คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ จันทรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆียะ ผู้ขายต้องรับผิดคืนเงิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาซื้อที่ดินพร้อมบ้านจากจำเลย แต่เมื่อตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้วปรากฏว่า บ้านปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของผู้อื่นบางส่วน เป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยและขอให้จำเลยคืนเงิน แต่จำเลยไม่คืนเงินให้ ถือได้ว่าโจทก์มีข้อโต้แย้งสิทธิกับจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงรับฟังว่า บ้านพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลยตั้งอยู่บนที่ดินที่ซื้อบางส่วนและบางส่วนตั้งอยู่บนที่ดินของผู้อื่น กรณีถือได้ว่าโจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน ตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ หากมิได้มีความสำคัญผิดการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น สัญญาซื้อขายจึงตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 โจทก์มีสิทธิบอกล้างโดยการแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13083/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบริการประกันชีวิตขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต การจ่ายค่าตอบแทนล่วงหน้าทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บริษัทกระทำการดังกล่าวต่อไปนี้... (7) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัท" และมาตรา 93 บัญญัติว่า "บริษัทใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และถ้าเป็นกรณีการกระทำความผิดต่อเนื่องให้ปรับอีกไม่เกินวันละ 20,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่" การที่โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้สรรหาและฝึกอบรมบุคลากรเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนหาลูกค้า และทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานขายให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จ่ายเงินเป็นค่าจ้างหรือค่าตอบแทนล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 ไปก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์กระทำการเพื่อชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่อาจเรียกคืนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8104/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินจากการคืนค่าขึ้นศาลหลังการล้มละลาย: เงินที่ศาลคืนถือเป็นทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่าลูกหนี้ที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้ร้องเพื่อนำไปชำระค่าขึ้นศาลตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 711/2548 ของศาลจังหวัดสีคิ้ว ก็ตาม แต่เมื่อศาลจังหวัดสีคิ้วรับเงินไว้ เงินดังกล่าวย่อมมิใช่เงินของลูกหนี้ที่ 2 แล้ว ต่อมาลูกหนี้ที่ 2 ขอถอนฟ้องและศาลมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลแก่ลูกหนี้ที่ 2 จำนวน 190,000 บาท จึงถือได้ว่าเงินที่ศาลสั่งคืนนี้เป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้ที่ 2 ได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (2) จึงเป็นทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย ผู้คัดค้านจึงสามารถนำเงินจำนวนดังกล่าวเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7136/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัว, การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด, และเหตุไม่ควรให้ล้มละลาย
ในการขอแก้ไขคำฟ้องนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติเอาไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย โดยได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม หลังจากมีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้ว โจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลย แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องทำนองว่าโจทก์ได้สืบหาทรัพย์สินของจำเลยแล้วพบว่าจำเลยมีที่ดิน 4 แปลง ติดจำนองสถาบันการเงินอยู่ หากมีการยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดก็ยังไม่สามารถใช้หนี้ให้แก่โจทก์โดยสิ้นเชิง โดยยังมีหนี้ค้างชำระเกินกว่า 1,000,000 บาท เมื่อคำฟ้องเดิมของโจทก์ครบเงื่อนไขในการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายแล้ว การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเฉพาะเพียงส่วนที่เกี่ยวกับข้อสันนิษฐานที่ว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้น เป็นเพียงการขอแก้ไขรายละเอียดอันเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตจึงเป็นการชอบแล้ว
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 13 บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้วให้กำหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน และให้ออกหมายเรียกและส่งสำเนาคำฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน" การที่กฎหมายได้บัญญัติเหตุดังกล่าวไว้ก็เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพิจารณาคดีล้มละลายที่จะให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็วกว่าคดีแพ่งสามัญ จึงกำหนดให้ศาลนั่งพิจารณาเป็นการด่วนโดยไม่ได้กำหนดวันยื่นคำให้การเหมือนอย่างคดีแพ่งสามัญ ฉะนั้นจำเลยจะยื่นคำให้การหรือไม่ก็ได้ หากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การ จำเลยก็มีโอกาสยื่นได้ก่อนวันนั่งพิจารณา การที่จำเลยยื่นคำให้การภายหลังที่มีการเสร็จการพิจารณาแล้ว จึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลายต้องมีกฎหมายเฉพาะรองรับ การซื้อขายโดยไม่มีกฎหมายรองรับไม่ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้อง
การซื้อขายสิทธิเรียกร้องอันจะมีผลให้ผู้ซื้อมีสิทธิบังคับชำระหนี้หรือเข้าสวมสิทธิแทนเจ้าหนี้เดิมบังคับชำระหนี้เอาแก่ลูกหนี้นั้น จะต้องมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้กระทำได้ เช่น พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 หรือการขายทรัพย์สินที่เป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ผู้ร้องซื้อสิทธิเรียกร้องจากกองทุนรวม ก. เจ้าหนี้ในสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ในคดีล้มละลายตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กระทำ ผู้ร้องจึงไม่ได้รับมาซึ่งสิทธิในการได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5442/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้กู้ยืมและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผลของการฟ้องคดีและการถอนฟ้อง
ในการที่ จ. กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้โดยลูกหนี้ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้เป็นประกันหนี้ โดยมีข้อตกลงว่าหากบังคับทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบถ้วนนั้น เมื่อลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดไม่ชำระหนี้ โดยชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2539 เจ้าหนี้ชอบที่จะฟ้องร้องหรือขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันผิดนัดดังกล่าว หากเจ้าหนี้ไม่ดำเนินการก็ถือว่ามูลหนี้ประธานขาดอายุความ ส่วนที่เจ้าหนี้นำมูลหนี้กู้ยืมและจำนองไปฟ้อง จ. และลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง ต่อมาเจ้าหนี้ได้ถอนฟ้องในส่วนของลูกหนี้ และศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีส่วนลูกหนี้ออกจากสารบบความ การฟ้องคดีดังกล่าวจึงไม่ได้ทำให้อายุความในมูลหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 จึงเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันผิดนัด หนี้รายนี้จึงขาดอายุความไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1) ส่วนการที่เจ้าหนี้ได้นำมูลหนี้จำนองไปยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิในคดีแพ่ง และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามขอ ก็เป็นผลให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิผู้รับจำนอง และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้ย่อมนำมูลหนี้บุริมสิทธิดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ได้ แต่หาได้เกี่ยวพันกับหนี้ส่วนที่ขาดอันเป็นหนี้สามัญด้วยแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรหลังปลดล้มละลาย: ยังมีผลผูกพัน แม้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้
คำสั่งปลดจากล้มละลายมีผลทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายและมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนเองได้ ทั้งทำให้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ โดยมีข้อยกเว้นหนี้อันพึงขอรับชำระได้เพียง 2 กรณีที่ไม่หลุดพ้น รวมทั้งหนี้เกี่ยวกับภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 77 ซึ่งข้อยกเว้นกรณีนี้กฎหมายหาได้บัญญัติว่าต้องเป็นหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วหรือเป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 ไม่ เมื่อหนี้คดีนี้เป็นหนี้เกี่ยวกับภาษีอากร แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 2 เคยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่ต่อมาจำเลยที่ 2 ถูกปลดจากล้มละลาย จำเลยที่ 2 ก็ยังไม่หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 89 ในคดีนี้ได้ ทั้งถือไม่ได้ว่ามีการขอให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซ้ำอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 15 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12534/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: การส่งมอบสมบูรณ์แม้ผู้รับถูกควบคุมตัว
จำเลยกับ พ. มีเจตนาที่จะกระทำความผิดทางอาญาโดยร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงสั่งซื้อและชำระเงินจำนวน 7,000 บาท ให้แก่ จ. ผู้ขาย แต่ จ. ยังไม่สามารถส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้เพราะยังไม่มี จึงผัดว่าจะส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้ในภายหลัง โดย จ. จะนำแมทแอมเฟตมีนตามีนไปซุกซ่อนไว้ที่มาตรวัดน้ำประปาหน้าบ้านเช่าที่จำเลยกับ พ. เคยไปรับแมทแอมเฟตามีนกันมาก่อน จำเลยจึงลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้ว และการที่ จ. ได้นำเมทแอมเฟตามีนที่สั่งซื้อไว้ไปซุกซ่อนที่มาตรวัดน้ำประปาหน้าบ้านเช่าและโทรศัพท์มาแจ้งแก่จำเลยกับ พ. ให้จำเลยกับ พ. ไปเอาได้ เจ้าพนักงานตำรวจจึงนำจำเลยกับ พ. ไปยังสถานที่ดังกล่าวและยึดเมทแอมเฟตามีนจำนวน 60 เม็ด ที่ซุกซ่อนไว้เป็นของกลาง ถือว่าการส่งมอบแมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยกับ พ. มีผลสมบูรณ์เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ จ. แจ้งให้จำเลยกับ พ. ทราบว่าได้นำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปซุกซ่อนที่มาตรวัดน้ำประปานั้นแล้ว แม้ขณะที่ จ. แจ้งให้ทราบนั้น จำเลยกับ พ. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมตัวอยู่ ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยกับ พ. ไม่สามารถครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางได้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9402/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่ในคดีล้มละลาย: สิทธิของโจทก์และสถานะของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด แม้ต่อมาก่อนวันนัดพิจารณาคำร้อง โจทก์ขอถอนคำขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาตแล้ว โจทก์ยังคงเป็นคู่ความในคดีและมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ได้ต่อไป ทั้งการพิจารณาคำร้องของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์และจำเลยที่ 4 ส่วนเจ้าหนี้มิใช่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในชั้นนี้ เมื่อวันนัดพิจารณาคำร้อง โจทก์ไม่คัดค้านการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลล้มละลายกลางจึงชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 พิจารณาคดีใหม่ได้โดยไม่ต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน, คดีล้มละลาย, การหักกลบลบหนี้, สิทธิเจ้าหนี้, เงินฝากประกัน
การที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ระบุจำนวนเงินพร้อมอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอน สามารถคำนวณยอดหนี้ถึงวันฟ้องได้ หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ส่วนการที่โจทก์อาจได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของ อ. ในภายหลังนั้น หาเป็นเหตุให้หนี้ตามฟ้องกลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่
ความปรากฏเพียงว่าในการทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้มอบบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำไว้ให้แก่โจทก์เป็นประกันเท่านั้น แต่มิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์นำเงินฝากดังกล่าวมาหักชำระหนี้ไว้อย่างไร สิทธิเรียกร้องในเงินฝากจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นแม้โจทก์มิได้นำเงินฝากในบัญชีที่วางประกันไว้มาหักจากยอดหนี้ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง กรณีก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ตามฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงขอให้โจทก์นำเงินฝากมาหักกลบลบหนี้ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2)
of 32