คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 165

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการตรวจคำฟ้องและผลกระทบต่อการขังจำเลย กรณีคำฟ้องไม่สมบูรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ให้อำนาจแก่ศาลชั้นต้นในการตรวจคำฟ้องซึ่งเป็นคำคู่ความโดยเด็ดขาดเมื่อปรากฏว่าคำฟ้องของโจทก์มีรายการช่องอายุแต่ไม่ใส่ให้ครบถ้วน ที่อยู่ของจำเลยผิดพลาดสับสน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งคืนฟ้องให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้องได้โดยชอบ
คำสั่งคืนฟ้องให้โจทก์ทำมายื่นใหม่หาใช่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ แต่เป็นคำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ถือว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งขังจำเลย เมื่อโจทก์แก้ไขคำฟ้องแล้วนำมายื่นใหม่ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมคำฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเอกสารประกอบคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ไม่ถือเป็นการสืบพยานขัดต่อมาตรา 165 วรรคสอง
ชั้นไต่สวนมูลฟ้องทนายจำเลยถามค้านโจทก์ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานถึงการที่โจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 โจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คเอกสารหมาย ล.1 และ ล.2 โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากบริษัท ส. จำกัด และต่อมาโจทก์นำเช็คธนาคาร ท. จำกัดไปแลกเปลี่ยนกับเช็คหมาย ล.1 และ ล.2 โดยเอาเอกสารที่เกี่ยวข้องให้โจทก์ดูและโจทก์รับรองว่าถูกต้อง ดังนี้ เอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นพยานเอกสารที่จำเลยอ้าง หากแต่เป็นเอกสารที่โจทก์เบิกความถึงและทนายจำเลยนำส่งศาลเพื่อประกอบถ้อยคำของโจทก์ให้ปรากฏรายละเอียดชัดเจนขึ้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยนำพยานมาสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ไม่ทำให้ข้อหาเดิม (วิ่งราวทรัพย์) ตกไป ศาลต้องพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการวิ่งราวทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7), 336 ขั้นแรกจำเลยแถลงขอต่อสู้คดี แต่ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ 1 วัน จำเลยได้ยื่นคำให้การต่อศาลว่าขอให้การรับสารภาพผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) แม้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลจะจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า "ฯ จำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพตามฟ้องฯ โจทก์จำเลยไม่สืบพยานรอฟังคำพิพากษา" ก็ถือได้ว่าเป็นการสอบคำให้การเดิมที่จำเลยยื่นไว้นั่นเอง หาใช่เป็นเรื่องสอบถามคำให้การใหม่ที่จะทำให้คำให้การเดิมถูกถอนหรือยกเลิกไปไม่ ต้องฟังว่าจำเลยกระทำผิดฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิ่งราวทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ตัดสิทธิ์การพิจารณาความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7),336 ขั้นแรกจำเลยแถลงขอต่อสู้คดี แต่ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ 1 วัน จำเลยได้ยื่นคำให้การต่อศาลว่าขอให้การรับสารภาพผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) แม้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลจะจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า "ฯ จำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพตามฟ้องฯ โจทก์จำเลยไม่สืบพยานรอฟังคำพิพากษา" ก็ถือได้ว่าเป็นการสอบคำให้การเดิมที่จำเลยยื่นไว้นั่นเอง หาใช่เป็นเรื่องสอบถามคำให้การใหม่ที่จะทำให้คำให้การเดิมถูกถอนหรือยกเลิกไปไม่ต้องฟังว่าจำเลยกระทำผิดฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิ่งราวทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟ้องคดีอาญาเมื่อจำเลยหลบหนีจากเรือนจำ: ไม่มีตัวจำเลยในขณะฟ้องคดี
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาโดยกล่าวในฟ้องว่าจำเลยถูกจำคุกอยู่ในคดีอื่นของศาลนั้นแต่ได้หลบหนีไปจากเรือนจำเสียแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อโจทก์ไม่มีตัวจำเลยอยู่ในขณะที่ยื่นฟ้องและจำเลยมิได้ถูกศาลสั่งขังไว้ในคดีนี้ทั้งข้อเท็จจริงก็ต่างกับคดีตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1735/2514 ศาลย่อมไม่รับประทับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟ้องคดีอาญาเมื่อจำเลยหลบหนีจากเรือนจำ – ไม่มีตัวจำเลยในขณะยื่นฟ้อง
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญา โดยกล่าวในฟ้องว่า จำเลยถูกจำคุกอยู่ในคดีอื่นของศาลนั้น แต่ได้หลบหนีไปจากเรือนจำเสียแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อโจทก์ไม่มีตัวจำเลยอยู่ในขณะที่ยื่นฟ้อง และจำเลยมิได้ถูกศาลสั่งขังไว้ในคดีนี้ ทั้งข้อเท็จจริงก็ต่างกับคดีตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1735/2514 ศาลย่อมไม่รับประทับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประทับฟ้องคดีเด็กและเยาวชนต้องมีตัวจำเลยในความควบคุมของศาล การควบคุมตัวก่อนฟ้องเป็นอำนาจผู้อำนวยการสถานพินิจ
ขณะที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวอยู่ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เพราะหลบหนีไปจากสถานพินิจฯ เมื่อไม่มีตัวจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาลในขณะฟ้อง ก็ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งประทับฟ้องไว้ ทั้งการควบคุมดังกล่าวก็เป็นการควบคุมในชั้นสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24แก้ไขโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 มาตรา 7 ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาล
"ขัง" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(22)หมายถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล แต่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่คดีธรรมดา การควบคุมตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวน เป็นการควบคุมโดยผู้อำนวยการสถานพินิจ ตัวจำเลยยังมิได้ผ่านเข้ามาอยู่ ในความควบคุมของศาลเลยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 33 ยังมีความชี้ให้เห็นด้วยว่า จำเลยจะเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประทับฟ้องคดีเด็กและเยาวชน ต้องมีตัวจำเลยอยู่ในการควบคุมของศาล
ขณะที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวอยู่ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เพราะหลบหนีไปจากสถานพินิจฯ เมื่อไม่มีตัวจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาลในขณะฟ้อง ก็ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งประทับฟ้องไว้ ทั้งการควบคุมดังกล่าวก็เป็นการควบคุมในชั้นสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24แก้ไขโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 มาตรา 7 ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาล
"ขัง" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(22) หมายถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล แต่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่คดีธรรมดา การควบคุมตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวน เป็นการควบคุมโดยผู้อำนวยการสถานพินิจ ตัวจำเลยยังมิได้ผ่านเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลเลยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 33ยังมีความชี้ให้เห็นด้วยว่า จำเลยจะเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิแก้คำให้การในคดีอาญา: เหตุผลอันควรเมื่อจำเลยปรึกษาทนายความและเข้าใจสิทธิในการต่อสู้คดี
จำเลยถูกฟ้องว่าพยายามฆ่าผู้อื่น ตอนแรกจำเลยให้การรับสารภาพ และไม่ต้องการทนาย ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยได้แต่งทนาย และยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิม ขอให้การใหม่ว่ามิได้กระทำผิด อ้างเหตุผลว่ารับสารภาพเพราะเข้าใจผิด และไม่ตรงต่อความจริงดังนี้ เป็นเหตุผลที่อาจเป็นไปได้ เพราะขณะจำเลยให้การรับสารภาพ จำเลยไม่มีทนายความต่อเมื่อได้ปรึกษาทนายความแล้ว จึงเกิดความเข้าใจถูกต้องในการต่อสู้คดี นับว่าเป็นเหตุอันควรเมื่อประกอบกับในคดีอาญา จำเลยย่อมมีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165วรรคหนึ่ง ตามรูปคดีจึงสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การได้ เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ และสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว แล้วพิพากษาลงโทษจำเลย จึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาของจำเลยในคดีอาญาที่ยังไม่เข้าสู่ฐานะจำเลย
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยเห็นว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นฟ้องที่ใช้ได้ไม่เคลือบคลุมพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี ดังนี้ จำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะจำเลยยังมิได้เข้าสู่ฐานะเป็นจำเลย
of 13