พบผลลัพธ์ทั้งหมด 338 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6823/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยบัตรเอทีเอ็มและการนำสืบพยานหลักฐานการชำระหนี้
จำเลยนำสืบถึงการชำระหนี้เงินกู้คืนโจทก์ว่า จำเลยมอบบัตรเอทีเอ็มของธนาคาร ก. ให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีของจำเลยทุกเดือน และโจทก์ยอมรับว่าได้รับบัตรเอทีเอ็มดังกล่าวไว้ถอนเงินจากบัญชีของจำเลย จึงถือได้ว่าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลให้ศาลเห็นถึงวิธีการชำระหนี้ว่าได้ปฏิบัติต่อกันเช่นใด ไม่อยู่ในบทบังคับเฉพาะตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6786/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานรับของโจรไม่เพียงพอ ศาลยกฟ้องจำเลยทั้งสามตามหลักการสงสัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เป็นพยานหลักฐานชุดเดียวกันยังเป็นที่สงสัยฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดฐานร่วมกันรับของโจร จึงเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6738/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการฟ้องคดีอาญา: อำนาจฟ้องเมื่อผู้ต้องหาไม่ได้ถูกจับกุมตามกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 บัญญัติว่า ในคดีอาญา การจับและคุมขังบุคคลใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยผู้ถูกจับจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับ โดยไม่ชักช้า และตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับนั้นไม่ได้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา 80 (2) เมื่อพบว่าบุคคลนั้นกำลังพยายามกระทำความผิดหรือพบโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะกระทำความผิด โดยมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด (3) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี (4) เมื่อมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว ดังนั้น การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 การที่จำเลยเข้าหาพนักงานสอบสวนและมีการแจ้งข้อหาให้ทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีคำสั่งหรือหมายของศาล และไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับ หรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดต่อกฎหมายหลายบท การกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยง การรอการลงโทษและพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
จำเลยกรีดกระโปรงนักเรียนของผู้เสียหาย แล้วใช้ลำตัวของจำเลยเบียดที่ลำตัวด้านหลังของผู้เสียหายพร้อมกับใช้อวัยวะเพศของจำเลยดันที่บริเวณก้นของผู้เสียหายขณะอยู่บนรถไฟฟ้าต่อหน้าผู้โดยสารจำนวนมาก ภายหลังจากนั้นจำเลยใช้มือชักอวัยวะเพศของจำเลยเข้าออกเพื่อสำเร็จความใคร่ของตนบนสถานีรถไฟฟ้า จำเลยกระทำการดังกล่าวก็เพื่อกระทำอนาจารผู้เสียหายและกระทำการลามกอันควรขายหน้าต่อธารกำนัล การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกัน โดยมีเจตนาเพื่อกระทำอนาจารผู้เสียหายและเป็นผลมาจากการกระทำอนาจาร ลักษณะของเจตนาในการกระทำผิดเป็นอันเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวมิใช่หลายกรรม แม้โจทก์บรรยายฟ้องแยกเป็นข้อ ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันและจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยเป็นหลายกรรมต่างกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6635/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การแจ้งข้อหาไม่ใช่การจับกุม ทำให้ไม่ต้องผูกพันระยะเวลาฟ้อง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 นั้น การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ การที่จำเลยเข้าหาพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2548 และพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีคำสั่งหรือหมายของศาลและไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับหรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6606/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงจากฟ้อง การต่อสู้ของจำเลย และขอบเขตการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในอาคารห้างสรรพสินค้า ต. อันเป็นสำนักงานของบริษัท ศ. ผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเข้าไปในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุในเวลาที่ห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุยังเปิดทำการ และจำเลยอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุจนกระทั่งห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุปิดทำการ จึงมิใช่เป็นการเข้าไปในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุโดยไม่มีเหตุอันสมควร แต่เป็นการซ่อนตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญเพราะโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยซ่อนตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุโดยไม่มีเหตุอันสมควร และจำเลยก็นำสืบต่อสู้ว่าจำเลยเข้าไปในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุในระหว่างที่ห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุเปิดทำการและอยู่ในห้างสรรพสินค้าจนกระทั่งปิดทำการ แสดงว่าจำเลยหลงต่อสู้แล้ว ทั้งมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยความผิดฐานซ่อนตัวในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุอันเป็นสำนักงานของผู้เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการที่จำเลยซ่อนตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุ จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องอาญา: การกำหนดช่วงเวลากระทำผิด และเจตนาโจทก์ในการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่า เหตุเกิดเมื่อระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 เวลากลางวันถึงวันที่ 20 เมษายน 2545 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ฟ้องโจทก์ไม่ได้กล่าวว่าเหตุเกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 หรือวันที่ 20 เมษายน 2545 โดยเฉพาะเจาะจง จึงไม่ใช่จำกัดเวลาเกิดเหตุเฉพาะวันดังกล่าวเท่านั้น เมื่อทางพิจารณาได้ความว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นสองครั้ง ครั้งแรกเหตุเกิดในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 เวลาประมาณ 11 นาฬิกา ซึ่งตรงกับฟ้องของโจทก์ส่วนหนึ่งแล้วและปรากฏว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีในความผิดที่เกิดในวันดังกล่าวทั้งพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยแล้ว โดยไม่ปรากฏว่ามีการร้องทุกข์และสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดครั้งที่สอง ดังนั้น จะฟังว่าความผิดที่เกิดขึ้นครั้งแรก เป็นข้อเท็จจริงในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษอันเป็นเหตุห้ามมิให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการถอนอุทธรณ์ของกรรมการบริษัท, ผลผูกพันต่อบริษัท, และขอบเขตอำนาจฎีกาของโจทก์
คดีนี้โจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ที่ 1 ขอถอนฟ้องและถอนอุทธรณ์เฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 ถอนอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวมิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจที่จะฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216
ในการพิจารณาถึงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันโจทก์ที่ 1 ขณะที่โจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ย่อมต้องถือเอาข้อความในหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นหลักฐาน เมื่อหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทของโจทก์ที่ 1 ระบุว่าโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ที่ 1 มีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ขอถอนอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 แทนโจทก์ที่ 1 และมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 2 ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 จะกลับมาขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งของศาลอุทธรณ์หาได้ไม่
การที่โจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ขอถอนอุทธรณ์ในคดีนี้จะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อโจทก์ที่ 1 ผลดีหรือผลเสียดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 ด้วยในลักษณะอย่างเดียวกัน จะถือว่าประโยชน์ได้เสียของโจทก์ที่ 1 ขัดกับประโยชน์ได้เสียของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 74 หาได้ไม่
ในการพิจารณาถึงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันโจทก์ที่ 1 ขณะที่โจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ย่อมต้องถือเอาข้อความในหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นหลักฐาน เมื่อหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทของโจทก์ที่ 1 ระบุว่าโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ที่ 1 มีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ขอถอนอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 แทนโจทก์ที่ 1 และมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 2 ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 จะกลับมาขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งของศาลอุทธรณ์หาได้ไม่
การที่โจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ขอถอนอุทธรณ์ในคดีนี้จะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อโจทก์ที่ 1 ผลดีหรือผลเสียดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 ด้วยในลักษณะอย่างเดียวกัน จะถือว่าประโยชน์ได้เสียของโจทก์ที่ 1 ขัดกับประโยชน์ได้เสียของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 74 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: การประกาศในหนังสือพิมพ์เป็นกระบวนการสำคัญที่ศาลต้องปฏิบัติตาม
คดีนี้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30, 31 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาจึงต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคสอง โดยเมื่อศาลสั่งรับคำร้องแล้วให้ศาลสั่งให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกัน เพื่อให้บุคคลซื้ออาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้ประกาศคำร้องในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกัน จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและทำให้บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินไม่รู้ว่ามีการยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางอันทำให้เสียสิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดี แม้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านว่าเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลาง และขอให้คืนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้คัดค้านก็ตาม ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6256/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกรอการลงโทษ ต้องมีหลักฐานยืนยันการยอมรับหรือไม่ได้คัดค้านของจำเลย
การที่จะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยที่ศาลพิพากษาในคดีหลังตาม ป.อ. มาตรา 58 ได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองหรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานก็ตาม จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าจำเลยยอมรับหรือไม่คัดค้านในข้อที่ว่าเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนให้ลงโทษจำคุกและโทษจำคุกนั้นศาลรอการลงโทษไว้เสียก่อน ศาลจึงจะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีหลังได้ คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธ ทั้งโจทก์ไม่สืบพยานให้ปรากฏความในเรื่องนี้ ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 783/2543 ของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกและโทษจำคุกนั้นศาลรอการลงโทษไว้