คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 172

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในคดีอาญา: ผลกระทบต่อการเพิ่มโทษจากประวัติอาชญากร
แม้จำเลยจะมิได้ให้การรับในข้อต้องโทษ และพ้นโทษในวันที่ศาลสอบคำให้การจำเลย แต่ก็ได้ปรากฏจากคำเบิกความของจำเลยซึ่งได้อ้างตัวเองเป็นพยานต่อศาลว่าจำเลยเคยต้องโทษตามฟ้องจริง. คำว่า ตามฟ้อง นั้นต้องหมายความถึงวันพ้นโทษของจำเลยด้วย. เพราะโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่าจำเลยพ้นโทษมา และยังได้ท้าวถึงประวัติอาชญากรซึ่งโจทก์ส่งมาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องอีก. ฉะนั้น เมื่อจำเลยรับว่าเคยต้องโทษตามฟ้องจริง ก็เท่ากับจำเลยรับในข้อพ้นโทษในคดีก่อนด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับพยานหลักฐานทางอ้อมและการเพิ่มโทษอาชญากรจากประวัติอาชญากรรม
แม้จำเลยจะมิได้ให้การรับในข้อต้องโทษ และพ้นโทษในวันที่ศาลสอบคำให้การจำเลย แต่ก็ได้ปรากฏจากคำเบิกความของจำเลยซึ่งได้อ้างตัวเองเป็นพยานต่อศาลว่าจำเลยเคยต้องโทษตามฟ้องจริง คำว่า ตามฟ้อง นั้นต้องหมายความถึงวันพ้นโทษของจำเลยด้วย เพราะโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่า จำเลยพ้นโทษมา และยังได้ท้าวถึงประวัติอาชญากรซึ่งโจทก์ส่งมาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องอีก ฉะนั้น เมื่อจำเลยรับว่าเคยต้องโทษต้องฟ้องจริง ก็เท่ากับจำเลยรับให้ข้อพ้นโทษในคดีก่อนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำให้การที่ขยายความถึงประวัติอาชญากรรมของจำเลย ศาลพิจารณาเพิ่มโทษได้ตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะมิได้ให้การรับในข้อต้องโทษ และพ้นโทษในวันที่ศาลสอบคำให้การจำเลย แต่ก็ได้ปรากฏจากคำเบิกความของจำเลยซึ่งได้อ้างตัวเองเป็นพยานต่อศาลว่าจำเลยเคยต้องโทษตามฟ้องจริงคำว่า ตามฟ้อง นั้นต้องหมายความถึงวันพ้นโทษของจำเลยด้วยเพราะโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่าจำเลยพ้นโทษมา และยังได้ท้าวถึงประวัติอาชญากรซึ่งโจทก์ส่งมาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องอีกฉะนั้น เมื่อจำเลยรับว่าเคยต้องโทษตามฟ้องจริง ก็เท่ากับจำเลยรับในข้อพ้นโทษในคดีก่อนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาฐานไม่เข็ดหลาบต้องกระทำหลังจำเลยมีทนาย และการรับสารภาพก่อนมีทนายยังใช้ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ให้จำคุก 5 ปี และเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 กึ่งหนึ่ง รวมเป็นโทษจำคุก 7 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าไม่เพิ่มโทษตามมาตรา 93 คงจำคุกเพียง 5 ปี เช่นนี้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ทั้งบทและโทษ เป็นการแก้ไขมาก จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้ในคดีอุกฉกรรจ์ที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ไม่ได้หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การรับในข้อเคยต้องโทษก่อนตั้งทนาย คำรับก็ไม่เสียไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาฐานไม่เข็ดหลาบ: จำเลยให้การรับสารภาพก่อนมีทนาย ไม่กระทบคำรับ หากโจทก์มิได้สืบพยานยืนยัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ให้จำคุก 5 ปี และเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93กึ่งหนึ่ง รวมเป็นโทษจำคุก 7 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าไม่เพิ่มโทษตามมาตรา 93 คงจำคุกเพียง 5 ปี เช่นนี้ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ทั้งบทและโทษ เป็นการแก้ไขมาก จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้ในคดีอุกฉกรรจ์ที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ไม่ได้หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การรับในข้อเคยต้องโทษก่อนตั้งทนาย คำรับก็ไม่เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การปฏิเสธของจำเลย แม้ไม่ถูกสอบถามในชั้นเริ่มต้น ไม่ทำให้กระบวนการพิจารณาเสีย
คดีอาญาเมื่อปรากฏว่า จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่ในชั้นสืบพยานจำเลย ตัวจำเลยเข้าเบิกความปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด ก็ถือได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ
ในกรณีที่ศาลมิได้สอบถามคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าจะมีผลอย่างไร แต่ตามหลักกฎหมายจำเลยจะให้การเมื่อใดหรือให้การใหม่กลับคำให้การเดิมก็ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสอบถามคำให้การเป็นแต่เพียงเพื่อได้ทราบประเด็นเบื้องต้นแห่งคดีเท่าที่จะทำได้ แต่คำให้การของจำเลยตามที่ศาลสอบถามนั้น จำเลยจะให้การเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ได้ ดังนี้ แม้ศาลมิได้สอบถามคำให้การจำเลยไว้แต่ต้น ก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเสียไปหรือจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสอบถามคำให้การจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การปฏิเสธของจำเลย แม้ศาลมิได้สอบถามคำให้การต่อสู้คดี ก็ถือเป็นคำให้การได้
คดีอาญาเมื่อปรากฏว่า จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้แต่ในชั้นสืบพยานจำเลยตัวจำเลยเข้าเบิกความปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด ก็ถือได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ
ในกรณีที่ศาลมิได้สอบถามคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 นั้นกฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าจะมีผลอย่างไรแต่ตามหลักกฎหมายจำเลยจะให้การเมื่อใดหรือให้การใหม่กลับคำให้การเดิมก็ได้ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสอบถามคำให้การเป็นแต่เพียงเพื่อได้ทราบประเด็นเบื้องต้นแห่งคดีเท่าที่จะทำได้ แต่คำให้การของจำเลยตามที่ศาลสอบถามนั้น จำเลยจะให้การเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ได้ดังนี้แม้ศาลมิได้สอบถามคำให้การจำเลยไว้แต่ต้นก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเสียไป หรือจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสอบถามคำให้การจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งจากการยักยอกทรัพย์: การสะดุดหยุด และข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปจะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงินขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้วคดียังไม่ถึงที่สุดต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแปลงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานยักยอกก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์จึงมีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการเท่านั้นดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยยักยอกเงินจะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วยคดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพากษายกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรคสี่
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดและเรียกคืนทรัพย์สิน ยักยอกเงินไม่ใช่การปลอมเอกสาร
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอมเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไป จะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงิน ขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไป ปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้ว คดียังไม่ถึงที่สุด ต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากาายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแลปงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์ จึงมีความผิดฐานปลอมแลงเอกสารราชการเท่านั้น ดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยักยอกเงิน จะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรค 2 บัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วย คดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพาษกยกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไป แล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรค 4
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานะละเมิด ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีเงินรองรับ & เพิ่มโทษจำคุกซ้ำ: การกำหนดวันกระทำผิด & ผลของการรับสารภาพ
1.ฟ้องโจทก์กล่าวถึงข้อที่ว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว อันจะเป็นเหตุให้ถูกเพิ่มโทษ และได้อ้างบทมาตราเรื่องเพิ่มโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เมื่อจำเลยให้การว่าขอรับสารภาพตามฟ้องก็ถือได้ว่ารับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาขอให้เพิ่มโทษด้วย
2.บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 487,488 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ (แม้จะเป็นเพราะบัญชีเงินฝากของบุคคลนั้นปิดเสียแล้วในขณะที่ออกเช็ค) ผู้ออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
3.ในกรณีออกเช็คล่วงหน้า วันที่เขียนเช็คยังไม่ถือว่าเป็นวันออกเช็ค ต้องถือเอาวันที่ลงในเช็คเป็นวันออกเช็ค และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องถือว่าวันออกเช็คเป็นวันที่เริ่มการกระทำอันจะก่อให้เกิดความผิด และความผิดได้เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อยังไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่พ้นโทษในคดีเรื่องก่อน ย่อมเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507 และ18/2507)
อนึ่ง ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507 ได้เห็นชอบให้ออกไปตามร่างคำพิพากษาฎีกานี้ได้
of 23