พบผลลัพธ์ทั้งหมด 338 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7434/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยอ้างเหตุที่ไม่ตรงกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7320/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาด: การยึดทรัพย์ที่ถูกต้องและการระบุเลขที่บ้านผิดพลาด
ข้อเท็จจริงได้ความตามรายงานการยึดทรัพย์ประกอบบัญชียึดทรัพย์ว่า โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินโฉนดเลขที่ 8418 ซึ่งจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส. โดยแสดงรายละเอียดสภาพของบ้านว่าเป็นบ้านตึกชั้นเดียว กระเบื้องซีแพค ผนังก่ออิฐฉาบปูนขอบเรียบ มี 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ ด้านหลังต่อเติมเป็นห้องครัว ด้านข้างทำเป็นที่จอดรถ ไม่ปรากฏเลขทะเบียน แต่โจทก์ยืนยันว่าเป็นบ้านเลขที่ 142 และเป็นของจำเลย ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว โดยระบุสภาพของบ้านและแผนที่แสดงที่ตั้งของบ้านไว้ชัดเจน เป็นที่เข้าใจได้ว่าบ้านที่จะขายทอดตลาดเป็นบ้านที่ปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้ บ้านที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดและประกาศขายทอดตลาดกับบ้านที่ขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์จึงเป็นบ้านหลังเดียวกัน มิใช่เป็นการขายทอดตลาดบ้านหลังที่มิได้ยึดแต่ประการใด แม้เลขที่ของบ้านจะไม่ตรงกัน ก็เป็นเพียงการระบุเลขที่บ้านผิดไป มิได้มีผลให้การขายทอดตลาดไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด ที่ผู้ร้องที่ 1 อ้างว่า บ้านดังกล่าวเป็นของตนมิใช่ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ผู้ร้องที่ 1 ก็ชอบที่จะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าวเสียก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง เมื่อการขายทอดตลาดบ้านพิพาทเสร็จสิ้นแล้ว ย่อมล่วงเลยเวลาที่ผู้ร้องที่ 1 จะขอปล่อยทรัพย์นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเลือกโรงพยาบาลและการรับผิดชอบค่าเสียหายจากเหตุละเมิด ศาลแก้ไขคำพิพากษาหักเงินค่าเสียหายที่ได้รับจากจำเลยร่วม
สิทธิในการรักษาชีวิตและร่างกายของบุคคลนั้นเป็นสิทธิที่บุคคลทุกคนมีสิทธิอันชอบธรรมในการเลือกเข้ารักษาชีวิตและร่างกายของตนในโรงพยาบาลหรือสถานที่ที่บุคคลนั้นเชื่อว่าสามารถรักษาชีวิตและร่างกายของบุคคลนั้นให้หายเป็นปกติได้โดยเร็ว จำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่มีสิทธิที่จะบังคับหรือเจาะจงให้โจทก์ที่ 3 จำต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของรัฐอันมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าโรงพยาบาลเอกชนได้ ทั้งเหตุที่โจทก์ที่ 3 เลือกเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล จ. อันเป็นโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุรถชนกันแล้วมีเจ้าหน้าที่มูลนิธินำตัวไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล จ. มิใช่เป็นการที่โจทก์ที่ 3 จะใช้สิทธิเลือกเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยตนเอง แม้ต่อมาภายหลังโจทก์ที่ 3 จะได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ธ. อันเป็นโรงพยาบาลเอกชนเช่นเดียวกัน ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมของโจทก์ที่ 3 ในการเลือกโรงพยาบาลที่โจทก์ที่ 3 เชื่อว่าสามารถรักษาร่างกายและชีวิตของตนได้ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 3 เอาเปรียบจำเลยที่ 2 และที่ 4 อย่างใด
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินค่าเสียหายจากจำเลยร่วมคนละ 10,000 บาท โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ได้รับเงินค่าเสียหายจากโจทก์ร่วมคนละ 85,000 บาท จึงต้องหักเงินจำนวนดังกล่าวจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสี่ตามคำพิพากษา และเมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินค่าเสียหายจากจำเลยร่วมคนละ 10,000 บาท โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ได้รับเงินค่าเสียหายจากโจทก์ร่วมคนละ 85,000 บาท จึงต้องหักเงินจำนวนดังกล่าวจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสี่ตามคำพิพากษา และเมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7235/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย แม้ไม่ได้ลงมือเองโดยตรง และผลกระทบของ พ.ร.บ. ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษ
กรณีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 299 นั้น ต้องเป็นการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และมีบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และมีบุคคลได้รับอันตรายสาหัสโดยไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส แต่หากสามารถรู้และแบ่งฝ่ายแบ่งพวกกันได้ ทั้งรู้ว่าผู้ใดหรือฝ่ายใดเป็นผู้ลงมือทำร้ายย่อมลงโทษผู้นั้นกับพวกได้ตามเจตนาและผลของการกระทำ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ได้ความว่าจำเลยกับพวกฝ่ายหนึ่งและผู้เสียหายกับพวกฝ่ายหนึ่งวิวาทต่อสู้กัน แล้วพวกของจำเลยเป็นผู้ใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ย่อมมิใช่กรณีตาม ป.อ. มาตรา 299 และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ที่ใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหาย คือ น. ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่เข้าร่วมในการทะเลาะวิวาทกับผู้เสียหายด้วย จำเลยซึ่งมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายย่อมต้องรับผลอันเป็นธรรมดา ย่อมเกิดขึ้นจากการนั้นในฐานเป็นตัวการแม้มิได้เป็นผู้ลงมือใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหายด้วยตนเองก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6900/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดเดียวกัน: ครอบครองยาเสพติดต่างสถานที่ แต่มีเจตนาเดียวกัน สิทธิฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(4)
จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์จับกุมขณะขับรถยนต์พร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีน 100 เม็ด จำเลยยอมรับว่ายังมีเมทแอมเฟตามีนอีกบางส่วนเก็บไว้ที่บ้านด้วย เจ้าพนักงานตำรวจจึงนำจำเลยไปตรวจค้นที่บ้านพักซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น พบเมทแอมเฟตามีนอีก 26 เม็ด เจ้าพนักงานตำรวจแยกดำเนินคดีเป็น 2 คดี แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะตรวจค้นเมทแอมเฟตามีนได้ต่างสถานที่กันเป็นเพราะการแยกเก็บรักษาหรือซุกซ่อนเท่านั้น เหตุที่มีการตรวจค้นบ้านจำเลยหลังจากถูกจับกุมหลายชั่วโมง เนื่องมาจากกระบวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ ลำพังเพียงการตรวจยึดได้ของกลางต่างเวลากันไม่ทำให้การที่จำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีนทั้งสองส่วนไว้ในคราวเดียวกันกลายเป็นการกระทำต่างกรรม การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียว เมื่อคดีแรกศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดและคดีถึงที่สุดไปแล้ว สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6755/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาขาดอายุความ: ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องการรู้ความผิดและตัวผู้กระทำผิดก่อนพิจารณาอายุความ
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายทั้งสิบสองรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อไร และร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6285-6286/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: โจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุจำนวนเงินในคำร้อง
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 3 และมาตรา 27 มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำผิดว่าจะต้องระบุว่าเป็นเงินจำนวนเท่าใดแน่นอนลงไป ดังนั้น โจทก์จึงไม่จำเป็นที่ต้องบรรยายถึงจำนวนเงินที่เหลืออยู่ในบัญชีเงินฝากในคำร้อง แต่เป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณา คำร้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6083/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินฝากถูกอายัดเป็นหลักประกันการปล่อยชั่วคราว ห้ามนำไปหักกลบลบหนี้อื่น แม้คดีอาญาจะยกฟ้อง
ในขณะที่จำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวนางหรือนางสาว ว. จำเลยในคดีอาญาของศาลแขวงธนบุรี จำเลยนำหนังสือรับรองยอดเงินฝากประจำของธนาคารผู้คัดค้าน ซึ่งระบุยืนยันว่าจะไม่ให้มีการถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลงจากศาลมาประกอบในการขอปล่อยชั่วคราว และศาลแขวงธนบุรีมีหนังสือแจ้งอายัดเงินฝาก ไปยังธนาคารผู้คัดค้าน ธนาคารผู้คัดค้านได้รับแจ้งอายัดสมุดเงินฝากของจำเลยไว้แล้ว และธนาคารผู้คัดค้านจะระงับการจำหน่ายจ่ายโอนและการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสมุดเงินฝากของจำเลยดังกล่าวไว้ตามคำสั่งศาลจนกว่าจะได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือจากศาลเป็นอย่างอื่น ย่อมเป็นการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง ว่าเงินในบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยดังกล่าวได้นำไปใช้เป็นหลักประกันการขอปล่อยชั่วคราวนางหรือนางสาว ว. และธนาคารผู้คัดค้านยังมีภาระผูกพันที่จะต้องระงับการจำหน่ายจ่ายโอนและการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสมุดเงินฝากประจำของจำเลยดังกล่าวไว้ตามคำสั่งศาลแขวงธนบุรีจนกว่าจะได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือจากศาล เมื่อธนาคารผู้คัดค้านยังไม่ได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือจากศาลแขวงธนบุรีหนังสืออายัดของศาลจึงยังมีผลผูกพันธนาคารผู้คัดค้านอยู่ ธนาคารผู้คัดค้านไม่มีสิทธินำเงินในสมุดเงินฝากประจำของจำเลยดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับบัญชีเครดิตของจำเลยที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารผู้คัดค้านได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดเงินฝากและขอให้ส่งเงินมาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย ธนาคารผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติและส่งเงินมาตามคำสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6083/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสืออายัดมีผลผูกพันธนาคาร แม้คดีอาญาจะยกฟ้อง ธนาคารต้องส่งเงินให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยนำหนังสือรับรองยอดเงินฝากธนาคารผู้คัดค้าน สาขาถนนสาธรประเภทเงินฝากประจำของจำเลยมาประกอบการขอปล่อยตัวชั่วคราว ว. ต่อศาลแขวงธนบุรี เมื่อศาลแขวงธนบุรีมีหนังสืออายัดเงินฝากไปยังธนาคารผู้คัดค้าน สาขาถนนสาธรแล้ว ธนาคารผู้คัดค้านแจ้งว่าได้รับการแจ้งอายัดสมุดเงินฝากของจำเลยแล้ว ธนาคารผู้คัดค้านจะระงับการจำหน่ายจ่ายโอนและเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสมุดเงินฝากประจำของจำเลยไว้ตามคำสั่งศาลจนกว่าจะได้รับการแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือจากศาลเป็นอย่างอื่น ย่อมเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งอยู่แล้วว่าธนาคารผู้คัดค้านทราบดีว่าจำเลยได้นำเงินในบัญชีเงินฝากไปใช้เป็นหลักประกันการขอปล่อยตัวชั่วคราว ว. และธนาคารผู้คัดค้านยังมีภาระผูกพันที่จะต้องระงับการจำหน่ายจ่ายโอนและเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสมุดเงินฝากประจำของจำเลยดังกล่าวไว้ตามคำสั่งศาลแขวงธนบุรีจนกว่าจะได้รับการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือจากศาลแขวงธนบุรีเป็นอย่างอื่น ดังนั้น ตราบใดที่ธนาคารผู้คัดค้านยังไม่ได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือจากศาลแขวงธนบุรีเป็นอย่างอื่น หนังสืออายัดของศาลแขวงธนบุรี จึงยังมีผลพันธนาคารผู้คัดค้านอยู่ ธนาคารผู้คัดค้านจึงไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนและเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ รวมถึงไม่มีสิทธินำเงินในสมุดเงินฝากประจำของจำเลยดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับบัญชีบัตรเครดิตของจำเลยที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5455/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทลงโทษในชั้นอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะจำนวนโทษ ไม่ถือเป็นการแก้ไขมากจนจำเลยมีสิทธิฎีกา
กรณีที่จะถือเป็นการแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่งนั้น จะต้องเป็นการแก้ไขทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 336 ทวิ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (2) (7) วรรค 2 โดยไม่ได้ปรับบทลงโทษประกอบมาตรา 336 ทวิ ด้วย แต่ลักษณะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคแรกและวรรคสอง ไม่แตกต่างกันและมีระวางโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีเหมือนกัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งวรรคแรกระวางโทษขั้นสูงจำคุก 5 ปี ส่วนวรรคสองระวางโทษขั้นสูงจำคุก 7 ปี ส่วน ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพียงแต่แก้จำนวนโทษ มิได้แก้บทลงโทษ จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามไม่ให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 336 ทวิ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (2) (7) วรรค 2 โดยไม่ได้ปรับบทลงโทษประกอบมาตรา 336 ทวิ ด้วย แต่ลักษณะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคแรกและวรรคสอง ไม่แตกต่างกันและมีระวางโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีเหมือนกัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งวรรคแรกระวางโทษขั้นสูงจำคุก 5 ปี ส่วนวรรคสองระวางโทษขั้นสูงจำคุก 7 ปี ส่วน ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพียงแต่แก้จำนวนโทษ มิได้แก้บทลงโทษ จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามไม่ให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง