พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรจากการนำเข้าสินค้าและบริการ การตีความมูลค่าศุลกากรที่แท้จริง
พนักงานสอบสวนมีการแจ้งสิทธิและแจ้งข้อหาแก่ ซ. ขณะที่เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานในประเทศไทยของจำเลย โดย ซ. ให้การปฏิเสธ แม้ ซ. มิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยอันจะถือว่าเป็นผู้แทนนิติบุคคล แต่หนังสือรับรองข้อความที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ อันเป็นหนังสือรับรองว่าบริษัทจำเลยได้รับใบอนุญาตทำธุรกิจบริการก่อสร้าง ติดตั้งและทดสอบ โครงการก่อสร้าง โรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 5 ให้แก่บริษัท ป. โดยมี ซ. เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานในประเทศไทย ซ. ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้จัดการสำนักงานสาขาของจำเลยในประเทศไทย พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนได้ แม้จำเลยจะมิได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ซ. มีอำนาจดำเนินคดีแทนจำเลยด้วยก็ตาม เพราะ ซ. อยู่ในฐานะผู้จัดการตามความหมายใน ป.วิ.อ. มาตรา 7 วรรคหนึ่ง แล้ว กระบวนการสอบสวนจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
กรณีนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทย บรรดากรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลที่เป็นคนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามมาตรา 16 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 คุณสมบัติประการหนึ่งของคนต่างด้าวตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง (2) คือ มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ฮ. พำนักอยู่ที่สาธารณรัฐเกาหลี และข้อเท็จจริงปรากฏว่า ฮ. ออกนอกราชอาณาจักรไทยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2555 ส่วนที่ ฮ. ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวสำหรับการติดต่อและประกอบธุรกิจและการทำงานในราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ นั้น ข้อเท็จจริงปรากฎว่าเป็นการตรวจลงตราที่กระทำโดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในสาธารณรัฐเกาหลี ฮ. มิได้เดินทางเข้ามาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความเป็นจริงแต่ประการใด ดังนี้ เมื่อ ฮ. มิใช่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยและมิใช่บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในขณะที่ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทย ซ. จึงยังเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยในประเทศไทยในฐานะผู้จัดการนิติบุคคลจำเลยต่อไป การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอ่านอธิบายฟ้อง สอบคำให้การ และสืบพยานโดยเปิดเผยต่อหน้า ซ. จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 165 และมาตรา 172 แล้ว
แม้เอกสารการนำเข้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นเอกสารส่วนหนึ่งที่ได้มาจากการตรวจยึดในการค้นในเรื่องที่จำเลยถูกกล่าวหาว่านำเข้าสารเคมีซึ่งเป็นวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาต และพยานโจทก์ยอมรับว่าอัยการสูงสุดมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องในข้อหานำเข้าสารเคมีอันเป็นวัตถุอันตราย แต่เอกสารที่ยึดมาชุดเดียวกันนั้นเป็นเอกสารที่นำไปสู่การสอบสวนและดำเนินคดีนี้ อันเกิดจากการตรวจค้นและยึดโดยชอบตามคำสั่งศาล ทั้งเอกสารดังกล่าวสามารถตรวจสอบความมีอยู่และความถูกต้องได้จากหน่วยงานของรัฐได้อีกทางหนึ่งอยู่แล้ว แม้ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนจนนำไปสู่การออกหมายค้นจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่หากตรวจพบข้อเท็จจริงในภายหลังจากเอกสารที่ยึดนั้นเองว่าอาจมีการหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากร พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีต่อไปได้ หาใช่พยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบแต่อย่างใดไม่ จึงชอบที่ศาลฎีกาจะรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
สำหรับความผิดฐานร่วมกันเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/4 (6) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท จึงมีอายุความสิบปีตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานดังกล่าวระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2548 เมื่อนับถึงวันฟ้องพ้นกำหนดสิบปี ฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงขาดอายุความแล้ว
จำเลยทำสัญญารับจ้างก่อสร้างโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 5 ให้แก่บริษัท ป. โดยข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้ง 480 เที่ยวเรือโดยมีเจตนาที่จะนำมาเพื่อผลิตหรือประกอบเป็นเครื่องจักรแยกก๊าซธรรมชาติในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 5 โดยมีค่างานวิศวกรรมและการออกแบบโรงแยกก๊าซธรรมชาติชุดเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นลำดับต้นที่ขาดไม่ได้สำหรับใช้เป็นแนวทางในการผลิตหรือประกอบเครื่องจักรแยกก๊าซในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติตามเจตนาที่แท้จริงของการนำเข้าวัสดุปกรณ์ และไม่ได้มีมูลค่าเพียงต้นทุนราคากระดาษในการออกแบบ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำค่างานด้านวิศวกรรมและการออกแบบที่บริษัท ป. ชำระแก่จำเลยและเป็นคนละจำนวนกับที่ชำระให้แก่ผู้ขายวัสดุอุปกรณ์ที่นำเข้ามาจากประเทศต่าง ๆ มารวมไว้ในราคาการนำเข้าเที่ยวแรกโดยให้สำแดงรายการแยกไว้ต่างหากจากราคาของนำเข้าตามความในกฎกระทรวง ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2543) ข้อ 11 (4) และประกาศกรมศุลกากรที่ 39/2543 เมื่อจำเลยมิได้นำมูลค่าค่าบริการดังกล่าวมารวมเข้ากับราคาการนำเข้าเที่ยวแรกและสำแดงแยกไว้ต่างหากจากราคาของนำเข้าด้วยย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2543) ข้อ 11 (4) และประกาศศุลกากรที่ 39/2543 จำเลยจึงมีความผิดฐานนำของเข้าโดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากร
การดำเนินคดีนี้ไม่ได้เกิดจากมีบุคคลผู้มิใช่เจ้าพนักงาน ซึ่งนำความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิดโดยตรง แต่เกิดสืบเนื่องจากการสอบสวนขยายผลของพนักงานเจ้าหน้าที่เอง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จ่ายสินบนแก่ผู้นำจับศาลก็ไม่อาจสั่งจ่ายสินบนนำจับตามคำขอท้ายฟ้องได้
กรณีนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทย บรรดากรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลที่เป็นคนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามมาตรา 16 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 คุณสมบัติประการหนึ่งของคนต่างด้าวตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง (2) คือ มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ฮ. พำนักอยู่ที่สาธารณรัฐเกาหลี และข้อเท็จจริงปรากฏว่า ฮ. ออกนอกราชอาณาจักรไทยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2555 ส่วนที่ ฮ. ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวสำหรับการติดต่อและประกอบธุรกิจและการทำงานในราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ นั้น ข้อเท็จจริงปรากฎว่าเป็นการตรวจลงตราที่กระทำโดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในสาธารณรัฐเกาหลี ฮ. มิได้เดินทางเข้ามาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความเป็นจริงแต่ประการใด ดังนี้ เมื่อ ฮ. มิใช่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยและมิใช่บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในขณะที่ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทย ซ. จึงยังเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยในประเทศไทยในฐานะผู้จัดการนิติบุคคลจำเลยต่อไป การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอ่านอธิบายฟ้อง สอบคำให้การ และสืบพยานโดยเปิดเผยต่อหน้า ซ. จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 165 และมาตรา 172 แล้ว
แม้เอกสารการนำเข้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นเอกสารส่วนหนึ่งที่ได้มาจากการตรวจยึดในการค้นในเรื่องที่จำเลยถูกกล่าวหาว่านำเข้าสารเคมีซึ่งเป็นวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาต และพยานโจทก์ยอมรับว่าอัยการสูงสุดมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องในข้อหานำเข้าสารเคมีอันเป็นวัตถุอันตราย แต่เอกสารที่ยึดมาชุดเดียวกันนั้นเป็นเอกสารที่นำไปสู่การสอบสวนและดำเนินคดีนี้ อันเกิดจากการตรวจค้นและยึดโดยชอบตามคำสั่งศาล ทั้งเอกสารดังกล่าวสามารถตรวจสอบความมีอยู่และความถูกต้องได้จากหน่วยงานของรัฐได้อีกทางหนึ่งอยู่แล้ว แม้ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนจนนำไปสู่การออกหมายค้นจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่หากตรวจพบข้อเท็จจริงในภายหลังจากเอกสารที่ยึดนั้นเองว่าอาจมีการหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากร พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีต่อไปได้ หาใช่พยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบแต่อย่างใดไม่ จึงชอบที่ศาลฎีกาจะรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
สำหรับความผิดฐานร่วมกันเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/4 (6) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท จึงมีอายุความสิบปีตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานดังกล่าวระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2548 เมื่อนับถึงวันฟ้องพ้นกำหนดสิบปี ฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงขาดอายุความแล้ว
จำเลยทำสัญญารับจ้างก่อสร้างโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 5 ให้แก่บริษัท ป. โดยข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้ง 480 เที่ยวเรือโดยมีเจตนาที่จะนำมาเพื่อผลิตหรือประกอบเป็นเครื่องจักรแยกก๊าซธรรมชาติในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 5 โดยมีค่างานวิศวกรรมและการออกแบบโรงแยกก๊าซธรรมชาติชุดเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นลำดับต้นที่ขาดไม่ได้สำหรับใช้เป็นแนวทางในการผลิตหรือประกอบเครื่องจักรแยกก๊าซในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติตามเจตนาที่แท้จริงของการนำเข้าวัสดุปกรณ์ และไม่ได้มีมูลค่าเพียงต้นทุนราคากระดาษในการออกแบบ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำค่างานด้านวิศวกรรมและการออกแบบที่บริษัท ป. ชำระแก่จำเลยและเป็นคนละจำนวนกับที่ชำระให้แก่ผู้ขายวัสดุอุปกรณ์ที่นำเข้ามาจากประเทศต่าง ๆ มารวมไว้ในราคาการนำเข้าเที่ยวแรกโดยให้สำแดงรายการแยกไว้ต่างหากจากราคาของนำเข้าตามความในกฎกระทรวง ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2543) ข้อ 11 (4) และประกาศกรมศุลกากรที่ 39/2543 เมื่อจำเลยมิได้นำมูลค่าค่าบริการดังกล่าวมารวมเข้ากับราคาการนำเข้าเที่ยวแรกและสำแดงแยกไว้ต่างหากจากราคาของนำเข้าด้วยย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2543) ข้อ 11 (4) และประกาศศุลกากรที่ 39/2543 จำเลยจึงมีความผิดฐานนำของเข้าโดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากร
การดำเนินคดีนี้ไม่ได้เกิดจากมีบุคคลผู้มิใช่เจ้าพนักงาน ซึ่งนำความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิดโดยตรง แต่เกิดสืบเนื่องจากการสอบสวนขยายผลของพนักงานเจ้าหน้าที่เอง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จ่ายสินบนแก่ผู้นำจับศาลก็ไม่อาจสั่งจ่ายสินบนนำจับตามคำขอท้ายฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4521/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงการรับหมายเรียกราชการทหาร และการเพิ่มโทษเนื่องจากเคยต้องโทษจำคุก
ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 25 วรรคหนึ่งและวรรคสาม กำหนดให้ ทหารกองเกินเมื่อมีอายุย่างเข้ายี่สิบเอ็ดปีในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายในพุทธศักราชนั้น ผู้ใดไม่สามารถจะไปรับหมายเรียกด้วยตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและพอจะเชื่อถือได้ไปรับหมายเรียกแทน ถ้าไม่มีผู้แทนให้ถือว่าผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืน เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 แม้จำเลยอยู่ในระหว่างต้องรับโทษซึ่งไม่สามารถไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหารได้ก็ตาม จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องมอบหมายให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและพอจะเชื่อถือได้ไปรับหมายเรียกดังกล่าวแทนระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยไม่ดำเนินการดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงขัดขืน
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1009/2557 ของศาลจังหวัดสุรินทร์ ให้ลงโทษจำคุก 4 ปี ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ในระหว่างที่จำเลยยังจะต้องรับโทษในคดีดังกล่าว จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้อีก ขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นอ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การว่ารับสารภาพตามฟ้อง คำให้การที่จำเลยที่รับสารภาพย่อมหมายรวมถึงการรับว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวหาในฟ้อง ตลอดจนรับตามบทบัญญัติที่ขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามฟ้องด้วย เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จึงต้องเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1009/2557 ของศาลจังหวัดสุรินทร์ ให้ลงโทษจำคุก 4 ปี ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ในระหว่างที่จำเลยยังจะต้องรับโทษในคดีดังกล่าว จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้อีก ขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นอ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การว่ารับสารภาพตามฟ้อง คำให้การที่จำเลยที่รับสารภาพย่อมหมายรวมถึงการรับว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวหาในฟ้อง ตลอดจนรับตามบทบัญญัติที่ขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามฟ้องด้วย เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จึงต้องเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยเนื่องจากเคยต้องโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ และกลับมากระทำความผิดซ้ำภายในห้าปี
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องถึงคดีที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษและมีคำขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 92 แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบคำให้การจำเลยที่ 1 ว่า เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ แต่โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้การว่า เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกในความผิดฐานลักทรัพย์ และพ้นโทษเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 และจำเลยที่ 1 ยังเบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามติงว่า จำเลยที่ 1 พ้นโทษออกจากเรือนจำกลางสุรินทร์ในข้อหาลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ต่อมาอีก 27 วัน ก็ถูกจับกุมคดีนี้ อันสอดคล้องกับบันทึกคำให้การดังกล่าว และได้ความตรงกับคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษตามฟ้องว่า จำเลยเคยต้องโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ของศาลชั้นต้นจริง เมื่อพ้นโทษจำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ถือว่าโจทก์ได้นำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงนั้นแล้ว จึงเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10073/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยในศาลชั้นต้นเป็นไปตามหลักวิธีพิจารณาหรือไม่ หากไม่เป็นไปตาม จะส่งผลต่อคำพิพากษาในความผิดฐานมีพืชกระท่อม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลและศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้ และดำเนินการพิจารณาต่อไป คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งรถยนต์โดยตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร และฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว ต้องสอบถามจำเลยด้วยว่าจะให้การรับสารภาพในความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งรถยนต์โดยตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร และฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งรถยนต์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของยังมิได้เสียภาษี การที่ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามคำให้การของจำเลยให้ชัดแจ้ง กลับพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและมีผลให้กระบวนพิจารณาต่อไปตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีพืชกระท่อมในครอบครองเพื่อจำหน่าย และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่ชอบไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพความผิดหลายกระทง ศาลต้องพิจารณาคำรับสารภาพโดยรวมเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์ของผู้เสียหายหรือรับของโจร และจำเลยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ศาลชั้นต้นบันทึกคำให้การของจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ทุกประการ และบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาต่อท้ายคำให้การของจำเลยว่า อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยเข้าใจดีแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์และจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของศาล ซึ่งมีข้อความเป็นตัวพิมพ์ว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง และมีถ้อยคำที่เขียนด้วยปากกาตกเติมระหว่างข้อความดังกล่าวว่า ฐานลักทรัพย์ หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว จำเลยได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยรับว่าจำเลยกระทำความผิดจริง และให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ เพียงขอให้รอการลงโทษเท่านั้น พอแปลความหมายคำรับสารภาพของจำเลยได้ว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เนื่องจากฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ของผู้เสียหายหรือรับของโจร การที่ศาลชั้นต้นเขียนถ้อยคำเพิ่มเติมระหว่างข้อความรับสารภาพตามฟ้องว่าฐานลักทรัพย์ ก็เพื่อเป็นการระบุให้แน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานใดระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร กรณีจึงพอถือได้ว่าจำเลยได้ให้การรับสารภาพความผิดฐานลักทรัพย์และฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบตามฟ้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตใช้คำให้การเดิมในชั้นพิจารณาที่ไม่เป็นไปตามหลักวิธีพิจารณาความอาญา
ปัญหาว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้คู่ความถือเอาคำให้การของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความในชั้นพิจารณาแล้วให้ทนายจำเลยที่ 1 ถามค้าน เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง เพราะไม่ได้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ก็สามารถยกขึ้นเป็นเหตุฎีกาได้ และคู่ความฝ่ายที่เสียหายจากการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอาจยกปัญหานั้นขึ้นว่ากล่าวได้ในเวลาใดๆ ก่อนศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ก่อนเบิกความโจทก์เป็นฝ่ายเสนอโดยแถลงว่าจะขอถือคำให้การพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำให้การของพยานในชั้นพิจารณาเพราะทนายโจทก์จะถามพยานเช่นเดียวกับในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ทนายจำเลยทั้งสามยอมรับ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้คู่ความปฏิบัติตามที่ตกลงกัน โดยทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านและทนายโจทก์ถามติงแล้วต่างฝ่ายต่างสืบพยานมาจนเสร็จสิ้น โจทก์ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาในการสืบพยานปากนั้นเป็นการกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยเพียงแต่โจทก์ขอให้ถือเอาคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณา ก็เป็นวิธีการของโจทก์เองที่เลือกเสนอพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยด้วยวิธีนี้ ศาลไม่มีหน้าที่ต้องทักท้วงเสนอแนะว่าพยานหลักฐานเช่นนี้ใช้ลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ก่อนเบิกความโจทก์เป็นฝ่ายเสนอโดยแถลงว่าจะขอถือคำให้การพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำให้การของพยานในชั้นพิจารณาเพราะทนายโจทก์จะถามพยานเช่นเดียวกับในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ทนายจำเลยทั้งสามยอมรับ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้คู่ความปฏิบัติตามที่ตกลงกัน โดยทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านและทนายโจทก์ถามติงแล้วต่างฝ่ายต่างสืบพยานมาจนเสร็จสิ้น โจทก์ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาในการสืบพยานปากนั้นเป็นการกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยเพียงแต่โจทก์ขอให้ถือเอาคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณา ก็เป็นวิธีการของโจทก์เองที่เลือกเสนอพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยด้วยวิธีนี้ ศาลไม่มีหน้าที่ต้องทักท้วงเสนอแนะว่าพยานหลักฐานเช่นนี้ใช้ลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15690/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์ในคดีอาญา: รูปแบบไม่สำคัญ สาระสำคัญอยู่ที่การมอบอำนาจจริงและไม่มีเหตุสงสัย
การร้องทุกข์ในคดีอาญา กฎหมายมิได้กำหนดแบบการร้องทุกข์ไว้ จึงอาจร้องทุกข์ด้วยวาจาหรือหนังสือก็ได้ สาระสำคัญจึงอยู่ที่ว่าโจทก์ร่วมมอบอำนาจให้นายวิโรจน์ร้องทุกข์จริงหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลมิได้สงสัยและจำเลยไม่ได้ให้การหรือนำสืบต่อสู้แสดงเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง ถือว่าโจทก์ร่วมมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9800-9802/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมพิจารณาคดีและการใช้พยานหลักฐาน: พยานที่เบิกความก่อนรวมคดีถือเป็นพยานลับหลังจำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2073/2542 ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1738/2543 และฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2065/2543 ต่อมาวันที่ 4 มิถุนายน 2544 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้ากับคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่ได้สืบประจักษ์พยานโจทก์ 2 ปาก คือ จ. และ บ. ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ไปก่อนแล้ว หลังจากการสั่งรวมพิจารณาคดีแล้ว โจทก์นำ จ. มาสืบใหม่ได้เพียงคนเดียว บ. ไม่อาจนำมาสืบได้ ดังนั้น คำเบิกความของ บ. ที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อนมีการรวมพิจารณาคดีต้องถือว่าเป็นการสืบพยานลับหลัง ไม่อาจนำมาฟังลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ คงใช้ได้แต่เฉพาะคำเบิกความของ จ. เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้มีโอกาสถามค้าน จ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาต้องเปิดเผยต่อจำเลย การรับฟังพยานหลักฐานลับหลังจำเลยเป็นโมฆะ
การพิจารณาและสืบพยานในศาลไม่ว่าชั้นสืบพยานโจทก์หรือพยานจำเลยจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร จะอนุญาตให้จำเลยไม่มาฟังการพิจารณาและการสืบพยานนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และมาตรา 172 ทวิ
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มาศาล และทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแล้ว ศาลชั้นต้นไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยที่ 1 ได้อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยให้ทนายจำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริงว่า ส. เป็นผู้ตรวจพิสูจน์ของกลางผลการตรวจพิสูจน์เป็นเมทแอมเฟตามีนตามรายงานผลการตรวจพิสูจน์ ที่โจทก์ส่งศาลและโจทก์แถลงไม่สืบพยานโจทก์ปากดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มาศาลและให้การปฏิเสธไม่มีโอกาสโต้แย้งหรือต่อสู้คดีได้ว่ายาเสพติดให้โทษของกลางมิใช่เมทแอมเฟตามีนตามแบบรายงานผลการตรวจพิสูจน์อันจะเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มาศาล และทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแล้ว ศาลชั้นต้นไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยที่ 1 ได้อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยให้ทนายจำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริงว่า ส. เป็นผู้ตรวจพิสูจน์ของกลางผลการตรวจพิสูจน์เป็นเมทแอมเฟตามีนตามรายงานผลการตรวจพิสูจน์ ที่โจทก์ส่งศาลและโจทก์แถลงไม่สืบพยานโจทก์ปากดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มาศาลและให้การปฏิเสธไม่มีโอกาสโต้แย้งหรือต่อสู้คดีได้ว่ายาเสพติดให้โทษของกลางมิใช่เมทแอมเฟตามีนตามแบบรายงานผลการตรวจพิสูจน์อันจะเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10238/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากคำให้การในชั้นสอบสวนในคดีอาญา ต้องมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งและจำเลยต้องมีโอกาสซักค้าน
โจทก์มีเวลาที่จะติดตามตัวผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาลนับแต่วันฟ้องถึงวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นเวลา 5 เดือนเศษ ระหว่างนั้นศาลชั้นต้นได้นัดพร้อม 2 ครั้ง เพื่อตรวจสอบผลการส่งหมายแก่พยานโดยกำชับโจทก์ให้เร่งติดตามผู้เสียหายมาศาลในวันนัดให้ได้ แต่พนักงานสอบสวนแถลงต่อศาลลอยๆ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่ายังไม่ทราบที่อยู่ที่แน่ชัดของผู้เสียหาย ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง ศาลจึงไม่สามารถรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวน เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคท้าย ได้ คงรับฟังได้ในฐานะพยานบอกเล่าตามธรรมดาเท่านั้น
แม้จะได้ความจากเทปบันทึกภาพและเสียงคำให้การและบันทึกคำให้การของผู้เสียหาย ซึ่งผู้เสียหายให้การไว้ในชั้นสอบสวนว่า ถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราหลายครั้งตั้งแต่ผู้เสียหายอายุได้ 10 ปีก็ตาม แต่การสอบสวนดังกล่าวมิได้กระทำต่อหน้าจำเลย จำเลยไม่มีโอกาสถ้ามค้านเพื่อให้ผู้เสียหายเบิกความถึงข้อเท็จจริงที่อาจเป็นการทำลายน้ำหนักพยานหลักฐานดังกล่าวของโจทก์ได้ ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าโจทก์มี ณ. เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดพังงา มาเบิกควายืนยันว่าผู้เสียหายเล่าข้อเท็จจริงให้ฟังสอดคล้องกับคำให้การของผู้เสียหาย ก็เห็นได้ชัดว่า ณ. ได้รับการบอกเล่ามาจากผู้เสียหายอีกทีหนึ่ง คำเบิกความของ ณ. จึงไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
เมื่อผู้เสียหายสมัครใจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลย ผู้เสียหายก็น่าจะมาเบิกความต่อศาลให้เป็นที่สิ้นสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่ผู้เสียหายกล่าวหาจริง การที่โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาล จึงทำให้พยานโจทก์ยังตกอยู่ในความสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องจริงหรือไม่
แม้จะได้ความจากเทปบันทึกภาพและเสียงคำให้การและบันทึกคำให้การของผู้เสียหาย ซึ่งผู้เสียหายให้การไว้ในชั้นสอบสวนว่า ถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราหลายครั้งตั้งแต่ผู้เสียหายอายุได้ 10 ปีก็ตาม แต่การสอบสวนดังกล่าวมิได้กระทำต่อหน้าจำเลย จำเลยไม่มีโอกาสถ้ามค้านเพื่อให้ผู้เสียหายเบิกความถึงข้อเท็จจริงที่อาจเป็นการทำลายน้ำหนักพยานหลักฐานดังกล่าวของโจทก์ได้ ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าโจทก์มี ณ. เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดพังงา มาเบิกควายืนยันว่าผู้เสียหายเล่าข้อเท็จจริงให้ฟังสอดคล้องกับคำให้การของผู้เสียหาย ก็เห็นได้ชัดว่า ณ. ได้รับการบอกเล่ามาจากผู้เสียหายอีกทีหนึ่ง คำเบิกความของ ณ. จึงไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
เมื่อผู้เสียหายสมัครใจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลย ผู้เสียหายก็น่าจะมาเบิกความต่อศาลให้เป็นที่สิ้นสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่ผู้เสียหายกล่าวหาจริง การที่โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาล จึงทำให้พยานโจทก์ยังตกอยู่ในความสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องจริงหรือไม่