พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทน, ดอกเบี้ย, และความรับผิดของเจ้าหน้าที่/หน่วยงาน
ที่ดินโฉนดเลขที่38163เป็นที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของที่ดินโฉนดเลขที่3151ของโจทก์ซึ่งต่อมาโจทก์ได้ขายไปเมื่อปี2528หลังจากที่ดินโจทก์ถูกเวนคืนแล้วที่ดินโฉนดเลขที่38163ที่เหลือจากการเวนคืนอยู่นั้นย่อมจะมีราคาสูงขึ้นดังนั้นจำเลยที่2จึงมีสิทธินำราคาสูงขึ้นของที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินซึ่งจำเลยที่2จะต้องชำระให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสอง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ได้มีการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีคงที่นับแต่วันที่27กุมภาพันธ์2534เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จยังไม่ถูกต้องโจทก์จึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ที่ดินโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ.2516ซึ่งในมาตรา3กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่1เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ.2511กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาในฐานะดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530แล้วแต่กรณีและที่กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานั้นก็เพราะการเวนคืนดังกล่าวอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่3ด้วยดังนั้นเมื่อมีการอ้างว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530แล้วแต่กรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่3ได้