คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม. 25 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: โอนคดีจากศาลจังหวัดไปศาลแขวงเมื่อมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้นจะต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาได้ ซึ่งคดีเรื่องนี้แม้ศาลจังหวัดพิษณุโลกได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จนเสร็จและอยู่ระหว่างนัดสืบพยานจำเลยดังที่โจทก์อุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงพิษณุโลกตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพิษณุโลกเสียแล้ว ศาลจังหวัดพิษณุโลกย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดพิษณุโลกที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ด้วย ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดพิษณุโลกมีคำสั่งให้โอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงพิษณุโลกซึ่งเป็นศาลที่เขตอำนาจพิพากษาคดีได้นั้นเป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวง: คดีครอบครองที่ดินมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ศาลโอนคดีได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทจำเลยที่ 1 ออกเอกสารสิทธิสำหรับที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ครอบทับที่พิพาทที่โจทก์ครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่พิพาทเพื่อเพิกถอนหรือแก้ไขให้เป็นชื่อโจทก์ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องและมีคำขอบังคับให้สิทธิครอบครองในที่พิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทมีราคาไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7368/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการโอนคดี: คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสนบาท ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
แม้คำฟ้องของโจทก์จะอ้างว่าจำเลยได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏตามคำฟ้องว่า จำเลยยังโต้แย้งอยู่ว่าไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท และให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ขายให้โจทก์มาเป็นของโจทก์ ซึ่งหากโจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ การที่ศาลจังหวัดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องและจำหน่ายคดีของโจทก์เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนลักษณะคดีจากไม่มีข้อพิพาทเป็นมีข้อพิพาท ส่งผลต่ออำนาจศาลในการพิจารณาคดี
แม้คดีนี้ผู้ร้องเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท แต่เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำค้านว่าที่พิพาทเป็นของผู้คัดค้าน ผู้ร้องครอบครองที่พิพาทในฐานะผู้อาศัยไม่ใช่เจ้าของ และไม่เคยเปลี่ยนเจตนาซึ่งเป็นการโต้เถียงว่าผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครอง กรณีจึงเป็นคดีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามคำร้องขอของผู้ร้องและเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์ที่พิพาท เมื่อที่พิพาทมีราคาไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามมาตรา 18

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8151/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีพิพาทที่ดินมีทุนทรัพย์ แม้ฟ้องขอให้ถอนคำคัดค้าน ศาลต้องพิจารณาตามราคาที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยถอนคำคัดค้าน ที่ได้คัดค้านการนำชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์ อันเป็นคดีที่มี คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่า โจทก์ได้นำชี้แนวเขตที่ดินรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลย จึงเห็นได้ว่าทั้งคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยมีจุดประสงค์โต้เถียงแย่งความเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นประเด็นหลัก คำฟ้องของโจทก์ ที่ขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านการนำชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์ เป็นผลอันสืบเนื่องมาจากว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ คือ ตามราคาที่ดินพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคแรก ซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา ที่ศาลแขวงอ้างว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเปลี่ยนจากไม่มีทุนทรัพย์เป็นมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นโอนคดีให้ศาลแขวงได้ ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้ศาลแขวงสงขลาไม่รับโอนคดีและส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นรับสำนวนคืนมาแล้ว ได้นัดพร้อมคู่ความและแจ้งคำสั่งของศาลแขวงสงขลาให้คู่ความทราบเพื่อให้คู่ความดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นกับศาลแขวงสงขลาต่างไม่รับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ แม้เนื้อหาอุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสงขลาที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลชั้นต้นรับสำนวนคืนจากศาลแขวงสงขลาไว้แล้ว ทั้งคดีจะต้องมีปัญหาวินิจฉัยว่า ระหว่างศาลชั้นต้นกับศาลแขวงสงขลาศาลใดจะต้องพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไปโจทก์ชอบที่จะมีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์รับแจ้งคำสั่งจากศาลชั้นต้นดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545 อันเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 อุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทอันเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลย คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ มิใช่คดีที่คำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสงขลาที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากปลดเปลื้องทุกข์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ กรณีโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่คำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ มิใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อทุนทรัพย์คดีนี้ไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงในคดีบังคับโอนสิทธิสัญญาเช่าซื้อ: คดีมีทุนทรัพย์เมื่อมีราคาทุนทรัพย์ที่ขอชำระ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ทรงสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่ดินและอาคารจากการเคหะฯ และจำเลยทำสัญญาจะขายสิทธิดังกล่าวให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ได้ชำระเงินค่าซื้อสิทธิแก่จำเลยและผ่อนชำระค่าเช่าซื้อต่อการเคหะฯ ครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยไม่โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างจำเลยกับการเคหะฯ ให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากไม่สามารถโอนได้ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 157,080 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับเอาแก่ที่ดินและอาคารซึ่งโจทก์อ้างว่าได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เพราะว่าหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารดังกล่าว ส่วนการบังคับจำเลยให้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเป็นเพียงผลจากการที่ศาลได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้วเท่านั้น จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินและอาคารดังกล่าวมีราคาทุนทรัพย์ตามที่โจทก์ขอให้จำเลยชำระในกรณีไม่สามารถโอนได้เป็นเงิน 157,080 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาและผลของกฎหมายที่ใช้บังคับตามลำดับเวลาในคดีแพ่ง
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2543 ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้าย พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 ซึ่งเป็นพระธรรมนูญศาลยุติธรรมที่ใช้บังคับในขณะนั้น มาตรา 22 กำหนดให้ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวกันมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้นดังต่อไปนี้... (6) พิจารณาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องเกิน 40,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท... และวรรคท้าย กำหนดให้ ในคดีที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีแต่เพียงอำนาจพิจารณา ไม่มีอำนาจพิพากษา ตาม ...(6) เมื่อจะพิพากษาคดีจะต้องมีผู้พิพากษาอีกอย่างน้อยคนหนึ่งตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อในคำพิพากษา เป็นองค์คณะด้วย คดีนี้มีจำนวนเงินที่ฟ้อง 98,825 บาท ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องผู้พิพากษาคนเดียวจึงมีเพียงอำนาจพิจารณา แต่ไม่มีอำนาจพิพากษา แม้ต่อมาได้มี พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2543 ยกเลิก พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 และพระธรรมนูญศาลยุติธรรมซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว และให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้าย พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 เป็นพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตาม พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 25(4) กำหนดให้ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท ก็ตาม แต่พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าจะถึงที่สุด คดีนี้จึงต้องบังคับตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเดิมจนกว่าคดีจะถึงที่สุด คือ จะต้องให้ผู้พิพากษาอีกอย่างน้อยคนหนึ่งตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเป็นองค์คณะด้วย การที่คดีนี้ในศาลชั้นต้นมีผู้พิพากษาเพียงคนเดียวลงลายมือชื่อในคำพิพากษา จึงเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (เดิม) มาตรา 22 (6) และวรรคท้าย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่ให้มีผู้พิพากษาใหม่ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2546 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: แม้รับฟ้องแล้ว หากศาลไม่มีเขตอำนาจ คดีต้องโอนไปยังศาลที่มีอำนาจพิจารณา
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้น มิได้พิจารณาว่าคดีนั้นผู้พิพากษาคนเดียวหรือสองคนเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้หรือไม่ แต่ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ คดีเรื่องนี้แม้ศาลจังหวัดราชบุรีได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงราชบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดราชบุรีเสียแล้ว ศาลจังหวัดราชบุรีก็ย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดราชบุรีที่จะใช้ดุลพินิจรับไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ด้วย ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งให้โอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้นั้น เป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้ายแล้ว
of 4