พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีฟื้นฟูกิจการล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู
ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งให้ผู้ร้องพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารแผนของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/67 ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการภายใต้การกำกับของศาลเข้าสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจตามปกติ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าวอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทนายความจากการล้มละลาย: การรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องต้องเป็นผลมาจากการบังคับคดีตามสัญญาจ้าง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับเงินค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำร้องแต่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับเงินค่าทนายความส่วนที่ 2 โดยผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกานั้น แม้มิใช่เป็นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง แต่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์ส่งมาให้ศาลฎีกาแล้ว ทั้งศาลฎีกาพิจารณาแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นสมควรรับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านดังกล่าวไว้พิจารณาตามมาตรา 26 วรรคสี่
สิทธิในการได้รับชำระหนี้ค่าทนายความเพิ่มเติมในส่วนที่ 2 อัตราร้อยละ 10 ของยอดหนี้ตามฟ้องแต่ละคดีจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ต่อเมื่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีต่างๆ แล้วไม่ว่าโดยวิธีใดจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามทางนำสืบของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 22 แล้ว ผู้คัดค้านได้มอบหมายให้ผู้ร้องเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ประการใด ทั้งเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในคดีแพ่งดังกล่าวก็เป็นดำเนินการขายโดยผู้คัดค้านตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ มิใช่กรณีที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเพิ่มเติมจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวแต่อย่างใด
สิทธิในการได้รับชำระหนี้ค่าทนายความเพิ่มเติมในส่วนที่ 2 อัตราร้อยละ 10 ของยอดหนี้ตามฟ้องแต่ละคดีจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ต่อเมื่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีต่างๆ แล้วไม่ว่าโดยวิธีใดจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามทางนำสืบของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 22 แล้ว ผู้คัดค้านได้มอบหมายให้ผู้ร้องเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ประการใด ทั้งเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในคดีแพ่งดังกล่าวก็เป็นดำเนินการขายโดยผู้คัดค้านตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ มิใช่กรณีที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเพิ่มเติมจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีจากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทรัพย์สิน
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นเงินได้ของกองทรัพย์สินจำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์และข้อตกลงในหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดเป็นผู้ชำระค่าภาษีต่างๆ แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาขอรับเงินคืนภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์หรือภายใน 20 วัน นับแต่ชำระราคาครบถ้วน หากไม่มาขอคืนภายในกำหนดดังกล่าวถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอรับเงินดังกล่าวคืนนั้น เป็นเพียงเพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของจำเลยดำเนินไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว เมื่อจำหน่ายทรัพย์สินแล้วทรัพย์สินซึ่งเหลือจากที่กันไว้สำหรับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 การทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถกันเงินในส่วนที่ผู้ซื้อทรัพย์จะมาขอรับเงินที่จ่ายเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืนได้ แล้วแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์ทราบ หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่มารับเงินดังกล่าวคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ศาลสั่งปิดคดีเงินดังกล่าวก็จะตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 176 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อตกลงในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์หรือหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินดังกล่าวคืนภายในกำหนดเวลาที่ผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีฟื้นฟูกิจการล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู ทำให้ไม่มีประโยชน์ในการพิจารณาอุทธรณ์อีกต่อไป
ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้บริหารของลูกหนี้อุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ของลูกหนี้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และมีคำสั่งตั้งบริษัท พ. เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ของลูกหนี้ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการภายใต้การกำกับของศาลเข้าสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจตามปกติ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าวอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกองทุนรวม และการใช้สิทธิฟ้องล้มละลายโดยชอบตามกฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับจดทะเบียนกองทรัพย์สินของโครงการจัดการกองทุนรวมโจทก์เป็นกองทุนรวมตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 124 วรรคสอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. เป็นผู้แทนโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมชำระหนี้ โจทก์จึงขอศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยและโจทก์ได้ยื่นคำขอตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบ แต่ไม่พบว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะให้ยึดมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เพื่อให้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และนำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนับว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมชำระหนี้ โจทก์จึงขอศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยและโจทก์ได้ยื่นคำขอตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบ แต่ไม่พบว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะให้ยึดมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เพื่อให้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และนำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนับว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมจำกัดความรับผิด: สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ในคดีล้มละลาย
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้บรรษัท ง. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน และจำเลยที่ 1 กับที่ 3 ได้จำนองที่ดินในวงเงิน 4,000,000 บาท เพื่อประกันหนี้ โดยมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า ถ้าหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบถ้วน เช่นนี้ความรับผิดของโจทก์จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่มีต่อบรรษัท ง. นั้นอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมที่จะต้องชำระหนี้ตามฐานะของตน และวงเงินที่มีการกำหนดความรับผิดไว้ โดยจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในฐานะผู้จำนองซึ่งกำหนดวงเงินจำกัดความรับผิดไว้ การที่โจทก์ได้ชำระหนี้ตามภาระค้ำประกันให้แก่บรรษัท ง. ไปนั้น โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของบรรษัท ง. ที่จะมาไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นโดยเต็มจำนวน แต่ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 จำนองที่ดินประกันหนี้ในวงเงิน 4,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย และบรรษัท ง. ได้ฟ้องบังคับจำนองจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาให้บังคับจำนองแล้ว และหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อบรรษัท ง. นั้น มีจำนวนมากกว่าวงเงินที่จำนองอยู่ เช่นนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ได้จำกัดความรับผิดของตนต่อบรรษัท ง. ไว้ และมีภาระต้องรับผิดต่อบรรษัท ง. ตามวงเงินที่จำนอง แต่โจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าการชำระหนี้เงินของโจทก์ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นความรับผิดต่อบรรษัท ง. หรือรับผิดน้อยกว่าวงเงินที่แต่ละคนเข้าผูกพันแล้ว โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในความรับผิดระหว่างลูกหนี้ร่วมกันอันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบรรษัท ง. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชั้นต้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 230 วรรคสอง หาได้ไม่ โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 3 ได้หรือไม่ยังไม่อาจกำหนดได้แน่นอน โจทก์จึงยังไม่อาจนำหนี้ในส่วนนี้มาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50-51/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินในเขตป่าสงวน: การหลอกลวงและความรับผิดทางอาญา
การที่ผู้เสียหายทั้งสองซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 8 โดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินที่ซื้ออยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และจำเลยที่ 8 ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองได้ การซื้อขายที่ดินระหว่างผู้เสียหายที่ 2 กับจำเลยที่ 8 จึงเป็นการซื้อขายสิทธิครอบครองในที่ดิน เมื่อจำเลยที่ 8 มอบที่ดินที่ผู้เสียหายทั้งสองซื้อให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองและผู้เสียหายที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 และที่ 6 เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 8 ไม่เป็นการหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสองและไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7841/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้เสียหายสำคัญต่อความผิดฐานข่มขืน/กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์ การยินยอมมีผลต่อความผิด
มาตรา 16 ป.พ.พ. บัญญัติว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุตั้งแต่วันเกิด คือนับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 193/5 คดีได้ความว่าเหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้น ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 227 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีความผิดตามบทบัญญัติมาตรานี้และแม้จะมีบทบัญญัติความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในมาตรา 276 แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 276 เช่นกัน ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้นไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 แต่ก็เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7841/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้เสียหายสำคัญต่อการพิจารณาความผิดฐานพรากผู้เยาว์และกระทำชู้
ป.พ.พ. มาตรา 16 บัญญัติว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุแต่วันเกิดคือนับแต่วันที่ 5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/5 คดีได้ความว่า เหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้นขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว กรณีจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 และ 317
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยาน: ศาลอนุญาตได้หากไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์แล้วนัดฟังคำพิพากษา จึงไม่มีวันชี้สองสถานและวันสืบพยาน จำเลยที่ 3 ย่อมจะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนอกจากที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยที่ 3 แก้ไขคำให้การได้แล้วจะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180