คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ จันทรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8870/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับโอนที่ดินตามคำพิพากษาเหนือกว่าการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้รายอื่น
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาท ยังไม่มีการจดทะเบียนสิทธิโอนที่ดินพิพาท แต่เมื่อได้ยึดมาแล้วต้องนำออกขายทอดตลาด หากมีผู้ซื้อได้ก็ต้องมีการโอนทางทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อ จึงมิใช่เพียงแต่ยึดไว้เท่านั้น การที่ศาลในคดีอื่นได้พิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องแล้ว ที่ดินพิพาทจะต้องตกเป็นของผู้ร้องเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะให้ที่ดินพิพาทหลุดมือจากผู้ร้องตกไปเป็นของผู้อื่น จึงถือได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แม้โจทก์จะได้นำยึดที่ดินพิพาทไว้ก่อนที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง แต่ศาลก็ไม่อาจปล่อยให้มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ เพราะผู้ที่ซื้อได้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับโอนเนื่องจากผู้ร้องเท่านั้นที่มีสิทธิจะได้รับโอน ทั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ก็มีบทบัญญัติไม่ให้การยึดทรัพย์มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้ร้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคนหนึ่งมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษากับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคนหนึ่งได้นั้น หมายถึง เจ้าหนี้ผู้ที่จะมาขอเฉลี่ยต้องเป็นผู้ไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนกรณีที่ผู้ร้องได้สิทธิโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้อยู่แล้วจึงไม่มีกรณีที่จะต้องมาขอเฉลี่ยทรัพย์ แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดที่ดินเพื่อบังคับคดีให้กระทบกระทั่งสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8853/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หนี้ที่เกิดจากการจ้างผู้สอบบัญชีเพื่อฟื้นฟูกิจการ
การขอรับชำระหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ หมวด 3/1 ส่วนที่ 11 หากเป็นหนี้ซึ่งผู้บริหารแผนก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ได้โดยมิให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 94 (2) แต่หนี้ดังกล่าวจะจัดอยู่ในลำดับเดียวกับค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 130 (2) ได้ก็ต่อเมื่อได้ความแล้วว่าเป็นหนี้ซึ่งผู้บริหารแผนก่อขึ้นตามแผนเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามมาตรา 90/77 วรรคสาม
มูลหนี้ค่าบริการและค่าธรรมเนียมวิชาชีพตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ผู้บริหารแผนคนใหม่ได้ตกลงว่าจ้างเจ้าหนี้ให้สอบทานความถูกต้องของระบบการรับ-จ่ายเงินสด งบกระแสเงินสด และบัญชีการเงินกับต้นทุนของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ แม้เป็นหนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่ามูลหนี้ดังกล่าวมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับแผนฟื้นฟูกิจการอย่างไรบ้าง จึงยังถือไม่ได้ว่าหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ของเจ้าหนี้เป็นหนี้ซึ่งผู้บริหารแผนก่อขึ้นตามแผนเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนในลำดับเดียวกับค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 130 (2) ประกอบมาตรา 90/77 วรรคสาม ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เต็มตามคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 130 (7) จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8853/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หนี้จากการบริการฟื้นฟูกิจการต้องมีความเกี่ยวข้องกับแผนเพื่อได้รับสิทธิพิเศษ
การขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 3/1 ส่วนที่ 11 นั้น หากเป็นหนี้ซึ่งผู้บริหารแผนก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ได้โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 94 (2) แต่หนี้ดังกล่าวจะจัดอยู่ในลำดับเดียวกับค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 130 (2) ได้ก็ต่อเมื่อเป็นหนี้ซึ่งผู้บริหารแผนก่อขึ้นตามแผนก่อขึ้นตามแผนเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามมาตรา 90/77 วรรคสาม
หนี้ค่าบริการและค่าธรรมเนียมวิชาชีพตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ผู้บริหารแผนได้ตกลงว่าจ้างเจ้าหนี้ให้สอบทานความถูกต้องของระบบการรับ - จ่าย เงินสด งบกระแสเงินสด และบัญชีการเงินกับต้นทุน ของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ เป็นหนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เท่านั้น ไม่ปรากฏมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับแผนฟื้นฟูกิจการอย่างไรบ้าง จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้ซึ่งผู้บริหารแผนก่อขึ้นตามแผนเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนในลำดับเดียวกับค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130 (2) ประกอบมาตรา 90/77 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749-8750/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องวางค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษา แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่ง ไม่ใช่คำพิพากษา ศาลมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้น มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น แม้คดีนี้จำเลยที่ 1 จะเพียงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในชั้นขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เป็นเนื้อหาสาระในคำฟ้องของโจทก์ แต่เป็นการที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ซึ่งอาจมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกยกเลิกเพิกถอนไปได้หากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ซึ่งบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกรณีมิใช่เรื่องที่ต้องพิจารณาว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่เพราะค่าขึ้นศาลซึ่งต้องเสียในเวลายื่นอุทธรณ์ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. และค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ต้องนำมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เป็นคนละส่วนกัน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ชั้นสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มาวางศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวถือเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่เป็นคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ได้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ชั้นสืบพยานโจทก์ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ มีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัวนั่นเอง ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติก่อน แม้ศาลชั้นต้นจะให้โอกาสจำเลยที่ 2 และที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้ปฏิบัติตามจนระยะเวลาล่วงเลยไปแล้วจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8747/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมมีผลบังคับใช้ สติสัมปชัญญะผู้ทำพินัยกรรมสำคัญกว่าสถานที่ทำพินัยกรรม
สถานที่ทำพินัยกรรมไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของแบบแห่งพินัยกรรมซึ่งจำต้องระบุไว้แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ระบุสถานที่ทำพินัยกรรมผิดจากความเป็นจริงไม่ทำให้พินัยกรรมต้องเสียไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: การครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่เหตุเพิกถอน หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ฝ่าฝืนกฎหมาย
ตามคำร้องของผู้ร้องมีความประสงค์ขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาดที่ได้ขายไปแล้ว โดยอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกยึดโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องประสงค์จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งกรณีจะเป็นเรื่องของ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองนั้น ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. และเกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี บุคคลดังกล่าวจึงมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง ขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนแต่ตามคำร้องของผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. แต่ประการใด เพียงแต่กล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกยึดโดยการครอบครองปรปักษ์และธนาคารที่รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวได้รับจำนองไว้โดยไม่สุจริตจึงไม่ได้รับการคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสองนั้น หากเป็นความจริงก็มิใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงไม่อาจยกเหตุที่ผู้ร้องอ้างมาเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนแก่ผู้ร้องได้นั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดหลังการขายเสร็จสิ้น กรณีอ้างกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และการยื่นคำร้องไม่ทันตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์ที่ยึดต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าที่สิ้นผลผูกพัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยใช้อุบายหลอกลวงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีเดิมคือ จำเลยได้กระทำกลฉ้อฉลโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าบัดนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดระยะเวลาจึงสิ้นผลผูกพันแล้ว สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นเรื่องที่สัญญาเช่าที่พิพาทมีผลบังคับเพียงใด และสิ้นผลผูกพันแล้วหรือไม่ ข้ออ้างหรือประเด็นพิพาทที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าที่สิ้นผลผูกพัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากจำลยใช้อุบายหลอกลวงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าบัดนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี จึงสิ้นผลผูกพันแล้ว ข้ออ้างหรือประเด็นพิพาทที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7111/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเพิกถอนพินัยกรรมเป็นคดีมีทุนทรัพย์ หากเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกกลับคืน
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมโดยอ้างว่าพินัยกรรมปลอม เป็นการฟ้องเรียกให้ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรม
of 32