พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8901/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้เช่าช่วง – ผู้เช่าช่วงไม่มีอำนาจฟ้องผู้ให้เช่าโดยตรงเมื่อสัญญาเช่าเดิมไม่ระบุ
สัญญาเช่าพิพาท มีจำเลยผู้ให้เช่าทำสัญญากับโจทก์ที่ 1 ผู้เช่า โจทก์ที่ 3 เป็นเพียงผู้เช่าช่วงจากโจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2 เช่าช่วงจากโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 จึงมิใช่ผู้เช่าโดยตรงกับจำเลย ซึ่งระหว่างโจทก์ที่ 3 ผู้เช่าช่วงกับจำเลยผู้ให้เช่าเดิมนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้เช่าช่วงถือเอาสิทธิใด ๆ กับจำเลยผู้ให้เช่าเดิมได้ กฎหมายคงบัญญัติเฉพาะให้ผู้เช่าช่วงต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมโดยตรงเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 545 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทยกเว้นหลักทั่วไปที่ว่าสัญญามีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น ไม่อาจบังคับเอากับบุคคลภายนอกสัญญาได้ กรณีจึงไม่อาจตีความขยายความบทบัญญัติซึ่งเป็นข้อยกเว้นในทางกลับกันให้ผู้เช่าช่วงเรียกร้องสิทธิและหน้าที่เอาจากผู้ให้เช่าเดิมได้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ใด ๆ ที่จะพึงมีต่อกันในอันที่จะให้อำนาจแก่ผู้เช่าช่วงฟ้องบังคับเอากับผู้ให้เช่าเดิมเพื่อรับผิดต่อผู้เช่าช่วงโดยตรงได้ แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ให้เช่าจะเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าพิพาท ทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าได้รับความเสียหาย และหากฟังข้อเท็จจริงดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การเช่าช่วงของโจทก์ที่ 3 เป็นไปโดยชอบ แต่เมื่อโจทก์ที่ 3 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลย โจทก์ที่ 3 จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของอัยการสูงสุด, การแก้ไขคำฟ้อง, และการริบทรัพย์สินในคดีทุจริต - หลักเกณฑ์และขอบเขต
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/6 ถึงมาตรา 123/8 ไม่ได้บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะริบทรัพย์สินได้โดยโจทก์ไม่ต้องมีคำขอเช่นเดียวกับที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 บัญญัติเป็นมาตรการไว้ในมาตรา 31 และ 32 เมื่อการริบทรัพย์สินเป็นโทษตาม ป.อ. ซึ่งใช้บังคับในขณะที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิด หากโจทก์ประสงค์จะให้ศาลริบทรัพย์สินใดของจำเลยทั้งสองก็ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง และมีคำขอท้ายฟ้องให้ริบด้วย ถึงแม้โจทก์จะนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนโดยชอบด้วยกฎหมาย และศาลรับฟังได้ว่าเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 เป็นทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองได้มาโดยได้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 33 (2) ก็ตาม แต่การนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนดังกล่าวไม่ได้เป็นข้อยกเว้นให้โจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องเกี่ยวกับเงินของจำเลยทั้งสองว่ายึดหรืออายัดไว้เป็นของกลางหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และไม่ต้องมีคำขอท้ายฟ้องให้ริบเงินใด ๆ ดังนั้นเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีการยึดหรืออายัดเงินใด ๆ ที่จำเลยทั้งสองได้มาโดยได้กระทำความผิด และคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ได้มีคำขอให้ศาลสั่งริบเงินของจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจริบเงินของจำเลยทั้งสองในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ได้ อีกทั้งไม่อาจนำมาตรการริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาปรับใช้แก่คดีนี้ได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบเงิน 1,822,494 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมทั้งกำหนดมูลค่าของสิ่งที่ริบเป็นเงิน 62,724,776 บาท จึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฟอกเงินไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ความผิดมูลฐานก่อน หากมีหลักฐานการกระทำความผิดฐานฟอกเงินก็สามารถดำเนินคดีได้
ความผิดฐานฟอกเงิน โดยรับโอนเงินเพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริง และจำหน่ายจ่ายโอน ซึ่งเงินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระอันเป็นความผิดมูลฐานด้วย และฐานสมคบเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน ผู้กระทำความผิดหาจำต้องเป็นผู้ส่งข้อมูลอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่ามัลแวร์เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายจนทำให้มีการโอนเงินโดยอัตโนมัติ หรือหาจำต้องเป็นผู้หลอกหลวงให้ผู้เสียหายโอนเงินไม่ ทั้งกรณีไม่จำต้องอาศัยความผิดมูลฐานเป็นเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินคดีอาญาในความผิดมูลฐานหรือมีคำพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดมูลฐานเสียก่อน จึงจะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: การจำหน่ายคดีให้ไปดำเนินการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีให้คู่ความไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ โจทก์ขอให้เลขาธิการไอเอทีเอตั้งอนุญาโตตุลาการตามคำสั่งของศาลชั้นต้น แม้จำเลยมีหนังสือถึงไอเอทีเอคัดค้านไม่ให้ตั้งอนุญาโตตุลาการ แต่จำเลยแก้ฎีกาว่า การปฏิเสธการอนุญาโตตุลาการเป็นการต่อสู้คดี จำเลยไม่มีเจตนาสละข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ การพิจารณาตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นอำนาจของเลขาธิการไอเอทีเอ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแต่งตั้งตัวแทนซึ่งมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การและยื่นคำร้องขอให้ศาลจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการโดยให้ศาลชั้นต้นงดการไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดตามคำร้องและคำคัดค้าน เท่ากับจำเลยรับว่าข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ศาลจึงต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง และหากเลขาธิการไอเอทีเอไม่ตั้งอนุญาโตตุลาการตามที่กำหนดไว้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจให้ดำเนินการตั้งอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 18 วรรคท้าย (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญาและการพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ในคดีอาญาที่จำเลยไม่ให้การหรือให้การปฏิเสธ กฎหมายมีมาตรการให้มีการตรวจพยานหลักฐานโดยให้โจทก์ส่งเอกสารและวัตถุที่โจทก์จะอ้างเป็นพยานให้อีกฝ่ายตรวจสอบตามที่คู่ความร้องขอหรือศาลเห็นสมควรก่อนสืบพยานโจทก์ โดยมีวัตถุประสงค์ให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม กรณีจึงไม่จำต้องใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีแพ่งมาใช้บังคับในคดีอาญานี้ตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยาน จำเลยก็ได้รับสำเนาโดยไม่ได้คัดค้าน และยังปรากฏว่าทนายจำเลยทั้งสองซักค้านพยานที่โจทก์ระบุในบัญชีระบุพยานได้อีกด้วย การที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานน้อยกว่า 7 วัน อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 173/1 วรรคสอง จึงมิได้ทำให้จำเลยทั้งสองเสียโอกาสในการต่อสู้คดี ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจอนุญาตให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 229/1 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ที่ดินเป็นสินส่วนตัวหรือไม่ การถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญา
คดีแพ่งเรื่องใดจะเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าความผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญาหรือไม่ ถ้าต้องอาศัยก็เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทโดยตรง เป็นประเด็นเดียวกันว่าที่ดินพิพาททั้งสามสิบสามแปลงเป็นสินส่วนตัวของ ก. หรือเป็นสินสมรสระหว่าง ก. กับพันเอก ก. ดังนี้ เมื่อคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุด ประเด็นข้อพิพาทคดีนี้เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาโดยคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวได้วินิจฉัยโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาททั้งสามสิบสามแปลงเป็นสินส่วนตัวของ ก. และคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ปัญหาดังกล่าวแม้ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้วินิจฉัยทั้ง ๆ ที่โจทก์บรรยายฟ้อง และคู่ความนำสืบกับจำเลยทั้งเจ็ดอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งเจ็ดย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในฎีกาซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งใช้ขณะยื่นฟ้อง ดังนั้น เมื่อที่ดินพิพาททั้งสามสิบสามแปลงเป็นสินส่วนตัวของ ก. แม้ต่อมาพันเอก ก. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาททั้งสามสิบสามแปลงก็ไม่มีส่วนใดเป็นทรัพย์มรดกของพันเอก ก. ซึ่งตกทอดแก่โจทก์ การที่ ก. ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแต่ละแปลงให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 4 ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทบางแปลงที่ตนได้รับให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนเช่นกัน จึงเป็นสิทธิโดยชอบของ ก. และจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ที่ดินมรดกตามพินัยกรรมเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ทายาทไม่มีสิทธิขอแบ่งซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมเป็นทรัพย์มรดกของ บ. มิใช่ พ. ศาลชั้นต้นยกฟ้อง คดีถึงที่สุด จึงต้องฟังว่าพินัยกรรมของ พ. ถูกต้องสมบูรณ์ และ บ. ไม่ได้รับทรัพย์สินตามพินัยกรรม โจทก์ในฐานะทายาทของ บ. ไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาท ฟ้องโจทก์คดีนี้ขอให้แบ่งที่ดินพิพาทจึงเป็นฟ้องซ้ำ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยถูกต้องแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
อนึ่ง แม้อุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีผลเพียงให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีเท่านั้น จึงเป็นการปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ดังนั้น จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท ในชั้นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์
อนึ่ง แม้อุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีผลเพียงให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีเท่านั้น จึงเป็นการปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ดังนั้น จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท ในชั้นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ชอบในปัญหาข้อเท็จจริง และการใช้ดุลพินิจในการรอการลงโทษจำคุก
ความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ไม่ใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด สิทธิในการฎีกาของคู่ความจึงต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตโดยไม่ลงโทษปรับนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดฐานดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับ 10,000 บาท โดยไม่ลงโทษจำคุก แม้กรณีเป็นการแก้ไขมาก แต่ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์ในความผิดฐานนี้มาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6414/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชี้ขาดการรับผิดตามเช็ค แม้มีข้อต่อสู้เรื่องการชำระหนี้ก่อน แต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้
ป.วิ.พ. มาตรา 244/1 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 247 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่มาตรา 244/1 ดังกล่าวบัญญัติเพิ่มโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 9 บัญญัติว่า บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับจนกว่าคดีนั้นจะถึงที่สุด และมาตรา 2 บัญญัติว่า พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2556 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558 ใช้บังคับ ฎีกาของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 244/1
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็ค เมื่อจำเลยรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทจริง ในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิด ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย จำเลยนำสืบว่า โจทก์ปล่อยเงินกู้แก่พนักงานบริษัท ท. ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงาน โดยจำเลยทำหน้าที่เก็บเงินจากลูกหนี้ โจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 10 ของเงินกู้ แต่จำเลยต้องมอบเช็คไว้ให้แก่โจทก์ เพื่อไม่ให้จำเลยผิดนัดในการนำเงินที่เก็บจากลูกหนี้มามอบให้โจทก์ เช็คพิพาททั้งสี่ฉบับลูกหนี้แต่ละรายชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ หากเป็นความจริงดังข้อต่อสู้ของจำเลย การออกเช็คเพื่อไม่ให้จำเลยผิดนัดในการนำเงินที่เก็บจากลูกหนี้มามอบให้แก่โจทก์นั้น ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นการออกเช็คเพื่อแลกกับการที่จำเลยได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ไปเก็บเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ จากนั้นจำเลยกับโจทก์จึงจะมาคิดหักทอนบัญชีเกี่ยวกับมูลหนี้ หากโจทก์ไม่ได้รับเงินที่จำเลยเก็บจากลูกหนี้ โจทก์ก็จะได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกชำระหนี้ ดังนั้นเมื่อจำเลยเก็บเงินจากลูกหนี้แล้ว ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินดังกล่าว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คนั้น จะอ้างว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ เมื่อเงินที่จำเลยโอนเข้าบัญชีของโจทก์ยังไม่อาจฟังได้ว่าเป็นการชำระเงินซึ่งเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยซึ่งมีภาระการพิสูจน์ไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้สมดังข้ออ้าง จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี จำเลยต้องรับผิดตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็ค เมื่อจำเลยรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทจริง ในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิด ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย จำเลยนำสืบว่า โจทก์ปล่อยเงินกู้แก่พนักงานบริษัท ท. ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงาน โดยจำเลยทำหน้าที่เก็บเงินจากลูกหนี้ โจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 10 ของเงินกู้ แต่จำเลยต้องมอบเช็คไว้ให้แก่โจทก์ เพื่อไม่ให้จำเลยผิดนัดในการนำเงินที่เก็บจากลูกหนี้มามอบให้โจทก์ เช็คพิพาททั้งสี่ฉบับลูกหนี้แต่ละรายชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ หากเป็นความจริงดังข้อต่อสู้ของจำเลย การออกเช็คเพื่อไม่ให้จำเลยผิดนัดในการนำเงินที่เก็บจากลูกหนี้มามอบให้แก่โจทก์นั้น ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นการออกเช็คเพื่อแลกกับการที่จำเลยได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ไปเก็บเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ จากนั้นจำเลยกับโจทก์จึงจะมาคิดหักทอนบัญชีเกี่ยวกับมูลหนี้ หากโจทก์ไม่ได้รับเงินที่จำเลยเก็บจากลูกหนี้ โจทก์ก็จะได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกชำระหนี้ ดังนั้นเมื่อจำเลยเก็บเงินจากลูกหนี้แล้ว ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินดังกล่าว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คนั้น จะอ้างว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ เมื่อเงินที่จำเลยโอนเข้าบัญชีของโจทก์ยังไม่อาจฟังได้ว่าเป็นการชำระเงินซึ่งเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยซึ่งมีภาระการพิสูจน์ไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้สมดังข้ออ้าง จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี จำเลยต้องรับผิดตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง