คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระวัฒน์ ปวราจารย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 338 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน: สิทธิของเจ้าหนี้เมื่อผู้ขายผิดสัญญา & ศาลมีสิทธิลดหนี้ตามสภาพ
จำเลยทำคันดินริมแม่น้ำแควน้อยมีผลทำให้ที่ดินที่โจทก์ตกลงจะซื้อจากจำเลยมีสภาพด้อยลงกว่าในขณะทำสัญญา ถือได้ว่าเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจะโทษโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 371 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิเลือกที่จะเลิกสัญญาหรือเรียกให้จำเลยชำระหนี้ด้วยการจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านแก่โจทก์ตามสภาพที่เป็นอยู่โดยลดส่วนหนี้ค่าราคาที่ดินที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยได้ เมื่อโจทก์ไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญา โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าว แม้สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงว่าหากจำเลยผู้จะขายปฏิบัติผิดสัญญา ผู้จะขายตกลงคืนเงินที่ได้รับชำระไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยก็เป็นเพียงทางเลือกทางหนึ่งมิได้เป็นข้อสัญญาจำกัดหรือเป็นการสละสิทธิของโจทก์ในการเลือกใช้สิทธิ
จำเลยทำคันดินขึ้นสูงถึง 4 เมตร เป็นสิ่งกำบังไม่ให้โจทก์สามารถมองไปยังแม่น้ำแควน้อยได้โดยสะดวกเช่นที่เป็นมาแต่เดิม แม้โจทก์มิได้แจ้งหรือโต้แย้งจำเลย จำเลยก็ไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่เหลือเต็มจำนวน การที่จำเลยเรียกให้โจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินและให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่เหลือเต็มจำนวนตามสัญญาจึงเป็นการเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ต่างตอบแทนโดยไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิปฏิเสธได้ และไม่ถือว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาการที่จำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ก็ไม่เป็นผลให้สัญญาจะซื้อจะขายเลิกกัน โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินและเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพิ่มแล้ว โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่ง และไม่ได้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของโจทก์ชอบแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบที่ไม่แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาให้โจทก์ทราบ แต่การที่จะแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่เป็นประโยชน์แต่อย่างใด จึงไม่สมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่าจากใช้อาวุธปืนยิง แม้ไม่ถึงแก่ชีวิต ศาลพิพากษาผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงสามารถทำอันตรายถึงชีวิตได้ ยิงผู้เสียหายในระยะใกล้ จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า เมื่อจำเลยลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล โดยผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย เนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสำคัญ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15922/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ ผู้เช่าช่วงผูกพันตามสัญญา
การเช่าทรัพย์ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่า เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องผูกพันตามสัญญาเช่านั้น การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างไปให้จำเลยที่ 2 เช่าช่วงโดยโจทก์ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้เช่าช่วงโดยชอบ และต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ให้เช่าเดิมโดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 545 จำเลยที่ 2 หาใช่บริวารของจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลงทำให้สัญญาเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 สิ้นสุดลงในวันเดียวกันด้วย เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเช่าต่อไปแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิให้จำเลยที่ 2 เช่าช่วงอีกต่อไป การที่จำเลยที่ 2 ยังครอบครองทรัพย์ที่เช่าช่วงตลอดมาหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 จะโต้เถียงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าจึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15922/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าช่วงเมื่อสัญญาเช่าหลักสิ้นสุด และการฟ้องขับไล่จากผู้ให้เช่าเดิม
การเช่าทรัพย์ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่า เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องผูกพันตามสัญญาเช่านั้น การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างไปให้จำเลยที่ 2 เช่าช่วงโดยโจทก์ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้เช่าช่วงโดยชอบและต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ให้เช่าเดิมโดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 545 จำเลยที่ 2 หาใช่บริวารของจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลงในวันที่ 8 สิงหาคม 2540 ซึ่งทำให้สัญญาเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 สิ้นสุดลงในวันเดียวกันนี้ด้วยเพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเช่าต่อไปแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิให้จำเลยที่ 2 เช่าช่วงอีกต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยังคงครอบครองทรัพย์ที่เช่าช่วงตลอดมาหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 จะโต้เถียงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าจึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15492/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างบันดาลโทสะต้องเป็นการกระทำต่อผู้ข่มเหงโดยตรง ไม่สามารถอ้างเมื่อผู้ถูกกระทำไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
แม้โจทก์ร่วมจะกีดกันไม่ยอมให้จำเลยพูดคุยกับผู้ตายและด่าว่าจำเลยจนทำให้เกิดโทสะและฆ่าผู้ตายก็ตาม จำเลยก็อ้างบันดาลโทสะไม่ได้ เพราะในขณะนั้นผู้ตายมิใช่ผู้ข่มเหงจำเลยหรือมีส่วนสนับสนุนให้โจทก์ร่วมด่าว่าจำเลยแต่ประการใด การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงมิใช่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13803/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: แก้ไขโทษจำคุกเล็กน้อย ศาลอุทธรณ์ ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงบทมาตรา จึงไม่อาจฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี โดยมิได้แก้บทมาตราเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า จ่าสิบตำรวจ ว. ผู้ร่วมจับกุมจำเลยไม่ได้ยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองเคตามีน การแก้ไขบันทึกการจับกุมเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้กระทำขึ้นเองโดยจำเลยไม่ได้รู้เห็นด้วย ทั้งบันทึกดังกล่าวมิได้ทำขึ้น ณ สถานที่จับกุมจึงรับฟังไม่ได้ และหากศาลฟังว่าจำเลยกระทำความผิด ขอให้รอการลงโทษแก่จำเลยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการลงโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13596/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล: การพิจารณาองค์ประกอบตามสภาพสถานที่เกิดเหตุและการยอมความ
แม้ถนนที่เกิดเหตุเป็นถนนสายหลักและเป็นที่เปิดเผย แต่ตามบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุปรากฏว่า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นถนนพหลโยธินขาขึ้น มีการสร้างสะพานคอนกรีตข้ามคลองอนุศาสนนันทน์และยังไม่แล้วเสร็จ รถยนต์ยังแล่นสัญจรผ่านสะพานไม่ได้ ส่วนถนนพหลโยธินขาล่องสร้างสะพานเสร็จเรียบร้อยและมีการเปิดการจราจรสวนกันที่บริเวณสะพานข้ามคลองดังกล่าว ทั้งบริเวณเกาะกลางถนนที่จำเลยทั้งสองนำผู้เสียหายที่ 4 มากระทำอนาจาร มีการปลูกหญ้าเต็มเกาะกลางถนน แสดงว่าขณะเกิดเหตุบริเวณถนนที่เกิดเหตุยังไม่เปิดให้บุคคลใดขับรถผ่าน ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีผู้ขับรถสัญจรไปมาบนถนนที่เกิดเหตุที่จะให้การกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายที่ 4 ของจำเลยทั้งสองได้เกิดต่อหน้าบุคคลผู้สัญจรไปมาทั่วไป การกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายที่ 4 จึงไม่ได้เกิดต่อหน้าต่อตาผู้คนจำนวนมากหรือที่มีผู้ชุมนุม ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12122/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีถูกโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดิน: การยื่นขอออกโฉนดถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ซึ่งมีเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ต่อมาปรากฎว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงวางทะเบียนในเอกสารสิทธิดังกล่าวไปเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้ยื่นเรื่องขอออกโฉนดในที่ดินดังกล่าวพร้อมนำเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดที่ดิน ตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์แสดงว่า โจทก์อ้างความเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่า แต่ต่อมาปรากฏว่ามีชื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองในทะเบียนที่ดิน แล้วจำเลยทั้งสองยังยื่นเรื่องขอออกโฉนดและนำเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดเพื่อออกโฉนดให้แก่จำเลยทั้งสองการกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน และกำลังดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์โดยตรงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าถูกจำเลยทั้งสองกระทำการโต้แย้งสิทธิในที่ดินอย่างไร โจทก์จึงไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิแล้วพิพากษายกฟ้องมานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เนื่องจากคดีนี้ยังมิได้มีการสืบพยานจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ต่อไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12007/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิรุธสัญญาเงินกู้และการออกเช็ค – พยานหลักฐานไม่เพียงพอรับฟังการกู้ยืมเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสามฉบับเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม แต่ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยจะต้องนำเช็คพิพาทมามอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ตั้งแต่ก่อนถึงกำหนดชำระหนี้เป็เวลานานโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกให้ทำเช่นนั้น ประกอบกับโจทก์เพิ่งรับซื้อฝากที่ดินจากจำเลยไปไม่นายจึงไม่นานเชื่อว่าโจทก์จะยินยอมให้จำเลยกู้ยืมเงินไปเป็นจำนวนมากอีกโดยมีเพียง ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้อีกคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระดอกเบี้ย และโจทก์ก็มิได้ทวงถามหรือติดใจเรียกเอาดอกเบี้ยเสียจึงเป็นเรื่องผิดปกติวิสัย ยิ่งกว่านั้นเมื่อเช็คพิพาทแต่ละฉบับถึงกำหนดโจทก์ก็มิได้นำไปเรียกเก็บเงินภายในเวลาอันสมควร เช่นนี้นับเป็นข้อพิรุธน่าสังสัยว่าจำเลยจะกู้ยืมเงินจากโจทก์ และออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้จริงหรือไม่ ในขณะที่จำเลยสามารถนำสืบถึงที่มาของการทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและการออกเช็คพิพาทเพื่อเป็นประกันการชำระดอกเบี้ยตามสัญญาขายฝาก พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่มีน้ำหนักมั่นคงเพียงพอจะรับฟังว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแล้วออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11712/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาขาดอายุ การตรวจสอบวันยื่นฎีกาเป็นหน้าที่ทนาย การอนุญาตฎีกาเกินกำหนดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในคำขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 มีตรายางประทับข้อความว่าถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุกๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยทนายผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ได้ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว การที่ผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ยื่นฎีกาและคำร้องขออนุญาตฎีกาเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาฎีกา และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ยื่นฎีกาภายหลังสิ้นระยะเวลายื่นฎีกาโดยไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย เป็นการไม่ชอบฎีกาของผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 34