พบผลลัพธ์ทั้งหมด 338 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา: ผู้กระทำผิดไม่อาจเป็นผู้เสียหาย
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ ซึ่งมาตรา 2(4) ให้ความหมายของคำว่า "ผู้เสียหาย" ว่า หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองต่างขับรถจักรยานยนต์ด้วยความประมาท จำเลยที่ 2 จึงมีส่วนในการกระทำความผิดทางอาญาด้วยดังนั้น ตามคำฟ้องของโจทก์ถือว่าจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(4)
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ต้องพิจารณาตามที่กฎหมายกำหนดไว้และข้อเท็จจริงในขณะที่ยื่นคำร้องว่าเป็นผู้เสียหายหรือไม่ เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายเท่านั้นที่ยื่นคำร้องได้และขณะยื่นคำร้องจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามบทบัญญัติดังกล่าว
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ต้องพิจารณาตามที่กฎหมายกำหนดไว้และข้อเท็จจริงในขณะที่ยื่นคำร้องว่าเป็นผู้เสียหายหรือไม่ เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายเท่านั้นที่ยื่นคำร้องได้และขณะยื่นคำร้องจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์เช่าซื้อ - การคืนทรัพย์สิน - ไม่รู้เห็นเป็นใจ - ใช้สิทธิไม่สุจริต
ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง หมายเลขทะเบียน บน 5774 ลพบุรี จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ของกลางไป ต่อมาจำเลยนำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิด และศาลมีคำพิพากษาให้ริบ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ข้อเท็จจริงต้องรับฟังตามพยานหลักฐานของผู้ร้องว่า ผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย แม้สัญญาเช่าซื้อระบุให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบค่าเสียหายเท่าราคาเช่าซื้อที่ค้างชำระในกรณีทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกยึดหรือถูกริบ และผู้ร้องไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างหรือบอกเลิกสัญญา แต่ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ร้องในฐานะผู้ให้เช่าซื้อ ซึ่งผู้ร้องจะใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ การที่ผู้ร้องไม่ใช้สิทธิดังกล่าวกับผู้เช่าซื้อและร้องขอรถยนต์ของกลางคืนเป็นเพียงการไม่ถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาที่กำหนดไว้เท่านั้น และเมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ผู้ร้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของกลางที่ให้เช่าซื้อคืนได้ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหลังจากที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือศาลมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางแล้ว ผู้ร้องยังคงรับชำระค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้ออีก กรณียังไม่พอฟังว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับค่าเช่าซื้อหรือขอคืนรถยนต์ของกลางเพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าซื้อ อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ และการขอปรับมาตราบทลงโทษหลังคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 ซึ่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ใช้บังคับแล้ว และศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาแล้วว่า ให้ใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 กรณีจึงมิได้เป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด แต่เป็นกรณีบังคับใช้กฎหมายลงโทษจำเลย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 ลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง ชอบที่จะใช้สิทธิฎีกาปัญหาดังกล่าวไปยังศาลฎีกา แต่จำเลยกลับยื่นฎีกาเฉพาะประเด็นที่ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรหรือไม่เท่านั้น และศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 4 จนคดีถึงที่สุดไปนานแล้ว จำเลยจึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยใหม่โดยอ้างเหตุข้างต้น พยานหลักฐานโจทก์เป็นเท็จ และมีเหตุอันควรปรานีลดโทษให้จำเลย ดังนี้ หากศาลฟังข้อที่จำเลยอ้างดังกล่าวแล้ววินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4541/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดียาเสพติด: ฟ้องรวมหลายบท ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถือเป็นที่สุดตามกฎหมายเฉพาะ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ, 151 ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท อันเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วยจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 แต่ก็ยังคงลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 และ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่ตรงกับลายมือชื่อจริง สัญญาจำนองไม่ผูกพันจำเลย
จำเลยให้การปฏิเสธว่า ไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ จำเลยไม่เคยมอบอำนาจให้ ว. ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินตามฟ้องไว้แก่โจทก์ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม ภาระการพิสูจน์ในปัญหานี้จึงตกแก่โจทก์ แต่คำเบิกความของพยานโจทก์มีพิรุธหลายประการ เพราะโจทก์ไม่มีสัญญากู้หรือหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงต่อศาล นอกจากนี้โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานอ้าง ว. หรือผู้ลงชื่อเป็นพยาน 2 คน ในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นพยานรู้เห็นโดยตรงเป็นพยานสนับสนุนให้ได้ความตามข้ออ้างของตน ทั้งเมื่อศาลตรวจดูลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจเปรียบเทียบกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ลงไว้ในสารบบที่ดิน เห็นว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม เพราะคุณสมบัติของการเขียนรูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมอบอำนาจให้ ว. นำที่ดินตามฟ้องไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันไว้แก่โจทก์ หนังสือสัญญาจำนองจึงไม่ผูกพันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเนื่องคดียาเสพติด: อำนาจสอบสวนและความต่อเนื่องของการกระทำความผิด
เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางเขนจับกุม ว. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวนหนึ่งเป็นของกลาง จึงได้วางแผนให้ ว. โทรศัพท์สั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยและ ป. อีก จนจับกุมจำเลยและ ป. ได้ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ กรณีจึงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องเกี่ยวพันกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนซึ่งเป็นท้องที่ที่ ว. โทรศัพท์ล่อซื้อและสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยและ ป. พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวน ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขนจึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) การสอบสวนจึงเป็นไปโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีบุกรุกต้องระบุเจตนา รบกวนการครอบครองชัดเจน มิฉะนั้นฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ฐานร่วมกันบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในบริเวณศาลจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นสถานที่ราชการ โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่เข้าไปในบริเวณศาลจังหวัดนนทบุรีเพื่อยึดถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนนั้น หรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์โดยปกติสุข อันเป็นองค์ประกอบของการกระทำความผิดฐานร่วมกันบุกรุกในข้อสาระสำคัญตาม ป.อ. มาตรา 362 การบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่เข้าไปในบริเวณศาลจังหวัดนนทบุรีโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็ยังไม่ถือว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันบุกรุกเพื่อรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ศาลจะลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำพาคนต่างด้าวเข้าประเทศ - โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำความผิดโดยตรง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ฯ มาตรา 63 เพียงข้อหาเดียว เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การปฏิเสธในชั้นศาล โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยใช้รถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกคนต่างด้าวจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาในราชอาณาจักรด้านอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายไม่มีหนังสือหรือเอกสารใช้แทนหนังสืออันถูกต้อง ไม่ผ่านเข้ามาทางช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่กำหนด จะนำคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมมาฟังลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 หาได้ไม่
ทางนำสืบของโจทก์เจือสมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 นำสืบต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รับคนต่างด้าวมาจากอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดย ด. ชาวโพนพิสัยติดต่อหาคนงานให้ ม. ภริยาของจำเลยที่ 3 ตามที่ ม. พยานโจทก์เบิกความยืนยัน แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าคนงานที่บรรทุกมาจากจังหวัดหนองคายเป็นคนต่างด้าว แต่เมื่อมิใช่นำหรือพาคนต่างด้าวดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรจึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามฟ้องไม่ได้
ทางนำสืบของโจทก์เจือสมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 นำสืบต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รับคนต่างด้าวมาจากอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดย ด. ชาวโพนพิสัยติดต่อหาคนงานให้ ม. ภริยาของจำเลยที่ 3 ตามที่ ม. พยานโจทก์เบิกความยืนยัน แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าคนงานที่บรรทุกมาจากจังหวัดหนองคายเป็นคนต่างด้าว แต่เมื่อมิใช่นำหรือพาคนต่างด้าวดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรจึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินและผลกระทบต่อการชำระหนี้ รวมถึงการคืนสู่ฐานะเดิมโดยติดจำนอง
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินจากโจทก์โดยชำระราคาเพียงบางส่วนจำนวน 300,000 บาท แล้วนำไปจำนองเป็นประกันหนี้ไว้กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่บรรยายฟ้องถึงการที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าที่ดินอันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายโดยขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินเพื่อให้ได้ที่ดินกลับคืนเท่ากับเป็นการบอกเลิกสัญญาอันมีผลให้คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมดังที่เป็นอยู่ แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกที่รับจำนองที่ดินไว้โดยมีมูลหนี้และโดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้เพิกถอนสัญญาจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ได้ จึงต้องจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์คืนที่ดินแก่โจทก์โดยติดจำนอง
การชำระหนี้ระหว่างคู่สัญญาเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 392 และมาตรา 369 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์คืนที่ดินแก่โจทก์โดยติดจำนองซึ่งโจทก์อาจถูกบังคับจำนองเพื่อให้ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 2 ผู้รับจำนอง โจทก์จะต้องคืนเงินค่าที่ดินจำนวน 300,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้จำนองครบถ้วนแล้วจึงจะเป็นการกลับคืนสู่ฐานะเดิมที่ถูกต้อง การที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นการขอให้ที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนโจทก์โดยติดจำนองและให้โจทก์คืนเงินค่าที่ดินบางส่วนจำนวน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองครบถ้วนแล้วได้ แม้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่ได้ฟ้องแย้งก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ. พ. มาตรา 142
การชำระหนี้ระหว่างคู่สัญญาเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 392 และมาตรา 369 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์คืนที่ดินแก่โจทก์โดยติดจำนองซึ่งโจทก์อาจถูกบังคับจำนองเพื่อให้ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 2 ผู้รับจำนอง โจทก์จะต้องคืนเงินค่าที่ดินจำนวน 300,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้จำนองครบถ้วนแล้วจึงจะเป็นการกลับคืนสู่ฐานะเดิมที่ถูกต้อง การที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นการขอให้ที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนโจทก์โดยติดจำนองและให้โจทก์คืนเงินค่าที่ดินบางส่วนจำนวน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองครบถ้วนแล้วได้ แม้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่ได้ฟ้องแย้งก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ. พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจน ศาลลงโทษเกินกว่าฟ้องได้หรือไม่ และการรวมกรรมความผิด
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองพอที่จะเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องข้อ ค. ในแต่ละข้อหาเป็นแต่ละกรรมแยกต่างหากจากกัน แม้ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธหรือโดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป ข้อหาทำให้เสียทรัพย์และข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส 2 กรรมเกินจากฟ้องหาได้ไม่ เพราะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง