พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร่วมกันกรณีเวนคืน: พิจารณาผลประโยชน์ร่วมกันจากมูลเหตุเดียวกันและหลักเกณฑ์เดียวกัน
บุคคลใดจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานของหนี้ที่ฟ้องนั้นจะต้องพิจารณาทั้งตามกฎหมายสารบัญญัติและข้อเท็จจริง โจทก์ทั้งสี่มีที่ดินอยู่ติดต่อกันถูกกระทำให้ได้รับความเสียหายโดยถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯลฯ ฉบับเดียวกัน และโจทก์ทั้งสี่ถูกกำหนดให้ได้รับค่าทดแทนที่ดินโดยคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเป็นผู้กำหนดโดยอาศัยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินเป็นเกณฑ์พื้นฐานโดยรวมในการกำหนดให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ซึ่งโจทก์ทั้งสี่เห็นว่าไม่เป็นธรรมข้อเท็จจริงอันเป็นมูลเหตุรากฐานแห่งหนี้ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องเกิดจากการกระทำอันเดียวกันคือจากหลักเกณฑ์ในการกำหนดให้ค่าทดแทนที่โจทก์ทั้งสี่ว่าไม่เป็นธรรมนั้นโจทก์ทั้งสี่ซึ่งมีที่ดินอยู่ติดต่อกันมีสภาพของที่ดินและทำเลที่ตั้งเป็นแบบเดียวกันถูกจำเลยจ่ายค่าทดแทนโดยการกำหนดให้ในอัตราเท่ากันด้วยหลักเกณฑ์ที่ไม่ชอบธรรมอันเดียวกันกรณีถือได้ว่าโจทก์ทั้งสี่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงเป็นโจทก์ฟ้องร่วมกันมาในคดีเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: ศาลมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนใหม่ได้ หากราคาเดิมไม่เป็นธรรม และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดว่าการกำหนดค่าทดแทนถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่นั้น ถ้าในทางพิจารณาได้ความว่าการกำหนดค่าทดแทนไม่ถูกต้องและเป็นธรรม ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้ใหม่ให้ถูกต้องและเป็นธรรมแก่คู่ความมิใช่ต้องพิพากษาเพิกถอนการกำหนดค่าทดแทนของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น
จำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าว เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายพิเศษได้บัญญัติไว้แล้วซึ่งก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
จำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าว เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายพิเศษได้บัญญัติไว้แล้วซึ่งก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9885/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทน, อัตราดอกเบี้ย, และการอุทธรณ์
ที่ดินโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 3 กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมทางหลวงและอธิบดีเพื่อเรียกค่าทดแทนเพิ่มได้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 26วรรคแรกได้บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินทดแทนนั้น และมาตรา 11 วรรคหนึ่งบัญญัติให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้มีสิทธิได้รับภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10ซึ่งโจทก์กับกรมทางหลวงได้ทำบันทึกข้อตกลงกันตามมาตรา 10เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2535 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2535อันเป็นวันสุดท้ายที่จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนฯ กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 8เมษายน 2535 และโจทก์ได้รับหนังสือของกรมทางหลวงให้ไปรับเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2535 โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์ฉบับที่ 2 ต่อรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2535อันเป็นการอุทธรณ์ภายในระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 25 วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9871/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 และราคาประเมินที่สอดคล้องกับราคาตลาด
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทเป็นการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ฯ พ.ศ. 2511 และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ฯ พ.ศ. 2516แต่ภายหลังจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนตามฟ้องยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้น การดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)-(5) โดยกำหนดให้คิดราคาในปีที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ การที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่พิพาทมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2511 แล้วฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการกำหนดค่าทดแทนภายในเวลาอันควรปล่อยระยะเวลามา เนิ่นนานกว่า 20 ปี เป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์เสียหายเมื่อได้ความว่าฝ่ายจำเลยได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ กำหนดราคาเบื้องต้นของที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเมื่อวันที่ 22มกราคม 2531 และได้ประชุมกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์อันเนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน แล้วแจ้งราคาให้แก่โจทก์ทราบ การดำเนินการเพื่อจ่ายเงินค่าทดแทนในกรณีนี้เริ่มต้นใหม่ในปี 2531 ดังนั้น การใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1)-(5) จึงเปลี่ยนจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเป็นปี 2531 อันเป็นปีที่มีการเริ่มดำเนินการเพื่อจ่ายค่าทดแทนใหม่ โจทก์นำสืบถึงบัญชีราคาประเมินที่ดินเพื่อเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งกรมที่ดินได้กำหนดในปี 2533 เพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน และที่ดินที่พิพาทก็อยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย จึงเชื่อว่าในปี 2533ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามฟ้องมีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดใกล้เคียงหรือสูงต่ำกว่าตารางวาละ 60,000 บาทตามที่ปรากฏในราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวไม่มาก และราคาดังกล่าวนี้เป็นราคาที่เพิ่มขึ้นจากปี 2531 เป็นเวลา2 ปี ดังนั้นในปี 2531 ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามฟ้องย่อมมีราคาต่ำกว่าตารางวาละ 60,000 บาท ไม่มากเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7161/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ราคาตลาด, ดอกเบี้ย, และการปรับแก้คำพิพากษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534มาตรา 36 วรรคหนึ่ง เป็นบทกฎหมายที่กำหนดแนวทางว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำได้ก็โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะและในกรณีใดบ้าง และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายส่วนวรรคสองเพียงแต่วางหลักการกว้าง ๆ ว่าการกำหนดค่าทดแทนนั้นต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ การได้มาสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์และความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน ดังนั้นรายละเอียดของการดำเนินการเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรมจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะซึ่งในขณะเกิดกรณีพิพาทคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นกฎหมายแม่บทเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งหลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนได้กำหนดไว้ในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองจึงต้องคำนึงถึง (1) ถึง (5)ของมาตราดังกล่าวในวันที่ 22 เมษายน 2531 ซึ่งเป็นวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่วันที่14 มิถุนายน 2534 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่ได้มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่าย ทั้งทางนำสืบ ของโจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยวางเงิน ค่าทดแทนในวันใด แต่พออนุมานได้ว่าก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทั้งสองไปทำคำเสนอขอรับเงินค่าทดแทนจึงให้ จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7066/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: การคำนวณราคา, ดอกเบี้ย, และการแก้ไขคำพิพากษา
การเวนคืนที่ดินตาม พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ฯ พ.ศ.2511และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ฯพ.ศ.2516 การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการต่อไปในเรื่องค่าทดแทนต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้ว พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21(1)ให้นำราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกามาพิจารณาในการกำหนดค่าทดแทนด้วย แต่พระราชกฤษฎีกา มีผลใช้บังคับตั้งแต่ พ.ศ.2511 จำเลยเพิ่งมีหนังสือแจ้งราคาทดแทนให้โจทก์ทราบหลังจากนั้นมากกว่า 20 ปี จึงไม่เป็นไปตามครรลอง แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521มาตรา 33 วรรคสาม จึงให้นำราคาซื้อขายใน พ.ศ.2531ซึ่งเป็นปีที่เริ่มดำเนินการเพื่อจ่ายค่าทดแทนใหม่มาพิจารณาแทน สำเนาโฉนดที่ดินระบุไว้ชัดแจ้งว่า ที่ดินที่ถูกเวนคืนเนื้อที่43 ตารางวา เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงได้รับการสันนิษฐานไว้ว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 จำเลยทั้งสามไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้านว่าโฉนดที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้องจึงฟังได้ว่าที่ดินถูกเวนคืนเนื้อที่ 43 ตารางวา จริง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาว่า โจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 10,972,500 บาท แต่พิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินจำนวน 10,927,500 บาท นั้นเป็นการผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มให้โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26วรรคสุดท้าย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนี้อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ในเวลาที่ต่างกันศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีคงที่ตลอดไปจึงไม่ชอบซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การหักราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่สูงขึ้นออกจากค่าทดแทนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสอง ได้กำหนดเป็นหลักการไว้ว่า ถ้าการเวนคืนรายใดทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้นก็ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนส่วนวรรคสี่กำหนดถึงวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสองว่า ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแต่หากขณะที่ดินถูกเวนคืนไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 21 วรรคสี่ ออกใช้บังคับ ก็ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมมาใช้ หาใช่ไม่ต้องนำราคาที่สูงขึ้นมาหักออกจากค่าทดแทนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5293/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนและผลกระทบต่อราคาที่ดินที่เหลือ
เมื่อการกำหนดเงินค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 ใช้บังคับ จึงต้องพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 มิใช่เพียงข้อหนึ่งข้อใด หากการเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้น จะต้องเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ และแม้ขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากเวนคืนตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสี่บัญญัติไว้ออกใช้บังคับ ก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์หรือมาตรการที่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมเป็นส่วนรวมมาใช้ก่อนหาใช่มิต้องคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและไม่ต้องนำมาหักออกจากค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ เพราะจะทำให้มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นไม่มีผลใช้บังคับส่วนมาตรา 5 แห่ง พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ. 2537 มีผลเพียงทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคานั้น ไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่ที่ดินที่ถูกเวนคืนก่อนวันที่ พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมีผลใช้บังคับเท่านั้น เมื่อราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าเงินค่าทดแทนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์