คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 172

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042-1043/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การดำเนินกระบวนพิจารณา การสั่งรับฟ้อง และสิทธิในการยื่นคำให้การ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้อง หมายเรียกจำเลยแก้คดี ดังนี้ เป็นการสั่งรับฟ้องคดีส่วนอาญาและส่วนแพ่งแล้ว ไม่จำต้องสั่งรับฟ้องส่วนแพ่งอีก
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้มิใช่ต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายใน 8 วัน และโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลเรื่องวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วศาลก็ไม่ต้องแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้ทราบอีก ทั้งไม่จำเป็นต้องมีการนัดพร้อม นัดชี้สองสถานแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้คำเบิกความจากคดีก่อนเป็นหลักฐานพิสูจน์ความผิดในคดีใหม่ จำเป็นต้องมีการสืบพยานต่อหน้าจำเลย
โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นประจักษ์พยานขณะเกิดเหตุมาเบิกความเพราะตามหาตัวไม่พบ ดังนี้ จะถือเอาคำเบิกความของผู้เสียหายดังกล่าวในคดีเรื่องก่อนมาใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยในคดีนี้หาได้ไม่ เพราะการพิจารณาสืบพยานผู้เสียหายในคดีก่อนไม่ได้กระทำต่อหน้าจำเลยในคดีนี้ ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172ได้บัญญัติไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายเฮโรอีน - ความผิดหลายกระทง
จำเลยมีเฮโรอีนไว้เพื่อจำหน่าย 31 ห่อกับ 1 หลอดและขายเฮโรอีนนั้นบางส่วนไป 1 ห่อ ในวันเวลาเดียวกัน แต่ต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นความผิด 2 กระทงฐานมีเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย กับฐานจำหน่ายเฮโรอีน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามวิ่งราวทรัพย์: การกระทำยังไม่บรรลุผล แต่มีเจตนาและร่วมวางแผน
ผู้เสียหายจับสร้อยที่สวมคอไว้ ม. กระชากสร้อยขาดแต่ยังติดมือผู้เสียหายอยู่ ยังเป็นแต่จะทำให้สร้อยขาดหลุดจากคอเท่านั้น การเอาไปยังไม่บรรลุผล ผู้เสียหายร้องขึ้น ม. วิ่งไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยติดเครื่องคอยอยู่ริมถนนฝั่งตรงข้ามขับหนีไปตามแผนการณ์ที่ร่วมกันวางไว้เป็นการพยายามวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ จำเลยเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน2514 ข้อ 13 ด้วย
คดีที่ ม. เป็นจำเลย ศาลลงโทษตามคำรับสารภาพฐานวิ่งราวทรัพย์เป็นความผิดสำเร็จ คดีที่ศาลสั่งให้แยกฟ้องจำเลยนี้ได้ความว่าการกระทำเป็นเพียงพยายาม ศาลลงโทษคดีนี้ฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่จำต้องสอบถามคำให้การจำเลย และการงดสืบพยาน
จำเลยแถลงว่าจะยื่นคำให้การแล้วไม่ยื่น ศาลไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้สอบถามคำให้การจำเลย โจทก์จำเลยตกลงกันให้ศาลพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวน ซึ่งมีคำพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอื่นและงดสืบพยานในคดีนี้ ถือว่ามีการพิจารณาต่อหน้าจำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ไม่ได้ พิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประทับฟ้องคดีเด็กและเยาวชนต้องมีตัวจำเลยในความควบคุมของศาล การควบคุมตัวก่อนฟ้องเป็นอำนาจผู้อำนวยการสถานพินิจ
ขณะที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวอยู่ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เพราะหลบหนีไปจากสถานพินิจฯ เมื่อไม่มีตัวจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาลในขณะฟ้อง ก็ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งประทับฟ้องไว้ ทั้งการควบคุมดังกล่าวก็เป็นการควบคุมในชั้นสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24แก้ไขโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 มาตรา 7 ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาล
"ขัง" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(22)หมายถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล แต่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่คดีธรรมดา การควบคุมตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวน เป็นการควบคุมโดยผู้อำนวยการสถานพินิจ ตัวจำเลยยังมิได้ผ่านเข้ามาอยู่ ในความควบคุมของศาลเลยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 33 ยังมีความชี้ให้เห็นด้วยว่า จำเลยจะเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประทับฟ้องคดีเด็กและเยาวชน ต้องมีตัวจำเลยอยู่ในการควบคุมของศาล
ขณะที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวอยู่ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เพราะหลบหนีไปจากสถานพินิจฯ เมื่อไม่มีตัวจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาลในขณะฟ้อง ก็ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งประทับฟ้องไว้ ทั้งการควบคุมดังกล่าวก็เป็นการควบคุมในชั้นสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24แก้ไขโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 มาตรา 7 ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาล
"ขัง" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(22) หมายถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล แต่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่คดีธรรมดา การควบคุมตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวน เป็นการควบคุมโดยผู้อำนวยการสถานพินิจ ตัวจำเลยยังมิได้ผ่านเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลเลยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 33ยังมีความชี้ให้เห็นด้วยว่า จำเลยจะเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823-2824/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการนำสืบพยานพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และสถานที่เกิดเหตุความผิดฐานยักยอก
ในคดีอาญาจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะให้การอย่างใดหรือแม้จะไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบพยานก่อนให้เห็นว่าจำเลยเป็นกระทำความผิด จำเลยไม่จำต้องยกประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็มีสิทธิที่จะนำสืบในประเด็นนั้น ๆ ได้และจำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยได้โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ ในเรื่องที่จำเลยจะนำพยานเข้าสืบต่อไปไว้เลย
ในความผิดฐานยักยอกนั้น สถานที่ที่จำเลยยืมทรัพย์ที่ยักยอกย่อมถือเป็นสถานที่เกิดเหตุในการกระทำผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำให้การรับสารภาพ: ศาลอนุญาตได้หรือไม่ และผลกระทบต่อการอุทธรณ์
ปัญหาที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยถอนคำให้การรับสารภาพจะเป็นการชอบหรือไม่นั้น มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเมื่อคู่ความมิได้โต้เถียงกันในศาลชั้นต้น และเมื่อศาลชั้นต้นจดรายงานว่าจำเลยขอถอนคำให้การรับสารภาพตามฟ้องตลอดข้อหาไม่สู้คดีนั้นเสียแล้วขอให้การใหม่ว่าขอปฏิเสธฟ้องโจทก์ตลอดข้อหาขอสู้คดี โจทก์แถลงไม่คัดค้าน ดังนั้น โจทก์จะยกมาอ้างเป็นข้ออุทธรณ์ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำให้การรับสารภาพที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาที่ไม่ควรวินิจฉัยตามอุทธรณ์โจทก์
ปัญหาที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยถอนคำให้การรับสารภาพจะเป็นการชอบหรือไม่นั้น มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเมื่อคู่ความมิได้โต้เถียงกันในศาลชั้นต้น และเมื่อศาลชั้นต้นจดรายงานว่าจำเลยขอถอนคำให้การรับสารภาพตามฟ้องตลอดข้อหาไม่สู้คดีนั้นเสียแล้วขอให้การใหม่ว่าขอปฏิเสธฟ้องโจทก์ตลอดข้อหา ขอสู้คดี โจทก์แถลงไม่คัดค้าน ดังนั้น โจทก์จะยกมาอ้างเป็นข้ออุทธรณ์ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195
of 23