คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ จันทรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้หลังล้มละลาย: ข้อตกลงดอกเบี้ยย้อนหลังเป็นโมฆะ แต่เงินต้นสมบูรณ์
แม้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้มูลหนี้เงินยืมและอาวัลที่เจ้าหนี้ได้รับภาระใช้หนี้แทนลูกหนี้ตามเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายไปแล้วหลายครั้งก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.28/2529 ของศาลจังหวัดนนทบุรี และเจ้าหนี้มิได้นำมูลหนี้ดังกล่าวไปขอชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ และมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวแล้วนั้น แต่เมื่อภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือฉบับลงวันที่ 24 เมษายน 2542 ตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็คที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริงคืนให้แก่เจ้าหนี้ จึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจและมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายมิใช่เป็นเอกสารรับสภาพหนี้ที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 24 ซึ่งเป็นโมฆะ แต่ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลายในคดีหมายเลขแดงที่ ล.28/2529 เป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ข้อตกลงดอกเบี้ยส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะ และพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนแก่เจ้าหนี้ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดนับแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2542 จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพลาดในการฟ้องคดีอาญาเรื่องวันเวลาเกิดเหตุ ส่งผลให้จำเลยหลงต่อสู้และศาลต้องยกฟ้อง
มารดาผู้เสียหายเบิกความว่า ประมาณเดือนธันวาคม 2541 ช่วงแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ เวลาประมาณ 21 นาฬิกา พยานไม่พบผู้เสียหายทั้ง ๆ ที่วันดังกล่าวผู้เสียหายก็อยู่ช่วยพยานขายขนมบัวลอย จนกระทั่งเวลา 24 นาฬิกา พยานเลิกขายของกลับบ้านแล้ว ผู้เสียหายจึงกลับไปพบพยาน พยานสอบถามผู้เสียหายว่าไปไหนมาผู้เสียหายบอกว่าไปกับเพื่อน แต่พยานไม่เชื่อจึงสอบถามผู้เสียหาย ต่อมาอีกประมาณ 2 ถึง 3 วัน ผู้เสียหายจึงยอมเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังว่าถูกจำเลย กับพวกข่มขืน เมื่อทราบเรื่องดังกล่าว พยานจึงได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม เจ้าพนักงานตำรวจให้ผู้เสียหายไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ศ. วันที่ผู้เสียหายกับมารดาไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนคือวันที่ 7 มกราคม 2542 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่พนักงานสอบสวนส่งผู้เสียหายไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ศ. ได้ความจากคำเบิกความของนายแพทย์ ว. ผลปรากฎว่ามีการร่วมเพศไม่เกิน 3 วันผ่านมา และผู้เสียหายยืนยันว่า ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายไม่เคยร่วมประเวณีกับใครมาก่อน หลังจากเกิดเหตุแล้วจนถึงวันที่ผู้เสียหายไปตรวจร่างกายผู้เสียหายไม่ได้ร่วมประเวณีกับใคร เหตุคดีนี้จึงเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 มกราคม 2542 ไม่ใช่ในระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม 2541 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2541 ตามฟ้องโจทก์ จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าในช่วงเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยรับราชการเป็นทหารกองประจำการอยู่ที่โรงเรียน ก. จำเลยไม่ได้ลาออกไปข้างนอกโดยมีเรืออากาศเอก น. นายทหารประจำโรงเรียน ก. มาเบิกความสนับสนุนและส่งเอกสารสำเนาบัญชีคุมการจำหน่ายเวลาปฏิบัติราชการของจำเลยเป็นพยานด้วย โจทก์ฟ้องผิดวันเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน แม้ว่าข้อแตกต่างนี้จะเป็นเพียงรายละเอียด แต่การที่ฟ้องผิดวันไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ จึงต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผิดวันเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ ศาลฎีกายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ทางพิจารณาได้ความว่า เหตุคดีนี้เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 มกราคม 2542 ไม่ใช่ในระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม 2541 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2541 ตามฟ้องโจทก์ จำเลยนำสืบต่อสู้ฟังได้ว่า ในช่วงเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยรับราชการเป็นทหารกองประจำการอยู่ที่โรงเรียนการบิน อำเภอกำแพงแสน จำเลยไม่ได้ลาออกไปข้างนอก โจทก์ฟ้องผิดวันเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน แม้ว่าข้อแตกต่างนี้จะเป็นเพียงรายละเอียด แต่การฟ้องผิดวันไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ จึงต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10633/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากสินสมรสโดยไม่สุจริต และประเภทคดีที่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) และเมื่อจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสคืนให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาเป็นของโจทก์ด้วย หากโจทก์ชนะคดีย่อมได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืน จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนของโจทก์ หากโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิกถอนทั้งหมด และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เพิกถอนนิติกรรมทั้งหมด โจทก์ย่อมได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดคืนมา จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10506/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องขัดทรัพย์: ผู้ถือหุ้นจำกัดความรับผิดไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์แทนห้างหุ้นส่วน
บุคคลที่อาจยื่นคำร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ได้ จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียอย่างใดๆ ในทรัพย์ที่ถูกยึด อันถือได้ว่าเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิจากการยึดทรัพย์นั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์อ้างว่า อพาร์ตเมนต์ที่ถูกยึดไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 แต่เป็นทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. หากเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างจริง บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิจากการยึดทรัพย์ก็คือห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เจ้าของทรัพย์สินซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากตัวผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ทรัพย์ที่ถูกยึดจึงหาได้เป็นสิทธิของผู้ร้องด้วยไม่ กรณีไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิ และถึงแม้ห้างดังกล่าวเหลือผู้ร้องเพียงคนเดียว เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดถึงแก่ความตายไป ก็เป็นผลให้เลิกห้างและชำระบัญชีโดยผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้ดำเนินการของห้างหุ้นส่วนตามแต่จำเป็นเพื่อการชำระสะสางกิจการให้เสร็จไปด้วยดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 เมื่อผู้ร้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนธรรมดาจึงไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์คดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10505/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้: ศาลงดบังคับคดีได้หากจำเลยชำระหนี้ครบถ้วน แม้มีช่วงชำระล่าช้า
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นรายงวดรวม 7 งวด ผิดนัดงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ ตกลงชำระงวดแรกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 แต่จำเลยนำเงินมาวางศาลชำระหนี้ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 ช้าไปเพียง 2 วันทำการ แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ตามที่โจทก์ยื่นคำขอในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 และวันที่ 19 มีนาคม 2547 กรณีถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจกระทำได้ เพราะเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามอำนาจแห่งดุลพินิจของศาลชั้นต้น ทั้งในงวดต่อๆ มา เดือนสิงหาคม 2547 เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เดือนสิงหาคม 2548 เดือนกุมภาพันธ์ 2549 เดือนสิงหาคม 2549 และเดือนกุมภาพันธ์ 2550 จำเลยชำระตรงตามนัดและโจทก์ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมระงับสิ้นไป จึงไม่มีเหตุต้องออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10143/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการชิงทรัพย์ - การทำร้ายร่างกาย - รอการลงโทษ
ผู้เสียหายกับจำเลยรู้จักกันมาก่อน ไปเที่ยวดื่มสุราด้วยกัน พยานโจทก์ที่ไปในที่เกิดเหตุกับจำเลยและผู้เสียหายเบิกความว่า ขณะที่กำลังรอรถโดยสารประจำทางอยู่นั้น จำเลยกับผู้เสียหายกอดกันในฐานะคนรัก หลังเกิดเหตุเมื่อสิบตำรวจเอก ป. ตามไปพบจำเลยอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุเพียงประมาณ 100 เมตร พบจำเลยถอดเสื้อเอาเสื้อพาดบ่าไว้ โดยจำเลยมีอาการมึนเมาและร้อยตำรวจโท น. พนักงานสอบสวนก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ขณะจับตัวจำเลย จำเลยมีอาการมึนเมา จากพฤติการณ์แห่งคดีเชื่อว่าจำเลยรู้จักคุ้นเคยกับผู้เสียหายและจำเลยกระทำในขณะมึนเมา การที่จำเลยเอาสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปนั้นไม่ได้ประสงค์จะเอาไปในลักษณะเป็นการประทุษร้ายต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้เสียหาย จำเลยมิได้เจตนาที่จะเอาทรัพย์ไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9344/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าซ่อมรถ: สัญญาการค้ากับบริษัทประกันภัย อายุความ 5 ปีตาม พ.ร.บ. มาตรา 193/33(5)
โจทก์ประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้า มีสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันวินาศภัยที่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือซ่อมรถยนต์ของผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยหรือรถยนต์คู่กรณีที่ถูกรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยทำละเมิด ซึ่งเป็นธุรกิจการค้าของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าจ้างซ่อมรถยนต์ของเหล่าผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยจากจำเลย จึงเป็นการเรียกเอาค่าจ้างหรือค่าแห่งการงานที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ กรณีต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ไม่ใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) เมื่อสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างของโจทก์เกิดขึ้นในช่วงปี 2541 และโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 10 มิถุนายน 2545 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนด 5 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8856/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาศาลฎีกา: ห้ามมิให้ผู้แพ้คดีอ้างสิทธิในทรัพย์สินที่ศาลตัดสินแล้ว
คดีเดิมจำเลยที่ 1 เคยฟ้องขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ปลอมหนังสือมอบอำนาจที่ผู้ร้องลงลายมือชื่อไว้โดยยังไม่กรอกข้อความ ต่อมาจำเลยทั้งกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจแล้วนำไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตนเอง โดยผู้ร้องไม่ยินยอมศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 มิได้ปลอมหนังสือมอบอำนาจและฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์เป็นของผู้ร้องอีกและจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีเดิม ดังนั้นคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเดิมย่อมผูกพันผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความกันมาแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องอีกหาได้ไม่ ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ สัญญาประกันชีวิต: แม้ทำพร้อมกัน แต่เป็นสัญญาแยกต่างหาก หากมีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ต่างกัน
เมื่อสัญญาประกันชีวิตที่ฟ้องในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นสัญญาคนละฉบับซึ่งมีข้อกำหนดและเงื่อนไขแยกจากกันได้เช่นนี้ กรณีจึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์คดีนี้มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
of 32