คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ จันทรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาทรัพย์สินพิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เปลี่ยนแปลง ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า ที่ดินภายในกรอบเส้นสีเขียวตามรูปจำลองแผนที่ท้ายคำฟ้องเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ จำเลยให้การว่า ที่ดินส่วนที่โจทก์อ้างการครอบครองเป็นของจำเลย ซึ่งซื้อมาจาก ล. จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองในที่ดิน และเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท ซึ่งมีราคา 100,000 บาท จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นเป็นเงิน 100,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีจำนวนเท่ากับราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้นไม่ได้ลดลง อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 50,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ต้องอ้างอิงจากราคาเดิมที่ศาลชั้นต้นกำหนด หากมีการชำระค่าขึ้นศาลครบถ้วน ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า ที่ดินภายในกรอบเส้นสีเขียวตามรูปจำลองแผนที่ท้ายคำฟ้องเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ จำเลยให้การว่า ที่ดินส่วนที่โจทก์อ้างการครอบครองเป็นของจำเลยซึ่งซื้อมาจาก ล. จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองในที่ดิน และเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท โจทก์และจำเลยแถลงรับกันว่าที่ดินพิพาทมีราคา 100,000 บาท จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นเป็นเงิน 100,000 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เห็นได้ว่าราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีจำนวนเท่ากับราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้นไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด และโจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท เป็นการถูกต้องครบถ้วนแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 50,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินหลังสิ้นสุดสัญญาเช่า ไม่เข้าข่ายยักยอกทรัพย์ หากเป็นเพียงการผิดสัญญา
จำเลยที่ 1 ครอบครองเครื่องจักรยกของหนักบนอาคารสูงหรือปั้นจั่นหอสูงอันเป็นทรัพย์พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องส่งคืนทรัพย์พิพาทแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ในสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตลอดเวลาที่ครอบครองทรัพย์พิพาทตามข้อตกลงในสัญญา แม้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบคืนทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงก็ตาม พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ก็ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการเบียดบังที่จะเอาทรัพย์เป็นของตนโดยทุจริต กรณีเป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่งไม่มีมูลความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีซื้อขาย: การตีความขอบเขตอำนาจและอัตราอากรแสตมป์
หนังสือมอบอำนาจระบุข้อความไว้โดยแจ้งชัดว่า บริษัท ว. โดย พ. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอมอบอำนาจให้ ก. เป็นตัวแทนของโจทก์ในการดำเนินคดีแพ่งแก่บริษัท ย. กับพวก เรื่องผิดสัญญา เรียกสินค้าและเรียกค่าเสียหายตั้งแต่เริ่มต้นจนคดีถึงที่สุดดังต่อไปนี้ ฯลฯ ข้อความที่ระบุไว้เช่นนี้เป็นการมอบอำนาจให้ ก. ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาซื้อขายคดีนี้เท่านั้น มิได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยทั้งสองทั้งสองหรือฟ้องบุคคลอื่นอันเป็นการกระทำมากกว่าครั้งเดียวไม่ แม้ตามหนังสือมอบอำนาจจะระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นๆ ได้ด้วยก็ตาม แต่เป็นเพียงวิธีการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ต่อจำเลยทั้งสองเท่านั้น ถือว่าเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรฯ ข้อ 7 (ก) กำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อโจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจจำนวน 10 บาท จึงครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายหนังสือมอบอำนาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 กรณีย่อมฟังได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ก. ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากเงิน ความเป็นเจ้าของ และการฟ้องล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้ที่จำกัด
โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบเป็นสมาชิกกองทุนเงินสวัสดิการออมทรัพย์ โดยมีเงินฝากออมทรัพย์ฝากไว้กับกองทุนเงินสวัสดิการออมทรัพย์ดังกล่าวรวมเป็นเงิน 8,443,700 บาท จึงเป็นสัญญาฝากเงินซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งเงินคืนเป็นเงินอันเดียวกับที่รับฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิที่จะเอาเงินนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับฝาก ผู้รับฝากคงมีหน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวนนั้นเท่านั้น เงินที่ฝากไว้และจำเลยยักยอกไปมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบ จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบตามมาตรา 420 จำเลยไม่มีความผูกพันเป็นหนี้โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (2) โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบจึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้สินส่วนตัว การฝากเงินเป็นสัญญาส่วนตัวระหว่างผู้ฝากและผู้รับฝาก
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (2) เจ้าหนี้จะฟ้องบุคคลธรรมดาให้ล้มละลายได้บุคคลนั้นจะต้องมีความผูกพันเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์อยู่ การที่โจทก์ทั้ง 150 คน เป็นสมาชิกมีเงินฝากออมทรัพย์ฝากไว้กับกองทุนเงินสวัสดิการออมทรัพย์ของกองพันทหารราบมณฑลทหารบกที่ 11 เงินที่ฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับฝาก ผู้รับฝากคงมีหน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวนนั้นเท่านั้น เงินจำนวน 8,443,700 บาท ที่ฝากไว้และจำเลยยักยอกไปมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้ง 150 คน จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามมาตรา 420 จำเลยไม่มีความผูกพันเป็นหนี้โจทก์ โจทก์ทั้ง 150 คน จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เริ่มนับจากวันผิดนัดชำระหนี้
จำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับธนาคารและศาลพิพากษาตามยอมว่าข้อ 1 ตกลงชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยให้เสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 ตกลงชำระค่าธรรมเนียมที่ศาลไม่สั่งคืนและค่าทนายความ 5,000 บาท ภายในวันที่ 9 มีนาคม 2538 และข้อ 3 หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมดและยอมให้บังคับคดีได้ทันที เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระหนี้ตามสัญญาข้อ 2 ภายในกำหนดวันที่ 9 มีนาคม 2538 ย่อมถือว่าผิดนัดและธนาคารสามารถบังคับคดีได้ทันทีตามสัญญาข้อ 3 ดังนั้น อายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่ 10 มีนาคม 2538 มิใช่เริ่มนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2538 เมื่อครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญาข้อ 1 โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคารมาฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2548 เกิน 10 ปี แล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการลดกำลังผลิตไฟฟ้า: ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดหากเป็นความเสียหายพิเศษที่คาดไม่ถึง
ค่าเสียหายจากการที่เจ้าหนี้ต้องลดกำลังการผลิตไฟฟ้าลงนั้น โดยลักษณะของความเสียหายที่เจ้าหนี้ได้รับไม่ใช่ความเสียหายที่คนปกติทั่ว ๆ ไปจะรู้ได้จึงไม่ใช่ความเสียหายที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้น แต่เป็นความเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษ แม้ลูกหนี้จะประกอบวิชาชีพในการก่อสร้างเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า แต่ในระบบการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของเจ้าหนี้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าเท่าใด ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่อาจทราบได้ และการที่จะใช้กำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งใด ณ เวลาใด เจ้าหนี้น่าจะต้องมีแผนการปฏิบัติการให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของกำลังการผลิตไฟฟ้าในเวลานั้น ๆ อยู่แล้ว เมื่อพิจารณารายละเอียดของค่าเสียหายที่เจ้าหนี้กล่าวอ้างแล้วจึงเห็นว่า ค่าเสียหายดังกล่าวไม่อยู่ในวิสัยที่ลูกหนี้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น ลูกหนี้จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7943/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญาซื้อขายอาคารและการซ่อมแซมความเสียหายจากการรั่วซึม โดยการประมูลราคาเพื่อหาผู้รับจ้าง
ลูกหนี้มีความผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับเจ้าหนี้โดยต้องรับผิดจัดทำกันซึมเพื่อป้องกันน้ำซึมจากชั้นบนอยู่แล้ว ทั้งเจ้าหนี้ไม่ได้ทำสัญญาประกันการรั่วซึมฉบับใหม่กับบริษัท ท. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก กรณีจึงมิใช่การเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ที่จะทำให้หนี้เดิมระงับ
เมื่ออาคารที่เจ้าหนี้รับมอบจากลูกหนี้มีปัญหาน้ำรั่วของดาดฟ้าชั้น 8 และตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด ข้อ 12 ลูกหนี้มีหน้าที่จะต้องทำการกันซึมพื้นที่ชั้นที่ 8 ทั้งหมดด้วยวัสดุกันซึมอย่างดีเพื่อป้องกันน้ำซึมจากสนามเทนนิส สระว่ายน้ำ น้ำฝนหรือการรั่วซึมอื่นๆ ลงมาที่ชั้นล่างของอาคารในส่วนของเจ้าหนี้ เมื่อเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นแล้วลูกหนี้จึงต้องรับผิดชอบทำการซ่อมแซมแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สำเร็จ หากไม่ดำเนินการเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจัดหาบุคคลภายนอกมาดำเนินการโดยเรียกค่าใช้จ่ายจากลูกหนี้ได้อันถือได้ว่าเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 และมาตรา 215 นั่นเอง แม้เจ้าหนี้จะยังมิได้ดำเนินการซ่อมแซมก็เรียกค่าใช้จ่ายจากลูกหนี้โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมต้องชัดเจน การลงลายมือชื่อเฉพาะรายการผูกพันเฉพาะผู้ลงลายมือชื่อ การเปลี่ยนแปลงฐานฟ้องต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น
เอกสารที่โจทก์อ้างว่าเป็นหลักฐานการกู้ยืมตามฟ้อง รายการแรกที่เขียนว่า "ย/ม(จากเล่มเก่า)?390,670" ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าเป็นการกู้ยืม ส่วนที่เขียนว่า "ยืม" ก็เขียนอยู่คนละบรรทัดและเขียนในลักษณะเป็นช่องสำหรับลงรายการทุกรายการที่จะมีต่อไป ไม่ใช่ระบุเฉพาะรายการ 390,670 เท่านั้น และในรายการที่ลงต่อ ๆ มา โจทก์ก็เขียนข้อความประกอบในแต่ละรายการว่าเป็นค่าอะไรบ้าง จึงไม่อาจแปลความคำว่า "ยืม" ตอนบนมาขยายความในช่องรายการแรกได้ ซึ่งข้อความ ย/ม(จากเล่มเก่า)?390,670 นั้น เป็นการแสดงว่าตัวเลข 390,670 นี้ นำมาจากสมุดเล่มเก่า ซึ่งรายการในสมุดเล่มเก่าจะมีกี่รายการ แต่ละรายการเป็นเงินอะไรบ้าง โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏ เมื่อจำเลยทั้งสองปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ จึงถือไม่ได้ว่าเอกสารดังกล่าวในรายการช่องแรกเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามรายการกู้ยืมที่จำเลยแต่ละคนลงลายมือชื่อไว้ ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง จะให้จำเลยคนที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในรายการร่วมรับผิดด้วยไม่ได้ โจทก์ฎีกาว่ากรณีเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์นั้น ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นแต่เรื่องกู้ยืม หาได้กล่าวถึงความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมสำหรับสามีภริยาไว้ด้วยไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
of 32