คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม. 25 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งเกิน 300,000 บาท แม้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 362 และมีคำขอในส่วนแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทเกินกว่า 300,000 บาท ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงเป็นการไม่ชอบและไม่ก่อสิทธิให้จำเลยอุทธรณ์ฎีกาได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพิจารณาฟ้องแย้ง: ทุนทรัพย์เกิน 300,000 บาท ไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวง แม้เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
แม้ฟ้องแย้งของจำเลยจะเกี่ยวกับฟ้องเดิม ซึ่งทำให้สามารถยื่นเข้ามาในคำให้การได้ แต่ฟ้องแย้งมีลักษณะเป็นคำฟ้อง การเสนอคำฟ้องแย้ง จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 2 (1) เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมีทุนทรัพย์เกินกว่า 300,000 บาท จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับคดีไว้พิจารณาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) การจะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 192 วรรคสี่ มาใช้บังคับแก่คดีได้นั้น จะต้องเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีขับไล่ที่ดินงอกริมตลิ่งเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ หากจำเลยไม่ได้อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์และออกไปจากที่ดินซึ่งเป็นที่งอกริมตลิ่งของโจทก์ จำเลยให้การเพียงว่าที่งอกริมตลิ่งตามฟ้องเป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จึงเท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ กรณีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ โดยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ศาลแขวงจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555-1558/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวง: พิจารณาทุนทรัพย์รายสำนวน แม้รวมสำนวนแล้วเกิน 300,000 บาท
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ในวาระต่างๆ แยกเป็นรายสำนวนไป การพิจารณาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษานั้น ต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นรายสำนวน แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสี่สำนวนเข้าด้วยกัน จนเป็นเหตุให้ทุนทรัพย์ที่รวมเข้าด้วยกันเกิน 300,000 บาท ก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าคดียังอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7668/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีราคาไม่เกิน 300,000 บาท อยู่ในอำนาจศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินเป็นของโจทก์ โจทก์เพียงแต่ให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานอาศัยวางลำเหมืองและท่อส่งน้ำ จำเลยให้การว่า โจทก์ยกที่ดินส่วนที่ใช้วางลำเหมืองและท่อส่งน้ำให้เป็นสาธารณประโยชน์แล้ว จึงเป็นกรณีโต้แย้งกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือตกเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทมีราคาไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5675/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์: คำขอให้บังคับทำและการชดใช้ค่าเสียหายในอนาคต ไม่ทำให้คดีมีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กกั้นที่ดิน และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันปรับถมที่ดินของโจทก์ เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองกระทำการ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ราคาที่ดินของโจทก์ที่พังทลายเป็นเงิน 150,000 บาทด้วย ก็เป็นคำขอบังคับเมื่อไม่อาจบังคับตามคำขอข้อแรกและข้อที่สองได้ ซึ่งถือว่าเป็นคำขอรอง ส่วนที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหายเป็นเงินเดือนละ 4,000 บาท ก็เป็นการขอให้ชำระค่าเสียหายนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป อันเป็นค่าเสียหายในอนาคต ไม่อาจนำมาคิดคำนวณเป็นทุนทรัพย์ได้ จึงไม่ทำให้คดีของโจทก์กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ คดีของโจทก์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้ฟ้องขอเพิกถอนการคัดค้าน แต่มีประเด็นทุนทรัพย์ชัดเจน ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านการนำชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์ อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนราชการที่จำเลยที่ 1 สังกัดอยู่เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นของโจทก์ จึงเห็นได้ว่า ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยทั้งสองมีจุดประสงค์โต้เถียงแย่งความเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นประเด็นหลัก ดังนั้น ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านการนำชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์นั้น จึงเป็นผลอันสืบเนื่องมาจากประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ คือตามราคาที่ดินที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคแรก นั้นเอง คดีเรื่องนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทราคา 100,000 บาทเศษ ตามที่คู่ความตีราคาและตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอผักไห่ (เสนาใหญ่) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ย่อมเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลชั้นต้นชอบที่จะโอนคดีเรื่องนี้ไปให้ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณทุนทรัพย์คดีซื้อขายที่ดิน: ใช้ราคาตกลง ไม่ใช่ราคาประเมิน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและจดทะเบียนโอนที่ดินคืนแก่โจทก์ จำเลยให้การว่านิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์
การคำนวณทุนทรัพย์ของคดีเพื่อเสียค่าขึ้นศาลนั้น จะต้องคำนวณตามราคาที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นราคาที่ตกลงจะขายให้แก่จำเลย หาใช่คำนวณจากราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินไม่ เพราะการประเมินราคาของเจ้าพนักงานที่ดินเป็นเพียงเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมิใช่ราคาที่ดินที่แท้จริง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากคำฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ตกลงขายที่ดินแก่จำเลย 10 ไร่ ไร่ละ 50,000 บาท ขอให้ศาลเพิกถอนและโอนที่ดินกลับเป็นของโจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันจึงมีจำนวน 500,000 บาท คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงนครราชสีมาที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนคดีจากศาลจังหวัดไปศาลแขวงหลังมีผู้ร้องสอด และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีอสังหาริมทรัพย์
แม้โจทก์จะเริ่มคดีโดยยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทอย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ และจำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องสอด ซึ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดมอบหมายให้จำเลยทั้งสองดูแลและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตลอดมา ผู้ร้องสอดมีความจำเป็นที่จะต้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อยังให้ได้รับการรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ซึ่งศาลจังหวัดลพบุรีมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คำร้องสอดของผู้ร้องสอดดังกล่าวซึ่งถือเสมือนเป็นคำให้การและฟ้องแย้งโจทก์อยู่ในตัว จึงมีผลเปลี่ยนคดีจากคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีที่มีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 225,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงลพบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดลพบุรีจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงลพบุรีที่มีเขตอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่
เมื่อผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 58 จึงถือได้ว่าผู้ร้องสอดได้ถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยทั้งสองด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ ดังนั้น หากศาลแขวงลพบุรีพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลแขวงลพบุรีย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดและจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบริวารของผู้ร้องสอดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการโอนคดี: การแบ่งแยกคดีที่มีทุนทรัพย์ต่างกันและการครอบครองที่ดินแยกส่วน
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท นาย ล. ได้ขอออกโฉนดที่ดินดังกล่าวโดยไม่ชอบ และมีคำขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 13401 ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ที่มีชื่อ นาย ล. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าว โดยเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณราคาเป็นเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 2 มีราคาไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) แม้โจทก์ทั้งสองจะยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นรวมเป็นคดีเดียวกัน แต่ได้ความตามแผนที่พิพาทเอกสารท้ายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทแยกกันเป็นส่วนสัด การครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย โจทก์ทั้งสองจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงชอบที่โจทก์ทั้งสองจะยื่นฟ้องจำเลยมาคนละสำนวน การที่โจทก์ทั้งสองรวมฟ้องมาในสำนวนเดียวกันและศาลชั้นต้นรับฟ้องของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณา ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์แต่ละคนมีมากกว่าที่จะยื่นฟ้องแยกกันมาเป็นแต่ละสำนวน
เมื่อคดีในสำนวนของโจทก์ที่ 2 มีทุนทรัพย์ 140,000 บาท อยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ไปยังศาลแขวงสุรินทร์ ทั้งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย หาได้บังคับให้ศาลชั้นต้นต้องโอนคดีไปทั้งคดีดังที่ศาลแขวงสุรินทร์วินิจฉัยไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โอนคดีเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 2 ไปยังศาลแขวงสุรินทร์ และศาลแขวงสุรินทร์มีคำสั่งให้รับโอนคดีดังกล่าวไว้พิจารณาจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมแล้ว การที่ศาลแขวงสุรินทร์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับโอนคดี แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับโอนคดีและให้ส่งสำนวนคืนศาลจังหวัดสุรินทร์เพื่อพิจารณาพิพากษาจึงไม่ชอบ
of 4