พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองต่อทรัพย์สินที่มีเจ้าของรวม แม้มิได้เป็นจำเลยในคดีบังคับคดี
ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ เนื่องจากผู้คัดค้านเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวร่วมกับจำเลย ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองของผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แม้ผู้คัดค้านจะไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย แต่ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ผู้ร้องในฐานะเป็นบุคคลภายนอกจะใช้สิทธิของเจ้าหนี้จำนองซึ่งถือว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายเพื่อรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ได้
ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของผู้คัดค้านจึงขอใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เห็นได้ว่าผู้ร้องตั้งเรื่องมาในคำร้องและระบุท้ายคำร้องชัดเจนว่าเป็นการขอใช้สิทธิตามมาตรา 287 เพื่อขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งสิทธิของผู้ร้องในคดีนี้ถือได้ว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์นั้นได้ตามมาตรา 287 กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามกำหนดเวลาของมาตรา 289 วรรคสอง
ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของผู้คัดค้านจึงขอใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เห็นได้ว่าผู้ร้องตั้งเรื่องมาในคำร้องและระบุท้ายคำร้องชัดเจนว่าเป็นการขอใช้สิทธิตามมาตรา 287 เพื่อขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งสิทธิของผู้ร้องในคดีนี้ถือได้ว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์นั้นได้ตามมาตรา 287 กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามกำหนดเวลาของมาตรา 289 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: คำสั่งที่ไม่ใช่การยกคำร้องขอทำคดีอนาถา ต้องอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน
อุทธรณ์ของผู้ร้องเป็นอุทธรณ์ที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โดยอ้างว่าผู้ร้องทิ้งคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมิได้สั่งในเนื้อหาของคำร้องดังกล่าวของผู้ร้องแต่ประการใด จึงมิได้เป็นคำสั่งที่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งผู้ร้องจะต้องอุทธรณ์ภายใน 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย แต่คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านได้ภายในกำหนด 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 ข้อเท็จจริงได้ความตามท้องสำนวนว่าผู้ร้องทราบคำสั่งยกคำร้องของศาลชั้นต้นดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2548 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 1 เดือน ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะรับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นหุ้นส่วนลงทุนเลี้ยงกบที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกเป็นจำเลยว่าผิดสัญญาหุ้นส่วนและไม่แบ่งปันผลกำไร ขอให้ใช้เงินคืน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยจงใจและใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์ต้องรับภาระในการลงทุนที่หนักกว่าที่โจทก์จะยอมรับโดยปกติ โดยโจทก์ต้องออกเงินลงทุนในการเลี้ยงกบไปถึง 131,377 บาท ขอให้จำเลยใช้เงินคืนโจทก์จำนวนครึ่งหนึ่ง ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยสืบเนื่องมาจากมูลฐานและข้ออ้างอย่างเดียวกันคือ โจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนทำฟาร์มเลี้ยงกบกันหรือไม่ และเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกมาก็เป็นเงินลงหุ้นตามสัญญาหุ้นส่วนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงกบอันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์มารื้อร้องฟ้องจำเลยในคดีนี้อีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันคุมขังในคดีอื่นออกจากโทษจำคุก: คดีจำเลยถูกคุมขังในคดีอื่นก่อนศาลพิพากษา ไม่สามารถหักวันคุมขังได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคแรก บัญญัติว่า "โทษจำคุกให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น" คำว่า ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา หมายความว่า ต้องถูกคุมขังอยู่ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษา การที่จำเลยที่ 1 ถูกคุมขังในคดีอื่นและผู้ประกันมิได้ร้องขอส่งตัวจำเลยที่ 1 เพื่อให้ศาลออกหมายขังจำเลยที่ 1 ในคดีนี้จึงไม่อาจหักวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันคุมขังต้องเป็นการคุมขังในคดีเดียวกัน ผู้ประกันไม่ร้องขอส่งตัวจำเลยเพื่อออกหมายขังในคดีใหม่ ไม่อาจหักวันคุมขังได้
ป.อ. มาตรา 22 วรรคแรก บัญญัติว่า "โทษจำคุกให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น" คำว่า ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษานั้น หมายความว่า ต้องถูกคุมขังอยู่ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษา การที่จำเลยถูกคุมขังในคดีอื่นและผู้ประกันมิได้ร้องขอส่งตัวจำเลย เพื่อให้ศาลออกหมายขังจำเลยในคดีนี้จึงไม่อาจหักวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำบังคับและการบังคับคดี: คำบังคับที่ระบุในสำนวนและลงลายมือชื่อคู่ความแล้ว ถือเป็นการส่งคำบังคับโดยชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมได้อ่านคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับให้คู่ความฟังแล้ว จึงให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ที่หน้าสำนวน และที่หน้าสำนวนระบุข้อความของคำบังคับไว้ว่า ให้โจทก์และจำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิฉะนั้นจะถูกบังคับคดีตามกฎหมาย โดยมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นลงนามในฐานะเป็นผู้ออกคำบังคับ ข้อความที่ระบุไว้ที่หน้าสำนวนดังกล่าวถือได้ว่าเป็นคำบังคับแล้ว เมื่อโจทก์กับจำเลยได้ลงลายมือชื่อรับทราบคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับ ย่อมถือได้ว่ามีการส่งคำบังคับไปยังจำเลยแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องออกคำบังคับซ้ำอีก
โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี แม้ท้ายคำขอระบุยอดหนี้คำนวณถึงก่อนยื่นคำขอ 1 วัน ก็ไม่ถือว่าโจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีผิดแผกแตกต่างไปจากคำพิพากษาตามยอม คำขอดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 275
โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี แม้ท้ายคำขอระบุยอดหนี้คำนวณถึงก่อนยื่นคำขอ 1 วัน ก็ไม่ถือว่าโจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีผิดแผกแตกต่างไปจากคำพิพากษาตามยอม คำขอดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 275
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดแจ้งเท็จ โครงการรับซื้อลำไย: รอการลงโทษเนื่องจากความเข้าใจผิดและประวัติทำความดี
จำเลยเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่าเมื่อผู้ใดมีลำไยสดอยู่ในความครอบครองไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของญาติพี่น้อง แม้จะไม่มีพื้นที่ปลูกลำไยเป็นของตนเองก็สามารถเข้าร่วมโครงการรับซื้อลำไยสดจากเกษตรกรตามนโยบายของรัฐได้ จำเลยกระทำความผิดไปเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งเมื่อถูกดำเนินคดีก็ให้การรับสารภาพมาโดยตลอด อันแสดงว่าจำเลยรู้สำนักในความผิดแห่งตน และไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ประกอบกับจำเลยเคยทำคุณงามความดี ทั้งเมื่อคำนึงถึงโทษจำคุกที่ได้รับเพียง 2 เดือน การให้จำเลยรับโทษจำคุกไปเสียเลย ย่อมไม่เป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมส่วนรวม สมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอดำเนินคดีอนาถาต้องมีเหตุผลสมควรในการอุทธรณ์ มิใช่แค่ยากจน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้ผู้ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถามีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขออนาถาของตนใหม่ได้ก็เฉพาะเพื่ออนุญาตให้ผู้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าผู้ขอเป็นคนยากจนเท่านั้น หาได้ให้สิทธิแก่ผู้ขอที่จะขอให้ศาลพิจารณาใหม่ในประเด็นว่าคดีของผู้ขอมีเหตุอันสมควรจะอุทธรณ์ด้วยไม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองด้วยเหตุผลที่ว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายใน 7 วัน ย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย ประเด็นที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ย่อมยุติ จำเลยทั้งสองขอให้ศาลพิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ในประเด็นดังกล่าวอีกไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอใหม่ก็ได้แต่เฉพาะประเด็นเรื่องจำเลยทั้งสองเป็นคนยากจนเท่านั้น ส่วนการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์นั้นนอกจากผู้ขอจะเป็นคนยากจนแล้ว คดีของผู้ขอต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ศาลจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองนำพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมก็ตาม คดีก็ต้องฟังตามข้อยุติว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟัง ทั้งกำหนดเวลาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองนำค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้วได้
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองด้วยเหตุผลที่ว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายใน 7 วัน ย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย ประเด็นที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ย่อมยุติ จำเลยทั้งสองขอให้ศาลพิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ในประเด็นดังกล่าวอีกไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอใหม่ก็ได้แต่เฉพาะประเด็นเรื่องจำเลยทั้งสองเป็นคนยากจนเท่านั้น ส่วนการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์นั้นนอกจากผู้ขอจะเป็นคนยากจนแล้ว คดีของผู้ขอต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ศาลจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองนำพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมก็ตาม คดีก็ต้องฟังตามข้อยุติว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟัง ทั้งกำหนดเวลาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองนำค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้วได้
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองในการได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นจากการบังคับคดีทรัพย์จำนอง แม้โจทก์คัดค้าน
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ขอให้เอาเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้มาชำระหนี้ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น ถือเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องได้ฟ้องบังคับจำนองจำเลยนั่นเอง แม้โจทก์คัดค้านก็ไม่ถือว่าผู้ร้องฟ้องบังคับจำนองต่อโจทก์ จำเลยมีหน้าที่จะต้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้แทนผู้ร้อง หรือนัยหนึ่งให้ไปเรียกเอาจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกขายทอดตลาดได้ ไม่ใช่โจทก์ต้องรับผิดเพราะโจทก์เป็นฝ่ายคัดค้านเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง: ข้อจำกัดและข้อยกเว้นเรื่องการฉ้อฉลและการละเมิดกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้ (1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล (2) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน" จำเลยฎีกาว่า นาง ด. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย และโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำยึดอาคารพาณิชย์เลขที่ 233/3 ร่วมกันแจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า อาคารพาณิชย์เลขที่ 233/3 มีนาง ล. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ความจริงอาคารพาณิชย์เลขที่ 233/3 เป็นกรรมสิทธิ์ของนาง พ. ทำให้การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยโจทก์เป็นผู้ซื้ออาคารพาณิชย์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และพฤติการณ์ของโจทก์กับนาง ด. เป็นการฉ้อฉลจำเลย เห็นว่า ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าการขายทอดตลาดอาคารพาณิชย์เลขที่ 233/3 ของพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับคดี หาใช่เรื่องที่โจทก์หลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะทำให้เห็นว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเกิดโดยการฉ้อฉลของโจทก์แต่อย่างใดไม่ และข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมนั้นก็มิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น ข้ออ้างของจำเลยจึงมิได้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ในอันที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้