คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์ของกลางที่มิได้ตกเป็นของแผ่นดิน และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าพนักงาน
มาตรา 24 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา3 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่มิได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล เพราะกำหนดระยะเวลาเรียกคืนสิ่งที่ยึดไว้ภายใน 60 วัน หรือ 30 วันแล้วแต่กรณีนับแต่วันยึดอย่างเดียว หากประสงค์จะให้ใช้บังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยก็น่าจะกำหนดระยะเวลาเรียกร้องขอส่งคืนสิ่งที่ยึดนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดไว้ด้วย
พนักงานศุลกากรยึดรถยนต์พิพาทไว้เพราะมีผู้นำของซุกซ่อนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต่อมาพนักงานอัยการได้ฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวโดยมิได้ขอให้ริบรถยนต์พิพาท เมื่อรถยนต์พิพาทมิได้ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร กรณีการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั้นไม่มีบทบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ศุลกากร อีกทั้งรถยนต์พิพาทยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม มาตรา 1327 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรมศุลกากร จำเลยที่1 จึงไม่มีอำนาจยึดรถนั้นไว้ การที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมคืนรถให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของและโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์พิพาท จึงเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดที่ตนได้กระทำส่วนการที่โจทก์ทั้งสองจะนำรถยนต์พิพาทไปรับส่งผู้โดยสารโดยผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการทำละเมิดจึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยึดรถยนต์ของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน การเสื่อมราคาถ้าหากจะมีบ้างก็เป็นการเสื่อมไปตามกาลเวลา ซึ่งเกลื่อนกลืนไปกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่โจทก์ทั้งสองขาดรายได้จากการใช้รถในระยะเวลาเดียวกันแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดปากกาลูกลื่นที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าและเสียภาษีแล้ว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ปากกาลูกลื่นยี่ห้อโบโซ่ที่เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยยึดเป็นส่วนหนึ่งของปากกาลูกลื่นที่โจทก์ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนปากกาลูกลื่นที่โจทก์สั่งเข้ามาและเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายแล้ว มิใช่เป็นสินค้าที่นำเข้าโดยยังมิได้เสียภาษี เจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไม่มีอำนาจยึด และจำเลยจะไม่คืนปากกาลูกลื่นดังกล่าวให้โจทก์โดยอ้างว่าตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 หาได้ไม่ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดปากกาลูกลื่นที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าและเสียภาษีแล้ว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ปากกาลูกลื่นยี่ห้อโบโซ่ที่เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยยึดเป็นส่วนหนึ่งของปากกาลูกลื่นที่โจทก์ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนปากกาลูกลื่นที่โจทก์สั่งเข้ามาและเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายแล้วมิใช่เป็นสินค้าที่นำเข้าโดยยังมิได้เสียภาษี เจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไม่มีอำนาจยึด และจำเลยจะไม่คืนปากกาลูกลื่นดังกล่าวให้โจทก์โดยอ้างว่าตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 24 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 หาได้ไม่ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสินค้าและเงินค่าขายหลังศาลสั่งคืนของกลาง การรักษาทรัพย์แทนเจ้าของ และการผิดนัดชำระหนี้
กรณีที่พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใดๆ อันจะพึงริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึดให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของ การที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13 พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501 ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืน โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507 เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสินค้าของกลางที่ศาลสั่งให้คืนแก่เจ้าของหลังคดีถึงที่สุด และสิทธิเรียกร้องเงินค่าขายจากกรมศุลกากร
กรณีที่พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใดๆ อันจะพึงริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึดให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของการที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งโจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืนโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดเรือของกลางในคดีศุลกากร: การเรียกร้องคืนภายใต้ประมวลกฎหมายอาญาเมื่อมีฟ้องคดี
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12)พ.ศ.2497 มาตรา 3 บัญญัติว่า 'สิ่งใดๆ อันจะพึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจยึดในเวลาใดๆ และ ณ สถานที่ใดๆ ก็ได้.
สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนดหกสิบวันสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด สามสิบวันสำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันยึด. ให้ถือว่าเป็นสิ่งของที่ไม่มีเจ้าของ. และให้ตกเป็นของแผ่นดิน' นั้น. ใช้บังคับเฉพาะกรณีการร้องขอคืนของกลางที่ถูกยึดโดยไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลเท่านั้น. หากพระราชบัญญัติศุลกากรฯประสงค์จะใช้บังคับแก่กรณีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย ก็คงจะได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลาง 'นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด' ไว้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1327 วรรคแรก. หากถือว่าของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้วพนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอให้ศาลพิพากษาริบของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วให้ยกเป็นของแผ่นดินอีก.
มาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติอันเป็นหลักทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ของประมวลกฎหมายอาญานี้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย.เว้นแต่กฎหมายนั้นจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น. ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวก็มิได้บัญญัติ.เกี่ยวกับการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วย. ฉะนั้นในคดีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลและศาลพิพากษาสั่งริบเรือของกลางที่ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32. ต้องถือว่าเป็นการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรคแรก ผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาเรือของกลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36.
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไม่ขัดกันกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 เพราะใช้บังคับต่างกรณีกัน. ดังนี้จะนำพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 120 ซึ่งบัญญัติไว้ใจความว่า เมื่อใดพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นให้ยกเอาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติศุลกากรขึ้นใช้บังคับมาบังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไม่ได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางคดีศุลกากร: ระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลางต่างกันเมื่อมี/ไม่มีการฟ้องคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 บัญญัติว่า "สิ่งใดๆ อันจะพึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจยึดในเวลาใดๆ และ ณ สถานที่ใดๆ ก็ได้
สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนดหกสิบวันสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด สามสิบวันสำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันยึด ให้ถือว่าเป็นสิ่งของที่ไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดิน" นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีการร้องขอคืนของกลางที่ถูกยึดโดยไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลเท่านั้น หากพระราชบัญญัติศุลกากรฯประสงค์จะใช้บังคับแก่กรณีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย ก็คงจะได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลาง "นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด" ไว้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1327 วรรคแรก หากถือว่าของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้วพนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอให้ศาลพิพากษาริบของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วให้ยกเป็นของแผ่นดินอีก
มาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติอันเป็นหลักทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ของประมวลกฎหมายอาญานี้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวก็มิได้บัญญัติ เกี่ยวกับการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วย ฉะนั้นในคดีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลและศาลพิพากษาสั่งริบเรือของกลางที่ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 ต้องถือว่าเป็นการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรคแรก ผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาเรือของกลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไม่ขัดกันกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 เพราะใช้บังคับต่างกรณีกัน ดังนี้จะนำพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 120 ซึ่งบัญญัติไว้ใจความว่า เมื่อใดพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นให้ยกเอาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติศุลกากรขึ้นใช้บังคับมาบังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถของกลาง ผู้ซื้อโดยสุจริตได้รับกรรมสิทธิ์ แม้รถยังถูกยึดเป็นของกลางอยู่
รถยนต์ของกลางของจำเลยในคดีความผิดฐานรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร และใช้รถยนต์วิ่งบนทางหลวงที่ยังมิได้เปิดเป็นถนนสาธารณโดยไม่รับอนุญาตซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้และได้มอบให้บุคคลอื่นรักษาไว้ในระหว่างคดี หากจำเลยได้เอารถคันนั้นไปโอนขายให้บุคคลภายนอก และบุคคลภายนอกได้รับซื้อไว้โดยสุจริตโดยไม่รู้ว่าเป็นรถที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางในคดีบุคคลภายนอกผู้นั้นย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นต่อมาภายหลังเมื่อคดีถึงศาล และศาลได้พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง บุคคลภายนอกผู้นั้นย่อมร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบนั้นได้รูปคดีเช่นนี้จะปรับด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลางตามคำพิพากษาศาล และการพิสูจน์ตัวตนเจ้าของสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร
ในคดีกระทำผิดพระราชบัญญัติศุลกากร เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนสินค้าของกลางแก่ผู้ร้องแล้ว ถ้ากรมศุลกากรไม่มีเหตุโต้แย้งก็จะต้องคืนให้ตามคำพิพากษา แต่กรมศุลกากรโต้แย้งอยู่ว่า ผู้ร้องมิใช่นายเบ๊หรือจือเฮ้าตัวจริง เพราะตัวจริงตายไปนานแล้วตามมรณบัตร และโต้แย้งด้วยว่า ตั้งแต่กรมศุลกากรจับยึดสินค้ารายนี้แล้ว ไม่มีผู้ใดมาขอคืนในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขฉบับที่ 12 พ.ศ.2497 มาตรา 3 ผู้ร้องจึงชอบที่จะว่ากล่าวเอาเองเป็นคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 48 วรรคสอง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยึดของเจ้าพนักงานและสิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้น ประสงค์แต่เพียงแก้ไขเพื่อกำหนดว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยทั่วไปก็มีอำนาจทำการยึดได้เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่วิเคราะห์ศัพท์ไว้
of 3