คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ม. 21 จัตวา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำมาหากิน และทรัพย์สินที่ได้มาจากการให้ของผู้อื่น การพิสูจน์ที่มาของทรัพย์สินเพื่อประกอบการพิจารณาคดี
การ ที่ นายกรัฐมนตรี จะ สั่ง ลงโทษ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ผู้ร่ำรวยผิดปกติ หรือไม่ ไม่เป็น การ ตัด อำนาจ ของ คณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่จะ ส่ง เรื่อง ให้ พนักงาน อัยการ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาล เพื่อ ให้ศาล สั่ง ให้ ทรัพย์สิน ของ ผู้นั้น ตกเป็น ของ แผ่นดิน มี ผู้ร้องเรียน กล่าวหา ผู้คัดค้าน ที่ 1 ต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ป.ใน ระหว่าง ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวย ผิด ปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ป. จึง ได้ ทำการ สืบสวนสอบสวน เรื่อยมา และ ได้ ส่ง เรื่อง ให้ พนักงาน อัยการ ผู้ร้องยื่น คำร้อง ต่อ ศาล เป็น การ กระทำ เกี่ยวพัน สืบ ต่อ กัน มา โดยมุ่งหมาย ถึง ทรัพย์สิน ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ มา ใน ระหว่าง เป็นเจ้าหน้าที่ ของ รัฐ แม้ ขณะ ยื่น คำร้อง ผู้คัดค้าน ที่ 1 เกษียณอายุราชการ แล้ว ก็ ตาม ส่วน ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3 นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ แต่ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์สิน แทนผู้คัดค้าน ที่ 1 ผู้ร้อง จึง มี อำนาจ ยื่น คำร้อง ขอ ให้ ศาล มีคำสั่ง ให้ ทรัพย์สิน ของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ตกเป็น ของ แผ่นดิน พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การ ทุจริต และประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ที่ บัญญัติให้ ศาล สั่ง ทรัพย์สิน ที่ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ได้ มา โดย ไม่ชอบตกเป็น ของ แผ่นดิน เป็น เพียง วิธีการ ที่ จะ ป้องกัน และปราบปราม การ ทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ อัน เป็นวิธี การ ทาง วินัย เท่านั้น มิใช่ เป็น การ ลงโทษ แก่ ผู้กระทำความผิด ทาง อาญา อัน จะ ต้อง อยู่ ภายใต้ บังคับ ของหลัก กฎหมาย ที่ ว่า บุคคล จะ ต้อง รับ โทษ ทาง อาญา ต่อ เมื่อได้ กระทำ การ อัน กฎหมาย ที่ ใช้ ใน ขณะ กระทำ นั้น บัญญัติเป็น ความผิด และ ได้ กำหนด โทษ ไว้ ดังนั้น กฎหมาย นี้ ย้อนหลังไป บังคับ ถึง ทรัพย์สิน ของ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ที่ ได้ มา โดยมิชอบ และ ยัง คง มี อยู่ ใน ขณะ ที่ กฎหมาย นี้ ใช้ บังคับ ได้ เพราะ การ ได้ ทรัพย์สิน มา โดย มิชอบ ด้วย หน้าที่ นั้น เป็นการ ผิด วินัย ตั้งแต่ ที่ ได้ รับ มา พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การ ทุจริต และประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 21 จัตวาเป็น บท บัญญัติ ที่ ให้ อำนาจ คณะกรรมการ สอบสวน โดย มีกำหนด ระยะ เวลา มิใช่ ไม่ ให้ ใช้ บังคับ กฎหมาย ดังกล่าวแก่ ผู้ที่ ออก จาก ราชการ ไป แล้ว พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การ ทุจริต และประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 ใช้ บังคับ แก่เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ทุก คน แม้ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ผู้นั้น ไม่ได้แสดง สินทรัพย์ และ หนี้สิน ตาม พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการ แสดง สินทรัพย์ และ หนี้สิน ของ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐพ.ศ. 2524 ก็ ตาม