พบผลลัพธ์ทั้งหมด 338 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสันดาน: ศาลพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนผู้เสียหายซึ่งน่าเชื่อถือกว่าคำเบิกความในชั้นศาล
ผู้เสียหายเบิกความเป็นพยานว่า ขณะจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ได้ขัดขืนเพราะเห็นว่าจำเลยเป็นบิดา แต่ให้การตามบันทึกคำให้การต่อหน้าบุคคลที่ผู้เสียหายร้องขอ พนักงานอัยการ และนักสังคมสงเคราะห์ว่า ขณะจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ผู้เสียหายได้ร้องขอไม่ให้จำเลยทำ จำเลยไม่ฟังและผู้เสียหายก็มีร่างกายไม่สมประกอบ ไม่มีแรงที่จะขัดขืน ผู้เสียหายเป็นบุตรจำเลยและเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ผู้เสียหายยังรักจำเลยและไม่ประสงค์จะเอาเรื่องจำเลย เชื่อว่าผู้เสียหายเบิกความในชั้นพิจารณาเพื่อช่วยเหลือจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายจึงน่าเชื่อกว่าคำเบิกความ แม้คำให้การในชั้นสอบสวนจะเป็นพยานบอกเล่าแต่เมื่อพิจารณาตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่าน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ ประกอบกับเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยที่บุตรจะยินยอมให้บิดากระทำชำเรา คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายจึงมีเหตุผลหนักแน่นรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาตามฟ้องเดิม ศาลไม่อาจลงโทษฐานความผิดอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในฟ้อง แม้มีพยานหลักฐานสนับสนุน
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่โจทก์ร่วมทั้งสองฎีกาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันตระเตรียมอาวุธมาทำร้ายผู้ตาย แต่เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองเข้ามาดำเนินคดีนี้โดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ เมื่อคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน อันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคสอง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 290 วรรคสองได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6770/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษและดำเนินการภายในกรอบเวลาที่ศาลอนุญาต หากไม่ดำเนินการตามขั้นตอน ศาลไม่รับวินิจฉัย
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย เมื่อคดีนี้ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์ร่วมประสงค์จะให้อัยการสูงสุดรับรองให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์ร่วมชอบที่จะดำเนินการภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ทันที แต่โจทก์ร่วมก็ไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด เมื่อใกล้วันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์โจทก์ร่วมกลับยื่นคำร้องให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้น ภายหลังเมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมจึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อ้างว่า เพื่อจะดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นความบกพร่องของโจทก์ร่วมเอง ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจทั่วไปขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมและให้โอกาสโจทก์ร่วมได้ใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลได้อย่างเต็มที่นั้น เมื่อตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมอ้างเหตุเพื่อขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมในข้อนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจทั่วไปขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมและให้โอกาสโจทก์ร่วมได้ใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลได้อย่างเต็มที่นั้น เมื่อตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมอ้างเหตุเพื่อขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมในข้อนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6137/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา: การบรรยายรายละเอียดเวลาและตัวบุคคลร่วมกระทำความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2546 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 1 คน ซึ่งเป็นเยาวชนแยกดำเนินคดีต่างหากแล้ว ร่วมกันวิ่งราวทรัพย์เอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยฉกฉวยเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่เก็บรักษาไว้ในเคหสถานซึ่งเป็นร้านอาหารและที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายไปซึ่งหน้า และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด การพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นจากการจับกุม ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา อีกทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนเวลาเกิดเหตุเป็นเวลากี่นาฬิกาก่อนเวลาเที่ยงคืน และเยาวชนที่ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นใครและแยกไปดำเนินคดีที่ศาลใดเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6096/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมในการกระทำความผิดทางเพศ: พยานหลักฐาน ความสัมพันธ์ และแรงจูงใจ
แม้อุทธรณ์ของจำเลยไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จำเลยประสงค์ยกขึ้นอ้างอิงคัดค้าน หรือกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อใด แต่คดีนี้โจทก์มีผู้เสียหายซึ่งเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียว และศาลชั้นต้นวินิจฉัยถึงความสัมพันธ์ของผู้เสียหายกับจำเลย หน้าที่การงานของผู้เสียหาย และการที่จำเลยผิดนัดไม่ไปสู่ขอผู้เสียหายจนเป็นสาเหตุให้เกิดคดีนี้ แล้วเห็นว่าคำเบิกความของผู้เสียหายมีเหตุผลและมีน้ำหนักรับฟังได้ ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ถึงความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาระหว่างจำเลยกับผู้เสียหาย สาเหตุที่ผู้เสียหายโกรธเคืองจำเลยเพราะจำเลยไม่ไปสู่ขอผู้เสียหายตามนัดหมาย และญาติของผู้เสียหายยุให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเพื่อเรียกทรัพย์สิน วันเกิดเหตุผู้เสียหายยินยอมสมัครใจไปกับจำเลยเพื่อเจรจาต่อรองเกี่ยวกับคดีอาญาที่ผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ แต่เมื่อผู้เสียหายเรียกร้องเงินจากจำเลยและจำเลยไม่ยินยอมให้ จึงทำให้ผู้เสียหายไม่พอใจ และศาลชั้นต้นมีแนวโน้มจะเชื่อคำเบิกความของผู้เสียหายอันเป็นการขัดต่อหลักการพิจารณาคดี เท่ากับอุทธรณ์ว่าคำเบิกความของผู้เสียหายไม่น่าเชื่อถือและไม่มีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5793/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีอาญา: พฤติการณ์พิเศษและการดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 4 โดยอ้างเหตุเดียวกันว่า ขอถ่ายสำเนาคำพิพากษารวมทั้งบรรดาสรรพเอกสารต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและสั่งสำนวนในชั้นอุทธรณ์ แต่ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาและสรรพเอกสาร และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์เพราะเหตุดังกล่าวทั้งสี่ครั้งเป็นเวลานานถึง 5 เดือนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำสั่งของศาลชั้นต้นในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ ครั้งที่ 4 ฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2552 ว่า คำพิพากษาจัดพิมพ์เสร็จแล้ว แสดงว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพิ่งจัดพิมพ์เสร็จก่อนโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 แม้โจทก์จะมีระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 ก็ตาม แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง หากโจทก์ในฐานะพนักงานอัยการจะไม่ยื่นอุทธรณ์ต้องส่งสำนวนและคำสั่งไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรณีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีความเห็นแย้งให้ส่งสำนวนและความเห็นไปให้อัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 อันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ซึ่งสอดคล้องกับเหตุผลตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 5 ของโจทก์ที่ว่า เสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา แต่ยังไม่ทราบผลการพิจารณา ทั้งโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 5 โดยเพิ่งอ้างเหตุดังกล่าว แสดงว่า เมื่อโจทก์ได้รับสำเนาคำพิพากษาและสรรพเอกสารในสำนวนแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการเกี่ยวกับอุทธรณ์คดีนี้ตามกฎหมายทันที ตามรูปคดีนับว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุอันควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5727/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการจัดให้มีการเล่นการพนันและร่วมเล่นพนัน ศาลลงโทษได้ทั้งสองกรรม
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานไม่จำต้องบันทึกโดยละเอียด แต่ก่อนบันทึกฟ้อง ศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำผิด และจะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น เมื่อบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ปรากฏว่าโจทก์ระบุว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันและร่วมกันเล่นไพ่รัมมี่ ย่อมเข้าใจได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันแล้ว แม้โจทก์จะไม่บรรยายว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดหลายกรรมและบรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดของจำเลยที่ 1 ในแต่ละข้อหาเป็นข้อย่อยมาให้ชัดเจน อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ก็ตาม ไม่อาจถือว่าบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ไม่ชัดเจนว่าโจทก์ไม่ประสงค์ลงโทษจำเลยที่ 1 ในแต่ละข้อหาแยกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ทั้งการที่คำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาด้วย ศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ เมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 จัดให้มีการเล่นการพนันไพ่รัมมี่ แล้วจำเลยที่ 1 เข้าร่วมเล่นการพนันกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย สภาพแห่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่มีเจตนาต่างกัน คือ จัดให้มีการเล่นก็โดยมีเจตนาเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน เมื่อจำเลยที่ 1 จัดให้มีการเล่น จำเลยที่ 1 ก็ได้ผลประโยชน์แห่งตนแล้ว เป็นความผิดสำเร็จไปกรรมหนึ่ง และเมื่อจำเลยที่ 1 เข้าร่วมเล่นการพนันด้วยเป็นการที่จำเลยที่ 1 มีเจตนาเข้าพนันเอาเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นกับผู้ร่วมเล่นคนอื่น จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5724/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดฐานกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 หลังแก้ไข: การสัมผัสภายนอกไม่ใช่ความผิด
การกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 277 เดิม คือ การร่วมประเวณีหรือการร่วมเพศ โดยต้องเป็นการกระทำถึงขั้นใช้อวัยวะเพศของชายใส่ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของหญิง เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่บัญญัติว่า "การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำ กระทำกับอวัยะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น" เห็นได้ว่า การแก้ไขดังกล่าวเป็นการขยายขอบเขตของการกระทำชำเราให้กว้างขึ้นเฉพาะในส่วนเพศของผู้กระทำกับเพศของผู้ได้รับการกระทำ อวัยวะและสิ่งที่ใช้กระทำกับอวัยวะที่ได้รับการกระทำกับเจตนาพิเศษในการกระทำ โดยจากเดิมเพศชายกระทำกับเพศหญิงเท่านั้น เป็นเพศใดกระทำกับเพศใดก็ได้ จากเดิมใช้อวัยวะเพศชายกระทำกับอวัยวะเพศหญิงเท่านั้น เป็นใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำเพศใดก็ได้กระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่นเพศใดก็ได้ หรือใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศ หรือทวารหนักของผู้อื่นเพศใดก็ได้ แล้วแต่กรณี และต้องกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ อันเป็นการทำให้บุคคลทุกเพศได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกัน แต่ในส่วนลักษณะของการกระทำนั้น มิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด จึงยังต้องเป็นการกระทำถึงขั้นใช้อวัยวะเพศหรือสิ่งอื่นใดใส่ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะต่างๆ ดังกล่าวอันเป็นอวัยวะที่เป็นช่องหรือรูเปิดของร่างกาย ดังนั้น การที่จำเลยใช้อวัยวะเพศถูไถบริเวณอวัยวะเพศของผู้เสียหายอันเป็นการสัมผัสภายนอก ไม่มีการล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศผู้เสียหาย จึงยังไม่เป็นความผิดฐานกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 277 แต่เป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศ อันเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก การกระทำชำเรารวมถึงการกระทำอนาจารอยู่ในตัว ศาลจึงลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารตามที่พิจารณาได้ความ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5592/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาในคดีคนต่างด้าวทำงานผิดกฎหมาย: พิจารณาบทกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะกระทำผิด
พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 33 บัญญัติว่า "คนต่างด้าวผู้ใดทำงานฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" ส่วน พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คนต่างด้าวผู้ใดทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และมาตรา 57 บัญญัติว่า "ให้ออกกฎกระทรวงกำหนดงานที่คนต่างด้าวอาจทำได้ตามมาตรา 7 ให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงตามมาตรา 7 ให้นายทะเบียนอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานใดๆ ได้ เว้นแต่งานที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521" การกระทำของจำเลยตามฟ้องยังคงถือเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ทั้งกฎหมายทั้งสองฉบับมีระวางโทษเท่ากัน จึงต้องใช้กฎหมายในขณะที่จำเลยกระทำความผิด ดังนี้ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวทำงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2550 และมีคำขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 6, 33 โดยยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2551 ขณะที่ พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มีผลใช้บังคับและศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5575-5582/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงาน-กรรมการจ้าง ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ-แจ้งเท็จ โครงการก่อสร้าง
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลผู้เสียหาย มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.วิ.อ. ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฯ มีคำสั่งอนุมัติให้จ่ายเงินตามฎีกาเบิกเงินในโครงการ โดยไม่มีการวางท่อระบายน้ำตามสัญญาและไม่มีการแก้ไขสัญญาให้ถูกต้อง ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา 157 แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ทำเอกสารหรือกรอกข้อความในเอกสาร จึงไม่มีความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 162 (1)
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้าง มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจและควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาจ้างแต่ละโครงการ เมื่องานในแต่ละโครงการทำไม่เสร็จครบถ้วนตามสัญญา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 กลับลงลายมือชื่อในใบควบคุมงานและเอกสารการตรวจการจ้างเป็นเท็จว่ามีการทำงานถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 162 (1)
โจทก์แยกฟ้องคดีเป็นแปดสำนวนและมิได้ขอให้นับโทษจำเลยในแต่ละสำนวนติดต่อกัน แม้จะรวมการพิจารณาและพิพากษาคดีทั้งแปดสำนวนเข้าด้วยกัน ก็นับโทษจำเลยในแต่ละสำนวนติดต่อกันไม่ได้ เพราะเป็นการเกินคำขอไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้าง มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจและควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาจ้างแต่ละโครงการ เมื่องานในแต่ละโครงการทำไม่เสร็จครบถ้วนตามสัญญา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 กลับลงลายมือชื่อในใบควบคุมงานและเอกสารการตรวจการจ้างเป็นเท็จว่ามีการทำงานถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 162 (1)
โจทก์แยกฟ้องคดีเป็นแปดสำนวนและมิได้ขอให้นับโทษจำเลยในแต่ละสำนวนติดต่อกัน แม้จะรวมการพิจารณาและพิพากษาคดีทั้งแปดสำนวนเข้าด้วยกัน ก็นับโทษจำเลยในแต่ละสำนวนติดต่อกันไม่ได้ เพราะเป็นการเกินคำขอไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง