พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการรับผิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่ตัวการจะมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่ตัวแทนกระทำไปต้องเป็นกรณีที่ตัวแทนได้กระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบในขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน แต่จำเลยที่ 6 โดยจำเลยที่ 7 ตัวแทนกระทำการโดยทุจริตต่อหน้าที่โดยการปลอมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีอากรขาเข้า และใช้ใบเสร็จรับเงินปลอมอันเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าวของตัวแทน
โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าภาษีในกรณีที่จำเลยที่ 1 นำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร โดยจำเลยที่ 1 ยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 รับใบขนสินค้า ได้ตรวจสอบรับรองเอกสาร กับทั้งได้ตรวจสอบสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่ถูกต้องแล้ว จึงบันทึกตรวจปล่อยส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 รับไปจากอารักขาของโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่13 สิงหาคม 2523 กรณีจึงมิใช่จำเลยที่ 1 หลีกเลี่ยง ซ่อนเร้นการเสียภาษี หรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียกเก็บภาษี อันจะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา27 และ 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมนั้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ดังนั้นคดีจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 167เดิม (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ได้ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุอายุความขึ้นต่อสู้และคดีฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจ้าของสินค้า และจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงมีสิทธิจะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ และโดยที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ให้ถือว่าจำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนย่อมได้รับผลแห่งอายุความด้วยจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้เช่นกัน
โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าภาษีในกรณีที่จำเลยที่ 1 นำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร โดยจำเลยที่ 1 ยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 รับใบขนสินค้า ได้ตรวจสอบรับรองเอกสาร กับทั้งได้ตรวจสอบสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่ถูกต้องแล้ว จึงบันทึกตรวจปล่อยส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 รับไปจากอารักขาของโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่13 สิงหาคม 2523 กรณีจึงมิใช่จำเลยที่ 1 หลีกเลี่ยง ซ่อนเร้นการเสียภาษี หรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียกเก็บภาษี อันจะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา27 และ 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมนั้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ดังนั้นคดีจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 167เดิม (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ได้ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุอายุความขึ้นต่อสู้และคดีฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจ้าของสินค้า และจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงมีสิทธิจะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ และโดยที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ให้ถือว่าจำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนย่อมได้รับผลแห่งอายุความด้วยจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าภาษี, การกระทำของตัวแทน, และผลกระทบต่อหุ้นส่วนในคดีภาษีอากร
จำเลยที่1เป็นผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่1พอใจราคาตามที่จำเลยที่1สำแดงและเห็นว่าใบเสร็จรับเงินในการเสียภาษีอากรขาเข้าจำนวนเงินตรงกับหลักฐานการนำเข้าจึงตรวจปล่อยสินค้าไปต่อมาโจทก์ที่1ตรวจพบว่าใบเสร็จรับเงินในการเสียภาษีอากรขาเข้าเป็นเอกสารปลอมโดยจำเลยที่6ซึ่งมีจำเลยที่7เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ทำปลอมขึ้นและใช้แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่1ทำให้สำคัญผิดว่าจำเลยที่1ชำระภาษีอากรขาเข้าถูกต้องแล้วจึงตรวจปล่อยสินค้าไปกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่รัฐใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าภาษีในกรณีที่จำเลยที่1ยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการถูกต้องพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่1รับใบขนสินค้ารับรองเอกสารกับทั้งได้ตรวจสอบสินค้าของจำเลยที่1เป็นที่ถูกต้องแล้วจึงบันทึกตรวจปล่อยส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่1รับไปจากอารักขาของโจทก์ที่1กรณีจึงมิใช่จำเลยที่1หลีกเลี่ยงซ่อนเร้นการเสียภาษีหรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียกเก็บภาษีอันจะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา27และ99แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากรพ.ศ.2469ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่1ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่2ถึงที่5ดังนั้นคดีนี้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา167เดิม(มาตรา193/31ที่แก้ไขใหม่) แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยที่1ยังมิได้ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์แต่จำเลยที่1และที่3ได้ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุอายุความขึ้นต่อสู้และคดีฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วจำเลยที่1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจ้าของสินค้าและจำเลยที่3หุ้นส่วนผู้จัดการจึงมีสิทธิจะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้และการที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้การที่จำเลยที่1และที่3ยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)ให้ถือว่าทำแทนซึ่งกันและกันจำเลยที่2ที่4และที่5ซึ่งเป็นหุ้นส่วนย่อมได้รับผลแห่งอายุความด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อภาษีเป็นองค์ประกอบความผิด แม้ พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มิได้บังคับให้ต้องมีเจตนา
บทบัญญัติของมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482ซึ่งบัญญัติว่า"การกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช2469นั้นให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่"หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27ที่ว่าจะต้องกระทำ"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ให้สิ้นไปไม่เพราะมาตรา16หมายความถึงแต่เพียงมิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำเท่านั้นส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลนั้นยังคงต้องเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่คำว่า"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ตามความหมายของกฎหมายในขณะนั้นย่อมหมายถึงความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลต่างหากจากเจตนากระทำการจำเลยทั้งสองจะมีความผิดต่อเมื่อข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่ามีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล การที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าตามเอกสารที่ผู้ขายส่งมาให้เมื่อเปิดหีบห่อออกตรวจก็พบเห็นได้ชัดเจนว่ามีสินค้าเกินจำนวนซึ่งจำเลยยอมชำระค่าภาษีอากรเพิ่มกับเบี้ยปรับตามคำสั่งของกรมศุลกากรแสดงถึงความสุจริตใจไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงไม่เสียภาษีจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อภาษี: แม้ยื่นสำแดงไม่ถูกต้อง แต่หากไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ย่อมไม่มีความผิด
คำว่า"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"เป็นองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา27ซึ่งบทบัญญัติมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดดังกล่าวให้สิ้นไปไม่เพราะเพียงแต่มิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลที่จะฉ้อค่าภาษียังคงเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่ซึ่งเป็นเจตนาต่างหากจากเจตนากระทำการเมื่อจำเลยไม่มีเจตนาที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อภาษีเป็นองค์ประกอบความผิด แม้มีกฎหมายเฉพาะยกเว้น แต่ต้องพิสูจน์เจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
บทบัญญัติของมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482ซึ่งบัญญัติว่า"การกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช2469นั้นให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่"หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27ที่ว่าจะต้องกระทำ"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ให้สิ้นไปไม่เพราะมาตรา16หมายความถึงแต่เพียงมิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำเท่านั้นส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลนั้นยังคงต้องเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่คำว่า"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ตามความหมายของกฎหมายในขณะนั้นย่อมหมายถึงความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลต่างหากจากเจตนากระทำการจำเลยทั้งสองจะมีความผิดต่อเมื่อข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่ามีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล การที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าตามเอกสารที่ผู้ขายส่งมาให้เมื่อเปิดหีบห่อออกตรวจก็พบเห็นได้ชัดเจนว่ามีสินค้าเกินจำนวนซึ่งจำเลยยอมชำระค่าภาษีอากรเพิ่มกับเบี้ยปรับตามคำสั่งของกรมศุลกากรแสดงถึงความสุจริตใจไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงไม่เสียภาษีจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คืนเงินอากรขาเข้า-ค่าเสียหาย: การกักยึดสินค้า-การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ-สิทธิเรียกร้อง
โจทก์ได้ยื่นใบขนสินค้าขาออกแบบรีเอ๊กซ์ปอร์ตต่อกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้าแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้เปิดตรวจสินค้าแล้วมีความเห็นว่าของที่โจทก์นำเข้าและขอส่งออกไม่ใช่ของรายเดียวกันจึงแจ้งข้อหาโจทก์ว่าสำแดงเท็จเพื่อขอคืนอากรและยึดผ้าไว้ โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ในชั้นศุลกากร ได้มีการตรวจวิเคราะห์สินค้า ปรากฏว่าเป็นของรายเดียวกันจึงระงับคดีอาญาแก่โจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี จึงมิใช่ความผิดของโจทก์ แต่เป็นเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1กักยึดผ้าไว้เท่ากับเป็นการไม่อนุญาตให้โจทก์ส่งออกโจทก์จึงมีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าจากจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ได้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้ผู้ขอคืนเงินภาษีอากรได้รับการคืนเงินภาษีโดยชอบ เป็นคดีเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลภาษีอากร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติงานไปตามขั้นตอนมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีความเห็นในตอนแรกว่า ผ้าที่โจทก์ขอส่งออกมิใช่ของรายเดียวกับที่นำเข้า เพราะตรวจพบว่ามีตราติดอยู่ที่เนื้อผ้า แต่ใบขนสินค้าขาเข้าระบุว่าไม่มีตราจึงมีเหตุอันควรสงสัยดังกล่าว ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1มีอำนาจกักยึดผ้าของโจทก์ไว้และสั่งดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99 และ 60การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายตัวผ้าซึ่งอ้างว่าเสื่อมคุณภาพไม่สามารถนำมาใช้ได้และไม่เป็นที่ต้องการของตลาดซึ่งถือว่าไร้ประโยชน์ทั้งหมดค่าเสียหายเนื่องจากไม่สามารถส่งผ้ากลับออกไปตัดเย็บได้ทันกำหนด ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงขาดประโยชน์ทางการค้าของโจทก์สืบเนื่องมาจากการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 กักยึดผ้าของโจทก์ไว้ ตามคำฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างว่าผ้าของโจทก์เสียหายเพราะจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาไว้ไม่ดี เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสี่ที่กักยึดผ้าไว้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อมาโดยสุจริต แม้จะถูกยึดเนื่องจากความผิดในการนำเข้า โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากโจทก์ร่วมผู้เป็นพ่อค้าขายรถยนต์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท และมีสิทธิติดตามเอาคืนตามอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทเพราะร.นำเข้าโดยสำแดงเท็จและหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อจำกัดอันเกี่ยวแก่การนำเข้า อันพึงยึดและริบตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 24,27,99 แต่ขณะโจทก์รับโอนมาศาลยังมิได้พิพากษาให้ริบหรือตกเป็นของแผ่นดิน โดยโจทก์ขอรถยนต์พิพาทคืนภายในกำหนด30 วัน นับแต่ถูกยึด จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากรฐานหลีกเลี่ยงอากรและสำแดงเท็จเป็นความผิดต่างกรรมกัน การเปรียบเทียบปรับต้องทำก่อนฟ้องจึงมีผลระงับคดี
ความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ฐานหลีกเลี่ยงอากร กับมาตรา 99 ฐานสำแดงเท็จ เป็นความผิดต่างกรรมกัน คดีอาญาจะเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37(4) โดยการเปรียบเทียบคดี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 102,102 ทวิ ก็ต่อเมื่อบุคคล ผู้กระทำความผิดตกลงยินยอมและใช้ค่าปรับก่อนถูกฟ้องเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร: การกระทำของผู้เกี่ยวข้อง, อายุความ, และการเปรียบเทียบปรับ
จำเลยเป็นผู้จัดการของบริษัท ท. จำกัด ได้สั่งเครื่องจักรหลายประเภทเข้ามาในราชอาณาจักร โดยสำแดงในใบขนสินค้า ขาเข้าเพื่อชำระอากรต่ำกว่าราคาที่แท้จริง อันเป็นการกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร ทั้งฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 และฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรตามมาตรา 27 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกัน แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 99 เพราะขาดอายุความแล้ว ก็ย่อมฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 27 ได้ ความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร นอกจากจะเอาความผิดต่อผู้หลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรแล้ว ยังเอาผิดต่อผู้ที่ เกี่ยวข้อง ในการหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรด้วย ฉะนั้น แม้บริษัท ท. จำกัด จะ เป็น ผู้นำเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลย ซึ่ง เป็น ตัวแทน ของบริษัท ท.จำกัดเกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงภาษีอากรของบริษัทท.จำกัด ด้วย จำเลยย่อมมีความผิดฐานดังกล่าว เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิบดีกรมศุลกากรได้เรียกให้ จำเลยไปตกลงระงับคดี โดยจะเปรียบเทียบปรับแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระค่าปรับตามที่ตกลงยินยอมกรณีก็ถือไม่ได้ว่า มีการเปรียบเทียบปรับอันจะทำให้คดีของจำเลยเลิกกันตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 102,102 ทวิ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 ประกอบมาตรา 37(4).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร แม้ขาดอายุความฟ้องฐานสำแดงเท็จ ก็ยังฟ้องฐานหลีกเลี่ยงภาษีได้ ผู้เกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษีย่อมมีความผิด
จำเลยเป็นผู้จัดการของบริษัท ท.จำกัด ได้สั่งเครื่องจักรหลายประเภทเข้ามาในราชอาณาจักร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าเพื่อชำระอากรต่ำกว่าราคาที่แท้จริง อันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ทั้งฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 และฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรตามมาตรา 27 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกัน แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 99 เพราะขาดอายุความแล้ว ก็ย่อมฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 27 ได้
ความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร นอกจากจะเอาความผิดต่อผู้หลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรแล้ว ยังเอาผิดต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรด้วย ฉะนั้นแม้บริษัท ท.จำกัด จะเป็นผู้นำเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท ท.จำกัด เกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงภาษีอากรของบริษัท ท.จำกัดด้วย จำเลยย่อมมีความผิดฐานดังกล่าว
เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิบดีกรมศุลกากรได้เรียกให้จำเลยไปตกลงระงับคดี โดยจะเปรียบเทียบปรับแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระค่าปรับตามที่ตกลงยินยอมกรณีก็ถือไม่ได้ว่า มีการเปรียบเทียบปรับอันจะทำให้คดีของจำเลยเลิกกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 102, 102 ทวิ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ประกอบมาตรา 37 (4)
ความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร นอกจากจะเอาความผิดต่อผู้หลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรแล้ว ยังเอาผิดต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรด้วย ฉะนั้นแม้บริษัท ท.จำกัด จะเป็นผู้นำเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท ท.จำกัด เกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงภาษีอากรของบริษัท ท.จำกัดด้วย จำเลยย่อมมีความผิดฐานดังกล่าว
เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิบดีกรมศุลกากรได้เรียกให้จำเลยไปตกลงระงับคดี โดยจะเปรียบเทียบปรับแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระค่าปรับตามที่ตกลงยินยอมกรณีก็ถือไม่ได้ว่า มีการเปรียบเทียบปรับอันจะทำให้คดีของจำเลยเลิกกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 102, 102 ทวิ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ประกอบมาตรา 37 (4)