พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8117/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยและกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี การปฏิบัติตามธรรมเนียมธนาคาร
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้คิดดอกเบี้ยทุกวัน และกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันปิดบัญชีสิ้นเดือนของโจทก์ทุก ๆ เดือน ทั้งยังระบุให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติไปตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ทุกวันและกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันปิดบัญชีสิ้นเดือน จึงเป็นไปตามประเพณีของธนาคารตามข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา อันเป็นการกำหนดการนับระยะเวลาโดยนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/1 แม้วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุดทำการ โจทก์ก็คิดหักทอนบัญชีเมื่อสิ้นเดือนได้โดยไม่ถือเอาวันเปิดทำการถัดไปเป็นวันปิดบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาโทษรอการลงโทษและการบวกโทษคดีอาญา: เกณฑ์เวลาที่ถูกต้องและการปรับบทกฎหมาย
การนับระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษให้แก่จำเลยจนถึงวันที่จำเลยกระทำความผิดในคดีหลัง เพื่อนำโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 หาใช่เป็นการติดต่อราชการตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/4 ไม่ การนับระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ 20 มีนาคม 2542 จะต้องไปครบ 1 ปี ในวันที่ 20 มีนาคม 2543 เวลา 24 นาฬิกาอันเป็นการนับวันเวลาตามปกตินั่นเอง จำเลยกระทำผิดในวันที่ 20มีนาคม 2543 เวลา19.45 นาฬิกา จึงบวกโทษจำคุกในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ: การตีความ 'วัน' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/4
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/4 นั้น บัญญัติว่า ในบางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม วัน หมายความว่า เวลาทำการตามปีที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปกติของกิจการนั้น แล้วแต่กรณี หมายถึง ในการต้องติดต่อราชการเช่นการฟ้องคดี การยื่นคำร้อง คำขอ ต่อศาล ก็ต้องทำภายในเวลา 16.30 นาฬิกา หรือธุรกรรมในทางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมพึงต้องทำในวันเวลาทำการตามปกติที่กำหนดไว้ของกิจการนั้น เช่นเดียวกัน แต่การนับระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษให้แก่จำเลยจนถึงวันที่จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ เพื่อนำโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาใช่เป็นการติดต่อ ราชการตามนัยมาตรา 193/4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ การนับระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ 20 มีนาคม 2542 จะต้องครบ 1 ปี ในวันที่ 20 มีนาคม 2543 เวลา 24 นาฬิกา อันเป็นการนับวันเวลาตามปกตินั่นเอง ศาลบวก โทษจำคุกในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฟ้องเครื่องหมายการค้าเกินเวลาทำการ ศาลต้องรับฟ้องได้หากมีสิทธิฟ้องคดีอยู่
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แต่โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ และไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หรือในกฎหมายอื่นใดบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องในวันที่ 13 กันยายน 2544 หรือวันใดวันหนึ่งหลังวันที่ 12 กันยายน 2544 โดยไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลขยายระยะเวลาในการยื่นคำฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 12 กันยายน 2544 แต่โจทก์นำมายื่นต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในวันที่ 13 กันยายน 2544 พร้อมกับคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ขอให้ส่งรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 เพราะโจทก์ไปยื่นคำฟ้องต่อศาลในวันดังกล่าว แต่ไปถึงศาลเมื่อเวลา 16.32 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ไม่รับอ้างว่าหมดเวลาราชการแล้ว กรณีที่ 2 หากศาลเห็นว่าไม่สมควรรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ขอให้ถือว่าคำร้องนี้เป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย โดยขอให้ศาลขยายระยะเวลาให้โจทก์ยื่นฟ้องในวันนี้ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำฟ้องในวันที่ 12 กันยายน 2544 เมื่อพ้นเวลาราชการจึงไม่อาจมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้ได้นั้นชอบแล้ว แต่เมื่อโจทก์อาจยื่นฟ้องในวันที่ 13 กันยายน 2544 หรือวันถัดไปวันใดวันหนึ่งก็ได้แม้คำฟ้องจะลงวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ต้องถือว่ายื่นคำฟ้องต่อศาลในวันที่ 13 กันยายน 2544 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงชอบที่จะสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป
คำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 12 กันยายน 2544 แต่โจทก์นำมายื่นต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในวันที่ 13 กันยายน 2544 พร้อมกับคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ขอให้ส่งรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 เพราะโจทก์ไปยื่นคำฟ้องต่อศาลในวันดังกล่าว แต่ไปถึงศาลเมื่อเวลา 16.32 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ไม่รับอ้างว่าหมดเวลาราชการแล้ว กรณีที่ 2 หากศาลเห็นว่าไม่สมควรรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ขอให้ถือว่าคำร้องนี้เป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย โดยขอให้ศาลขยายระยะเวลาให้โจทก์ยื่นฟ้องในวันนี้ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำฟ้องในวันที่ 12 กันยายน 2544 เมื่อพ้นเวลาราชการจึงไม่อาจมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้ได้นั้นชอบแล้ว แต่เมื่อโจทก์อาจยื่นฟ้องในวันที่ 13 กันยายน 2544 หรือวันถัดไปวันใดวันหนึ่งก็ได้แม้คำฟ้องจะลงวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ต้องถือว่ายื่นคำฟ้องต่อศาลในวันที่ 13 กันยายน 2544 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงชอบที่จะสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความในคดีละเมิดเมื่อวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดราชการ ศาลพิจารณาว่าวันเริ่มต้นทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายของอายุความ
เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 เมื่อนับเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/5 วันครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันละเมิดคือวันที่ 24 พฤศจิกายน2539 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ ศาลหยุดทำการ ซึ่งตามมาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการจึงเป็นการฟ้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำละเมิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาตามคำสั่งศาลสำคัญกว่าการตีความเองของผู้ฟ้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์3ครั้งครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา20วันนับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก15วันโดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรกจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2ครั้งรวม35วันซึ่งเมื่อนับจากวันที่8มกราคม2538อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรกโจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่12กุมภาพันธ์2538เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่3ในวันที่15กุมภาพันธ์2538จึงเป็นการยื่นคำขอขึ้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วเป็นการมิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23 ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่28มกราคม2538เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่30มกราคม2538และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15วันวันที่ครบกำหนดระยะเวลา>อุทธรณ์จึงเป็นวันที่14กุมภาพันธ์2538ซึ่งเป็นวันหยุดราชการโจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่15กุมภาพันธ์2538ได้นั้นการนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับวันตามคำสั่งศาล และผลของการยื่นคำร้องหลังหมดเวลา
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 3 ครั้ง ครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา 20 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์ และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก 15 วัน โดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก จึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2 ครั้ง รวม 35 วัน ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 8 มกราคม 2538 อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรก โจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2538 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 จึงเป็นการยื่นคำขอขื้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว เป็นการมิชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 23
ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่ 28 มกราคม 2538 เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 30 มกราคม 2538 และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15 วัน วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2538 ได้ นั้น การนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่ 28 มกราคม 2538 เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 30 มกราคม 2538 และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15 วัน วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2538 ได้ นั้น การนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก