คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดิน ต้องพิจารณาช่วงเวลาตามกฎหมายและเหตุผลการบอกเลิกที่ชอบธรรม
สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่15ครบกำหนดวันที่13กรกฎาคม2534จำเลยที่15ผู้ให้เช่ามีหนังสือบอกเลิกการเช่ามาถึงโจทก์ผู้เช่าโจทก์ได้รับหนังสือวันที่4มิถุนายน2533แต่การประชุมของคชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่18มีนาคม2534เพิ่งได้มีการกำหนดให้วันที่1มิถุนายนของทุกปีเป็นวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้วดังนั้นขณะที่จำเลยที่15มีหนังสือบอกเลิกการเช่าถึงเวลาโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าจึงยังไม่มีวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่จะใช้สำหรับนับระยะเวลาในการบอกเลิกการเช่าการที่จำเลยที่15ทำหนังสือบอกเลิกการเช่านาซึ่งโจทก์ได้รับในช่วงต้นฤดูการทำนาก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่าเกินกว่าหนึ่งปีจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์จะนำวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่กำหนดขึ้นภายหลังมาลบล้างผลแห่งการบอกเลิกสัญญาที่เกิดขึ้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วให้เสียไปหาได้ไม่ ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา37มิได้กำหนดให้ผู้เช่าต้องบอกรายละเอียดตามมาตรา37(1)(4)ไว้ในหนังสือบอกเลิกการเช่าหากแต่เหตุผลดังกล่าวต้องแสดงต่อคชก.ตำบลเมื่อได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าแล้วและปรากฏว่าแม้จำเลยที่15มิได้บอกเหตุผลตามที่ระบุไว้ใน(1)-(4)ของมาตรา37ไว้ในเอกสารหมายจ.6ก็ตามแต่จำเลยที่15ก็ได้มีหนังสือถึงประธานคชก.ตำบลลำลูกกาและสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้ทราบแล้วซึ่งเมื่อคชก.ตำบลลำลูกกาทราบได้มีการประชุมของคชก.ตำบลลำลูกกาเมื่อวันที่22สิงหาคม2533โดยได้มีมติให้โจทก์อยู่ในที่เช่าได้ต่อไปจำเลยที่15จึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลลำลูกกาต่อทางคชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่19กันยายน2533โดยได้ชี้แจงในอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลลำลูกกาและนำสืบด้วยว่าจะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองตามความเหมาะสมจึงฟังได้ว่าการบอกเลิกการเช่าของจำเลยที่15ชอบด้วยมาตรา37แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเกษตรกรรม: ระยะเวลาบอกเลิกและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดิน
สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 15 ครบกำหนดวันที่ 13กรกฎาคม 2534 จำเลยที่ 15 ผู้ให้เช่ามีหนังสือบอกเลิกการเช่ามาถึงโจทก์ผู้เช่าโจทก์ได้รับหนังสือวันที่ 4 มิถุนายน 2533 แต่การประชุมของ คชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2534 เพิ่งได้มีการกำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้ว ดังนั้น ขณะที่จำเลยที่ 15 มีหนังสือบอกเลิกการเช่าถึงเวลาโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่า จึงยังไม่มีวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่จะใช้สำหรับนับระยะเวลาในการบอกเลิกการเช่า การที่จำเลยที่ 15 ทำหนังสือบอกเลิกการเช่านาซึ่งโจทก์ได้รับในช่วงต้นฤดูการทำนา ก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่าเกินกว่าหนึ่งปี จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จะนำวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่กำหนดขึ้นมาภายหลังมาลบล้างผลแห่งการบอกเลิกสัญญาที่เกิดขึ้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วให้เสียไปหาได้ไม่
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา37 มิได้กำหนดให้ผู้เช่าต้องบอกรายละเอียดตามมาตรา 37 (1) - (4) ไว้ในหนังสือบอกเลิกการเช่า หากแต่เหตุผลดังกล่าวต้องแสดงต่อ คชก.ตำบล เมื่อได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าแล้ว และปรากฏว่าแม้จำเลยที่ 15 มิได้บอกเหตุผลตามที่ระบุไว้ใน (1) - (4) ของมาตรา 37 ไว้ในเอกสารหมาย จ.6ก็ตาม แต่จำเลยที่ 15 ก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลลำลูกกาและสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้ทราบแล้ว ซึ่งเมื่อ คชก.ตำบลลำลูกกาทราบได้มีการประชุมของ คชก.ตำบลลำลูกกา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2533 โดยได้มีมติให้โจทก์อยู่ในที่เช่าได้ต่อไป จำเลยที่ 15 จึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาต่อทาง คชก.จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2533 โดยได้ชี้แจงในอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาและนำสืบด้วยว่าจะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองตามความเหมาะสม จึงฟังได้ว่าการบอกเลิกการเช่าของจำเลยที่ 15 ชอบด้วยมาตรา 37 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5196/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องซื้อขายที่ดินต้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคชก.จังหวัดก่อน หากไม่ฟ้องคชก.คำวินิจฉัยมีผลผูกพัน
คชก.จังหวัดเป็นองค์กรฝ่ายปกครองซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา7และมีอำนาจหน้าที่ต่างๆตามที่กำหนดไว้ในมาตรา8และมาตรา57ซึ่งบัญญัติให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดจะต้องฟ้องเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดเพราะตราบใดที่คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอนต้องถือว่าคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดยังมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายและหากไม่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวภายในกำหนดเวลาคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา57วรรคสองประกอบด้วยมาตรา56วรรคสองการฟ้องขอให้เพิกถอนมติของคชก.จังหวัดจึงต้องฟ้องผู้ออกมติก็คือคชก.จังหวัดนั้นเองทั้งนี้เพื่อให้คชก.จังหวัดได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของผู้ฟ้องขอให้เพิกถอนมตินอกจากนี้ตามมาตรา58วรรคสองกำหนดให้คชก.จังหวัดมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้บังคับตามคำวินิจฉัยหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของคชก.จังหวัดได้ดังนั้นคชก.จังหวัดจึงเป็นองค์กรฝ่ายปกครองที่กฎหมายกำหนดให้ดำเนินคดีในศาลจึงอยู่ในฐานะที่ถูกฟ้องได้เมื่อโจทก์ไม่ฟ้องคชก.จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสุพรรณบุรีคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสุพรรณบุรีจึงยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายโจทก์จึงฟ้องเฉพาะจำเลยที่2ให้ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสุพรรณบุรีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5196/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำวินิจฉัย คชก.จังหวัด และผลผูกพันทางกฎหมาย หากไม่ฟ้องคัดค้านคำวินิจฉัยย่อมมีผลบังคับใช้
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 57 คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด จะต้องฟ้องเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด เพราะตราบใดคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอน ต้องถือว่าคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย และหากไม่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดภายในกำหนดเวลา คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 57 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 56 วรรคสอง การฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก.จังหวัดจึงต้องฟ้องผู้ออกมติก็คือ คชก.จังหวัดนั้นเอง เพื่อให้ คชก.จังหวัดได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของผู้ฟ้องขอให้เพิกถอนมติ นอกจากนี้ มาตรา 58 วรรคสอง กำหนดให้คชก.จังหวัดมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้บังคับตามคำวินิจฉัยหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของ คชก.จังหวัดได้ ดังนั้น คชก.จังหวัดจึงเป็นองค์กรฝ่ายปกครองที่กฎหมายกำหนดให้ดำเนินคดีในศาลได้ คชก.จังหวัดจึงอยู่ในฐานะที่ถูกฟ้องได้ เมื่อโจทก์ไม่ฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดจึงยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินที่จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เช่าทำนา ให้ขายที่ดินแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดไม่ได้