พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอำเภอใจ และการคิดเงินเพิ่มจากกำหนดเวลาที่ถูกต้อง
ตามคำฟ้อง โจทก์ได้บรรยายถึงวิธีการและหลักเกณฑ์การคำนวณหายอดขายจากกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ว่าได้มาอย่างไร แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 17 แล้ว โจทก์ไม่จำต้องเสนอพยานหลักฐานและข้ออ้างอิงมาในคำฟ้องเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 กำหนดห้ามใช้อำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1) แก่กิจการที่สามารถหาหลัก-ฐานเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลย นั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ในคดีสำนวนแรก หรือกล่าวไว้ในคำฟ้องคดีสำนวนหลังจึงเป็นการอุทธรณ์นอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยจะสามารถคำนวณหากำไรขั้นต้นได้ โดยนำยอดขายน้ำมันหน้าปั้ม หักด้วยยอดซื้อก็ตาม แต่จำเลยก็เถียงอยู่ว่า กำไรขั้นต้นนี้ไม่อาจถือเป็นกำไรสุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีได้ จะต้องนำไปหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีอีก และจำเลยส่งบัญชี เอกสาร และหลักฐานประกอบการลงบัญชีให้โจทก์ไม่เพียงพอแก่การคำนวณกำไรสุทธิได้ อีกทั้งเจ้าพนักงาน-ประเมินได้พยายามหาวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพิจารณาย้อนหลังขึ้นไป3 รอบระยะเวลาบัญชี ก็ไม่สามารถคำนวณหาค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้ เพราะค่าใช้จ่ายแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน บางปีมีค่าใช้จ่ายบางอย่างสูงแต่บางปีไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นนั้นเลย จึงมีเหตุผลให้รับฟังว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลย โดยวิธีคำนวณหากำไรสุทธิได้ ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1)
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินภาษีไปชำระภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนี้ กำหนดเวลาดังกล่าว เป็นเพียงโจทก์ให้โอกาสจำเลยชำระเงินภาษีแก่โจทก์ ก่อนที่โจทก์จะดำเนิน-การฟ้องคดีต่อศาลหาใช่กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่บัญญัติไว้ในประมวล-รัษฎากรมาตรา 27 วรรคหนึ่งไม่ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มคิดตั้งแต่วันครบ-กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษี มิใช่คิดตั้งแต่วันครบกำหนดเวลาตามหนังสือแจ้ง-การประเมินดังกล่าว
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 กำหนดห้ามใช้อำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1) แก่กิจการที่สามารถหาหลัก-ฐานเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลย นั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ในคดีสำนวนแรก หรือกล่าวไว้ในคำฟ้องคดีสำนวนหลังจึงเป็นการอุทธรณ์นอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยจะสามารถคำนวณหากำไรขั้นต้นได้ โดยนำยอดขายน้ำมันหน้าปั้ม หักด้วยยอดซื้อก็ตาม แต่จำเลยก็เถียงอยู่ว่า กำไรขั้นต้นนี้ไม่อาจถือเป็นกำไรสุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีได้ จะต้องนำไปหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีอีก และจำเลยส่งบัญชี เอกสาร และหลักฐานประกอบการลงบัญชีให้โจทก์ไม่เพียงพอแก่การคำนวณกำไรสุทธิได้ อีกทั้งเจ้าพนักงาน-ประเมินได้พยายามหาวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพิจารณาย้อนหลังขึ้นไป3 รอบระยะเวลาบัญชี ก็ไม่สามารถคำนวณหาค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้ เพราะค่าใช้จ่ายแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน บางปีมีค่าใช้จ่ายบางอย่างสูงแต่บางปีไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นนั้นเลย จึงมีเหตุผลให้รับฟังว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลย โดยวิธีคำนวณหากำไรสุทธิได้ ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1)
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินภาษีไปชำระภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนี้ กำหนดเวลาดังกล่าว เป็นเพียงโจทก์ให้โอกาสจำเลยชำระเงินภาษีแก่โจทก์ ก่อนที่โจทก์จะดำเนิน-การฟ้องคดีต่อศาลหาใช่กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่บัญญัติไว้ในประมวล-รัษฎากรมาตรา 27 วรรคหนึ่งไม่ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มคิดตั้งแต่วันครบ-กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษี มิใช่คิดตั้งแต่วันครบกำหนดเวลาตามหนังสือแจ้ง-การประเมินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย และความรับผิดของหุ้นส่วนในหนี้ภาษี
ป.รัษฎากร มาตรา 21 บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรเท่านั้น หาได้บัญญัติให้ต้องแจ้งไปยังผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนผู้ต้องเสียภาษีอากรด้วยไม่ ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์อยู่ก่อนที่จำเลยที่ 2 ออกจากหุ้นส่วน 2 ปี โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068 โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุข้อเท็จจริงไว้แล้วว่า รายจ่าย 5 รายการเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี เพราะไม่มีหลักฐานการจ่ายย่อมเข้าใจได้แล้วว่าหมายถึงรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา65 ตรี(18) หาจำต้องระบุอนุมาตราด้วยไม่ เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 21 ที่บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินแจ้งการประเมินภาษีอากรไปยังจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ผู้ต้องเสียภาษีเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน และผูกพันจำเลยที่ 1 ให้มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีตามการประเมิน จะนำหนี้ของจำเลยที่ 1 มาใช้ยันแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหาได้ไม่ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต่อสู้คดีได้ว่าการประเมินไม่ชอบ การที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ข้อมูลการซื้อน้ำมันชนิดต่าง ๆมาจำหน่ายประกอบกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลงบกำไรขาดทุน แบบแสดงรายการการค้า บันทึกราคาขายส่งมาเปรียบเทียบคำนวณหา ยอดเงินได้ของจำเลยที่ 1 แล้วนำมาปรับปรุงคำนวณหากำไรสุทธิของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการประเมินที่ชอบ ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินเพิ่มแก่โจทก์จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นการเกินไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพราะ ป.รัษฎากรมาตรา 27 วรรคสามบัญญัติว่า เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากรผิดนัด: ไม่ใช้ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ แต่ใช้เงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
กรณีผู้มีหน้าที่ชำระภาษีอากรผิดนัด ประมวลรัษฎากร มาตรา 27กำหนดทางแก้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118-1119/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามลักลอบนำเข้าสินค้าต้องควบคุมและหลีกเลี่ยงภาษี การลงโทษตามบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
จำเลยนำสินค้าควบคุมจากเขตจังหวัดอื่นเข้ามาในเขตท้องที่จังหวัดที่มีการประกาศเขตควบคุม แม้จะปรากฏว่าสินค้ายังอยู่ในเรือที่ได้บรรทุกมายังไม่มีการขนถ่ายสินค้าก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว
จำเลยร่วมกันพยายามนำสินค้า สบู่ ผ้า บุหรี่ และไม้อัดซึ่งมิได้ผ่านด่านศุลกากร โดยถูกต้องออกไปนอกราชอาณาจักรและร่วมกันขนย้ายสบู่อันเป็นสินค้าควบคุมในท้องที่จังหวัดตราดทางทะเลกับร่วมกันขนย้ายผ้าและบุหรี่อันเป็นสิ่งของที่อยู่ในความควบคุมทางทะเลจากท้องที่จังหวัดอื่นเข้ามาในเขตจังหวัดตราดทางทะเล การกระทำของจำเลยในสินค้าแต่ละประเภทเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องแยกประเภทสินค้าออกเป็นกระทงความผิดแล้วลงโทษบทหนัก
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทมาตราความผิดและกำหนดโทษเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 27 ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จก็ตาม กฎหมายได้กำหนดโทษไว้เท่ากันคือความผิดครั้งหนึ่งให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วหรือจำคุกไม่เกินสิบปีหรือทั้งปรับทั้งจำ เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายบทพระราชบัญญัติศุลกากรจึงเป็นบทหนักกว่าพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่นในภาวะคับขัน
จำเลยร่วมกันพยายามนำสินค้า สบู่ ผ้า บุหรี่ และไม้อัดซึ่งมิได้ผ่านด่านศุลกากร โดยถูกต้องออกไปนอกราชอาณาจักรและร่วมกันขนย้ายสบู่อันเป็นสินค้าควบคุมในท้องที่จังหวัดตราดทางทะเลกับร่วมกันขนย้ายผ้าและบุหรี่อันเป็นสิ่งของที่อยู่ในความควบคุมทางทะเลจากท้องที่จังหวัดอื่นเข้ามาในเขตจังหวัดตราดทางทะเล การกระทำของจำเลยในสินค้าแต่ละประเภทเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องแยกประเภทสินค้าออกเป็นกระทงความผิดแล้วลงโทษบทหนัก
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทมาตราความผิดและกำหนดโทษเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 27 ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จก็ตาม กฎหมายได้กำหนดโทษไว้เท่ากันคือความผิดครั้งหนึ่งให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วหรือจำคุกไม่เกินสิบปีหรือทั้งปรับทั้งจำ เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายบทพระราชบัญญัติศุลกากรจึงเป็นบทหนักกว่าพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่นในภาวะคับขัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118-1119/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามนำเข้าสินค้าหลีกเลี่ยงภาษี และขนย้ายสินค้าควบคุม ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ศาลปรับบทลงโทษ
จำเลยนำสินค้าควบคุมจากเขตจังหวัดอื่นเข้ามาในเขตท้องที่จังหวัดที่มีการประกาศเขตควบคุม แม้จะปรากฏว่าสินค้ายังอยู่ในเรือที่ได้บรรทุกมายังไม่มีการขนถ่ายสินค้าก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว
จำเลยร่วมกันพยายามนำสินค้า สบู่ ผ้า บุหรี่ และไม้อัดซึ่งมิได้ผ่านด่านศุลกากร โดยถูกต้องออกไปนอกราชอาณาจักรและร่วมกันขนย้ายสบู่อันเป็นสินค้าควบคุมในท้องที่จังหวัดตราดทางทะเลกับร่วมกันขนย้ายผ้าและบุหรี่อันเป็นสิ่งของที่อยู่ในความควบคุมทางทะเลจากท้องที่จังหวัดอื่นเข้ามาในเขตจังหวัดตราดทางทะเล การกระทำของจำเลยในสินค้าแต่ละประเภทเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องแยกประเภทสินค้าออกเป็นกระทงความผิดแล้วลงโทษบทหนัก
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทมาตราความผิดและกำหนดโทษเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 27 ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จก็ตาม กฎหมายได้กำหนดโทษไว้เท่ากันคือความผิดครั้งหนึ่งให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วหรือจำคุกไม่เกินสิบปีหรือทั้งปรับทั้งจำ เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายบทพระราชบัญญัติศุลกากรจึงเป็นบทหนักกว่าพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่นในภาวะคับขัน.
จำเลยร่วมกันพยายามนำสินค้า สบู่ ผ้า บุหรี่ และไม้อัดซึ่งมิได้ผ่านด่านศุลกากร โดยถูกต้องออกไปนอกราชอาณาจักรและร่วมกันขนย้ายสบู่อันเป็นสินค้าควบคุมในท้องที่จังหวัดตราดทางทะเลกับร่วมกันขนย้ายผ้าและบุหรี่อันเป็นสิ่งของที่อยู่ในความควบคุมทางทะเลจากท้องที่จังหวัดอื่นเข้ามาในเขตจังหวัดตราดทางทะเล การกระทำของจำเลยในสินค้าแต่ละประเภทเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องแยกประเภทสินค้าออกเป็นกระทงความผิดแล้วลงโทษบทหนัก
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทมาตราความผิดและกำหนดโทษเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 27 ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จก็ตาม กฎหมายได้กำหนดโทษไว้เท่ากันคือความผิดครั้งหนึ่งให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วหรือจำคุกไม่เกินสิบปีหรือทั้งปรับทั้งจำ เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายบทพระราชบัญญัติศุลกากรจึงเป็นบทหนักกว่าพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่นในภาวะคับขัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จพิเศษที่ไม่ใช่รายจ่ายทางภาษี และการไม่มีเจตนาสุจริตในการเสียภาษี ทำให้ไม่ได้รับลดเงินเพิ่ม
แม้เงินบำเหน็จพิเศษที่ธนาคารโจทก์จ่ายให้พนักงานจะไม่มีลักษณะเป็นเงินกองทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) เพราะมิได้มีการจัดตั้งกองทุน ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการจ่ายสมทบเนื่องจากมิได้มีการหักเงินเดือนจากพนักงานมาสมทบก็ตาม แต่เงินบำเหน็จพิเศษนี้ก็เป็นเงินที่โจทก์ยังมิได้จ่ายให้แก่พนักงาน เพราะมีระเบียบห้ามมิให้พนักงานถอน เงินจำนวนนี้ในระหว่างที่เป็นพนักงานอยู่การบันทึกโอนเงินจากบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษเมื่อครบ6 เดือนมาเข้าบัญชีเงินประกันตัวพนักงาน และบันทึกโอนต่อเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงาน จึงมีผลเท่ากับเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริงเงินบำเหน็จพิเศษจึงมีลักษณะเป็นเงินสำรองต่าง ๆ ตามมาตรา65 ตรี (1) ซึ่งไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงนำเงินบำเหน็จพิเศษมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้วถึงแม้จะมิได้นำมา กล่าว ในคำขอท้ายฟ้อง ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วยแล้ว การที่โจทก์ออกระเบียบว่าด้วยบำเหน็จและระเบียบว่าด้วยหลักประกันตัวพนักงาน ด้วยวิธีกำหนดให้เงินบำเหน็จพิเศษและเงินประจำตัวมีจำนวนเท่ากัน เพื่อประโยชน์ที่จะอาศัยวิธีการทางบัญชีนำเงินบำเหน็จพิเศษซึ่งมิได้มีการจ่ายมาเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิเป็นผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยกว่าความเป็นจริงนั้น เรียกไม่ได้ว่าโจทก์และเจ้าพนักงานประเมินมีความเห็นในการตีความกฎหมายต่างกันโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่ายซ้ำซ้อนจากเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและขัดกฎหมาย
การหักภาษี ณ ที่จ่ายส่งอำเภอตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 50,52 นั้นย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าหมายถึงกรณีที่เงินได้นั้นยังไม่มีการหักภาษีไว้แต่เงินได้จากค่าชดเชยของคนงานรายนี้ได้มีการหักภาษีเงินได้ไว้ที่กระทรวงการคลังตั้งแต่ตอนที่เบิกเงินค่าชดเชยนั้นมาเพื่อจ่ายให้คนงานแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เลิกจ้างคนงานเหล่านั้นจะหักภาษีจากเงินได้รายนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่งในตอนจ่าย ซึ่งถ้าหากทำเช่นนั้นก็จะกลายเป็นการหักภาษีจากผู้มีเงินได้ซ้ำสองหนจากรายได้ค่าชดเชยจำนวนเดียวกัน อันไม่เป็นธรรมแก่ผู้มีเงินได้ และไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำเช่นนั้นได้ดังนั้นการที่โจทก์ไม่หักภาษีเงินได้จากค่าชดเชยดังกล่าวส่งอำเภอจึงไม่มีเหตุที่จะเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ภาษีค้าง: แม้มีอุทธรณ์ ก็ต้องชำระก่อนหากไม่ได้รับการทุเลา
เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์แล้ว โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ภาษีอากรที่ประเมินนั้นย่อมเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งจำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ถึงแม้โจทก์จะไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่ออธิบดีกรมสรรพากร แต่การประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3ก็มีผลบังคับตามกฎหมาย หาใช่ว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินแล้วจะต้องรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาษีอากรค้างไม่ โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลาการเสียภาษี จำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินและขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีอากรแล้ว ก็ให้นายอำเภองดการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เพื่อรอฟังคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรก่อน การที่จะงดหรือไม่งดจึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอเพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากรค้างและการยึดทรัพย์: สิทธิของนายอำเภอตามประมวลรัษฎากร แม้มีการอุทธรณ์
เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์แล้ว โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ภาษีอากรที่ประเมินนั้นย่อมเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งจำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ถึงแม้โจทก์จะไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่ออธิบดีกรมสรรพากร แต่การประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 ก็มีผลบังคับตามกฎหมาย หาใช่ว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินแล้ว จะต้องรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาษีอากรค้างไม่
โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลาการเสียภาษี จำเลยที่ 8ในฐานะนายอำเภอย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินและขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีอากรแล้ว ก็ให้นายอำเภองดการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เพื่อรอฟังคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรก่อน การที่จะงดหรือไม่งดจึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอเพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลัง
โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลาการเสียภาษี จำเลยที่ 8ในฐานะนายอำเภอย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินและขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีอากรแล้ว ก็ให้นายอำเภองดการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เพื่อรอฟังคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรก่อน การที่จะงดหรือไม่งดจึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอเพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของบริษัท และความรับผิดร่วมกับลูกจ้างในการชำระภาษีที่ไม่ได้หัก
เมื่อบริษัทโจทก์จ่ายเงินค่าจ้างรายเดือนให้แก่คนงาน อันเป็นเงินได้ พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) บริษัทโจทก์จึงมีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายค่าจ้าง ตามวิธีการในบทบัญญัติของมาตรา 50(1) โดยคำนวณภาษีจากจำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี หาจำต้องรอให้ครบรอบปีภาษีเพื่อให้มีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี และผู้มีเงินได้ ต้องยินยอมให้หักภาษีเสียก่อนไม่
บริษัทโจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แต่มิได้หักและนำส่งเงินภาษีนั้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 52 จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206 ลงวันที่ 15 กันยายน 2515 ข้อ 10 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 52 เดิม เพิ่มความตอนท้ายว่า "ไม่ว่า ตนจะไดัหักภาษีไว้แล้วหรือไม่" ก็เพื่อให้ได้ความชัดเจนขึ้นเท่านั้น หาใช่มาตรา 52 เดิมมีความหมายว่า เมื่อบริษัทโจทก์ไม่ได้หักภาษีไว้ก็ไม่มีหน้าที่นำส่ง และเมื่อ ไม่ต้องนำส่งจึงไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ไม่
บริษัทโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินตามมาตรา 50 แต่มิได้หักภาษีและมิได้นำส่ง เงินภาษีนั้นตามมาตรา 52 บริษัทโจทก์จึงต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ไม่ได้หักและนำส่ง ตามมาตรา 54 วรรคแรก และภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นประเภทภาษีอากรประเมิน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินเกี่ยวกับภาษีในหมวดภาษีเงินได้นี้ ตามมาตรา 38 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีจาก โจทก์ได้ แม้จะยังไม่ได้ประเมินเรียกเก็บเอาแก่ลูกจ้างผู้มีเงินได้
บริษัทโจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แต่มิได้หักและนำส่งเงินภาษีนั้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 52 จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206 ลงวันที่ 15 กันยายน 2515 ข้อ 10 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 52 เดิม เพิ่มความตอนท้ายว่า "ไม่ว่า ตนจะไดัหักภาษีไว้แล้วหรือไม่" ก็เพื่อให้ได้ความชัดเจนขึ้นเท่านั้น หาใช่มาตรา 52 เดิมมีความหมายว่า เมื่อบริษัทโจทก์ไม่ได้หักภาษีไว้ก็ไม่มีหน้าที่นำส่ง และเมื่อ ไม่ต้องนำส่งจึงไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ไม่
บริษัทโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินตามมาตรา 50 แต่มิได้หักภาษีและมิได้นำส่ง เงินภาษีนั้นตามมาตรา 52 บริษัทโจทก์จึงต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ไม่ได้หักและนำส่ง ตามมาตรา 54 วรรคแรก และภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นประเภทภาษีอากรประเมิน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินเกี่ยวกับภาษีในหมวดภาษีเงินได้นี้ ตามมาตรา 38 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีจาก โจทก์ได้ แม้จะยังไม่ได้ประเมินเรียกเก็บเอาแก่ลูกจ้างผู้มีเงินได้