พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5901/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่า: การส่งหนังสือบอกเลิกถึงภูมิลำเนา ถือว่ามีผลตามกฎหมาย แม้ผู้รับไม่รับ
การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้านั้น ป.พ.พ. มาตรา 169 บัญญัติว่า "การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา..." ถ้อยคำที่ว่าไปถึงผู้รับการแสดงเจตนานั้นมิได้หมายความว่า ผู้นำจดหมายไปส่งจะต้องได้พบผู้รับการแสดงเจตนาโดยตรง แต่หมายความว่า ผู้นำจดหมายไปส่งต้องไปส่ง ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับการแสดงเจตนา แม้ขณะไปถึงภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับการแสดงเจตนา จะไม่พบผู้รับการแสดงเจตนาโดยตรง ก็ถือว่าเป็นการส่งยังสถานที่ที่ถูกต้องแล้ว ดังนี้ การที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไปส่งให้จำเลยที่ 2 ที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 อันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการ แม้จะไม่พบจำเลยที่ 2 และไม่มีผู้ใดรับไว้ แต่ก็ถือได้ว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์ได้ไปถึงจำเลยที่ 2 และมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว การบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์ไปยังจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาฎีกาและการโต้แย้งเรื่องการยื่นฎีกาพ้นกำหนด ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ให้คู่ความฟังวันที่ 26 เมษายน 2549 คู่ความมีสิทธิฎีกาได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาซึ่งจะครบกำหนดฎีกาภายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2549 ศาลอนุญาตตามคำร้อง ระยะเวลาที่ขอขยายเริ่มนับในวันรุ่งขึ้นจึงครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 23 มิถุนายน 2549
เมื่อจำเลยเห็นว่าโจทก์ยื่นฎีกาพ้นกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยชอบที่จะโต้แย้งเป็นประเด็นมาในคำแก้ฎีกา ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกประเด็นว่าโจทก์ยื่นฎีกาพ้นกำหนดเวลาหรือไม่มาวินิจฉัยได้ หาจำต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาแยกต่างหากมาด้วยไม่
เมื่อจำเลยเห็นว่าโจทก์ยื่นฎีกาพ้นกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยชอบที่จะโต้แย้งเป็นประเด็นมาในคำแก้ฎีกา ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกประเด็นว่าโจทก์ยื่นฎีกาพ้นกำหนดเวลาหรือไม่มาวินิจฉัยได้ หาจำต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาแยกต่างหากมาด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินกว่าที่ตกลง, เบี้ยปรับ, และความรับผิดร่วมของภริยาในหนี้กู้ยืมของสามี
แม้สัญญากู้ยืมเงินข้อ 2 จะระบุให้ดอกเบี้ยเป็นอัตราลอยตัว ซึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นหรือลดลงได้ตลอดเวลา ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่สัญญาข้อ 11 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้กู้ผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้กู้ยอมชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ค้างชำระอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญาเมื่อไม่ปรากฏว่านับแต่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ถึงวันที่โจทก์บังคับจำนำ โจทก์ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเงินตามสัญญาข้อ 2 แต่ปรากฏว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 16.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 19 ต่อปี ภายหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว จึงเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 11 ซึ่งกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด ดอกเบี้ยส่วนที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
โจทก์บังคับจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินโดยคิดเบี้ยปรับย้อนหลังแก่จำเลยที่ 1 ไปถึงวันทำสัญญาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะผิดนัดชำระหนี้เป็นเวลา 1 เดือน เป็นการบังคับชำระหนี้เกินไปกว่าความรับผิดที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระ จึงต้องหักเงินเบี้ยปรับส่วนที่เกินดังกล่าวออกจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่โจทก์ด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ภริยาของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมซึ่งมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อและจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และกู้ยืมเงินจากโจทก์ได้โดยไม่คัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรับรู้หนี้กู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีได้ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวในระหว่างสมรสและจำเลยที่ 2 ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
โจทก์บังคับจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินโดยคิดเบี้ยปรับย้อนหลังแก่จำเลยที่ 1 ไปถึงวันทำสัญญาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะผิดนัดชำระหนี้เป็นเวลา 1 เดือน เป็นการบังคับชำระหนี้เกินไปกว่าความรับผิดที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระ จึงต้องหักเงินเบี้ยปรับส่วนที่เกินดังกล่าวออกจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่โจทก์ด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ภริยาของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมซึ่งมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อและจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และกู้ยืมเงินจากโจทก์ได้โดยไม่คัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรับรู้หนี้กู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีได้ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวในระหว่างสมรสและจำเลยที่ 2 ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการมีอำนาจฟ้อง เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระหนี้โดยตรงจากลูกหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองว่าจ้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก่อสร้างถนน และระบบระบายน้ำ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้ซื้อเชื่อวัสดุก่อสร้าง และรับเงินยืมทดรองจ่ายไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการสร้างรวมเป็นเงิน 778,240 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 1 มูลค่า 800,000 บาท ให้แก่โจทก์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยตรง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีสิทธิระงับไม่ให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินให้โจทก์ จำเลยทั้งสองไม่อาจบอกปัดความรับผิดโดยอ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีหนังสือไปถึงจำเลยทั้งสองให้ระงับการจ่ายเงินไว้ก่อนอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจรับเงินตามที่โจทก์มีสิทธิที่จะรับได้ ถือว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการมีอำนาจฟ้อง การที่ลูกหนี้โต้แย้งสิทธิของเจ้าหนี้โดยอ้างเหตุจากผู้โอนสิทธิเรียกร้อง
จำเลยทั้งสองว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก่อสร้างถนน และระบบระบายน้ำในโครงการหมู่บ้าน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้ซื้อเชื่อวัสดุก่อสร้างและรับเงินยืมทดรองจ่ายไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้าง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 778,240 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จึงได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างมูลค่า 800,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อเป็นการชำระหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างและเงินยืมทดรองจ่ายที่ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์ได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้มีหนังสือตอบรับการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ผู้โอนย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยตรง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินให้โจทก์ โจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองโดยตรง การที่จำเลยทั้งสองบอกปัดความับผิดโดยอ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีหนังสือไปถึงจำเลยทั้งสองให้ระงับการจ่ายเงินไว้ก่อนอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจรับเงินตามที่โจทก์มีสิทธิที่จะรับได้ ถือว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5786/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยศาลวินิจฉัยว่าการพิจารณาของศาลชั้นต้นนอกฟ้องและนอกประเด็น
โจทก์ตั้งรูปคดีฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยนำสืบตามคำฟ้องให้เห็นว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ซึ่งเป็นของ ช. วันเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ของ ช. ซึ่งเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมรถยนต์คันดังกล่าวให้อยู่ในสภาพเดิมและส่งมอบคืนให้แก่ ช. แล้ว ต่อมาจำเลยได้ตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามสัญญา ดังนี้ เห็นได้ว่าสภาพแห่งข้อหาตามฟ้องของโจทก์คือจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้กับโจทก์ ไม่ได้ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยในฐานที่โจทก์รับช่วงสิทธิจาก ช. ผู้เอาประกันภัยในมูลหนี้ละเมิดส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องบรรยายให้เห็นว่าจำเลยทำละเมิดขับรถยนต์ชนรถยนต์ของ ช. คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายก็เป็นเพียงเท้าความอ้างถึงที่มาว่าเหตุใดโจทก์และจำเลยจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ช. ผู้เอาประกันภัยไปแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของ ช. ผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง โจทก็ย่อมมีสิทธิทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยได้ สัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาและทำให้มูลหนี้ละเมิดเดิมเป็นอันระงับสิ้นไป เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดขับรถเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยและโจทก์นำรถยนต์ซ่อมแซมโดยชำระค่าซ่อมรถยนต์ไปแล้วหรือไม่ เพียงใด จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนโฉนดที่ดินที่บุตรเลี้ยงนำไปวางเป็นประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ และการมีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ว. เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท ว. ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาท ว. เนื่องจากเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท อ. บุตรเลี้ยงของโจทก์นำโฉนดที่ดินพิพาทไปวางเป็นประกันเงินกู้ไว้แก่จำเลยในขณะที่ ว. ยังมีชีวิตอยู่โดยมิได้รับความยินยอมจาก ว. เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาท ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการบรรยายโดยแจ้งชัดแล้ว แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งหมดหรือเป็นเจ้าของร่วมในสัดส่วนเท่าใด ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณา ไม่ต้องกล่าวในฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินพิพาทคืน โดยอ้างสิทธิในฐานะเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นทายาทของผู้ตาย จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีสิทธิ เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยคืนโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว จำเลยเพิกเฉย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเป็นทายาทผู้สืบสิทธิในที่ดินพิพาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินพิพาทคืน โดยอ้างสิทธิในฐานะเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นทายาทของผู้ตาย จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีสิทธิ เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยคืนโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว จำเลยเพิกเฉย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเป็นทายาทผู้สืบสิทธิในที่ดินพิพาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5534/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการโต้แย้งราคาขายทอดตลาด: ผู้เข้าสู้ราคาไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นราคา
ข้อโต้แย้งที่ว่าราคาทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดต่ำหรือไม่ เป็นข้อโต้แย้งหรือส่วนได้เสียของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 280 โดยตรง ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงผู้เข้าสู้ราคาแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิกล่าวอ้างหรือฎีกาในประเด็นดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีบังคับคดีและการไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลซ้ำ หากสิทธิที่โอนมาไม่เกินสิทธิเดิม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในชั้นบังคับคดีเนื่องจากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อและได้รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยตามคำพิพากษามาจากการขายซึ่งดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ในคดีล้มละลาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องพิพาทกับจำเลยในมูลหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองซึ่งเป็นมูลหนี้ที่โจทก์กับจำเลยพิพาทกัน และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้ว ทั้งผู้ร้องมิได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อโจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไว้แล้วในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้องคดี จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นคู่ความแทนที่ในชั้นบังคับคดี: ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล หากสิทธิเรียกร้องต่อเนื่องจากเจ้าหนี้เดิม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในชั้นบังคับคดี ก็โดยอาศัยเหตุที่ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง เนื่องจากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อและได้รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษามาจากการขายซึ่งดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ในคดีล้มละลาย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องพิพาทกับจำเลยทั้งสามในมูลหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองซึ่งเป็นมูลหนี้ที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามพิพาทกันและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้ว ทั้งการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่โดยอาศัยเหตุดังกล่าว มิได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไว้แล้วในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้องคดี จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง และเมื่อผู้ร้องได้ชำระค่าขึ้นศาลตามคำสั่งของศาลชั้นต้นมาแล้ว จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลจำนวนดังกล่าวแก่ผู้ร้อง