คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระวัฒน์ ปวราจารย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 338 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9823/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากไม่ฟ้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา คำสั่งไม่รับฎีกาถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท เมื่อผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง และประธานศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้มีการรับฎีกาไว้พิจารณา จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฎีกาโดยอ้างเหตุว่าฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกามีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดอันจะมีผลให้รับฎีกาไว้พิจารณา แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้กระทำ จึงมีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกานั้นเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 252 ดังนี้ ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 อย่างไร ก็ไม่อาจมีผลกระทบถึงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 ซึ่งถึงที่สุดแล้วได้ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9487/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ, ประกันภัย, ล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายยังคงอยู่แม้มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเป็นเพียงการปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 เพื่อเป็นการรักษาสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไว้เท่านั้น และเป็นการไม่แน่นอนว่าจะได้รับชำระหนี้เพราะคำขออาจถูกยกหรืออนุญาตทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ตาม มาตรา 107 การถือเอาประโยชน์ของโจทก์ตามสัญญาประกันภัยด้วยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจึงมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินซื้อด้วยเงินคนต่างด้าว ถือเป็นทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องขอโอน
แม้ผู้ตายเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินพิพาทและให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน ถือได้ว่าเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินพิพาทมาดังกล่าวก็หาใช่จะไม่มีผลใดๆ เสียเลย เพราะผู้ตายยังมีสิทธิได้รับผลตามบทบัญญัติ มาตรา 94 แห่ง ป.ที่ดิน ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดหรืออธิบดีกรมที่ดินอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ กรณีต้องถือว่าตราบใดที่ผู้ตายหรืออธิบดีกรมที่ดินยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หรือนำไปจำหน่ายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 แล้วนำเงินมาแบ่งปันแก่ทายาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ตายมีสิทธิจัดการได้ ทรัพย์มรดกตกแก่ผู้จัดการมรดก
จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินพิพาทและให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนถือได้ว่าเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินพิพาทมาดังกล่าวก็หาใช่จะไม่มีผลใด ๆ เสียเลย เพราะผู้ตายยังมีสิทธิได้รับผลตามบทบัญญัติ มาตรา 94 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด หรืออธิบดีกรมที่ดินอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ กรณีต้องถือว่าตราบใดที่ผู้ตายหรืออธิบดีกรมที่ดินยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์หรือนำไปจำหน่ายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 แล้วนำเงินมาแบ่งปันแก่ทายาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการอุทธรณ์ฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความถูกต้อง
พ. ทนายโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ว่าความมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ปรากฏว่าใบแต่งทนายความดังกล่าวไม่ได้ระบุให้ทนายโจทก์มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาแทนโจทก์ได้ ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ที่ทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะต้องแก้ไขความบกพร่องในข้อนี้เสียก่อน แม้ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จะยื่นโดยชอบแล้วก็ตาม การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปพร้อมกันและมีคำพิพากษาโดยที่ยังมิได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียให้ถูกต้อง เป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) เป็นการไม่ชอบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18830/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าที่ถูกจำกัดสิทธิในการเข้าถึงที่ดิน การเรียกผู้ให้เช่าเข้าร่วมเป็นโจทก์
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทไม่ได้ เนื่องจากจำเลยจ้างคนงานมาสร้างรั้วลวดหนามในที่ดินพิพาทปิดกั้นทางเข้าออกของโจทก์สู่ทางสาธารณะนั้น ย่อมเป็นการรอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลย โดยยื่นคำฟ้องพร้อมกับคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่า คือการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 ดังนั้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะเรียกการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)
การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16836/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทรับสืบสัญญาเช่าซื้อ, อายุความสะดุดหยุด, การชำระหนี้แทน
สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อเป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาทได้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย และมีพฤติการณ์เข้ารับเอาทรัพย์สินนั้นด้วยการชำระค่าเช่าซื้อ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้วโดยมิจำต้องทำสัญญาเช่าซื้อฉบับใหม่เข้าเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับโจทก์อีก การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ของผู้ตายแก่โจทก์ภายในกำหนด 1 ปี อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (3) เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้คือสิบปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 มิได้ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15977/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีประกันภัย: นับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้ละเมิด ไม่ใช่วันที่ผู้รับประกันภัยรู้
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่เสียหาย ที่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์และอยู่ในฐานะผู้เข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่ในมูลหนี้ต่อบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 ประกอบ 226 วรรคหนึ่งนั้น ในการนับอายุความของโจทก์ดังกล่าว ต้องนับตามสิทธิของผู้เอาประกันภัย คดีนี้เมื่อสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยที่เข้ารับช่วงสิทธิ ก็ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้เอาประกันภัย คือ ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยหรือตัวแทนของผู้เอาประกันได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวเช่นกัน หาใช่นับอายุความ ตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ เมื่อได้ความว่า ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกัน ซึ่งถือเป็นตัวแทนของผู้เอาประกันภัยได้รู้ตัวผู้ขับรถยนต์อีกฝ่ายว่าเป็นผู้ใดในวันที่ 3 เมษายน 2546 ซึ่งเป็นวันที่พนักงานสอบสวนนัดผู้ขับรถของผู้เอาประกันมาตกลงกับจำเลยที่ 1 และเป็นวันที่ผู้ขับรถของผู้เอาประกันภัยพบกับพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของโจทก์เป็นครั้งแรก ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 8 ธันวาคม 2548 จึงเกินกว่า 1 ปี เมื่อนับแต่วันที่ 3 เมษายน 2546 ดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14578/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์: การกำหนดค่าเสียหายกรณีรถสูญหายและความรับผิดของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แล้วผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาพร้อมเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์แนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อพร้อมคำฟ้องและอ้างส่งต่อศาล ทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหาย ซึ่งสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ระบุความรับผิดของผู้เช่าซื้อในกรณีทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายไว้ว่า หากเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อตกลงรับผิดชอบชำระค่าเช่าซื้อให้แก่เจ้าของจนครบถ้วนตามสัญญา แต่หากมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อตกลงรับผิดชอบค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดเพียงเท่าที่เจ้าของได้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ซึ่งเห็นได้ว่า แม้รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายอันเป็นเหตุให้สัญญาเช่าซื้อระงับไป จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่าซื้อก็ยังคงมีความรับผิดอันจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามข้อสัญญาที่โจทก์นำมาเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีนี้ ส่วนจะใช้ค่าเสียหายอย่างไร เพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับว่าความสูญหายของรถยนต์ที่เช่าซื้อเกิดจากความผิดของจำเลยที่ 1 หรือไม่ ดังนั้น ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์จึงพอถือได้ว่า โจทก์เรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายรวมอยู่ด้วยแล้ว
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ข้างต้นมิได้กำหนดบังคับให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของทรัพย์โดยเด็ดขาดทุกกรณี หากแต่ได้แบ่งความรับผิดในแต่ละกรณีไว้ต่างหากจากกัน จึงมิใช่การเอาเปรียบหรือทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องรับภาระเกินกว่าที่คาดหมายตามปกติ ทั้งข้อสัญญาดังกล่าวยังเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2543 ข้อ 4 (4) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และเป็นประกาศฉบับที่ใช้ในขณะทำสัญญาเช่าซื้อคดีนี้ ประกาศดังกล่าวเป็นประกาศที่ออกมาเพื่อคุ้มครองให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคในการเข้าทำสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 กำหนดว่า หากทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหายโดยมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อตกลงรับผิดชอบค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามทรัพย์ที่เช่าซื้อ ค่าทนายความ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดเพียงเท่าที่เจ้าของจ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ดังนี้ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่าซื้อจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้น แต่เนื่องจากโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่า โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการทวงถาม การติดตามทรัพย์ที่เช่าซื้อ ค่าทนายความหรือค่าใช้จ่ายอื่นไปหรือไม่ เพียงใด จึงไม่กำหนดให้ คงมีเพียงค่าเสียหายจากการที่ทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายไป ซึ่งแม้สัญญาเช่าซื้อจะเป็นอันระงับไปเพราะรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจเรียกค่าเสียหายเป็นราคารถยนต์นั้นได้ แต่เมื่อพิจารณาว่าหากรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่สูญหาย และจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อจนครบถ้วนทั้ง 42 งวด โจทก์จะได้รับผลประโยชน์เป็นเงินรวม 77,209.44 บาท แต่คดีนี้โจทก์ได้รับผลประโยชน์จากจำเลยที่ 1 มาเพียง 5 งวด รถยนต์ก็มาสูญหายเสียก่อน จึงเห็นควรกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 68,100 บาท จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14213/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดเจตนา, ตัวการโดยอ้อม, การกระทำความผิดทางอาญา, การคืนเงินผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายเบิกถอนเงินของผู้เสียหายจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารโดยสำคัญผิดว่าจำเลยที่ 3 ผู้มอบบัตรเอทีเอ็มและใช้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปเบิกถอนเงินมีสิทธิที่จะใช้บัตรเอทีเอ็มนั้นได้ แม้ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 3 มีสิทธิใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายไปเบิกถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารจะไม่มีอยู่จริง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สำคัญผิดว่ามีอยู่จริง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดของจำเลยที่ 3 เอง และแม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิด แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ เพราะไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะกระทำผิดด้วยตัวเอง หรือเป็นการกระทำผิดโดยอ้อม จำเลยที่ 3 ก็มีสถานะเป็นผู้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเหมือนกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาจึงย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
of 34