คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 165

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและบทลงโทษตัวการร่วม: คดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ศาลมีอำนาจพิจารณาแม้จำเลยไม่ถูกนำตัวมา และต้องปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ไม่ได้นำตัวจำเลยมาศาลเนื่องจากจำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและคดีดังกล่าวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวระหว่างพิจารณากรณีเช่นนี้จึงถือได้ว่าจำเลยอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางแล้ว จึงชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะประทับฟ้องคดีไว้พิจารณาได้
จำเลยเป็นตัวการร่วมกับพวกกระทำความผิด แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการประทับฟ้องคดีอาญา - ตัวการร่วม
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ไม่ได้นำตัวจำเลยมาศาลเนื่องจากจำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และคดีดังกล่าวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวระหว่างพิจารณา กรณีเช่นนี้จึงถือได้ว่าจำเลยอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางแล้ว จึงชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะประทับฟ้องคดีไว้พิจารณาได้
จำเลยเป็นตัวการร่วมกับพวกกระทำความผิด แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามป.อ.มาตรา 83 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีฉ้อโกง: การพิสูจน์การรับรู้ความผิดและวันร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341อันเป็นคดีความผิดอันยอมความได้นั้นโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าผู้เสียหายได้ทราบเรื่องความผิดและรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อใดเพื่อที่จะได้รู้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดสามเดือนหรือไม่เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดสามเดือนคดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้วโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ในคดีอาญานั้นจำเลยจะให้การอย่างไรก็ได้แม้จะไม่ให้การก็ได้เมื่อจำเลยให้การอย่างไรหรือจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีความผิดอันยอมความได้ การนำสืบความรู้แจ้งของผู้เสียหาย
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 อันเป็นคดีความผิดอันยอมความได้นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าผู้เสียหายได้ทราบเรื่องความผิดและรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อใด เพื่อที่จะได้รู้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดสามเดือนหรือไม่ เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดสามเดือนคดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีอาญานั้นจำเลยจะให้การอย่างไรก็ได้ แม้จะไม่ให้การก็ได้ เมื่อจำเลยให้การอย่างไร หรือจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้จำเลยหาต้องให้การปฏิเสธเป็นประเด็นไว้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาอำนาจอุทธรณ์คดีอาญาตามมาตรา 193 ทวิ ต้องดูที่โทษตามที่โจทก์ขอลงโทษ
คำฟ้องโจทก์บรรยายชัดว่า จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำผิด ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352,353,354,83 ซึ่งความผิดตามมาตรา 354,83 นั้นมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และการพิจารณาว่าคดีอาญาเรื่องใดต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ หรือไม่ ย่อมต้องดูที่อัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติที่โจทก์ขอให้ลงโทษเป็นสำคัญ ส่วนอัตราโทษที่ศาลจะนำมาใช้จริง หาใช่ข้อที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์องค์ประกอบความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร ยักยอกทรัพย์ ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณา
การฟังพยานหลักฐานชั้นไต่สวนมูลฟ้องกับชั้นพิจารณาแตกต่างกันในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงได้ข้อเท็จจริงครบองค์ประกอบฐานความผิดที่ฟ้องโดยไม่มีข้อพิรุธอันเป็นที่ประจักษ์ชัดก็ฟังได้แล้วว่าความผิดฐานนั้นมีมูล ส่วนข้อเท็จจริงที่ได้ความจะเป็นความจริงหรือไม่ เป็นข้อที่จะต้องพิสูจน์กันอีกชั้นหนึ่งในชั้นพิจารณา ซึ่งในชั้นนี้จะต้องพิสูจน์ให้ได้ความจนสิ้นสงสัยว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นเป็นความจริง จึงจะฟังได้ว่ามีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานเอกสารปลอม ยักยอก และการรับของโจร: เกณฑ์ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง vs. ชั้นพิจารณา
การฟังพยานหลักฐานชั้นไต่สวนมูลฟ้องกับชั้นพิจารณาแตกต่างกัน ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงได้ข้อเท็จจริงครบองค์ประกอบฐานความผิดที่ฟ้องโดยไม่มีข้อพิรุธอันเป็นที่ประจักษ์ชัดก็ฟังได้แล้วว่าความผิดฐานนั้นมีมูล ส่วนข้อเท็จจริงที่ได้ความจะเป็นความจริงหรือไม่ เป็นข้อที่จะต้องพิสูจน์กันอีกชั้นหนึ่งในชั้นพิจารณา ซึ่งในชั้นนี้จะต้องพิสูจน์ให้ได้ความจนสิ้นสงสัยว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นเป็นความจริง จึงจะฟังได้ว่ามีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จและคำพิพากษาศาลที่อาศัยข้อมูลเท็จ โจทก์ต้องแสดงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสิทธิของตนเอง
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าที่ดินโฉนด เลขที่ 5072 เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ล. ย. และ ป. ต่อมา ย. และ ป.ยกที่ดินเฉพาะ ส่วนของตน ให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์มาฟ้องคดีนี้อ้างว่าจำเลยทั้งสองเบิกความเท็จในคดีก่อนเป็น 2 ประการ คือคำเบิกความที่ว่า ย. และ ป. มีกรรมสิทธิ์ภายในที่ดินโฉนด เลขที่ 5072ด้วย ประการหนึ่งและคำเบิกความที่ว่า ย. และ ป. ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ ครอบครองโดย สงบ เปิดเผย ด้วย เจตนาเป็นเจ้าของติดต่อ กันเกิน 10 ปีแล้ว อีกประการหนึ่งในการไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้ได้ความว่า ย. และ ป. มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวโดย การแบ่งแยกการครอบครองแล้ว ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าคำเบิกความของจำเลยทั้งสองในประการแรกเป็นความเท็จและเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ไม่ได้เข้าเป็นคู่ความในคดีก่อนและคำฟ้องโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้กล่าวว่าโจทก์มีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในที่ดินของ ย. และ ป. อย่างไร คำเบิกความของจำเลยทั้งสองในประการที่ 2 จึงไม่กระทบกระเทือนถึง สิทธิของโจทก์ และคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเหตุที่ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์ได้ รับความเสียหายจากคำเบิกความของจำเลยทั้งสอง ข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนของ ย. และ ป. นั้น เป็นการนำสืบนอกเหนือจากที่กล่าวในฟ้องคำเบิกความของจำเลยทั้งสองที่บางส่วนไม่เป็นเท็จบางส่วนไม่ทำให้โจทก์เสียหายเช่นนี้คดีโจทก์จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเท็จต้องทำให้เกิดความเสียหายและเกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ฟ้อง จึงจะประทับฟ้องได้
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 5072 เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ล. ย. และ ป. ต่อมา ย. และ ป. ยกที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์มาฟ้องคดีนี้อ้างว่าจำเลยทั้งสองเบิกความเท็จในคดีก่อนเป็น 2 ประการ คือคำเบิกความที่ว่า ย. และ ป. มีกรรมสิทธิ์ภายในที่ดินโฉนดเลขที่ 5072 ด้วยประการหนึ่งและคำเบิกความที่ว่า ย. และ ป. ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเกิน 10 ปีแล้ว อีกประการหนึ่งในการไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้ได้ความว่า ย. และ ป. มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวโดยการแบ่งแยกการครอบครองแล้ว ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าคำเบิกความของจำเลยทั้งสองในประการแรกเป็นความเท็จและเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ไม่ได้เข้าเป็นคู่ความในคดีก่อน และคำฟ้องโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้กล่าวว่าโจทก์มีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในที่ดินของ ย. และ ป. อย่างไร คำเบิกความของจำเลยทั้งสองในประการที่ 2 จึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ และคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเหตุที่ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากคำเบิกความของจำเลยทั้งสอง ข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนของ ย.และ ป. นั้น เป็นการนำสืบนอกเหนือจากที่กล่าวในฟ้องคำเบิกความของจำเลยทั้งสองที่บางส่วนไม่เป็นเท็จบางส่วนไม่ทำให้โจทก์เสียหายเช่นนี้คดีโจทก์จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4030/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารประกอบคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ไม่ถือเป็นการนำพยานเข้าสืบ
ในการไต่สวนมูลฟ้อง ตัวโจทก์อ้างตนเองเป็นพยานทนายจำเลยถามค้านโดยให้ตัวโจทก์ดูลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจ ตัวโจทก์เบิกความว่าลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อที่โจทก์เซ็นไว้จริงถึงแม้จะเบิกความต่อไปอีกว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปกรอกข้อความเองภายหลัง ครั้งแรกโจทก์เซ็นชื่อไว้ในกระดาษเปล่าก็ไม่เป็นการลบล้างคำเบิกความในส่วนที่ยอมรับว่าโจทก์ได้เซ็นชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจจริง ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิส่งเอกสารฉบับนี้ ซึ่งมีลายมือชื่อของโจทก์ปรากฏอยู่ในช่องผู้รับมอบอำนาจต่อศาลเพื่อประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มิใช่การนำพยานเข้าสืบจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165.
of 13