พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในคดีศุลกากร ถือเป็นการยอมรับความผิด การฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าปรับคืนจึงไม่สำเร็จ
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมากรมศุลกากรจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 99 และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรจำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตาม โจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมชำระค่าปรับทางภาษีอากร ถือเป็นการยอมรับความเท็จในการสำแดงพิกัดอัตราศุลกากร ฟ้องร้องเรียกคืนไม่ได้
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมา กรม ศุลกากรจำเลยที่ 1มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 99และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากร จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ถ้า โจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากร ถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตามโจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมเปรียบเทียบปรับในความผิดศุลกากร ถือเป็นการยอมรับความเท็จของพิกัดอัตราศุลกากร ทำให้สิทธิในการฟ้องร้องคดีแพ่งหมดไป
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมากรมศุลกากรจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 99 และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรจำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตาม โจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อค่าภาษี: การสำแดงรายการสินค้าผิดประเภทเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
สินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่35.06นั้นจะต้องเป็นการที่ปรุงแต่งแล้วซึ่งมิได้ระบุหรือรวมไว้ในที่อื่นรวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับใช้อย่างกาวแต่สินค้าที่จำเลยนำเข้ายังไม่เป็นกาวและจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่ากรมศุลกากรเคยเรียกเก็บอากรขาเข้าในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่39.01ก.มาแล้วจำเลยทั้งสามยังสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าเป็นสินค้าในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่35.06อีกทั้งๆที่กรณีมิได้เข้าข้อยกเว้นตามที่จำเลยนำสืบต่อสู้อันเป็นการกระทำเพื่อชักพาให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรผิดหลงในรายการสินค้าและพิกัดอัตราอากรขาเข้าตามที่จำเลยสำแดงไว้เพื่อจะได้ชำระอากรขาเข้าเป็นจำนวนน้อยกว่าพิกัดอัตราอากรขาเข้าที่ถูกต้องถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสำแดงเท็จพิกัดศุลกากรเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี โดยเจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐ
สินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่35.06นั้นจะต้องเป็นการที่ปรุงแต่งแล้วซึ่งมิได้ระบุหรือรวมไว้ในที่อื่นรวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับใช้อย่างกาวแต่สินค้าที่จำเลยนำเข้ายังไม่เป็นกาวและจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่ากรมศุลกากรเคยเรียกเก็บอากรขาเข้าในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่39.01ก.มาแล้วจำเลยทั้งสามยังสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าเป็นสินค้าในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่35.06อีกทั้งๆที่กรณีมิได้เข้าข้อยกเว้นตามที่จำเลยนำสืบต่อสู้อันเป็นการกระทำเพื่อชักพาให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรผิดหลงในรายการสินค้าและพิกัดอัตราอากรขาเข้าตามที่จำเลยสำแดงไว้เพื่อจะได้ชำระอากรขาเข้าเป็นจำนวนน้อยกว่าพิกัดอัตราอากรขาเข้าที่ถูกต้องถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปหวงห้ามเป็นของประดับตกแต่ง ไม่ผิดฐานมีไม้แปรรูปหวงห้าม และไม่เป็นการสำแดงเท็จ
เสาไม้ของกลางเป็นไม้ที่มีการตกแต่ง ขัดมัน ทาแล็กเกอร์อย่างปราณีต มุ่งจะเอาไปใช้เป็นของโชว์เพื่อความสวยงามในห้องรับแขกตามประเพณีนิยมของชาวญี่ปุ่นหากจะนำไม้ของกลางไปแปรสภาพเป็นอย่างอื่น จะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป ถือได้ว่าไม้ของกลางเป็นเครื่องใช้หรือสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป มิใช่อยู่ในลักษณะอำพรางว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งสิ่งประดิษฐ์ ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดในบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม การมีไม้ของกลางไว้ในครอบครอง จึงไม่มีความผิดฐานมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครอง และจำเลยสามารถนำส่งออกนอกราชอาณาจักรได้โดยไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรขาออก การที่จำเลยสำแดงใบขนส่งสินค้าขาออกว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ จึงไม่เป็นการสำแดงเท็จ แม้จำเลยจะสำแดงรายการและชนิดของไม้ไม่ถูกต้อง ก็ไม่ใช้ข้อสำคัญ เพราะจำเลยไม่ต้องเสียภาษีอากรขาออกสำหรับไม้ดังกล่าวอยู่แล้ว
จำเลยกระทำความผิดก่อนที่กฎหมายซึ่งให้แก้ไขอัตราโทษให้สูงขึ้น จะมีผลบังคับใช้ กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำผิดและมิได้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง จะนำมาปรับบทลงโทษจำเลยหาได้ไม่ และที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยที่1 ก็เกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้จึงเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกา ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
จำเลยกระทำความผิดก่อนที่กฎหมายซึ่งให้แก้ไขอัตราโทษให้สูงขึ้น จะมีผลบังคับใช้ กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำผิดและมิได้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง จะนำมาปรับบทลงโทษจำเลยหาได้ไม่ และที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยที่1 ก็เกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้จึงเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกา ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปหวงห้ามเป็นของประดับตกแต่ง ไม่เข้าข่ายผิดกฎหมายป่าไม้ และการสำแดงเท็จ
เสาไม้ของกลางเป็นไม้ที่มีการตกแต่งขัดมันทาแล็กเกอร์อย่างปราณีตมุ่งจะเอาไปใช้เป็นของโชว์เพื่อความสวยงามในห้องรับแขกตามประเพณีนิยม ของชาวญี่ปุ่นหากจะนำไม้ของกลางไปแปรสภาพเป็นอย่างอื่น จะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป ถือได้ว่าไม้ของกลางเป็นเครื่องใช้หรือสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป มิใช่อยู่ในลักษณะอำพรางว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดในบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามการมีไม้ของกลางไว้ใน ครอบครอง จึงไม่มีความผิดฐานมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครอง และจำเลยสามารถนำส่งออกนอกราชอาณาจักรได้โดยไม่เป็นการหลีกเลี่ยง การเสียภาษีอากรขาออก การที่จำเลยสำแดงใบขนส่งสินค้าขาออกว่า เป็นสิ่งประดิษฐ์ จึงไม่เป็นการสำแดงเท็จ แม้จำเลยจะสำแดงรายการและชนิดของไม้ไม่ถูกต้องก็ไม่ใช้ข้อสำคัญ เพราะจำเลยไม่ต้องเสีย ภาษีอากรขาออกสำหรับไม้ดังกล่าวอยู่แล้ว
จำเลยกระทำความผิดก่อนที่กฎหมายซึ่งให้แก้ไขอัตราโทษให้สูงขึ้น จะมีผลบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำผิด และมิได้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองจะนำมาปรับบทลงโทษจำเลยหาได้ไม่ และที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยที่1ก็เกินอัตราโทษที่กฎหมาย กำหนดไว้จึงเป็นการมิชอบปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
จำเลยกระทำความผิดก่อนที่กฎหมายซึ่งให้แก้ไขอัตราโทษให้สูงขึ้น จะมีผลบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำผิด และมิได้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองจะนำมาปรับบทลงโทษจำเลยหาได้ไม่ และที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยที่1ก็เกินอัตราโทษที่กฎหมาย กำหนดไว้จึงเป็นการมิชอบปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อภาษีเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร แม้จะมีการระบุประกาศที่ถูกยกเลิก
แม้พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 16บัญญัติให้ถือว่าการกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 และ 99แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม แต่การที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 27 ต้องได้ความว่าจำเลยมีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 612-613/2511) การที่จำเลยขอชำระอากรขาเข้าสำหรับสินค้าหรือของรายพิพาท โดยระบุว่าอากรปกติในพิกัดดังกล่าวจะต้องเสียอัตราร้อยละ 15 แต่ได้รับลดหย่อนให้เสียในอัตราร้อยละ 10ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.4/2517 แม้ประกาศดังกล่าวนี้จะถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงการคลัง ที่ศก.6/2519ก็ตาม ข้อความที่ระบุถึงประกาศกระทรวงการคลังที่ถูกยกเลิกดังกล่าวเป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นข้อความเท็จ แต่กรณีจะเป็นความไม่สมบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการนำเข้ากระดาษสำเร็จรูปอ้างเป็นวัตถุดิบ และการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่จับกุม
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อประกอบอุตสาหกรรมผลิตกระดาษคราฟท์ ได้รับสิทธิงดเว้นการเสียอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุที่สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ จำเลยได้นำของซึ่งระบุในใบขนสินค้าขาเข้าว่าเป็นเยื่อกระดาษและไม่ใช่กระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้ หรือเศษกระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้แล้วอันได้รับการงดเว้นอากรขาเข้า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จ และฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรโดยเจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ดังนั้น การที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีมติอนุญาตย้อนหลังให้กระดาษที่จำเลยนำเข้ามานั้นเป็นวัสดุที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษคราฟท์ได้ เพิ่มเติมจากที่ได้เคยอนุญาตไว้แล้ว ทำให้จำเลยไม่ต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับของที่จะต้องเสียภาษีนั้น เป็นมติที่ไม่ชอบ และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนฯ หามีอำนาจตามกฎหมายที่จะกำหนดหรืออนุญาตให้กระดาษสำเร็จรูปนั้นกลายเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตกระดาษคราฟท์ อันจะทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วกลับไม่เป็นความผิดต่อไปได้ไม่ จำเลยจึงมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
การสั่งจ่ายสินบนหรือรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 นั้น กระทำได้ 2 กรณี คือเมื่อมีการสั่งริบของกลางประการหนึ่ง หรือเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยอีกประการหนึ่ง และวิธีจ่ายนั้น หากมีการริบของกลางก็ให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางนั้น หากไม่มีการริบของกลางหรือมีการริบของกลาง แต่ของกลางนั้นไม่อาจขายได้และมีการลงโทษปรับจำเลย ก็ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระต่อศาล คดีนี้มีการลงโทษปรับจำเลย จึงสั่งจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมจากเงินค่าปรับที่ชำระต่อศาลได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จ จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ความผิดฐานนี้จึงยุติแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยมิได้กระทำผิดในความผิดฐานนี้อีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
การสั่งจ่ายสินบนหรือรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 นั้น กระทำได้ 2 กรณี คือเมื่อมีการสั่งริบของกลางประการหนึ่ง หรือเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยอีกประการหนึ่ง และวิธีจ่ายนั้น หากมีการริบของกลางก็ให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางนั้น หากไม่มีการริบของกลางหรือมีการริบของกลาง แต่ของกลางนั้นไม่อาจขายได้และมีการลงโทษปรับจำเลย ก็ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระต่อศาล คดีนี้มีการลงโทษปรับจำเลย จึงสั่งจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมจากเงินค่าปรับที่ชำระต่อศาลได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จ จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ความผิดฐานนี้จึงยุติแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยมิได้กระทำผิดในความผิดฐานนี้อีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการสำแดงเท็จ และการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่จากค่าปรับ
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อประกอบอุตสาหกรรมผลิตกระดาษคราฟท์ ได้รับสิทธิงดเว้นการเสียอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุที่สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศจำเลยได้นำของซึ่งระบุในใบขนสินค้าขาเข้าว่าเป็นเยื่อกระดาษเหนียวเป็นม้วนแต่ปรากฏว่าของที่จำเลยนำเข้ามาเป็นกระดาษ ไม่ใช่เยื่อกระดาษและไม่ใช่กระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้ หรือเศษกระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้แล้วอันได้รับการงดเว้นอากรขาเข้าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จ และฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรโดยเจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลอันเป็นความผิดอาญาแผ่นดินดังนั้น การที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีมติอนุญาตย้อนหลังให้กระดาษที่จำเลยนำเข้ามานั้นเป็นวัสดุที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษคราฟท์ได้ เพิ่มเติมจากที่ได้เคยอนุญาตไว้แล้ว. ทำให้จำเลยไม่ต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับของที่จะต้องเสียภาษีนั้น เป็นมติที่ไม่ชอบและคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนฯ หามีอำนาจตามกฎหมายที่จะกำหนดหรืออนุญาตให้กระดาษสำเร็จรูปนั้นกลายเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตกระดาษคราฟท์ อันจะทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วกลับไม่เป็นความผิดต่อไปได้ไม่จำเลยจึงมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
การสั่งจ่ายสินบนหรือรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 นั้น กระทำได้ 2 กรณี คือเมื่อมีการสั่งริบของกลางประการหนึ่ง หรือเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยอีกประการหนึ่งและวิธีจ่ายนั้น หากมีการริบของกลางก็ให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางนั้น หากไม่มีการริบของกลางหรือมีการริบของกลาง แต่ของกลางนั้นไม่อาจขายได้และมีการลงโทษปรับจำเลยก็ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระต่อศาล คดีนี้มีการลงโทษปรับจำเลยจึงสั่งจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมจากเงินค่าปรับที่ชำระต่อศาลได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นความผิดฐานนี้จึงยุติแล้วจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยมิได้กระทำผิดในความผิดฐานนี้อีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
การสั่งจ่ายสินบนหรือรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 นั้น กระทำได้ 2 กรณี คือเมื่อมีการสั่งริบของกลางประการหนึ่ง หรือเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยอีกประการหนึ่งและวิธีจ่ายนั้น หากมีการริบของกลางก็ให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางนั้น หากไม่มีการริบของกลางหรือมีการริบของกลาง แต่ของกลางนั้นไม่อาจขายได้และมีการลงโทษปรับจำเลยก็ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระต่อศาล คดีนี้มีการลงโทษปรับจำเลยจึงสั่งจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมจากเงินค่าปรับที่ชำระต่อศาลได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นความผิดฐานนี้จึงยุติแล้วจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยมิได้กระทำผิดในความผิดฐานนี้อีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้