พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่สมบูรณ์-ศาลแพ่งเกินอำนาจ: การพิจารณาคดีอาญา-แพ่งที่เกี่ยวข้องกัน
เมื่อพิจารณาองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์แล้ว ลำพังเพียงการที่จำเลยแจ้งโจทก์ว่าไม่มีรางวัลของจำเลยตามใบรับรองการถูกรางวัลและไม่มีหลักฐานการดำเนินการทางกฎหมายของจำเลยแก่บริษัทต่างประเทศชื่อ E ทำให้โจทก์ไม่ได้รับเงินรางวัล ก็ยังไม่อาจสรุปข้อเท็จจริงจากคำบรรยายฟ้องได้ว่า จำเลยมีพฤติการณ์ใด ๆ อันแสดงถึงการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยจำเลยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการออกใบรับรองการถูกรางวัลที่บริษัท E ส่งมาให้แก่โจทก์อย่างไร และการกระทำของจำเลยประการใดที่ทำให้จำเลยได้รับทรัพย์สินไปจากโจทก์ หรือทำให้โจทก์ต้องทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธินั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในกรณีศาลที่พิจารณาคดีอาญาไม่รับฟ้องคดีส่วนอาญาไว้พิจารณาหรือพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา การพิจารณาว่าศาลนั้นมีอำนาจรับฟ้องคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยเขตอำนาจศาล ตามมาตรา 2 (1) ว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา และโจทก์ขอให้บังคับจำเลยชดใช้เงินรางวัล 18,117,213.87 บาท พร้อมดอกเบี้ย 90,586.06 บาท ซึ่งเกินกว่าอำนาจที่ผู้พิพากษาคนเดียวจะพิจารณาพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวพิพากษายกฟ้องในคดีส่วนแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์เกิน 300,000 บาท เท่ากับเป็นการใช้อำนาจวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีในทางเนื้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) และทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในส่วนนี้ไม่ชอบไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 และ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในกรณีศาลที่พิจารณาคดีอาญาไม่รับฟ้องคดีส่วนอาญาไว้พิจารณาหรือพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา การพิจารณาว่าศาลนั้นมีอำนาจรับฟ้องคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยเขตอำนาจศาล ตามมาตรา 2 (1) ว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา และโจทก์ขอให้บังคับจำเลยชดใช้เงินรางวัล 18,117,213.87 บาท พร้อมดอกเบี้ย 90,586.06 บาท ซึ่งเกินกว่าอำนาจที่ผู้พิพากษาคนเดียวจะพิจารณาพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวพิพากษายกฟ้องในคดีส่วนแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์เกิน 300,000 บาท เท่ากับเป็นการใช้อำนาจวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีในทางเนื้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) และทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในส่วนนี้ไม่ชอบไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 และ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินสมทบและค่าจ้างค้างชำระของลูกจ้าง แม้มีการทุจริต แต่จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงเงินดังกล่าว
กฎและข้อบังคับของจำเลยข้อ 9 ที่กำหนดว่าคณะผู้บริหารมีอำนาจที่จะตัดสินเกี่ยวกับข้อพิพาทหรือปัญหาซึ่งอาจเกิดจากโครงสร้างหรือผลของข้อบังคับนี้หรือในข้อที่เกี่ยวกับการบริหารบัญชีนี้หมายความว่า อำนาจตัดสินของคณะผู้บริหารตามกฎและข้อบังคับดังกล่าวต้องเป็นเรื่องอันเกิดจากโครงสร้าง ผลของข้อบังคับและการบริหารบัญชีเท่านั้น หามีอำนาจที่จะตัดสินให้งดจ่ายเงินสมทบแก่สมาชิกในกรณีสมาชิกทุจริตต่อหน้าที่เบียดบังยักยอกเงินของจำเลยไม่
บทบัญญัติเรื่องบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชำระหนี้ไม่
สิทธิของจำเลยที่จะเรียกเงินที่โจทก์เบียดบังยักยอกไปคืนมิได้เกี่ยวกับเงินค่าจ้างค้างชำระ เงินสะสมและเงินสมทบที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์แต่อย่างใดจำเลยจึงหามีสิทธิยึดหน่วงไม่
การที่กฎและข้อบังคับของจำเลย ข้อ 27 กำหนดว่าบริษัทย่อมทรงไว้ซึ่งบุริมสิทธิลำดับแรกและทั้งสิ้นในเงินจำนวนที่เป็นเครดิตของสมาชิกแต่ละคนในบัญชีนี้เพื่อนำมาชดใช้แก่บรรดาการสูญเสีย ราคา ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่บริษัทอาจได้รับไม่ว่าในเวลาใดเนื่องจากความผิดของสมาชิกนั้นหรือสำหรับหนี้สินใดๆ ที่สมาชิกนั้นต้องชำระให้แก่บริษัทนั้น หมายความว่าจำเลยมีสิทธิที่จะหักเงินสะสมและเงินสมทบในบัญชีของโจทก์ไว้ชำระหนี้แก่จำเลยได้หากหนี้นั้นมีจำนวนแน่นอนและไม่เกินกว่าจำนวนหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลย
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำนวนเงินที่โจทก์ยักยอกไปมีจำนวนแน่นอนนั้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
บทบัญญัติเรื่องบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชำระหนี้ไม่
สิทธิของจำเลยที่จะเรียกเงินที่โจทก์เบียดบังยักยอกไปคืนมิได้เกี่ยวกับเงินค่าจ้างค้างชำระ เงินสะสมและเงินสมทบที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์แต่อย่างใดจำเลยจึงหามีสิทธิยึดหน่วงไม่
การที่กฎและข้อบังคับของจำเลย ข้อ 27 กำหนดว่าบริษัทย่อมทรงไว้ซึ่งบุริมสิทธิลำดับแรกและทั้งสิ้นในเงินจำนวนที่เป็นเครดิตของสมาชิกแต่ละคนในบัญชีนี้เพื่อนำมาชดใช้แก่บรรดาการสูญเสีย ราคา ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่บริษัทอาจได้รับไม่ว่าในเวลาใดเนื่องจากความผิดของสมาชิกนั้นหรือสำหรับหนี้สินใดๆ ที่สมาชิกนั้นต้องชำระให้แก่บริษัทนั้น หมายความว่าจำเลยมีสิทธิที่จะหักเงินสะสมและเงินสมทบในบัญชีของโจทก์ไว้ชำระหนี้แก่จำเลยได้หากหนี้นั้นมีจำนวนแน่นอนและไม่เกินกว่าจำนวนหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลย
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำนวนเงินที่โจทก์ยักยอกไปมีจำนวนแน่นอนนั้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522