คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ จันทรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม: ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ (บุคคลธรรมดา) กับข้อโต้แย้งเรื่องพินัยกรรมปลอม
สถานสงเคราะห์คนชรา ฉ. มิได้เป็นนิติบุคคล แต่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด น. การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมระบุให้ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์คนชรา ฉ. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นการแต่งตั้งบุคคลธรรมดามีตำแหน่งเป็นผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ให้เป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่เป็นการแต่งตั้งสถานสงเคราะห์แต่อย่างใดเมื่อผู้ร้องซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองสถานสงเคราะห์คนชรา ฉ. ในภายหลังได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย แต่การแต่งตั้งผู้ร้องหามีผลสมบูรณ์โดยเด็ดขาดไม่ เพราะผู้คัดค้านได้คัดค้านว่าพินัยกรรมปลอม กรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ทั้งผู้คัดค้านยังขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายด้วย ศาลชั้นต้นจะสั่งงดไต่สวนแล้วสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องไม่ได้ แต่ต้องไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องกับผู้คัดค้าน และมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีพินัยกรรมถูกโต้แย้งและผู้จัดการมรดกต้องขอศาลตั้งตามกฎหมาย
คดีนี้ผู้ตายทำพินัยกรรมโดยระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก แต่การตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมกรณีนี้หามีผลสมบูรณ์โดยเด็ดขาดไม่ เพราะผู้คัดค้านได้คัดค้านไว้ว่า ผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรม ลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตาย จึงเป็นพินัยกรรมปลอม กรณีจึงถือว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย จึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนอุทธรณ์หลังเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคล: การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลทำให้ผู้จัดการคนใหม่มีอำนาจถอนอุทธรณ์ได้
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว นิติบุคคลโจทก์ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2549 โจทก์เปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจาก ป.มาเป็น ภ. และได้มีการจดทะเบียนแล้ว ดังนี้ ภ. จึงอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ แม้ ป. ผู้จัดการนิติบุคคลคนเดิมเป็นผู้ยื่นอุทธรณ์และเป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่งทนายความไว้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมาเป็น ภ. แล้ว ภ. ย่อมมีอำนาจถอนอุทธรณ์และถอนทนายความ หาใช่เป็นอำนาจของ ป. ไม่ และการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดเป็นไปตามมติที่ประชุมครั้งใหม่ภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว มิได้อาศัยมติที่ประชุมที่ยังเป็นข้อพิพาทในคดี อีกทั้งการถอนฟ้องหรือถอนอุทธรณ์เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนอุทธรณ์และการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดหลังมีคำพิพากษา
ป. ผู้จัดการคนเดิมของนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์และเป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่งทนายความไว้ แต่เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมาเป็น ภ. แล้ว ภ. ย่อมมีอำนาจถอนอุทธรณ์และถอนทนายความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเหมา: ศาลมีอำนาจลดค่าปรับหากสูงเกินความเสียหายจริง และระยะเวลาปรับเริ่มนับจากวันส่งมอบงานที่ขยาย
สัญญาจ้างเหมาขุดลอกลำห้วย ให้สิทธิโจทก์ในฐานะผู้ว่าจ้างเรียกเบี้ยปรับเป็นรายวันจากจำเลยผู้รับจ้างในกรณีที่ไม่ส่งมอบงานตามกำหนดเวลาได้ โดยกำหนดส่งมอบงานวันที่ 30 สิงหาคม 2545 แต่จำเลยขอขยายระยะเวลาการส่งมอบงานและโจทก์ได้ยินยอมขยายระยะเวลาให้จำเลยถึงวันที่ 27 กันยายน 2545 มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงวันส่งมอบงานจากกำหนดเดิมเป็นวันที่ 28 กันยายน 2545 แล้ว โจทก์ไม่อาจเอากำหนดวันส่งมอบงานเดิมมาเป็นฐานที่ตั้งแห่งการเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยได้อีกต่อไป เมื่อกำหนดวันที่งานจะต้องแล้วเสร็จได้เปลี่ยนเป็นวันที่ 28 กันยายน 2545 แต่จำเลยไม่ส่งมอบงานตามกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเบี้ยปรับนับแต่วันที่ 29 กันยายน 2545 เป็นต้นไป
เบี้ยปรับแม้จะได้กำหนดกันไว้ในสัญญา แต่กฎหมายก็มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามจำนวนนั้น ทั้งนี้ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง: สิทธิเรียกร้องจากทรัพย์จำนองเท่านั้น, ห้ามยึดทรัพย์สินอื่นเมื่อขายทอดตลาดได้เงินไม่พอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 4,200,000 บาท โดยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาจำนองไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้เงิน ต่อมาจำเลยกู้เงินโจทก์อีกโดยได้ทำบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองครั้งที่ 1 เป็นเงิน 3,500,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองและบังคับจำนองโดยคำขอท้ายฟ้องระบุว่า ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้ให้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์แสดงว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำนองโดยประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์ที่จำนองเท่านั้น มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ สัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวไม่มีข้อความว่า หากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้โจทก์ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้ด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 733

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกิดสิทธิเรียกร้องจากเงื่อนไขในสัญญา และการส่งมรดก ความรับผิดของทายาท
ผู้ตายทำบันทึกข้อตกลงกับโจทก์ว่าจะนำเงินที่ได้จากโครงการออกก่อนเกษียณราชการชำระหนี้แก่โจทก์ 100,000 บาท หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือน สำนักงานตำรวจแห่งชาติอนุมัติให้ผู้ตายลาออกจากราชการแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้ตายได้รับอนุมัติให้ลาออกและมีสิทธิรับเงินตามโครงการออกก่อนเกษียณราชการย่อมถือว่าเงื่อนไขบังคับก่อนที่ผู้ตายต้องรับผิดชอบชำระเงินให้แก่โจทก์ได้สำเร็จเป็นผลให้โจทก์เกิดสิทธิที่จะได้เงินจากผู้ตายได้แล้ว ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตาย ความรับผิดของผู้ตายต่อโจทก์ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้ตาย แต่ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์คดีขับไล่และฟ้องแย้งสัญญาเช่า: การพิจารณาค่าเช่าและประเภทคดี
จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นจากยกฟ้องแย้งเป็นให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตึกแถวที่พิพาทให้แก่จำเลย แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่าคดีจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแล้วพิพากษาให้ยกอุทธรณ์โดยมิได้วินิจฉัยคดีในส่วนของฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่าการเช่าตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตึกแถวที่พิพาทเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397-1399/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทโดยธรรม: พี่น้องร่วมบิดา แม้เกิดจากบิดาที่ไม่ใช่สามีจดทะเบียน
การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (4) นั้น นอกจากกฎหมายมิได้กำหนดว่า พี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันแล้ว การที่จะตีความบทกฎหมายดังกล่าวว่า พี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันผลก็จะกลายเป็นว่า พี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะมีได้แต่เฉพาะเมื่อการสมรสระหว่างบิดากับมารดาคนก่อนสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการตีความที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายแคบเกินกว่าบทบัญญัติตามตัวอักษรของกฎหมาย และมิใช่ความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้ทายาทโดยธรรมซึ่งอยู่ในฐานะเป็นญาติสนิทที่ใกล้ชิดที่สุดอยู่ในลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังและตัดญาติห่างซึ่งอยู่ในลำดับถัดลงไปไม่ให้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 ทั้งการเป็นพี่น้องด้วยกันนี้ก็หาได้มีบทบัญญัติให้เกิดสิทธิหน้าที่ต่อกันเหมือนเช่นการเกิดสิทธิหน้าที่ระหว่างบิดากับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฉะนั้น การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจึงต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อผู้ร้องที่ 1 และผู้ตายต่างมีบิดาคนเดียวกันแม้ผู้ตายจะเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ถือว่าผู้ร้องที่ 1 กับผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องที่ 1 จึงอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (4) เมื่อผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมในลำดับอื่นที่สูงกว่าผู้ร้องที่ 1 ผู้ร้องที่ 1 จึงมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนผู้คัดค้านเป็นเพียงบุตรของ จ. ซึ่งเป็นลุงของผู้ตาย โดย จ. เป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (6) เมื่อมีผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 4 ซึ่งสูงกว่า จ. แล้ว จ. จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ทำให้ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก ดังนั้น ผู้ร้องทั้งสามมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ส่วนผู้คัดค้านไม่มีสิทธิดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้
ตามบทบัญญัติในมาตรา 22 และ 24 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ได้กำหนดไว้โดยแจ้งชัดว่า เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้หามีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนไม่ เพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดและดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่สืบเนื่องต่อมาจนถึงการยื่นอุทธรณ์และยื่นฎีกาเป็นการดำเนินการภายหลังจากที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ยกกระบวนพิจารณาทั้งหมด และยกคำร้องของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
of 32