงงานไว้ในข้อ 26 ว่า พนักงานคนใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ให้พ้นจากตำแหน่งเพราะครบเกษียณอายุเมื่อสิ้นปีงบประมาณก็ตาม แต่ก็ยังสามารถตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ้าง การทำงานและการเลิกจ้างได้ การที่โจทก์ออกจากงานก่อนกำหนดดังกล่าวตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ พ 27/2550 เรื่องการออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน พ.ศ.2550 นั้น เป็นการเลิกสัญญาจ้างกันโดยความตกลงกันของทั้งสองฝ่ายที่เป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง หาใช่เป็นการทำข้อตกลงให้โจทก์ลาออกในกรณีปกติตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2532 ข้อ 19 (2) ไม่ จึงถือว่าโจทก์ออกจากงานเพราะสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ตามหลักเกณฑ์กรณีเกษียณอายุในข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151 และ 158) แล้ว เมื่อขณะออกจากงานโจทก์มีอายุ 58 ปี และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151 และ 158)
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 4 ทศ โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน และมีสิทธิเริ่มคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จึงให้เท่าที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 4 ทศ โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน และมีสิทธิเริ่มคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จึงให้เท่าที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง