พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์สรุปข้อเท็จจริงไม่ชอบ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้พิจารณาประเด็นละเมิดและหน่วยงานรัฐต้องรับผิดชอบหรือไม่
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างอุทธรณ์ ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรร์ภาค 3 ต้องวินิจฉัยมีว่าเหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ในฐานะหน่วยงานของรัฐต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ด่วนสรุปข้อเท็จจริงโดยฟังเป็นยุติตามศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตป่าไม้ถาวร: โจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่าหรือฟ้องขับไล่ผู้ครอบครอง
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การเข้ายึดถือครอบครองย่อมไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใดๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกัน ย่อมยกการยึดถือครอบครองก่อนขึ้นยันผู้อื่นที่เข้ามารบกวนได้ในขณะเวลาที่ตนยังยึดถือครอบครองอยู่เท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิเพราะเท่ากับนำที่ดินของรัฐไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยรัฐไม่ยินยอมและมีผลเป็นการมอบการยึดถือครอบครองให้แก่จำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอีกต่อไป จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตป่าไม้ถาวร: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยเนื่องจากไม่มีสิทธิครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรจึงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน การเข้ายึดถือครอบครองย่อมไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกัน ย่อมยกการยึดถือครอบครองก่อนขึ้นยันผู้อื่นที่เข้ามารบกวนได้ในขณะเวลาที่ตนยังยึดถือครอบครองอยู่เท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิเพราะเท่ากับนำที่ดินของรัฐไปให้บุคคลอื่นเช่นโดยรัฐไม่ยินยอมและมีผลเป็นการมอบการยึดถือครอบครองให้แก่จำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ยึดถือครอบครองที่ดินพาทอีกต่อไป จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมและการฟ้องล้มละลาย: ความรับผิดชอบหนี้สินที่ยังไม่ชำระ
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยทั้งสองยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์แยกเป็นต้นเงินจำนวน 1,000,000 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 187,093 บาท และโจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสองผ่อนชำระรวม 10 งวด หากจำเลยทั้งสองผิดนัดยอมให้คิดเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม การที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว กรณีจึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งโจทก์จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ร่วมยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เมื่อจำเลยที่ 2 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น โจทก์จึงนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้เนื่องจากประพฤติเนรคุณจากการหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
โจทก์เจ็บป่วยไปขอความช่วยเหลือจากจำเลย จำเลยไม่พอใจพร้อมพูดว่า บักหมามึงแก่แล้ว พูดจากลับไปกลับมาเหมือนเด็กเล่นขายของ มึงไม่มีศีลธรรม มึงไปตายที่ไหนก็ไป ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงมีเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณที่โจทก์ถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่มีลายมือชื่อ & หนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้อง ศาลสั่งไม่รับฟ้อง ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ไม่โต้แย้ง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับฟ้องและสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง คดีนี้เมื่อหนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้อง การแต่งทนายความก็ไม่ถูกต้องไปด้วย ทนายความผู้นั้นจึงไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ ซึ่งเท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแล้ว โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น ทั้งโจทก์เองก็ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปโดยได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องไว้ก่อนแล้วแต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต แสดงว่าโจทก์พอใจในคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแล้ว คดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงลายมือชื่อโจทก์ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟ้องคดีที่มีข้อบกพร่องด้านลายมือชื่อ และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแก้ไข
ย. ผู้ทำหน้าที่ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องระบุว่า ลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และลายมือชื่อผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความไม่ใช่ลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจ และในวันนัดพร้อม ย. ก็แถลงยืนยันว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจและใบแต่งทนายความไม่ใช่ลายมือชื่อของ อ. ผู้รับมอบอำนาจ กับมี ธ.พี่สาวผู้รับมอบอำนาจแถลงว่า ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจและใบแต่งทนายความเป็นของ ธ. ไม่ใช่ของ อ. การที่ศาลชั้นต้นฟังว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจและใบแต่งทนายความไม่ใช่ของ อ. โดยไม่เรียก อ. มาสอบถามจึงชอบแล้ว
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องไว้แล้ว ภายหลังเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับฟ้องและสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง เมื่อหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีและแต่งตั้งทนายความไม่ถูกต้องการแต่งตั้งทนายความก็ไม่ถูกต้องไปด้วย ทนายความซึ่งลงลายมือชื่อในคำฟ้องจึงไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องและมีคำสั่งไม่รับฟ้องจึงไม่ชอบ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวทั้งโจทก์ยังได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องไว้ก่อนแล้ว แสดงว่าโจทก์พอใจคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงลายมือชื่อโจทก์ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องไว้แล้ว ภายหลังเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับฟ้องและสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง เมื่อหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีและแต่งตั้งทนายความไม่ถูกต้องการแต่งตั้งทนายความก็ไม่ถูกต้องไปด้วย ทนายความซึ่งลงลายมือชื่อในคำฟ้องจึงไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องและมีคำสั่งไม่รับฟ้องจึงไม่ชอบ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวทั้งโจทก์ยังได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องไว้ก่อนแล้ว แสดงว่าโจทก์พอใจคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงลายมือชื่อโจทก์ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ: การพิจารณาอายุความตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช. และ ป.อ.
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ มาตรา 94 บัญญัติว่า เมื่อมีการฟ้องคดีอาญาตามมาตรา 97 ให้นำบทบัญญัติมาตรา 74 มาใช้บังคับโดยอนุโลม หาใช่มาตรา 84 ไม่ ทั้งกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ตามมาตรา 84 ก็เป็นเพียงระยะเวลาที่กำหนดให้ผู้กล่าวหาต้องยื่นคำกล่าวหาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของตนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. นับถัดจากวันที่ผู้ถูกกล่าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและมิใช่บุคคลตามมาตรา 66 ได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น หาใช่เป็นอายุความฟ้องร้องคดีอาญาดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 95 แต่อย่างใดไม่
จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 157 นั้น มีอัตราโทษขั้นสูงคือจำคุกตลอดชีวิตและจำคุก 10 ปี ตามลำดับ อายุความฟ้องร้องคดีอาญาในข้อหาความผิดตามมาตรา 147 จึงมีถึง 20 ปี ตามมาตรา 95 (1) และในข้อหาความผิดตามมาตรา 157 มีถึง 15 ปี ตามมาตรา 95 (2) เมื่อคำนวณจากวันที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด คือวันที่ 3 เมษายน 2543 ถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 20 พฤษภาคม 2546 เป็นเวลา 3 ปีเศษ คดียังไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 157 นั้น มีอัตราโทษขั้นสูงคือจำคุกตลอดชีวิตและจำคุก 10 ปี ตามลำดับ อายุความฟ้องร้องคดีอาญาในข้อหาความผิดตามมาตรา 147 จึงมีถึง 20 ปี ตามมาตรา 95 (1) และในข้อหาความผิดตามมาตรา 157 มีถึง 15 ปี ตามมาตรา 95 (2) เมื่อคำนวณจากวันที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด คือวันที่ 3 เมษายน 2543 ถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 20 พฤษภาคม 2546 เป็นเวลา 3 ปีเศษ คดียังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การนับเริ่มเมื่อผู้แทนของนิติบุคคล (อธิบดี) ทราบเรื่องการละเมิด
โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล มีอธิบดีเป็นผู้แทน การนับอายุความละเมิดตามป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่อธิบดีผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
น. เป็นนายช่างแขวงการทางซึ่งเป็นเพียงข้าราชการในกรมของโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ผู้แทนของโจทก์โดยตรง แม้ น. จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ปี 2539 แล้ว แต่อธิบดีผู้แทนโจทก์ทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2546 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 26 กันยายน 2546 นับถึงวันที่ 12 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
น. เป็นนายช่างแขวงการทางซึ่งเป็นเพียงข้าราชการในกรมของโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ผู้แทนของโจทก์โดยตรง แม้ น. จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ปี 2539 แล้ว แต่อธิบดีผู้แทนโจทก์ทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2546 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 26 กันยายน 2546 นับถึงวันที่ 12 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้เนื่องจากเนรคุณ: ถ้อยคำไม่สุภาพและการทอดทิ้งโดยไม่ได้รับการร้องขอไม่เข้าเหตุเพิกถอน
คำฟ้องโจทก์อ้างเหตุประการแรกว่า จำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์ด้วยถ้อยคำว่า "โจทก์ยกที่ดินให้แล้ว ยังจะเอาคืน เสือกโง่เอง อย่าหวังว่าจะได้สมบัติคืนเลย" ข้อความนี้ เป็นเพียงการกล่าวถ้อยคำไม่สุภาพเท่านั้น ไม่ถึงขนาดเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์หรือทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงแต่อย่างใด ดังนั้นแม้หากจะฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กล่าวถ้อยคำตามคำฟ้องจริงก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเพิกถอนการให้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ได้กล่าวข้อความตามคำฟ้องหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาความว่า หลังจากโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ตัดโค่นไม้ยางพาราเสียและรับเงินราคาค่าไม้ยางทั้งหมดและจงใจทอดทิ้งโจทก์เสีย ไม่ยอมส่งอาหารหรือปัจจัยสี่แก่โจทก์เลย โจทก์พักอาศัยอยู่คนเดียว จำเลยที่ 1 จงใจประพฤติเนรคุณโจทก์ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส อาจได้รับอันตรายแก่ชีวิต ทั้งนี้จำเลยที่ 1 สามารถดูแลปรนนิบัติโจทก์ได้แต่จำเลยที่ 1 ละเลยทอดทิ้งเสียทั้งที่สามารถทำได้ ตามคำฟ้องของโจทก์และการนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า โจทก์เคยขอและจำเลยที่ 1 บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์แต่อย่างใด กรณีจึงไม่เข้าเหตุที่โจทก์มีสิทธิถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3)
โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาความว่า หลังจากโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ตัดโค่นไม้ยางพาราเสียและรับเงินราคาค่าไม้ยางทั้งหมดและจงใจทอดทิ้งโจทก์เสีย ไม่ยอมส่งอาหารหรือปัจจัยสี่แก่โจทก์เลย โจทก์พักอาศัยอยู่คนเดียว จำเลยที่ 1 จงใจประพฤติเนรคุณโจทก์ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส อาจได้รับอันตรายแก่ชีวิต ทั้งนี้จำเลยที่ 1 สามารถดูแลปรนนิบัติโจทก์ได้แต่จำเลยที่ 1 ละเลยทอดทิ้งเสียทั้งที่สามารถทำได้ ตามคำฟ้องของโจทก์และการนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า โจทก์เคยขอและจำเลยที่ 1 บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์แต่อย่างใด กรณีจึงไม่เข้าเหตุที่โจทก์มีสิทธิถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3)