พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแลกเปลี่ยนที่ดินถือเป็นขาย, การงดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา
ป. รัษฎากร มาตรา 39 บัญญัติคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกับผู้อื่นก็มีผลเท่ากับโจทก์ขายที่ดิน จึงต้องถือราคาขายที่ดินเป็นเงินได้ของโจทก์ หาใช่ถือเอาเฉพาะเงินที่โจทก์ได้รับมาเป็นรายได้ไม่ ที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาขายตามราคาตลาดในวันที่โอนที่ดินโดยอาศัยอำนาจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) จึงชอบแล้ว
โจทก์มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษี ทั้งโจทก์ให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบ ประกอบกับโจทก์มีวัตถุประสงค์เพื่ออุดหนุนและบำรุงการศึกษาบาลีของภิกษุสามเณร ที่ศาลภาษีอากรกลางงดเบี้ยปรับแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
ป. รัษฎากร มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมินให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ" และมาตรา 27 ทวิ บัญญัติว่า เบี้ยปรับตามมาตรา 22 และมาตรา 26 และเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ให้ถือเป็นเงินภาษี และเบี้ยปรับดังกล่าวอาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามบทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเงินเพิ่มเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายมิได้เกิดจากข้อสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ และเฉพาะเบี้ยปรับเท่านั้นที่จะงดหรือลดลงได้ส่วนเงินเพิ่มไม่อาจกระทำเช่นนั้นได้ เงินเพิ่มจึงมิใช่เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. ศาลอาจใช้ดุลพินิจลดลงได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางงดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบ
โจทก์มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษี ทั้งโจทก์ให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบ ประกอบกับโจทก์มีวัตถุประสงค์เพื่ออุดหนุนและบำรุงการศึกษาบาลีของภิกษุสามเณร ที่ศาลภาษีอากรกลางงดเบี้ยปรับแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
ป. รัษฎากร มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมินให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ" และมาตรา 27 ทวิ บัญญัติว่า เบี้ยปรับตามมาตรา 22 และมาตรา 26 และเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ให้ถือเป็นเงินภาษี และเบี้ยปรับดังกล่าวอาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามบทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเงินเพิ่มเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายมิได้เกิดจากข้อสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ และเฉพาะเบี้ยปรับเท่านั้นที่จะงดหรือลดลงได้ส่วนเงินเพิ่มไม่อาจกระทำเช่นนั้นได้ เงินเพิ่มจึงมิใช่เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. ศาลอาจใช้ดุลพินิจลดลงได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางงดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับภาษีอากร แม้ไม่ตรงตามระเบียบ หากผู้เสียภาษีไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยง
ศาลภาษีอากรกลางให้เหตุผลในการลดเบี้ยปรับว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษีและให้ความร่วมมือแก่ศาลในการพิจารณาคดี หาใช่เพราะโจทก์ให้ความร่วมมือแก่ศาลในการพิจารณาคดีแต่เพียงประการเดียว แม้โจทก์จะมิได้นำพยานมาสืบในประเด็นนี้ก็ตาม แต่ศาลภาษีอากรก็มีอำนาจนำข้อเท็จจริงจากเอกสารของจำเลยในสำนวนคือรายงานการพิจารณาอุทธรณ์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี2536 ถึง 2539 รายของโจทก์ ที่เจ้าพนักงานของจำเลยให้ความเห็นในประเด็นที่โจทก์ของดหรือลดเบี้ยปรับว่า พฤติการณ์ของโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี แต่เกิดจากความสำคัญผิดและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในข้อกฎหมายมาประกอบดุลพินิจในการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับด้วย
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ทวิ จะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับออกมาใช้ แต่ก็เป็นเพียงระเบียบที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้น ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีที่มีเหตุอันสมควรอีกด้วย
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ทวิ จะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับออกมาใช้ แต่ก็เป็นเพียงระเบียบที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้น ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีที่มีเหตุอันสมควรอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเป็นเงินได้พึงประเมิน การหักค่าใช้จ่ายต้องมีเหตุผลความเชื่อมโยงโดยตรงกับรายได้
โจทก์ที่ 2 ฟ้องบริษัท ค. ขอให้ชำระค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยบริษัท ค. ยอมชำระเงินจำนวน 48 ล้านบาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เงินดังกล่าวเป็นค่าเสียหายจากการผิดสัญญาถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8)
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 2 ชำระไปไม่เกี่ยวกับการจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 46 และ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ ซึ่งให้นำ ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ค่าภาษีอากรที่คณะบุคคลชำระแก่จำเลย แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นผู้จัดการของคณะบุคคลและต้องรับผิดชอบในเงินภาษีอากรของคณะบุคคลด้วย ก็ไม่อาจถือได้ว่าเงินภาษีที่คณะบุคคลชำระดังกล่าวเป็นของโจทก์ที่ 2 เป็นส่วนตัว โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระแก่จำเลยได้
ป.รัษฎากรบัญญัติเกี่ยวกับเงินเพิ่มไว้เป็นจำนวนแน่นอนมิได้ให้ดุลพินิจศาลงดหรือลดลงได้เช่นเบี้ยปรับ จึงไม่อาจงดหรือลดลงได้
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 2 ชำระไปไม่เกี่ยวกับการจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 46 และ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ ซึ่งให้นำ ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ค่าภาษีอากรที่คณะบุคคลชำระแก่จำเลย แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นผู้จัดการของคณะบุคคลและต้องรับผิดชอบในเงินภาษีอากรของคณะบุคคลด้วย ก็ไม่อาจถือได้ว่าเงินภาษีที่คณะบุคคลชำระดังกล่าวเป็นของโจทก์ที่ 2 เป็นส่วนตัว โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระแก่จำเลยได้
ป.รัษฎากรบัญญัติเกี่ยวกับเงินเพิ่มไว้เป็นจำนวนแน่นอนมิได้ให้ดุลพินิจศาลงดหรือลดลงได้เช่นเบี้ยปรับ จึงไม่อาจงดหรือลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลายื่นภาษีและชำระภาษีอากร การได้รับนิรโทษกรรมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มต้องชำระหนี้ภาษีให้ครบถ้วน
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฎฐ วรรคสอง แห่ง ป. รัษฎากร ข้อ 2 และ 5 ระบุว่าถ้าได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือนำส่งภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2535 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ฉะนั้น ผู้ที่จะได้รับประโยชน์โดยได้รับยกเว้นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว จะต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่จำเลยจนครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนด เมื่อโจทก์ทั้งสองยังมิได้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่จำเลยจนครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนด โจทก์ทั้งสองย่อมไม่ได้รับยกเว้นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการย้ายที่ทำการ และการไม่อุทธรณ์การประเมินทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ว่า การปิดหมายเรียกไม่ชอบเพราะมิได้สอบถามคนที่อยู่ในบ้านก่อน แต่โจทก์มิได้ยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เจ้าพนักงานของจำเลยปิดหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ตามที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงเป็นการปิดหมายโดยชอบตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร การที่โจทก์ย้ายที่ทำการไปแล้วเป็นเพียงข้อที่โจทก์อาจยกขึ้นอ้างว่าไม่จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกได้เท่านั้น แต่ปรากฏว่านอกจากเจ้าพนักงานของจำเลยจะปิดหมายเรียกดังกล่าวแล้วยังส่งสำเนาหมายเรียกให้แก่ ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โดย ย. รับไว้แทน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือเตือนให้ปฏิบัติตามหมายเรียกซึ่งได้ส่งสำเนาหนังสือเตือนให้ ส. ด้วย โดย บ. รับไว้แทน เมื่อ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทราบข้อความตามหมายเรียกจึงถือว่าโจทก์ทราบเช่นกัน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จึงเป็นการจงใจขัดขืนหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 21, 88 ประกอบมาตรา 87 (3) แห่ง ป.รัษฎากร ที่ใช้บังคับระหว่างปี 2530 ถึง 2532 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ให้ก็เป็นการไม่ชอบ มีผลเท่ากับไม่มีการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับภาษีการค้าแม้เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม แต่เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้า ศาลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนเกี่ยวกับภาษีการค้า
ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมิได้เรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ คงเรียกให้ชำระเฉพาะเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้ว ศาลไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้
เจ้าพนักงานของจำเลยปิดหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ตามที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงเป็นการปิดหมายโดยชอบตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร การที่โจทก์ย้ายที่ทำการไปแล้วเป็นเพียงข้อที่โจทก์อาจยกขึ้นอ้างว่าไม่จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกได้เท่านั้น แต่ปรากฏว่านอกจากเจ้าพนักงานของจำเลยจะปิดหมายเรียกดังกล่าวแล้วยังส่งสำเนาหมายเรียกให้แก่ ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โดย ย. รับไว้แทน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือเตือนให้ปฏิบัติตามหมายเรียกซึ่งได้ส่งสำเนาหนังสือเตือนให้ ส. ด้วย โดย บ. รับไว้แทน เมื่อ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทราบข้อความตามหมายเรียกจึงถือว่าโจทก์ทราบเช่นกัน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จึงเป็นการจงใจขัดขืนหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 21, 88 ประกอบมาตรา 87 (3) แห่ง ป.รัษฎากร ที่ใช้บังคับระหว่างปี 2530 ถึง 2532 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ให้ก็เป็นการไม่ชอบ มีผลเท่ากับไม่มีการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับภาษีการค้าแม้เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม แต่เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้า ศาลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนเกี่ยวกับภาษีการค้า
ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมิได้เรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ คงเรียกให้ชำระเฉพาะเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้ว ศาลไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไร และการเสียภาษีเงินได้/ภาษีการค้า ศาลฎีกาวินิจฉัยถึงเจตนาการซื้อขายและการหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากการที่โจทก์ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยให้การว่าโจทก์ซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไร คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงว่ากรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นโจทก์ได้รับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่ และสำหรับกรณีภาษีการค้านั้น โจทก์มีรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 43091 ตำบลมหาพฤฒาราม พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์โดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และ มาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาใหม่
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) นั้น มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญและพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย การที่โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแล้วขายไปในระยะเวลาเพียงสามปีเศษ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่สั้นแล้วยังปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือหาประโยชน์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น ทั้งมีบุคคลอื่นอาศัยอยู่โดยมิได้จ่ายค่าเช่าแก่โจทก์แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเพื่ออยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ นอกจากนี้ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท โจทก์ซื้อและขายที่ดินแปลงอื่นอีกหลายแปลง เมื่อพิจารณาถึงเจตนาการได้มาซึ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทของโจทก์ประกอบกับพฤติการณ์ต่าง ๆ ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายแล้ว น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น ในการคำนวณภาษีเงินได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 วรรคหนึ่ง และมาตรา 86 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานรายการใดที่โจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยจะต้องมีข้อความโต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินว่า ประเมินภาษีไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างใดมีหลักฐานอย่างไร เมื่อคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อความโต้แย้งการประเมินในประเด็นใด โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)ซึ่งในชั้นอุทธรณ์การประเมิน โจทก์มิได้ยกปัญหาว่าจำเลยมิได้นำภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาหักเป็นค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ด้วย แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในรายการนั้นแล้ว ดังนี้โจทก์จะนำประเด็นดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลหาได้ไม่ปัญหานี้แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่างโดยชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27,89 ทวิ ไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บ หากจะลดก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) นั้น มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญและพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย การที่โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแล้วขายไปในระยะเวลาเพียงสามปีเศษ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่สั้นแล้วยังปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือหาประโยชน์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น ทั้งมีบุคคลอื่นอาศัยอยู่โดยมิได้จ่ายค่าเช่าแก่โจทก์แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเพื่ออยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ นอกจากนี้ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท โจทก์ซื้อและขายที่ดินแปลงอื่นอีกหลายแปลง เมื่อพิจารณาถึงเจตนาการได้มาซึ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทของโจทก์ประกอบกับพฤติการณ์ต่าง ๆ ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายแล้ว น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น ในการคำนวณภาษีเงินได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 วรรคหนึ่ง และมาตรา 86 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานรายการใดที่โจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยจะต้องมีข้อความโต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินว่า ประเมินภาษีไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างใดมีหลักฐานอย่างไร เมื่อคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อความโต้แย้งการประเมินในประเด็นใด โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)ซึ่งในชั้นอุทธรณ์การประเมิน โจทก์มิได้ยกปัญหาว่าจำเลยมิได้นำภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาหักเป็นค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ด้วย แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในรายการนั้นแล้ว ดังนี้โจทก์จะนำประเด็นดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลหาได้ไม่ปัญหานี้แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่างโดยชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27,89 ทวิ ไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บ หากจะลดก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงาน และอำนาจของศาลในการปรับปรุงยอดรายรับเมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้
คดีนี้เจ้าพนักงานได้ทำการประเมินว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จำเลยมียอดรายรับจากมูลค่าสินค้าส่งออกกับเงินชดเชยในรูปบัตรภาษีและมูลค่าการส่งออกรวมเป็นรายรับทั้งสิ้น 234,333,578 บาท แต่จำเลยไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบไต่สวน เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 71(1) ประเมินให้จำเลยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ตามมาตรา 27จำเลยไม่ได้โต้แย้งการประเมินและไม่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 30 ซึ่งมีผลทำให้จำเลยไม่อาจนำคดีมาฟ้องศาลเพื่อโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานของโจทก์และทำให้หนี้ภาษีอากรที่ถูกประเมินดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้างอันจะถูกโจทก์บังคับชำระได้ตามมาตรา 12 เท่านั้นแต่เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ด้วยการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ เพื่อให้รับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีรายรับเป็นเงินจำนวน 234,333,578 บาทตามการประเมิน แต่รับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีรายรับเพียง 222,404,146.96 บาทศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจปรับปรุงยอดรายรับและแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4708/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไร และหน้าที่เสียภาษี
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไรอันเข้าลักษณะประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ และให้ปลดภาษีการค้าแก่โจทก์ แต่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ศาลจำต้องถือตาม
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาท จำนวน 3 โฉนด เป็นเงิน 7,000,000 บาทจาก ส. ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2528 โจทก์ได้ จ่ายเงินเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเป็นค่าถมที่ดินและค่าจ้างเหมารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ปรับ ขุด ถอน และขนต้นไม้ไปทิ้ง เป็นเงิน 3,400,000 บาท เห็นได้ชัดว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วปรับปรุงไว้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ถือครองเพียง 3 ปีเศษ แล้วขายไปเป็นเงิน 16,340,000 บาท พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเลือกที่จะไม่นำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวรวมกับเงินได้อื่นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 48 (4)
โจทก์มีพฤติการณ์เป็นผู้ซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและการที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าที่ให้ปลดภาษีการค้าไปแล้ว นับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือ ลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด
กรณีเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากรนั้น กฎหมายกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดได้และ จะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาท จำนวน 3 โฉนด เป็นเงิน 7,000,000 บาทจาก ส. ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2528 โจทก์ได้ จ่ายเงินเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเป็นค่าถมที่ดินและค่าจ้างเหมารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ปรับ ขุด ถอน และขนต้นไม้ไปทิ้ง เป็นเงิน 3,400,000 บาท เห็นได้ชัดว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วปรับปรุงไว้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ถือครองเพียง 3 ปีเศษ แล้วขายไปเป็นเงิน 16,340,000 บาท พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเลือกที่จะไม่นำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวรวมกับเงินได้อื่นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 48 (4)
โจทก์มีพฤติการณ์เป็นผู้ซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและการที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าที่ให้ปลดภาษีการค้าไปแล้ว นับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือ ลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด
กรณีเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากรนั้น กฎหมายกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดได้และ จะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินเพื่อปล่อยเช่าเป็นรายจ่ายลงทุนต้องห้ามทางภาษี แต่ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากมีเหตุสมควร
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(5) ไม่ยอมให้นำรายจ่าย อันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินนั้น ที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ย่อมตกเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งเป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อ ใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ต่อไป เงินกู้ยืมที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดิน จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการ ลงทุนต้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 65 ตรี(5) เพราะเป็น รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรงส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกู้ยืมดังกล่าว แม้จะไม่ใช่รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ดอกเบี้ยนั้นก็เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยตั้งแต่แรกที่กู้ยืมเงิน มาจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นผล โดยตรงที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของโจทก์ จึงเป็นส่วนหนึ่ง ของค่าซื้อที่ดินอันเป็นต้นทุน ดังนั้นดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากการ กู้ยืมเงินของโจทก์มาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับเงินกู้ยืมที่โจทก์นำไปซื้อที่ดิน แม้ตามประมวลรัษฎากรจะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากร วางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ ระเบียบดังกล่าวก็เป็น เพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้นหาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามไม่ ดังนั้น หากศาลเห็นว่า ผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้อง เสียเบี้ยปรับหรือเสียเบี้ยปรับน้อยลง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับนั้นได้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีในการตรวจสอบภาษีประกอบกับกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ อีกทั้งการที่โจทก์ตีความข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นไปตาม หลักการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปและมาตรฐานการบัญชีของสมาคม นักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จะถือว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงเสียภาษีนั้น ยังฟังได้ไม่ถนัด ที่ศาลภาษีอากร พิพากษาลดเบี้ยปรับให้โจทก์ร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย ย่อมเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ส่วนเงินเพิ่มนั้นเกิดขึ้น จากโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ซึ่งได้กำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้วไม่อาจที่จะงดหรือลดลงได้ ศาลจึงไม่งดหรือลดเงินเพิ่มส่วนนี้ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินเพื่อเช่า เป็นรายจ่ายลงทุนที่ต้องห้ามทางภาษี ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับตามเหตุผลสมควร
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(5) ไม่ยอม ให้นำรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์กู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดิน นั้น ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาย่อมตกเป็นทรัพย์สินของโจทก์ซึ่ง เป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการ ของโจทก์ต่อไปเงินกู้ยืมที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดิน จึงเป็น รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนต้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 65 ตรี(5) เพราะเป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ ที่ดินมาโดยตรง ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกู้ยืมดังกล่าว แม้จะไม่ใช่รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ดอกเบี้ย นั้นก็เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยตั้งแต่แรกที่กู้ยืมเงินมาจนกว่าจะ ชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรง ที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของโจทก์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าซื้อที่ดินอันเป็นต้นทุน ดังนั้นดอกเบี้ยซึ่งเกิดจาก การกู้ยืมเงินของโจทก์มาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่า จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับ เงินกู้ยืมที่โจทก์นำไปซื้อที่ดิน แม้ตามประมวลรัษฎากรจะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ ระเบียบดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้น หาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามไม่ดังนั้นหากศาลเห็นว่าผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเสียเบี้ยปรับน้อยลงศาลย่อมมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับนั้นได้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีในการตรวจสอบภาษีประกอบกับกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ อีกทั้งการที่โจทก์ตีความข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นไปตามหลักการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปและมาตรฐานการบัญชีของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยจะถือว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงเสียภาษีนั้น ยังฟังได้ไม่ถนัดที่ศาลภาษีอากรพิพากษาลดเบี้ยปรับให้โจทก์ร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมายย่อมเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้วส่วนเงินเพิ่มนั้นเกิดขึ้นจากโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ซึ่งได้กำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้วไม่อาจที่จะงดหรือลดลงได้ ศาลจึงไม่งดหรือลดเงินเพิ่มส่วนนี้ให้