พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5471/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายฐานบุกรุก และผลของการยอมความระหว่างโจทก์และจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2540 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกันตลอดมา โดยข้อเท็จจริงตามทางนำสืบได้ความว่าพยานโจทก์เห็นจำเลยบุกรุกในเวลากลางวัน ดังนั้น ความผิดฐานบุกรุกจึงเกิดขึ้นและสำเร็จตั้งแต่ขณะที่จำเลยเข้าไปในที่ดินในเวลากลางวันแล้ว การที่จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินอันเป็นการบุกรุกต่อเนื่องถึงเวลากลางคืนและวันต่อมาทั้งเวลากลางวันและกลางคืน จึงเป็นเพียงผลของการกระทำความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางวันเท่านั้น จะถือว่าจำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืนอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ไม่ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ดังนั้นเมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 แล้ว คดีนี้จึงเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมยื่นคำร้องว่าไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยและขอถอนคำแก้ฎีกาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ถือว่าโจทก์ร่วมและจำเลยยอมความกันแล้ว สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5454/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องเวลากระทำผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยให้การรับสารภาพไม่ชัดเจน ศาลต้องใช้พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาจำเลยว่า จำเลยปลอมเอกสารและนำ เอกสารปลอมไปลักทรัพย์ของนายจ้าง โดยเหตุเกิดเมื่อระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยงอันเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ยืนยันการกระทำความผิดของจำเลยว่าเกิดขึ้นในเวลากลางวันหรือเกิดในเวลากลางคืน อันเป็นเหตุฉกรรจ์ที่ทำให้จำเลยต้องได้รับโทษหนักขึ้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงก็คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยลักทรัพย์นายจ้างตามฟ้องเท่านั้น แต่ไม่อาจจะรับฟังได้แน่ชัดว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลากลางวันหรือกลางคืน ถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การรับสารภาพในส่วนนี้โดยชัดแจ้ง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลจะรับฟังข้อเท็จจริงให้เป็นโทษแก่จำเลยไม่ได้ คงฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างในเวลากลางวันเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) ด้วยจึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องซื้อขายสินค้า การซื้อขายเพื่อกิจการกับบริโภคเอง และการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายที่ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ต้องเป็นการซื้อขายเพื่อบริโภคของลูกหนี้เองโดยไม่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือธุรกิจหลักของลูกหนี้ เมื่อจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้โจทก์ในประเทศไทย กิจการของจำเลยคือการซื้อและรับมอบสินค้ามาขายต่อให้แก่ลูกค้าการที่จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อขายต่อ ย่อมเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้นั้นเองอันเข้าข้อยกเว้นตอนท้ายของมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกค่าสินค้าจากจำเลยจึงไม่ได้มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
ราคาสินค้าพิพาทกำหนดเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิง โจทก์จึงฟ้องขอให้ชำระหนี้เป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิงได้ แต่จำเลยมีสิทธิจะส่งใช้หนี้ดังกล่าวเป็นเงินไทยก็ได้ โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196
ราคาสินค้าพิพาทกำหนดเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิง โจทก์จึงฟ้องขอให้ชำระหนี้เป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิงได้ แต่จำเลยมีสิทธิจะส่งใช้หนี้ดังกล่าวเป็นเงินไทยก็ได้ โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4591/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของกองปราบปรามและการมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
ตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2508 ประกอบประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2515 และ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2539 ซึ่งใช้บังคับขณะที่มีการสอบสวนคดีนี้ ได้กำหนดอำนาจของกองปราบปรามไว้ว่า "กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.อ. และตามบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร" พ. เป็นพนักงานสอบสวนประจำแผนก 4 กองกำกับการ 2 กองปราบปราม ย่อมมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดคดีอาญาทั้งปวงได้ทั่วราชอาณาจักร ทั้งปรากฏว่า พ. ยังได้ขออนุญาตดำเนินคดีนี้ต่อผู้บังคับบัญชาแล้ว เมื่อ พ. แจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 177, 180, 267 และ 268 แล้วทำการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าว การสอบสวนย่อมชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องสอดและการบังคับคดีตามคำพิพากษา: การวัดแนวเขตทางพิพาท
ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินกับจำเลยซึ่งตกเป็นภาระจำยอมและถูกบังคับคดีในคดีนี้ เมื่อการบังคับคดีมีปัญหาอันเนื่องจากโจทก์และจำเลยแปลความคำพิพากษาแตกต่างกัน จำเลยและผู้ร้องเห็นว่าการบังคับคดีไม่ถูกต้องตามคำพิพากษา ทำให้จำเลยและผู้ร้องเสียหายผู้ร้องย่อมใช้สิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องสอดในคดีบังคับคดี และการบังคับคดีตามแนวเขตที่ดินที่ระบุในคำพิพากษา
ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินซึ่งตกเป็นภาระจำยอมและถูกบังคับคดีในคดีนี้ เมื่อการบังคับคดีมีปัญหาอันเนื่องจากโจทก์และจำเลยแปลความคำพิพากษาแตกต่างกันจำเลยและผู้ร้องเห็นว่าการบังคับคดีไม่ถูกต้องตามคำพิพากษาทำให้จำเลยและผู้ร้องเสียหาย ผู้ร้องย่อมใช้สิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดี: คำพิพากษาถึงที่สุดหลังขาดนัดยื่นคำขอพิจารณาใหม่
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลจึงพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว จำเลยทั้งสองซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาอาจขอให้พิจารณาใหม่ภายใต้บังคับตามมาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จึงต้องถือว่าคำพิพากษาในคดีนี้เป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้สิ้นสุดลง เมื่อจำเลยทั้งสองได้รับคำบังคับโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2540 การส่งคำบังคับดังกล่าวจึงมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วตามมาตรา 79 วรรคสอง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองทราบคำบังคับในวันที่ 24 มีนาคม 2540 เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในสิบห้าวันนับจากวันดังกล่าว ดังนั้น คดีของจำเลยทั้งสองจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 8 เมษายน 2540 การที่โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีในวันที่ 14 กันยายน 2549 จึงเป็นกรณีที่โจทก์บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษทางอาญา กรณีผู้ต้องโทษเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดมาก่อน
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยได้ต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว โดยมิต้องคำนึงว่าเป็นกรณีตาม ป.อ. มาตรา 3 หรือไม่ แม้พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และคดีจำเลยจะถึงที่สุดไปก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับแล้ว แต่ปัญหาว่าเมื่อมีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่จะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับแล้วจะเพิ่มโทษจำเลยได้หรือไม่ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงผลของคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด กรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษและกำหนดโทษจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่แต่งตั้งทนายความตามกฎหมาย และผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษ
เมื่อปรากฏตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้ขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งทนายความให้ตลอดมาจนกระทั่งสืบพยานจำเลยเสร็จ แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้แต่งตั้งทนายความให้จำเลย ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง จำเลยต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องเพื่อให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบกระบวนพิจารณานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด คำร้องของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องว่า ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าจะรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ขอให้งดเพิ่มโทษ โดยจำเลยยื่นคำร้องหลังจากที่ศาลชั้นต้น อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 และก่อนที่จำเลยจะยื่นฎีกา เมื่อคำร้องดังกล่าวเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี มิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลล่างที่มีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้พิจารณาและพิพากษาคดีใหม่และไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าว หากศาลชั้นต้นสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
เมื่อความผิดที่ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ฯ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
จำเลยยื่นคำร้องว่า ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าจะรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ขอให้งดเพิ่มโทษ โดยจำเลยยื่นคำร้องหลังจากที่ศาลชั้นต้น อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 และก่อนที่จำเลยจะยื่นฎีกา เมื่อคำร้องดังกล่าวเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี มิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลล่างที่มีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้พิจารณาและพิพากษาคดีใหม่และไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าว หากศาลชั้นต้นสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
เมื่อความผิดที่ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ฯ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้างมลทินในวโรกาส 80 พรรษาฯ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้ต้องโทษที่พ้นโทษก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ. ล้างมลทิน ย่อมได้รับประโยชน์ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง และเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 93 คดีถึงที่สุด ต่อมามีการตรา พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่า ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าวขอให้ศาลชั้นต้นงดเพิ่มโทษ เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยที่ 1 ได้ต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ และกฎหมายไม่มีข้อยกเว้นไว้ว่าหากคดีถึงที่สุดแล้วจะไม่ได้รับประโยชน์ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 และในกรณีนี้เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี เพื่อบังคับให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น