คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะทหารกองประจำการกับการเป็นข้าราชการเพื่อการลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด
การที่บุคคลใดจะเป็นข้าราชการหรือไม่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย หาใช่ว่าบุคคลใดที่ต้องไปปฏิบัติราชการแล้วจะมีฐานะเป็นข้าราชการเสมอไป ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2479 มาตรา 4 (3) บัญญัติว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด และมาตรา 4 (8) บัญญัติว่า "ทหารประจำการ" หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ จึงเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ ได้แยกทหารประจำการ และ ทหารกองประจำการไว้ต่างหากจากกัน เฉพาะทหารประจำการเท่านั้นที่ถือว่าเป็นข้าราชการ จะแปลความให้หมายความรวมถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทหารกองประจำการว่าเป็นข้าราชการ อันจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสามเท่า ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 ด้วย หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการ ต้องมีหลักฐานสูติบัตร หรือหลักฐานอื่นตามระเบียบ หากหลักฐานไม่ครบถ้วน ศาลและอนุกรรมการ ก.ตร. มีสิทธิไม่อนุมัติ
การแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการในสมุดประวัติข้าราชการหรือในก.พ.7ของข้าราชการตำรวจอยู่ในบังคับของมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจพ.ศ.2521ที่ให้ก.ตร.เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการตำรวจก.ตร.จึงเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการตำรวจและในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของก.ตร.ดังกล่าวพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจพ.ศ.2521มาตรา19ให้ก.ตร.มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใดๆแทนได้ซึ่งรวมถึงการอนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจด้วยการที่อนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งซึ่งแต่งตั้งโดยก.ตร.ให้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจได้พิจารณาและไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่25กันยายน2475เป็นวันที่29กันยายน2479ในการประชุมอนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งครั้งที่6/2528เมื่อวันที่24เมษายน2528จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีกฎหมายรองรับดังกล่าวและการที่จำเลยที่1ไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่25กันยายน2475เป็นวันที่29กันยายน2479จึงเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะอนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งที่ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลักฐานการศึกษาจากโรงเรียนสองแห่งอันได้แก่หลักฐานการศึกษาของโรงเรียนเสนา"เสนาประสิทธิ์"(ม.1)และโรงเรียนเทเวศร์ศึกษา (ม.6)ระบุว่าโจทก์เกิดวันที่29กันยายน2477ซึ่งเป็นปีเกิดที่แตกต่างออกไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างและวันเดือนปีเกิดของส. น้องชายโจทก์ตามทะเบียนบ้านระบุว่าเกิดวันที่16มีนาคม2480ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากวันเดือนปีเกิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพียง5เดือนเศษขัดกับหลักเกณฑ์ทางการแพทย์และโจทก์ไม่สามารถจัดส่งสูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิดของโจทก์หรือน้องชายของโจทก์มาประกอบการพิจารณาได้สมุดประวัติข้าราชการของโจทก์ก็ระบุว่าโจทก์จบจากโรงเรียนประทีปศึกษาชั้นป.1พ.ศ.2484แสดงว่าโจทก์จบชั้นประถมศึกษาปีที่1เมื่ออายุ5ขวบซึ่งหมายความว่าโจทก์เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1เมื่ออายุเพียง4ขวบซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ดังนั้นที่อนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งมีมติไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยเหตุผลและมีพยานหลักฐานสนับสนุนทั้งชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่กรณีมติของอนุกรรมการก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ ก.ตร. แก้ไขวันเกิดข้าราชการตำรวจ และเหตุผลการไม่อนุมัติแก้ไขวันเกิดจากหลักฐานที่ไม่สอดคล้องกัน
การแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการในสมุดประวัติข้าราชการหรือใน ก.พ.7 ของข้าราชการตำรวจอยู่ในบังคับของมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 ที่ให้ ก.ตร.เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการตำรวจ ก.ตร.จึงเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าเกี่ยวกับการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการตำรวจและในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของก.ตร.ดังกล่าว พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 มาตรา 19ให้ ก.ตร.มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ แทนได้ ซึ่งรวมถึงการอนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจด้วย การที่อนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งซึ่งแต่งตั้งโดย ก.ตร.ให้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจได้พิจารณาและไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่ 25 กันยายน 2475 เป็นวันที่ 29กันยายน 2479 ในการประชุมอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งครั้งที่ 6/2528เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2528 จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีกฎหมายรองรับดังกล่าว และการที่จำเลยที่ 1 ไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่ 25 กันยายน 2475 เป็นวันที่ 29 กันยายน 2479จึงเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งที่ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หลักฐานการศึกษาจากโรงเรียนสองแห่งอันได้แก่หลักฐานการศึกษาของโรงเรียนเสนา "เสนาประสิทธิ์" (ม.1)และโรงเรียนเทเวศร์ศึกษา (ม.6) ระบุว่า โจทก์เกิดวันที่ 29 กันยายน 2477ซึ่งเป็นปีเกิดที่แตกต่างออกไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้าง และวันเดือนปีเกิดของ ส.น้องชายโจทก์ตามทะเบียนบ้าน ระบุว่าเกิดวันที่ 16 มีนาคม 2480 ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากวันเดือนปีเกิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพียง 5 เดือนเศษ ขัดกับหลักเกณฑ์ทางการแพทย์ และโจทก์ไม่สามารถจัดส่งสูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิดของโจทก์หรือน้องชายของโจทก์มาประกอบการพิจารณาได้สมุดประวัติข้าราชการของโจทก์ ก็ระบุว่าโจทก์จบจากโรงเรียนประทีปศึกษาชั้น ป.1 พ.ศ.2484 แสดงว่าโจทก์จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่ออายุ 5 ขวบ ซึ่งหมายความว่า โจทก์เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1เมื่ออายุเพียง 4 ขวบซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น ที่อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับตำแหน่งมีมติไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยเหตุผลและมีพยานหลักฐานสนับสนุนทั้งชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่กรณี มติของอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย