พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันในการฟ้องล้มละลาย
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์ในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่กระทำไปโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 24 และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แม้ต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ คำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันศาลในคดีล้มละลายเนื่องจากฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลายย่อมกระทบถึงความสามารถ สถานะและทรัพย์สินของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์ ศาลจึงต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 จึงจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดได้ เมื่อโจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องโดยหนี้ดังกล่าวมีมูลหนี้มาจากสัญญากู้ยืมเงินที่ตกเป็นโมฆะจึงเป็นนิติกรรมที่ไม่มีผลตามกฎหมาย จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์ตามมาตรา 9 (2) โจทก์ไม่มีสิทธินำมูลหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนำไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยอดหนี้ไม่ถูกต้อง ศาลให้คิดคำนวณใหม่ได้ แต่ไม่ตัดสิทธิฟ้องใหม่
ป.พ.พ. มาตรา 764 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะนำเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาด แต่ปรากฎข้อเท็จจริงทางนำสืบของโจทก์ว่าการขายทอดตลาดครั้งที่สองไม่ได้ประกาศทางหนังสือพิมพ์ทั้งที่ครั้งแรกได้มีการประกาศทางหนังสือพิมพ์ และผู้ทำการขายทอดตลาดก็เป็นพนักงานของโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสนอซื้อเพียงรายเดียวในราคาหุ้นละ 100 บาท เท่ากับราคาที่ระบุไว้ในใบหุ้นเท่านั้น พฤติการณ์ดังกล่าวของโจทก์แสดงให้เห็นว่า การขายทอดตลาดไม่ได้เป็นไปโดยเปิดเผยแก่ประชาชนทั่วไปและไม่ได้ขายในราคาที่พอสมควร การบังคับจำนำของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและย่อมทำให้ยอดหนี้ที่โจทก์คำนวณมาในฟ้องไม่ถูกต้อง แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และหนี้ยังไม่ระงับ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญา ก็สมควรที่จะให้มีการคิดคำนวณใหม่โดยพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่ ซึ่งเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนำไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลต้องยกฟ้องและเปิดโอกาสให้คิดคำนวณหนี้ใหม่
โจทก์มีสิทธิขอบังคับตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่จำต้องบังคับจำนำเอากับหุ้นก่อน แต่โจทก์ต้องตั้งรูปบรรยายฟ้องและคิดคำนวณยอดหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอย่างเดียวโดยไม่กล่าวถึงการบังคับจำนำเอากับหุ้นที่จำเลยจำนำไว้ ดังนั้นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ใช้สิทธิบังคับจำนำและคิดคำนวณยอดหนี้โดยหักเงินที่ได้จากการบังคับจำนำมาชำระหนี้ และศาลต้องพิจารณาประเด็นเรื่องการบังคับจำนำ เมื่อศาลวินิจฉัยว่าการบังคับจำนำไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมทำให้ยอดหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณมาในฟ้องไม่ถูกต้อง จึงไม่ชอบที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง ศาลจึงให้มีการคิดคำนวณใหม่โดยพิพากษายกฟ้องและไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนำหุ้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่กระทบหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ยอดหนี้ที่คำนวณในฟ้องไม่ถูกต้อง
เมื่อการบังคับจำนำหุ้นของบริษัท ซ. โดยการขายทอดตลาดซึ่งไม่ได้เป็นไปโดยเปิดเผยแก่ประชาชนทั่วไปและไม่ได้ขายในราคาที่พอสมควร การขายทอดตลาดหุ้นดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่มีผลถึงหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นหนี้ประธานที่จำเลยมีความรับผิดต่อโจทก์อยู่ตั้งแต่ก่อนจะมีการขายทอดตลาดแล้ว
แม้โจทก์จะมีสิทธิขอบังคับตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่จำต้องบังคับจำนำเอากับหุ้นก่อนก็ตาม แต่โจทก์ตั้งรูปบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบังคับจำนำและคิดคำนวณยอดหนี้โดยหักเงินที่ได้จากการบังคับจำนำมาชำระหนี้ ศาลจึงต้องพิจารณาประเด็นเรื่องการบังคับจำนำ เมื่อวินิจฉัยว่าการบังคับจำนำไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมทำให้ยอดหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณในฟ้องไม่ถูกต้อง จึงไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและหนี้ยังไม่ระงับ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญา แต่เมื่อยอดหนี้ที่ค้างชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยยังไม่ถูกต้อง สมควรที่จะให้มีการคิดคิดคำนวณใหม่โดยพิพากษายกฟ้องและไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่
อุทธรณ์ในปัญหาเพียงว่าจะระบุในคำพิพากษาให้สิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่หรือไม่ ไม่มีข้อพิพาทโต้เถียงเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดโดยตรง ข้ออุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
แม้โจทก์จะมีสิทธิขอบังคับตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่จำต้องบังคับจำนำเอากับหุ้นก่อนก็ตาม แต่โจทก์ตั้งรูปบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบังคับจำนำและคิดคำนวณยอดหนี้โดยหักเงินที่ได้จากการบังคับจำนำมาชำระหนี้ ศาลจึงต้องพิจารณาประเด็นเรื่องการบังคับจำนำ เมื่อวินิจฉัยว่าการบังคับจำนำไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมทำให้ยอดหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณในฟ้องไม่ถูกต้อง จึงไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและหนี้ยังไม่ระงับ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญา แต่เมื่อยอดหนี้ที่ค้างชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยยังไม่ถูกต้อง สมควรที่จะให้มีการคิดคิดคำนวณใหม่โดยพิพากษายกฟ้องและไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่
อุทธรณ์ในปัญหาเพียงว่าจะระบุในคำพิพากษาให้สิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่หรือไม่ ไม่มีข้อพิพาทโต้เถียงเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดโดยตรง ข้ออุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิของผู้ให้เช่า: การบังคับชำระหนี้จากสิทธิการเช่า vs. สังหาริมทรัพย์ในที่เช่า
หนี้ที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่จำเลยค้างชำระค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และหนี้อย่างอื่นของผู้เช่าอันเกิดจากความเกี่ยวพันในเรื่องเช่าอาคารพาณิชย์ ผู้ร้องมีบุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์ตามป.พ.พ. มาตรา 259 (1) แต่คดีนี้ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดสิทธิการเช่า ไม่ได้ขอบังคับเอาจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เช่านำเข้ามาไว้ในที่ดินหรือโรงเรือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง, วรรคสอง ทั้งมิใช่เงินอันผู้โอนหรือผู้ให้เช่าช่วงจะพึงได้รับจากผู้รับโอนหรือผู้เช่าช่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 262 ผู้ร้องจึงไม่มีบุริมสิทธิพิเศษเหนือเงินจากการขายทอดตลาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนตามป.วิ.พ. มาตรา 287 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2)(ก)
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนตามป.วิ.พ. มาตรา 287 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2)(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิผู้ให้เช่า: การบังคับชำระหนี้จากสิทธิการเช่า vs. สังหาริมทรัพย์ในที่เช่า
แม้หนี้ที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่จำเลยค้างชำระค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และหนี้อย่างอื่นของผู้เช่าอันเกิดจากความเกี่ยวพันในเรื่องเช่าอาคารพาณิชย์ ผู้ร้องมีบุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 259 (1) ซึ่งมาตรา 261 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าที่ดินนั้นมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายอันผู้เช่าได้นำเข้ามาไว้บนที่ดินที่ให้เช่า หรือนำเข้ามาไว้ในเรือนโรงอันใช้ประกอบกับที่ดินนั้น และมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์เช่นสำหรับที่ใช้ในที่ดินนั้น กับทั้งเหนือดอกผลอันเกิดจากที่ดินซึ่งอยู่ในครอบครองของผู้เช่านั้นด้วย" และวรรคสองบัญญัติว่า "บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าเรือนโรงย่อมมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้เช่านำเข้ามาไว้ในเรือนโรงนั้นด้วย" แต่คดีนี้ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดสิทธิการเช่า ไม่ได้ขอ บังคับเอาจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เช่านำเข้ามาไว้ในที่ดินหรือโรงเรือน ทั้งมิใช่เงินอันผู้โอนหรือผู้ให้เช่าช่วงจะพึงได้รับจากผู้รับโอนหรือผู้เช่าช่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 262 ผู้ร้องจึงไม่มีบุริมสิทธิพิเศษเหนือเงินจากการขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2179/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่ในคดีล้มละลาย: การขาดนัดเนื่องจากที่อยู่ไม่ถูกต้องและการให้ความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้
แม้คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องของลูกหนี้ที่ 2 ที่ขอให้พิจารณาคดีใหม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง แต่เมื่อพิจารณาคำร้องของลูกหนี้ที่ 2 ดังกล่าวปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้บรรยายกล่าวอ้างในคำร้องแล้วว่า ลูกหนี้ที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกสำเนาคำร้องในคดีนี้ เนื่องจากลูกหนี้ที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่อาคารเลขที่ 120/22 มิใช่อาคารเลขที่ 120 ตามที่ผู้ร้องนำส่งหมายเรียกสำเนาคำร้อง และลูกหนี้ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้มาโดยตลอด กรณีไม่ต้องด้วย พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฯ มาตรา 58 วรรคท้าย จึงเป็นคำร้องที่กล่าวอ้างโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุที่ลูกหนี้ที่ 2 ขาดนัดพิจารณา และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลล้มละลายกลางแล้ว ลูกหนี้ที่ 2 มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ที่ศาลล้มละลายกลางสั่งยกคำร้องของลูกหนี้ที่ 2 โดยมิได้ทำการไต่สวนก่อนจึงเป็นการไม่ถูกต้อง กรณีมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่องหลังสัญญาซื้อขายแม้สัญญาจะโมฆะ ศาลพิพากษาให้โอนได้
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่แรกและต่อมาได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของที่ดินพิพาทระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ได้ขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องตั้งแต่ปี 2532 และในปี 2534 ได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องอีกครั้งหนึ่ง โดยตกลงจะมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอน 5 ปี แม้หนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวในครั้งหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่ได้ความว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาแม้เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้วและผู้ร้องได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้โอนที่ดินพิพาทดังกล่าว ศาลแขวงสุรินทร์ก็พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้อง คดีถึงที่สุดแล้วผลแห่งคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้หลังล้มละลาย: ข้อตกลงดอกเบี้ยย้อนหลังเป็นโมฆะ แต่เงินต้นสมบูรณ์
แม้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้มูลหนี้เงินยืมและอาวัลที่เจ้าหนี้ได้รับภาระใช้หนี้แทนลูกหนี้ตามเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายไปแล้วหลายครั้งก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.28/2529 ของศาลจังหวัดนนทบุรี และเจ้าหนี้มิได้นำมูลหนี้ดังกล่าวไปขอชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ และมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวแล้วนั้น แต่เมื่อภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือฉบับลงวันที่ 24 เมษายน 2542 ตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็คที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริงคืนให้แก่เจ้าหนี้ จึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจและมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายมิใช่เป็นเอกสารรับสภาพหนี้ที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 24 ซึ่งเป็นโมฆะ แต่ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลายในคดีหมายเลขแดงที่ ล.28/2529 เป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ข้อตกลงดอกเบี้ยส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะ และพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนแก่เจ้าหนี้ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดนับแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2542 จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้หลังล้มละลายมีผลผูกพันได้ แต่ดอกเบี้ยย้อนหลังในขณะล้มละลายเป็นโมฆะ
หนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็คมีมูลหนี้มาจากเจ้าหนี้ซึ่งมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้ไปแล้วก่อนวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายเรื่องก่อนของศาลจังหวัดนนทบุรี และเจ้าหนี้มิได้นำหนี้ดังกล่าวไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ ซึ่งการประนอมหนี้ดังกล่าวผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ แต่ก็มีผลผูกพันหนี้เดิมของเจ้าหนี้ที่ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้นั้นและมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวเท่านั้น แต่ภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือพิพาทให้แก่เจ้าหนี้โดยตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท ที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริงและลูกหนี้ยังมิได้ชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้หนังสือพิพาทดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์กับเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินคืนแก่เจ้าหนี้และมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย มิใช่เป็นเอกสารรับสภาพหนี้ตามเช็คธนาคาร ท. ที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ในระหว่างที่ลูกหนี้ยังอยู่ในภาวะล้มละลายอันเป็นการกระทำเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 24 ซึ่งตกเป็นโมฆะไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามหนังสือพิพาทเป็นเงินต้น 22,750,000 บาท
ส่วนข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยส่วนนี้ จึงตกเป็นโมฆะเช่นกันและตามพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 22,750,000 บาท นับจากวันที่ 15 สิงหาคม 2542 อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือพิพาทจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
ส่วนข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยส่วนนี้ จึงตกเป็นโมฆะเช่นกันและตามพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 22,750,000 บาท นับจากวันที่ 15 สิงหาคม 2542 อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือพิพาทจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด