พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักยึดสินค้านำเข้าที่สงสัยแหล่งที่มา และความผิดสำแดงเท็จ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนที่จะนำของใด ๆ ไปจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำของเข้าต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกัน การขอวางเงินประกันให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด คดีนี้เหตุที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกักและยึดรถยนต์โดยสารที่พิพาทไว้ก็เพื่อตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของสินค้า โดยมีการสืบสวนทราบว่ารถยนต์โดยสารที่พิพาททั้งหมดมีต้นทางส่งออกมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังประเทศมาเลเซีย และทางราชการของประเทศมาเลเซียได้ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) สำหรับรถยนต์โดยสารที่พิพาทให้กับบริษัท อ. หลังจากนั้น รถยนต์โดยสารที่พิพาทถูกจัดส่งมายังประเทศไทย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ากรณีเป็นการสำแดงประเทศกำเนิดของสินค้าเป็นเท็จ (Form D) และใช้สิทธิลดอัตราอากรของที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอาเซียนเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99 และมาตรา 27 ซึ่งตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 16/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน ข้อ 4 วิธีปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ศุลกากร (2.8) กำหนดว่า กรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยในถิ่นกำเนิดสินค้าว่า สินค้าที่นำเข้าไม่อยู่ในข่ายได้รับยกเว้นอากรหรือลดอัตราอากร...หากสินค้านั้นมิได้เป็นสินค้าต้องห้ามหรือต้องกำกัดในการนำเข้าและไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉ้อฉลให้ท่าหรือที่หรือด่านศุลกากรหรือสำนักงานศุลกากรสั่งการปล่อยสินค้าไปก่อน โดยให้วางประกันให้คุ้มค่าภาษีอากร ส่วนหลักเกณฑ์ประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ. 2556 ข้อ 2 01 09 09 การปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าที่ตรวจพบความผิดหรือที่มีการจับกุมและของยังไม่ได้ตรวจปล่อยจากอารักขาศุลกากร ข้อ (1) กำหนดว่า เมื่อมีการตรวจพบความผิดตามกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และของยังไม่ได้ตรวจปล่อยพ้นไปจากอารักขาศุลกากร ให้หน่วยงานที่ตรวจพบความผิดดังกล่าวส่งเรื่องที่ตรวจพบความผิดไปให้หน่วยบริการศุลกากรทำการประเมินราคาและอากรของที่ตรวจพบความผิด เพื่อเรียกเก็บค่าภาษีอากรที่ขาดและค่าปรับ ให้ครบถ้วนก่อนตรวจปล่อยของต่อไป หากผู้นำของเข้าไม่ยินยอมชำระค่าภาษีอากรที่ขาดและค่าปรับ (หากมี) ให้แจ้งหน่วยงานด้านคดีส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามีความประสงค์จะขอให้ตรวจปล่อยของออกไปก่อนแล้วพิจารณาความผิดภายหลัง เมื่อได้ทำการประเมินอากรของที่ตรวจพบความผิด และได้ค่าภาษีอากรที่ขาดแล้วให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำหนดยอดเงินประกันให้คุ้มค่าภาษีอากรที่ขาดและกำหนดเงินค่าเปรียบเทียบปรับค่าภาษีอากร ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยเร็ว ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ข้อ 1 03 03 01 (10) กำหนดให้ความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากร หรือความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากรให้ปรับสองเท่าของอากรที่ขาด และให้ชำระค่าภาษีอากรที่ขาดให้ครบถ้วน พร้อมเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทยที่ขาด (ถ้ามี) ดังนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉ้อฉลในการนำเข้ารถยนต์โดยสารที่พิพาท หากโจทก์ต้องการนำรถยนต์โดยสารที่พิพาทออกไปจากอารักขาของจำเลย โจทก์จึงต้องวางประกันค่าภาษีอากรและค่าปรับสองเท่าของอากรที่ขาดให้ครบถ้วนก่อนที่จะนำสินค้าพิพาทออกไปจากอารักขาของจำเลยได้ หาใช่แต่เพียงวางเงินประกันให้คุ้มค่าภาษีอากรอย่างเดียวไม่ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์วางประกันค่าภาษีและค่าปรับดังกล่าวแล้ว แต่โจทก์ไม่วางประกันค่าภาษีอากรและค่าปรับดังกล่าว ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ดังนั้น การที่พนักงานศุลกากรของจำเลยกักยึดสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าไว้เพื่อดำเนินคดีแก่โจทก์ในความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรจึงเป็นการกักยึดสินค้าไว้โดยมีเหตุอันควรสงสัยที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 และ 25 ให้อำนาจไว้ และสินค้าพิพาทที่ถูกกักยึดนี้ก็เป็นของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 อันอาจถูกศาลริบได้ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 17 ซึ่งพนักงานศุลกากรของจำเลยมีอำนาจกักยึดไว้ได้จนกว่าคดีอาญาถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคสาม ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่เคยกล่าวหาว่าโจทก์ฉ้อฉลนั้น ปรากฏว่าจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าเป็นการสำแดงประเทศกำเนิดของสินค้าที่ตัวสินค้าเป็นเท็จเป็นเหตุให้ค่าภาษีอากรขาดอันเป็นความผิดฐานสำแดงเท็จ แต่ ช. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์อ่านบันทึกแล้วไม่ประสงค์จะลงนาม การกักยึดสินค้าพิพาทจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจขอให้ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10561/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีศุลกากร: ตำรวจมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีได้ แม้ไม่มีการร้องทุกข์จากกรมศุลกากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 3 ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรผู้ทำการแทนกรมศุลกากรออกข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการของกรมศุลกากรเป็นไปโดยเรียบร้อยตามหน้าที่ รวมทั้งอำนาจยึดทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 24 แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้เฉพาะกรมศุลกากรโดยอธิบดีกรมศุลกากรเท่านั้น ที่มีอำนาจดำเนินการแก่ผู้กระทำผิดหรือมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด โดยหากไม่มีการร้องทุกข์แล้วเจ้าพนักงานตำรวจจะไม่มีอำนาจดำเนินการสอบสวนในความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เช่นเดียวกับคดีอาญาแผ่นดินทั่วไป เมื่อความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ดังนั้น เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้นและเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิด และพนักงานสอบสวนย่อมทำการสอบสวนเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 17 และมาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 121 ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมศุลกากรจะได้มอบหมายให้ผู้ใดแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการเอาผิดแก่จำเลยหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนกระทำโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าพนักงานศุลกากรต่อการสูญหายของสินค้าที่ยึดไว้เพื่อดำเนินการทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ยึดสินค้าของโจทก์ไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 กรณีหาใช่เพียงแต่อยู่ในความรักษาหรือตรวจตราดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 117 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 99 เท่านั้น และยอมให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อมาโดยสุจริต แม้จะถูกยึดเนื่องจากความผิดในการนำเข้า โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากโจทก์ร่วมผู้เป็นพ่อค้าขายรถยนต์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท และมีสิทธิติดตามเอาคืนตามอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทเพราะร.นำเข้าโดยสำแดงเท็จและหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อจำกัดอันเกี่ยวแก่การนำเข้า อันพึงยึดและริบตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 24,27,99 แต่ขณะโจทก์รับโอนมาศาลยังมิได้พิพากษาให้ริบหรือตกเป็นของแผ่นดิน โดยโจทก์ขอรถยนต์พิพาทคืนภายในกำหนด30 วัน นับแต่ถูกยึด จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรกลางในคดีกักยึดสินค้า และความชอบด้วยกฎหมายของการกักยึดเพื่อดำเนินคดีอาญา
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ได้ โจทก์ฟ้องโต้แย้งการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานศุลกากรที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าโจทก์ได้สำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรและกักยึดสินค้าไว้ โดยโจทก์เห็นว่าจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์เสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งในปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 ว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ตามนัยมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาศาลภาษีอากร พ.ศ. 2528 และการกักยึดทรัพย์สินของบุคคล หากเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมกระทบถึงสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลซึ่งเป็นสิทธิในทางแพ่งศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ การที่พนักงานศุลกากรของจำเลยกักยึดสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาสำแดงเท็จ หลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมนั้น เป็นการกักยึดสินค้าไว้โดยมีเหตุอันควรสงสัยที่พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 24 และ 25 ให้อำนาจไว้ และสินค้าพิพาทที่ถูกกักยึดนี้ก็เป็นของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27อันอาจถูกศาลสั่งริบได้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 มาตรา 17 ด้วย อีกทั้งพนักงานศุลกากรของจำเลยมีอำนาจกักยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสาม ดังนั้นการกักยึดสินค้าพิพาทจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจขอคืนสินค้าพิพาทในชั้นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรกลางในการพิจารณาคดีกักยึดสินค้าและการกักยึดโดยชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ได้
โจทก์ฟ้องโต้แย้งการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานศุลกากรที่อ้างว่า สินค้าที่โจทก์นำเข้าโจทก์ได้สำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรและกักยึดสินค้าไว้ โดยโจทก์เห็นว่าจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์เสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งในปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ตามนัยมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาศาลภาษีอากร พ.ศ.2528 และการกักยึดทรัพย์สินของบุคคล หากเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมกระทบถึงสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิในทางแพ่งศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
การที่พนักงานศุลกากรของจำเลยกักยึดสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาสำแดงเท็จ หลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมนั้น เป็นการกักยึดสินค้าไว้โดยมีเหตุอันควรสงสัยที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 และ25 ให้อำนาจไว้ และสินค้าพิพาทที่ถูกกักยึดนี้ก็เป็นของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27อันอาจถูกศาลสั่งริบได้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 17 ด้วย อีกทั้งพนักงานศุลกากรของจำเลยมีอำนาจกักยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสาม ดังนั้นการกักยึดสินค้าพิพาทจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจขอคืนสินค้าพิพาทในชั้นนี้ได้
โจทก์ฟ้องโต้แย้งการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานศุลกากรที่อ้างว่า สินค้าที่โจทก์นำเข้าโจทก์ได้สำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรและกักยึดสินค้าไว้ โดยโจทก์เห็นว่าจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์เสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งในปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ตามนัยมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาศาลภาษีอากร พ.ศ.2528 และการกักยึดทรัพย์สินของบุคคล หากเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมกระทบถึงสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิในทางแพ่งศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
การที่พนักงานศุลกากรของจำเลยกักยึดสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาสำแดงเท็จ หลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมนั้น เป็นการกักยึดสินค้าไว้โดยมีเหตุอันควรสงสัยที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 และ25 ให้อำนาจไว้ และสินค้าพิพาทที่ถูกกักยึดนี้ก็เป็นของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27อันอาจถูกศาลสั่งริบได้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 17 ด้วย อีกทั้งพนักงานศุลกากรของจำเลยมีอำนาจกักยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสาม ดังนั้นการกักยึดสินค้าพิพาทจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจขอคืนสินค้าพิพาทในชั้นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์โดยมิชอบ เจ้าพนักงานต้องคืนทรัพย์ให้เจ้าของเมื่อพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่ของหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์ซื้อเพลา รถยนต์ เก่าของกลางจากพ่อค้าซึ่งขายของเก่าโดยสุจริตในตลาดเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ของกลางดังกล่าวจึงไม่ใช่สิ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรเจ้าพนักงานของจำเลยไม่มีอำนาจยึดไว้ ต้องคืนแก่เจ้าของ การที่จำเลยยึดของกลางไว้เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง จำเลยก็ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบหลักฐานก่อน เพราะโจทก์อ้างว่าของกลางเป็นของที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาดก่อนถูกยึดถึง 2 ปี โจทก์ฟ้องเรียกของกลางคืนหลังจากยื่นคำร้องเพียง 1 เดือนเศษ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่คืนของกลางให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยึดของกลางและการตรวจสอบสิทธิในทรัพย์สิน ผู้ซื้อสุจริต
โจทก์ซื้อเพลารถยนต์เก่าของกลางจากพ่อค้าซึ่งขายของเก่าโดยสุจริตในตลาดเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ของกลางดังกล่าวจึงใม่ใช่สิ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร เจ้าพนักงานของจำเลยไม่มีอำนาจยึดไว้ ต้องคืนแก่เจ้าของ
การที่จำเลยยึดของกลางไว้เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง จำเลยก็ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบหลักฐานก่อน เพราะโจทก์อ้างว่าของกลางเป็นของที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาดก่อนถูกยึดถึง 2 ปี โจทก์ฟ้องเรียกของกลางคืนหลังจากยื่นคำร้องเพียง 1 เดือนเศษ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่คืนของกลางให้แก่โจทก์
การที่จำเลยยึดของกลางไว้เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง จำเลยก็ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบหลักฐานก่อน เพราะโจทก์อ้างว่าของกลางเป็นของที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาดก่อนถูกยึดถึง 2 ปี โจทก์ฟ้องเรียกของกลางคืนหลังจากยื่นคำร้องเพียง 1 เดือนเศษ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่คืนของกลางให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลสั่งให้กรมศุลกากรคืนทรัพย์หรือชดใช้ค่าเสียหาย
สินค้าของกลางเป็นสินค้าที่โจทก์ซื้อจากตลาดในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ฟังไม่ได้ว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้เสียภาษีศุลกากร เจ้าหน้าที่ย่อมไม่มีอำนาจยึด จำเลยจะไม่คืนสินค้าของโจทก์ให้แก่โจทก์โดยอ้างว่าตกเป็นของแผ่นดินแล้วตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24หาได้ไม่เพราะกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว การที่จำเลยไม่ยอมคืนสินค้าให้แก่โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติราชการตามบังคับบัญชาของกรมศุลกากร จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติการไปตามอำนาจหน้าที่ในราชการของจำเลยที่ 2 ตามปกติ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติราชการตามบังคับบัญชาของกรมศุลกากร จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติการไปตามอำนาจหน้าที่ในราชการของจำเลยที่ 2 ตามปกติ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรโดยมิชอบ และความรับผิดของหน่วยงานราชการ
สินค้าของกลางเป็นสินค้าที่โจทก์ซื้อจากตลาดในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ฟังไม่ได้ว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้เสียภาษีศุลกากรเจ้าหน้าที่ย่อมไม่มีอำนาจยึดจำเลยจะไม่คืนสินค้าของโจทก์ให้แก่โจทก์โดยอ้างว่าตกเป็นของแผ่นดินแล้วตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 หาได้ไม่เพราะกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว การที่จำเลยไม่ยอมคืนสินค้าให้แก่โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติราชการตามบังคับบัญชาของ กรมศุลกากร จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติการไปตามอำนาจหน้าที่ในราชการของจำเลยที่ 2 ตามปกติ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว