คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ จันทรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ค้ำประกันหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: มูลหนี้เกิดก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 มีต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์และที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารที่สถานีรถไฟเชียงใหม่และลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญาเช่ากับการรถไฟแห่งประเทศไทยก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเช่นนี้ มูลแห่งหนี้ที่ผู้คัดค้านที่ 2 ต้องรับผิดจึงเกิดก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด และเมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชั้นต้นมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 และเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าก่อนขอหักกลบลบหนี้ ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ใช้หนี้ให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 จึงสามารถนำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกับหนี้เงินฝากตามสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ค่าหุ้นในคดีล้มละลาย: มาตรา 1119 วรรคสอง ห้ามโดยเด็ดขาด
ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้น ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคสอง บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาดมิให้หักหนี้กับบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท จำเลยจึงไม่อาจยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102 มาขอหักหนี้กับหนี้สิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาค้ำประกันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้พี่ชายโดยมีเงื่อนไขปฏิสังขรณ์วัด ข้อกำหนดนั้นเป็นโมฆะ แต่พินัยกรรมยังใช้บังคับได้
พินัยกรรมที่ผู้ตายทำมีข้อความว่า ผู้ตายขอทำคำสั่งเป็นพินัยกรรมไว้ว่าถ้าผู้ตายถึงแก่กรรมเมื่อใด ขอมอบทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดบรรดาที่มีอยู่ในขณะถึงแก่กรรมให้ท่านเจ้าคุณ ญ. ผู้เป็นพี่ชายของผู้ตายองค์เดียว แม้พินัยกรรมฉบับดังกล่าวจะมีข้อกำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินโดยข้อ 1 ให้ปฏิสังขรณ์พระธาตุวัดไชยมงคล ข้อ 2 ให้ปฏิสังขรณ์โบสถ์ 1 หลัง (วัดไชยมงคลก็ได้) ข้อ 3 ถ้าเหลือจากสองข้อข้างต้น สุดแท้แต่ท่านเจ้าคุณจะจัดการอย่างไรต่อไปก็ตาม ก็ถือว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1707 พินัยกรรมในส่วนที่ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ท่านเจ้าคุณ ญ. จึงไม่เป็นโมฆะใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเริ่มนับอายุความในคดีละเมิด: ความรู้ของผู้กระทำละเมิด vs. ความรู้ของผู้มีอำนาจสั่งฟ้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า อายุความให้เริ่มนับตั้งแต่ปี 2536 เพราะกองนิติการของโจทก์ได้รับข้อมูลครบถ้วนว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำละเมิด แต่โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งว่า ควรเริ่มนับอายุความเมื่ออธิบดีของโจทก์ทราบ มิใช่เริ่มนับแต่กองนิติการของโจทก์ทราบ ดังนี้ การอุทธรณ์ว่าอายุความควรเริ่มนับเมื่อใดจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4110/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเภทการพนันจากฟ้องเดิม ศาลลงโทษได้หากเป็นการพนันในบัญชีเดียวกัน แม้ข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันเล่นการพนันสี่เหงาลัก อันเป็นการพนันในบัญชี ก. อันดับ 20 ท้าย พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 แต่ในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสองเล่นการพนันโปปั่น ซึ่งเป็นการพนันในบัญชี ก. อันดับ 2 กรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างจากฟ้องและมิใช่ข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธจึงไม่หลงข้อต่อสู้ ทั้งไม่ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองตามฐานความผิดที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสาม ประกอบมาตรา 215, 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์บังคับตามกฎหมายที่ใช้ ณ เวลาอุทธรณ์ แม้กฎหมายแก้ไขภายหลังก็ใช้จำกัดสิทธิไม่ได้
สิทธิของคู่ความที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะผู้ซื้อทรัพย์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยยื่นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2547 นั้น ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ เดิม มีผลใช้บังคับอยู่ จึงต้องบังคับใช้ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจึงไม่เป็นที่สุด ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ เดิม ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงชอบที่จะรับอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ไว้วินิจฉัย แม้ต่อมาขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 21)ฯ มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 309 ทวิ เดิม และให้ใช้ความในมาตรา 309 ทวิ ที่แก้ไขใหม่แทน ซึ่งกำหนดให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นที่สุดก็ตาม แต่ไม่อาจนำมาใช้จำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ได้ เนื่องจากขณะผู้ซื้อทรัพย์ใช้สิทธิอุทธรณ์นั้น บทบัญญัติดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์จนเสร็จสำนวนและมีคำพิพากษามานั้น ย่อมเป็นการพิจารณาและพิพากษาโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3803/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดประกาศยึดทรัพย์และขายทอดตลาดที่ชอบด้วยกฎหมาย และการแจ้งการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ทั้งสองฐานะ
ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติว่า การปิดหมายหรือปิดประกาศจะต้องปฏิบัติอย่างไร ทั้งไม่มีระเบียบในเรื่องนี้ไว้ จึงอยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงานที่จะปิดให้เหมาะสมกับสถานที่ที่จะปิดซึ่งเป็นที่เปิดเผยให้เห็นได้ง่าย และไม่จำต้องปิดโดยติดกับตัวทรัพย์ไว้เสมอไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โดยใช้กิ่งไม้เสียบไว้กับต้นไม้บนคูนาในที่ดินพิพาทและปิดที่บ้านของจำเลยโดยผูกไว้กับลูกบิดประตูหน้าบ้านของจำเลยล้วนแต่เป็นการปิดในที่เปิดเผยแลเห็นได้ง่ายทั้งสิ้น กรณีถือได้ว่าเป็นการปิดประกาศโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง แล้ว
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดแล้วการดำเนินการบังคับคดีให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะต้องแจ้งประกาศการขายทอดตลาดแก่บรรดาบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายนั้นให้ทราบด้วย บุคคลผู้มีส่วนได้เสียตามความหมายของมาตราดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 (1) ให้ถือว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้หนึ่งที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะทำการขายทอดตลาดนั้นรวมอยู่ด้วย สำหรับคดีนี้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องถือว่ามี 2 ราย คือ จำเลยและ ส. ผู้ตายซึ่งจำเลยถูกฟ้องให้รับผิดแทนในฐานะทายาทผู้ตายด้วย จึงเห็นได้ว่าจำเลยมี 2 ฐานะ คือเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในฐานะส่วนตัว และเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในฐานะทายาทของผู้ตายด้วย กระบวนพิจารณาใดที่กระทำต่อจำเลยถือได้ว่ากระทำต่อผู้ตายด้วย ซึ่งในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้จำเลยก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนผู้ตายมาโดยตลอด ทั้งยังปรากฏว่าผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2545 ก่อนจำเลยถูกฟ้องคดี และผู้ร้องก็ไปขอประนอมหนี้กับโจทก์ด้วย แต่ผู้ร้องก็มิได้แจ้งให้ทราบว่าเป็นผู้จัดการมรดกและไม่ได้ดำเนินการใดๆ ทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินของผู้ตาย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งประกาศการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบโดยมิได้แจ้งแก่ผู้ร้องหรือทายาทอื่น ย่อมเป็นการแจ้งแก่จำเลยและแจ้งแก่ผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองรายครบถ้วนแล้ว การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นการขายทอดตลาดที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจำนองครอบคลุมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นส่วนควบของที่ดิน แม้สัญญาจำนองมิได้ระบุ
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ แม้สัญญาจำนองจะมิได้ระบุให้การจำนองครอบไปถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วยก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิยึดสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 พร้อมที่ดินจำนองออกขายทอดตลาดได้โดยอาศัย ป.พ.พ. มาตรา 719 วรรคสอง ที่ให้อำนาจผู้รับจำนองยึดเอาสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดรวมไปกับที่ดินได้ เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบของที่ดินที่จำนอง โดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้ศาลระบุในหมายบังคับคดี กับไม่จำต้องระบุในคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีว่าให้ยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนอง และไม่จำต้องแสดงหลักฐาน ให้ศาลเห็นว่าหากขายสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินรวมไปจะทำให้การขายทอดตลาดกระทำได้ง่ายและจะได้ราคาด้วย ทั้งการบังคับคดีดังกล่าวก็มิใช่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกเหนือจากที่ได้ระบุในหมายบังคับคดีแต่อย่างใด การยึดทรัพย์ของโจทก์เป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินจำนองดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินจำนอง แม้ไม่ได้ระบุในสัญญาและหมายบังคับคดี
ป.พ.พ. มาตรา 719 วรรคสอง ให้อำนาจแก่ผู้รับจำนองที่จะยึดเอาสิ่งปลูกสร้างอันผู้จำนองปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดได้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยึดสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 พร้อมกับที่ดินด้วยโดยไม่จำต้องขอให้ศาลระบุในหมายบังคับคดีว่าให้ยึดสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนองด้วย และมิใช่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกเหนือจากที่ได้ระบุในหมายบังคับคดีแต่อย่างใด อีกทั้งโจทก์ไม่จำต้องแสดงหลักฐานให้ศาลเห็นว่าหากขายสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินรวมไปด้วยจะทำให้การขายทอดตลาดกระทำได้ง่ายและจะได้ราคาแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกภายใต้กฎหมายอิสลาม: ข้อจำกัดและคำวินิจฉัยเด็ดขาดของดะโต๊ะยุติธรรม
คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับเรื่องมรดกซึ่งเกิดในจังหวัดปัตตานีและผู้ร้องเป็นอิสลามศาสนิก จึงตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 มาตรา 3 ซึ่งให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามมาตรา 4 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้ดะโต๊ะยุติธรรมที่นั่งพิจารณาคดีมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและให้คำวินิจฉัยชี้ขาดนั้นเป็นอันเด็ดขาดในคดีนั้น
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นได้ชี้ขาดในข้อกฎหมายอิสลามแล้วว่า ผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายอิสลามและคำวินิจฉัยชี้ขาดในข้อกฎหมายอิสลามของดะโต๊ะยุติธรรมดังกล่าวเป็นอันเด็ดขาดตามมาตรา 4 วรรคสาม ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
of 32