พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5818/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ: จำเลยไม่โต้แย้งในชั้นพิจารณาณา ถือยอมรับอำนาจศาลชั้นต้น
แม้ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ ถือเป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาเพียงผู้เดียวจะเป็นผู้วินิจฉัยและศาลที่รับคดีไว้ต้องเสนอปัญหาให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 แต่คดีนี้หลังจากจำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้ว่า คดีอยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศแล้วเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีนี้ชัดแจ้งอยู่แล้วว่าอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นไม่ใช่กรณีที่มีปัญหาว่าอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ และได้งดชี้สองสถานและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยทั้งสองก็มิได้ยกเรื่องนี้ขึ้นโต้แย้งและมิได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวเพื่อเสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยอีกแต่อย่างใดแสดงว่าจำเลยทั้งสองยอมรับอำนาจศาลชั้นต้นและคดีไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลที่ต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยอีกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5818/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: จำเลยไม่โต้แย้งหลังศาลชั้นต้นเห็นต่างเรื่องอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ย่อมถือว่ายอมรับอำนาจศาลชั้นต้น
หลังจากจำเลยให้การว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศแล้ว ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีชัดแจ้งอยู่แล้วว่าอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้น ไม่ใช่กรณีที่มีปัญหาว่าอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ และได้งดชี้สองสถานและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยทั้งสองมิได้ยกเรื่องนี้ขึ้นโต้แย้งและมิได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวเพื่อเสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย แสดงว่าจำเลยทั้งสองยอมรับอำนาจศาลชั้นต้นและคดีไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลที่ต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยอีกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5703/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้อง และการหักกลบลบหนี้จากเช็คพิพาท ศาลฎีกาวินิจฉัยการยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความไม่ชัดเจน และคำนวณหนี้คงเหลือ
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับบริษัท ส. ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาบริษัท ส. โจทก์และจำเลยได้ทำบันทึกการโอนสิทธิเรียกร้อง โดยบริษัท ส. โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์ และจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ก. สาขาประตูน้ำปทุมวัน ทั้ง 12 ฉบับ เมื่อเช็คถึงกำหนดและโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินแล้วธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คและใบคืนเช็ค การที่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความเป็นประเด็นโดยจำเลยให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าสองปี ไม่มีรายละเอียดว่าคดีเริ่มนับอายุความเมื่อใด ขาดอายุความเมื่อใด เหตุใดจึงขาดอายุความ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5588/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดต่อเนื่องในคดีบุกรุกป่าชายเลน การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายภายใน 1 ปีนับจากวันตรวจพบ
ตามคำฟ้องนอกจากโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจงใจบุกรุก แผ้วถางและขุดบ่อเลี้ยงปลาในที่ดินของโจทก์แล้ว โจทก์ยังบรรยายฟ้องอีกว่า หรือมิฉะนั้นจำเลยทั้งสองกระทำไปด้วยความประมาทเลินเล่อ ไม่ตรวจสอบที่ดินที่จำเลยทั้งสองบุกรุกว่าเป็นที่ดินของจำเลยทั้งสองหรือไม่ ซึ่งการกระทำด้วยความประมาทจะเป็นความผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้การกระทำโดยประมาทเช่นนั้นเป็นความผิด แต่การกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์บรรยายฟ้องในคดีนี้ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ หรือ ป.ที่ดินหรือกฎหมายอื่นใดที่มีโทษทางอาญา ฟ้องโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์เท่านั้น ไม่ได้ยืนยันว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดอาญาจึงไม่อาจใช้อายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาบังคับได้ แต่ต้องใช้อายุความละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงต้องใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่จำเลยทั้งสองเข้าไปแผ้วถาง ก่นสร้าง แล้วเข้าครอบครองทำประโยชน์ในป่าชายเลนโดยไม่มีสิทธิเรื่อยมาเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่โจทก์ตรวจพบเรื่อยมา จึงมีลักษณะเป็นการกระทำต่อเนื่องดังที่โจทก์ได้นำสืบให้เห็นประจักษ์แล้ว ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตลอดเวลาจนกว่าจำเลยทั้งสองจะหยุดการทำละเมิด เมื่อก่อนฟ้อง 1 ปี จำเลยทั้งสองยังไม่หยุดการทำละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหาย 1 ปี ย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่โจทก์ฟ้องคดีจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2542 ได้ ค่าเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยทั้งสองย้อนหลังไป 1 ปี ตั้งแต่วันฟ้อง จึงไม่ขาดอายุความ สำหรับค่าเสียหายในส่วนที่เกิน 1 ปี แล้วเท่านั้นที่ขาดอายุความ
การที่จำเลยทั้งสองเข้าไปแผ้วถาง ก่นสร้าง แล้วเข้าครอบครองทำประโยชน์ในป่าชายเลนโดยไม่มีสิทธิเรื่อยมาเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่โจทก์ตรวจพบเรื่อยมา จึงมีลักษณะเป็นการกระทำต่อเนื่องดังที่โจทก์ได้นำสืบให้เห็นประจักษ์แล้ว ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตลอดเวลาจนกว่าจำเลยทั้งสองจะหยุดการทำละเมิด เมื่อก่อนฟ้อง 1 ปี จำเลยทั้งสองยังไม่หยุดการทำละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหาย 1 ปี ย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่โจทก์ฟ้องคดีจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2542 ได้ ค่าเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยทั้งสองย้อนหลังไป 1 ปี ตั้งแต่วันฟ้อง จึงไม่ขาดอายุความ สำหรับค่าเสียหายในส่วนที่เกิน 1 ปี แล้วเท่านั้นที่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่มีอำนาจต่อสู้คดีหรือกระทำการเกี่ยวกับทรัพย์สิน การร้องขอถอนบังคับคดีเป็นอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้หามีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดีตามมาตรา 22 และ 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ การร้องขอให้ถอนการบังคับคดีเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ถอนการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5338/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีจากการขายทอดตลาด: เจ้าของทรัพย์มีหน้าที่เสียภาษี แม้เงินจากการขายจะนำไปชำระหนี้
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) และผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาเต็มจำนวนตามราคาขายทอดตลาดโดยยังมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย เท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ได้มอบเงินส่วนที่เป็นภาษีเงินได้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปด้วย ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิขอรับเงินส่วนที่เป็นภาษีเงินได้คืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อนำส่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต่อไป
ทรัพย์ที่ขายทอดตลาดมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีเงินได้จากการขายทรัพย์ดังกล่าว แม้เงินดังกล่าวจะต้องถูกนำไปชำระหนี้ก็เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้อันเป็นประโยชน์แก่จำเลย จึงถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีโดยการให้ผู้ซื้อทรัพย์หัก ณ ที่จ่ายและนำส่งต่อไป
การคืนเงินค่าภาษีมีคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 169/2546 กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์มีสิทธิขอรับคืนภาษีเงินได้ซึ่งต้องจ่ายไปในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยจะต้องไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ไปดำเนินการ ซึ่งในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีได้โฆษณาคำสั่งดังกล่าวข้างต้นลงในประกาศขายทอดตลาดด้วย จึงถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาด
ทรัพย์ที่ขายทอดตลาดมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีเงินได้จากการขายทรัพย์ดังกล่าว แม้เงินดังกล่าวจะต้องถูกนำไปชำระหนี้ก็เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้อันเป็นประโยชน์แก่จำเลย จึงถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีโดยการให้ผู้ซื้อทรัพย์หัก ณ ที่จ่ายและนำส่งต่อไป
การคืนเงินค่าภาษีมีคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 169/2546 กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์มีสิทธิขอรับคืนภาษีเงินได้ซึ่งต้องจ่ายไปในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยจะต้องไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ไปดำเนินการ ซึ่งในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีได้โฆษณาคำสั่งดังกล่าวข้างต้นลงในประกาศขายทอดตลาดด้วย จึงถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5338/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีจากการขายทอดตลาด: ผู้ซื้อมีสิทธิขอคืนภาษีที่ชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อทรัพย์ที่ขายทอดตลาดมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีเงินได้จากการขายทรัพย์ แม้เงินดังกล่าวจะต้องถูกนำไปชำระหนี้ก็เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้อันเป็นประโยชน์แก่จำเลย จึงถึอได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีโดยการให้ผู้ซื้อทรัพย์หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากเงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) ผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินย่อมมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 52 วรรคสอง การที่ผู้ซื้อทรัพย์ชำระราคาเต็มจำนวนตามราคาขายทอดตลาดโดยยังมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ก็เท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ได้มอบเงินส่วนที่เป็นภาษีเงินได้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปด้วย ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิขอรับเงินส่วนที่เป็นภาษีเงินได้คืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 169/2546 เพื่อนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นแชร์ผิดกฎหมาย, ความรับผิดของสมาชิก, สิทธิเรียกร้องของผู้เล่นแชร์, การประมูลและการรับผิด
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ฯ มาตรา 6 (3) ประกอบกฎกระทรวง (พ.ศ.2534) ที่ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าสามแสนบาท เป็นการห้ามนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันหาได้มีบทบัญญัติห้ามเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่ ทั้งมาตรา 7 ยังระบุว่าบทบัญญัติมาตรา 6 ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์อีกด้วย การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งอันเกิดจากการตกลงระหว่างสมาชิกผู้เล่นซึ่งมีผลผูกพันและบังคับกันได้ตามกฎหมาย
เมื่อ ด. นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย มีผู้ที่ยังไม่ได้ประมูลแชร์ 3 ราย คือ โจทก์ ท. และ ส. ดังนั้นบุคคลทั้งสามเท่าที่ได้รับผลกระทบจากการที่ไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์และผู้ที่จะเสนอคำประมูลแชร์ได้ก็มีเพียงสามคนนี้เท่านั้น ผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์ การที่โจทก์ ท. และ ส. ตกลงกันใช้วิธีจับสลากอันดับก่อนหลังแทนการให้ดอกเบี้ย นับเป็นวิธีการที่ทำให้การเล่นแชร์วงนี้สามารถดำเนินต่อไปได้จนจบโดยผู้เล่นแชร์ได้รับเงินจนครบทุกคน และผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบแต่อย่างใดดังนั้น ความรับผิดของผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ จึงยังคงต้องมีอยู่อีกต่อไป
เมื่อ ด. นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย มีผู้ที่ยังไม่ได้ประมูลแชร์ 3 ราย คือ โจทก์ ท. และ ส. ดังนั้นบุคคลทั้งสามเท่าที่ได้รับผลกระทบจากการที่ไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์และผู้ที่จะเสนอคำประมูลแชร์ได้ก็มีเพียงสามคนนี้เท่านั้น ผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์ การที่โจทก์ ท. และ ส. ตกลงกันใช้วิธีจับสลากอันดับก่อนหลังแทนการให้ดอกเบี้ย นับเป็นวิธีการที่ทำให้การเล่นแชร์วงนี้สามารถดำเนินต่อไปได้จนจบโดยผู้เล่นแชร์ได้รับเงินจนครบทุกคน และผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบแต่อย่างใดดังนั้น ความรับผิดของผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ จึงยังคงต้องมีอยู่อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5289/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องยื่นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบเหตุฝ่าฝืน คำสั่งขยายเวลาของกรมบังคับคดีไม่ใช่คำสั่งศาล
คำสั่งของอธิบดีกรมบังคับคดีที่ให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าที่ดินที่ผู้ร้องประมูลซื้อมาได้จากการขายทอดตลาด มิใช่คำสั่งศาลที่ให้ขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสาม เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดล่วงพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ทราบเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนตามมาตรา 296 วรรคสาม จึงต้องยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ล้มละลายไร้อำนาจคัดค้านการขายทอดตลาด อำนาจอยู่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตามบทบัญญัติมาตรา 22 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้ไม่มีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยจึงไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาด แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ขอเข้าดำเนินคดีแทนจำเลย จำเลยก็จะดำเนินคดีเองต่อไปไม่ได้