พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีเหตุฉ้อฉลหรือขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย แม้การบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยฎีกาโดยยกข้ออ้างเป็นเรื่องที่ว่าการขายทอดตลาดอาคารพาณิชย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับคดี มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์หลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะทำให้เห็นว่าสัญญาประนีประยอมความนั้นเกิดโดยการฉ้อฉลของโจทก์ และข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมนั้นก็มิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ในอันที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาด ไม่ผูกมัดผู้เสนอราคาหรือศาล
การประเมินราคาทรัพย์สินนั้นเป็นเพียงการประมาณราคาในเบื้องแรกตามความเห็นของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไปเท่านั้น ซึ่งราคาที่ประเมินไว้เป็นไปได้ว่าอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง แต่ทั้งนี้ก็หาใช่หลักเกณฑ์ตายตัวที่ผูกมัดผู้ที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีหรือศาลว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ แต่ขึ้นอยู่กับผู้เข้าสู้ราคาว่าจะให้ราคาสูงสุดเพียงใด โดยเฉพาะหากจำเลยที่ 2 เห็นว่า ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ต่ำไป ก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการขายทอดตลาดทรัพย์สินออกไป ดังนั้น กรณียังถือไม่ได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับจำเลยที่ 2 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง เพื่อให้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งราคาประมูลทรัพย์สินใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2869/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานได้ หากจำเลยไม่คัดค้านความถูกต้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
แม้โจทก์อ้างสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้เป็นพยานโดยไม่ได้ส่งต้นฉบับเอกสารดังกล่าวก็ตาม แต่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์นำสืบพยานบุคคล 1 ปาก และอ้างส่งเอกสาร 2 ฉบับ รวมทั้งสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้ซึ่งเป็นสำเนาเอกสารด้วย แล้วโจทก์แถลงหมดพยาน แสดงว่าโจทก์สืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จในวันดังกล่าว แต่จำเลยซึ่งถูกโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานยันตนก็มิได้คัดค้านการที่โจทก์นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาสืบว่า สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องกับต้นฉบับภายในระยะเวลาก่อนที่โจทก์จะสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 แม้ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการที่โจทก์อ้างสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้ จำเลยก็กล่าวอ้างเพียงว่าศาลจะรับฟังเอกสารเป็นพยานได้แต่ต้นฉบับ เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้คัดค้านโดยตรงว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ทั้งไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่จำเลยไม่อาจคัดค้านได้ก่อนที่โจทก์จะสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคสอง ถือว่าจำเลยไม่ได้คัดค้านการอ้างสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้โดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง จึงห้ามมิให้จำเลยคัดค้านความถูกต้องของสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคสาม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้เป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 ที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานประกอบการวินิจฉัยข้อเท็จจริงจึงหาขัดต่อกฎหมายดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2865/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่าธรรมเนียมบังคับคดีจากความผิดพลาดในการระบุทรัพย์สินของลูกหนี้
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอยึดที่ดิน เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้ว เชื่อว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลยตามที่โจทก์กล่าวอ้างจึงทำการยึดให้และได้ดำเนินการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงสมบูรณ์แล้ว เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนการยึดจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การที่ทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากการความผิดของโจทก์เองที่ไม่ตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนที่จะนำยึด โจทก์จึงยกมาเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดในค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งซ้อน: คดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ห้ามฟ้องแย้งคดีเดียวกันอีก
คำว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง นั้น หมายความว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ แม้จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาในคดีก่อนของศาลชั้นต้นโดยโต้แย้งเรื่องศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา จำเลยจึงไม่อาจนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องอีกได้ ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: นับระยะเวลาจากเจตนาเป็นเจ้าของ แม้เข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของตนเอง
การครอบครองที่ดินโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จะเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเอง ก็ถือเป็นการครอบครองที่สามารถนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ได้ มิใช่นับแต่ที่จำเลยรู้ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองนั้นเป็นที่ดินของโจทก์เพราะถือว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายจัดตั้งศาลแขวง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิยฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์สละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใดๆ ในเช็คพิพาทอีกต่อไป จึงเป็นการยอมความในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยพิเคราะห์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์จะยื่นฎีกาโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่การอนุญาตให้ฎีกาดังกล่าวไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาดังกล่าวจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218, 219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษานั้นอนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีต้องมีตราสำคัญบริษัทกำกับ กรรมการลงลายมือชื่อไม่สมบูรณ์ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทมีแต่กรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อในนามของโจทก์โดยมิได้มีการประทับตราสำคัญของโจทก์กำกับไว้ จึงถือไม่ได้ว่ากรรมการ 2 คนนั้นได้กระทำการโดยชอบในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีผลเท่ากับโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ ด. ฟ้องคดีได้โดยชอบ ด. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีแทนโจทก์ ส่งผลให้ทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องในฐานะทนายโจทก์แทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2423/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานหลักฐาน และผลกระทบต่อการปิดอากรแสตมป์
เมื่อโจทก์ส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านหรือโต้แย้งว่าโจทก์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าว จึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) สำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงจึงสามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ เมื่อปรากฏว่าเป็นการรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร จึงไม่ใช่การรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐาน ทั้งสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวก็มิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร จึงไม่อยู่ในบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 สำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการผ่อนชำระ: สิทธิเรียกร้องแต่ละงวด vs. ทั้งหมด
หนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 เป็นหนังสือรับรองว่าจำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่โดยตกลงผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงกำหนดวีธีชำระหนี้โดยผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33 (2) เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรก โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้แต่ละงวดได้ตั้งแต่เมื่อครบกำหนดที่จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้เป็นงวดนั้นๆ สิทธิเรียกร้องในหนี้งวดใดที่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความ
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ได้มีข้อตกลงว่า หากจำเลยทั้งสองผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมดหรือหนี้ทั้งหมดนั้นถึงกำหนดชำระอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันที ข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือรับสภาพหนี้ว่า หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยินยอมให้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ทันที หมายถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดในงวดนั้นๆ แล้วเท่านั้น ส่วนงวดที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระโจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสอง
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ได้มีข้อตกลงว่า หากจำเลยทั้งสองผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมดหรือหนี้ทั้งหมดนั้นถึงกำหนดชำระอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันที ข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือรับสภาพหนี้ว่า หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยินยอมให้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ทันที หมายถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดในงวดนั้นๆ แล้วเท่านั้น ส่วนงวดที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระโจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสอง