พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ: การได้รับชำระหนี้ตามประกันและหนี้มีประกัน
เจ้าหนี้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้และออกหนังสือรับรองตกลงชดใช้ค่าเสียหายแทนลูกหนี้ต่อสถาบันการเงินอื่นตั้งแต่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มูลหนี้ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/27 แม้เจ้าหนี้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและหนังสือรับรองดังกล่าวไปภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว ก็ไม่ทำให้เจ้าหนี้หมดสิทธิได้รับชำระหนี้แต่อย่างใด
คดีนี้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้อันดับที่ 16 โดยแนบสำเนาสัญญาค้ำประกันฉบับภาษาอังกฤษไว้ท้ายคำขอรับชำระหนี้แล้วแต่มิได้ส่งคำแปลของสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ซึ่งต่อมาผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ถอนคำโต้แย้งแล้ว หากผู้คัดค้านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับมูลหนี้ของลูกหนี้ชั้นต้นและจำนวนหนี้ดังกล่าว ก็ชอบที่จะกำหนดให้เจ้าหนี้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 105 ประกอบมาตรา 90/26 วรรคสาม ไม่ใช่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อันดับนี้ไปเลย โดยให้เหตุผลเพียงว่าไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิด ซึ่งไม่ถูกต้องตามพยานหลักฐานที่เจ้าหนี้แนบไว้ท้ายคำขอรับชำระหนี้
คดีนี้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้อันดับที่ 16 โดยแนบสำเนาสัญญาค้ำประกันฉบับภาษาอังกฤษไว้ท้ายคำขอรับชำระหนี้แล้วแต่มิได้ส่งคำแปลของสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ซึ่งต่อมาผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ถอนคำโต้แย้งแล้ว หากผู้คัดค้านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับมูลหนี้ของลูกหนี้ชั้นต้นและจำนวนหนี้ดังกล่าว ก็ชอบที่จะกำหนดให้เจ้าหนี้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 105 ประกอบมาตรา 90/26 วรรคสาม ไม่ใช่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อันดับนี้ไปเลย โดยให้เหตุผลเพียงว่าไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิด ซึ่งไม่ถูกต้องตามพยานหลักฐานที่เจ้าหนี้แนบไว้ท้ายคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์สินล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน, อำนาจผู้คัดค้าน, และผลของการพิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้รายที่ 7 ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 (จำเลยที่ 1) ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (3) และเจ้าหนี้รายที่ 7 ได้จัดการให้ผู้คัดค้านดำเนินการยึดหลักประกันของลูกหนี้ที่ 1 แล้ว ต่อมาระหว่างประกาศขายทอดตลาด ศาลฎีกามีคำพิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องลูกหนี้ที่ 1 ทำให้ผู้คัดค้านหมดอำนาจที่จะจัดการขายทอดตลาดหลักประกันดังกล่าวและมิใช่เป็นความผิดของเจ้าหนี้รายที่ 7 แต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่ 7 นำค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามมาตรา 179 (3) (เดิม) ไปชำระต่อผู้คัดค้าน
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากเจ้าหนี้รายที่ 7 ที่ขอให้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านงดเว้นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายจากเจ้าหนี้รายที่ 7 มิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง ที่จะอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แต่อย่างไรก็ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องนั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวตามมาตรา 26 วรรคสี่ จึงรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากเจ้าหนี้รายที่ 7 ที่ขอให้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านงดเว้นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายจากเจ้าหนี้รายที่ 7 มิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง ที่จะอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แต่อย่างไรก็ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องนั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวตามมาตรา 26 วรรคสี่ จึงรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายคู่กรณีแล้วใช้อาวุธป้องกันตัว ศาลแก้ไขโทษฐานฆ่าและพยายามฆ่าเป็นกรรมเดียว
ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ผู้ตาย และผู้เสียหายกับพวกเข้าไปทำร้ายจำเลยแล้ว จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายและผู้เสียหายในลักษณะต่อเนื่องกัน จำเลยมิได้มีเจตนาฆ่าผู้ตายก่อนแล้วเกิดเจตนาฆ่าผู้เสียหายเพิ่มขึ้นอีก การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071-2074/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดอำนาจตัวแทนหลังผู้เป็นตัวการเสียชีวิต และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 เป็นการตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้สัญญาตัวแทนจะระงับไปเมื่อผู้ร้องถึงแก่กรรม ทนายผู้ร้องก็ยังมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของผู้ร้องต่อไปจนกว่าทายาทหรือผู้แทนของผู้ร้องจะอาจเข้ามาปกปักรักษาผลประโยชน์ของผู้ร้องโดยการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
ผู้ร้องถึงแก่กรรมวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกของผู้ร้องจึงอาจร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ในการดำเนินคดีของผู้ร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องถึงแก่กรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่ก็ไม่มีการร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องตามบทบัญญัติดังกล่าว จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดี ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายผู้ร้องจะจัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว ทนายผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องต่อไป
ผู้ร้องถึงแก่กรรมวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกของผู้ร้องจึงอาจร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ในการดำเนินคดีของผู้ร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องถึงแก่กรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่ก็ไม่มีการร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องตามบทบัญญัติดังกล่าว จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดี ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายผู้ร้องจะจัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว ทนายผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม ประกันภัยค้ำจุน ต้องระบุความสัมพันธ์ผู้เอาประกันภัย-ผู้ทำละเมิด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อเป็นความวินาศภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยไว้ และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิด จึงเป็นสาระสำคัญที่ต้องบรรยายมาในฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้คือใครและจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันนั้นในฐานะอะไร หรือมีความสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน: เบี้ยปรับเมื่อผิดนัดชำระหนี้ ศาลยืนตามสัญญากู้
หนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 2 และข้อ 4 และบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินมีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงิน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ในอัตราคงที่ตามบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงิน โดยในปีแรกอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี ปีที่ 2 อัตราร้อยละ 4.5 ต่อปี และปีที่ 3 อัตราร้อยละ 5.5 ต่อปี ต่อจาก 3 ปีนั้นแล้วจึงมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แต่ถ้าจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใด ไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยคงที่ในระยะ 3 ปีแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ และเป็นดอกผลนิตินัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปีที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยทั้งสองหลังจากที่จำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ เห็นได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินข้อ 4 ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ดอกเบี้ยจำนวนนี้จึงเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ซึ่งถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 373 วรรคหนึ่ง
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง โดยขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับดอกเบี้ยในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) และข้อ (4) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาสำหรับส่วนที่เกิน 300 บาท แก่โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง โดยขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับดอกเบี้ยในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) และข้อ (4) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาสำหรับส่วนที่เกิน 300 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิในการยึดทรัพย์อื่นเมื่อขายทรัพย์จำนองยังไม่เสร็จ
คู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมใจความว่า จำเลยยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย จำเลยจะผ่อนชำระเป็นรายเดือนทุกเดือนติดต่อกัน หากผิดนัดยอมให้โจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยชำระหนี้จนครบ ปรากฏต่อมาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วแต่ยังขายไม่ได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: ยึดทรัพย์อื่นได้ต่อเมื่อขายทรัพย์จำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ขั้นตอนต่อไปหากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งปรากฏต่อมาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์ก็ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วแต่ยังขายไม่ได้ เมื่อยังขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงยังไม่เสร็จสิ้นและจะต้องดำเนินการต่อไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม โจทก์จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้ก็ต่อเมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองยังไม่ได้มิใช่กรณีขายแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลย การที่โจทก์จะนำยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัตินอกเหนือและผิดไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งโจทก์ไม่อาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์ที่พิพาทตามมาตรา 248
ฎีกาของโจทก์ที่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นการฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากพยานหลักฐานในสำนวนเนื่องจากพยานหลักฐานในสำนวนฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์นั้น เป็นการหยิบยกพยานและเหตุต่างๆ ขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลฎีกาฟังว่าที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นทรัพย์มรดกของมารดาและจำเลยที่ 1 และโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะขายที่ดินเพื่อชำระค่าหุ้น และสิทธิในการแบ่งทรัพย์สินรวม
สัญญาจะขายที่ดินและสัญญาซื้อขายหุ้นมีข้อความเกี่ยวพันต้องปฏิบัติไปด้วยกัน โดยคู่สัญญาตกลงกันนำที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของร่วมไปขายเพื่อนำเงินมาชำระค่าหุ้นไม่มีลักษณะที่จะถือว่าวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะที่จะให้เป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวร หากแต่มีผลให้ยังเรียกให้แบ่งที่ดินไม่ได้ตราบเท่าที่ข้อตกลงนั้นยังมีผลผูกพันอยู่ เมื่อสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด หากจะให้คู่สัญญาต้องผูกพันกันตลอดไปจนกว่าจะขายที่ดินได้ซึ่งไม่แน่นอนว่าจะเป็นระยะเวลาอีกกี่ปีคงไม่ใช่เจตนาของคู่สัญญา เมื่อนับแต่วันทำสัญญาจนถึงวันฟ้องคดีเป็นเวลานานกว่า 6 ปี ก็ยังขายที่ดินไม่ได้ จึงมีเหตุผลสมควรที่โจทก์ทั้งสองจะบอกเลิกสัญญาได้ และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วความผูกพันตามสัญญาย่อมสิ้นสุดลง นิติกรรมที่เป็นเหตุขัดข้องไม่ให้ขอแบ่งที่ดินจึงไม่มีแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1363