คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 99

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักยึดสินค้านำเข้าที่สงสัยแหล่งที่มา และความผิดสำแดงเท็จ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนที่จะนำของใด ๆ ไปจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำของเข้าต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกัน การขอวางเงินประกันให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด คดีนี้เหตุที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกักและยึดรถยนต์โดยสารที่พิพาทไว้ก็เพื่อตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของสินค้า โดยมีการสืบสวนทราบว่ารถยนต์โดยสารที่พิพาททั้งหมดมีต้นทางส่งออกมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังประเทศมาเลเซีย และทางราชการของประเทศมาเลเซียได้ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) สำหรับรถยนต์โดยสารที่พิพาทให้กับบริษัท อ. หลังจากนั้น รถยนต์โดยสารที่พิพาทถูกจัดส่งมายังประเทศไทย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ากรณีเป็นการสำแดงประเทศกำเนิดของสินค้าเป็นเท็จ (Form D) และใช้สิทธิลดอัตราอากรของที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอาเซียนเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99 และมาตรา 27 ซึ่งตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 16/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน ข้อ 4 วิธีปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ศุลกากร (2.8) กำหนดว่า กรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยในถิ่นกำเนิดสินค้าว่า สินค้าที่นำเข้าไม่อยู่ในข่ายได้รับยกเว้นอากรหรือลดอัตราอากร...หากสินค้านั้นมิได้เป็นสินค้าต้องห้ามหรือต้องกำกัดในการนำเข้าและไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉ้อฉลให้ท่าหรือที่หรือด่านศุลกากรหรือสำนักงานศุลกากรสั่งการปล่อยสินค้าไปก่อน โดยให้วางประกันให้คุ้มค่าภาษีอากร ส่วนหลักเกณฑ์ประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ. 2556 ข้อ 2 01 09 09 การปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าที่ตรวจพบความผิดหรือที่มีการจับกุมและของยังไม่ได้ตรวจปล่อยจากอารักขาศุลกากร ข้อ (1) กำหนดว่า เมื่อมีการตรวจพบความผิดตามกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และของยังไม่ได้ตรวจปล่อยพ้นไปจากอารักขาศุลกากร ให้หน่วยงานที่ตรวจพบความผิดดังกล่าวส่งเรื่องที่ตรวจพบความผิดไปให้หน่วยบริการศุลกากรทำการประเมินราคาและอากรของที่ตรวจพบความผิด เพื่อเรียกเก็บค่าภาษีอากรที่ขาดและค่าปรับ ให้ครบถ้วนก่อนตรวจปล่อยของต่อไป หากผู้นำของเข้าไม่ยินยอมชำระค่าภาษีอากรที่ขาดและค่าปรับ (หากมี) ให้แจ้งหน่วยงานด้านคดีส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามีความประสงค์จะขอให้ตรวจปล่อยของออกไปก่อนแล้วพิจารณาความผิดภายหลัง เมื่อได้ทำการประเมินอากรของที่ตรวจพบความผิด และได้ค่าภาษีอากรที่ขาดแล้วให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำหนดยอดเงินประกันให้คุ้มค่าภาษีอากรที่ขาดและกำหนดเงินค่าเปรียบเทียบปรับค่าภาษีอากร ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยเร็ว ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ข้อ 1 03 03 01 (10) กำหนดให้ความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากร หรือความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากรให้ปรับสองเท่าของอากรที่ขาด และให้ชำระค่าภาษีอากรที่ขาดให้ครบถ้วน พร้อมเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทยที่ขาด (ถ้ามี) ดังนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉ้อฉลในการนำเข้ารถยนต์โดยสารที่พิพาท หากโจทก์ต้องการนำรถยนต์โดยสารที่พิพาทออกไปจากอารักขาของจำเลย โจทก์จึงต้องวางประกันค่าภาษีอากรและค่าปรับสองเท่าของอากรที่ขาดให้ครบถ้วนก่อนที่จะนำสินค้าพิพาทออกไปจากอารักขาของจำเลยได้ หาใช่แต่เพียงวางเงินประกันให้คุ้มค่าภาษีอากรอย่างเดียวไม่ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์วางประกันค่าภาษีและค่าปรับดังกล่าวแล้ว แต่โจทก์ไม่วางประกันค่าภาษีอากรและค่าปรับดังกล่าว ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ดังนั้น การที่พนักงานศุลกากรของจำเลยกักยึดสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าไว้เพื่อดำเนินคดีแก่โจทก์ในความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรจึงเป็นการกักยึดสินค้าไว้โดยมีเหตุอันควรสงสัยที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 และ 25 ให้อำนาจไว้ และสินค้าพิพาทที่ถูกกักยึดนี้ก็เป็นของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 อันอาจถูกศาลริบได้ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 17 ซึ่งพนักงานศุลกากรของจำเลยมีอำนาจกักยึดไว้ได้จนกว่าคดีอาญาถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคสาม ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่เคยกล่าวหาว่าโจทก์ฉ้อฉลนั้น ปรากฏว่าจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าเป็นการสำแดงประเทศกำเนิดของสินค้าที่ตัวสินค้าเป็นเท็จเป็นเหตุให้ค่าภาษีอากรขาดอันเป็นความผิดฐานสำแดงเท็จ แต่ ช. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์อ่านบันทึกแล้วไม่ประสงค์จะลงนาม การกักยึดสินค้าพิพาทจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจขอให้ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15436/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสำแดงเท็จในการนำเข้าสินค้า แม้ไม่มีเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ก็ยังถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
ความผิดฐานสำแดงเท็จในการยื่นตราสารอันเกี่ยวด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการนำเข้าสินค้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 99 มี พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 16 บัญญัติว่า "การกระทำที่บัญญัติไว้ใน... มาตรา 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พุทธศักราช 2469 นั้น ให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่" แสดงให้เห็นว่า ความรับผิดของผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 99 เป็นความรับผิดเด็ดขาด แม้ผู้กระทำมิได้มีเจตนาในการกระทำความผิดโดยผู้กระทำมิได้รู้ว่าตราสารที่ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการนำเข้าสินค้านั้นได้สำแดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือผู้กระทำได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อในการยื่นตราสารซึ่งสำแดงข้อความอันเป็นเท็จนั้น ผู้กระทำก็ยังคงมีความผิดตามมาตรา 99 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
แม้จำเลยทั้งสามเป็นเพียงผู้รับจ้างทำพิธีการศุลกากร ไม่ใช่ผู้สั่งซื้อสินค้าหรือเจ้าของสินค้า และขณะยื่นใบขนสินค้าและการสำแดงใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกซึ่งสินค้าบุหรี่ดังกล่าวนั้นบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์และอยู่ในอารักขาของกรมศุลกากร จำเลยทั้งสามจะไม่ทราบว่าสินค้าบุหรี่ดังกล่าวเป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าปลอมก็ตาม แต่เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 99 เป็นความผิดที่แม้ผู้กระทำไม่มีเจตนาหรือมิได้กระทำโดยประมาท ผู้กระทำการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าที่สำแดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยังคงมีความผิดตาบทบัญญัติดังกล่าว เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสามต้องตรวจสอบข้อความในใบขนสินค้าขาเข้าที่สำแดงให้ตรงกับความเป็นจริงก่อนยื่นเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินอากรศุลกากร: เจตนาหลีกเลี่ยงอากร vs. การสำแดงรุ่นรถยนต์ไม่ถูกต้อง
เมื่อ ป.รัษฎากร มาตรา 88 (เดิม) ได้กำหนดขั้นตอนให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้ประกอบการค้าผู้เสียภาษี จึงแสดงชัดว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งแก่ผู้เสียภาษีว่าจะต้องเสียภาษีประเภทใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีโอกาสตรวจสอบและโต้แย้งโดยการอุทธรณ์การประเมินได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้การประเมินภาษีและการแจ้งการประเมินภาษีจะเป็นการกระทำคนละขั้นตอนกัน แต่การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานจะสมบูรณ์และเกิดหนี้ที่ผู้เสียภาษีจะต้องชำระก็ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งการประเมินแก่ผู้จะต้องเสียภาษีอากรโดยชอบแล้ว การแจ้งการประเมินเป็นหนังสือจึงถือเป็นขั้นตอนส่วนหนึ่งของการประเมินและต้องกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายในอายุความ มิใช่เพียงเมื่อเจ้าพนักงานประเมินภาษีอากรแล้วจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงไปได้ไม่ ดังนั้น หากเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งการประเมินจึงย่อมเท่ากับไม่มีการประเมิน ข้อเท็จจริงในคดีนี้ แม้เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ทำการประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่ม เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 แต่ก็มิได้มีการแจ้งการประเมินดังกล่าวแก่จำเลย เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินในวันที่ 4 สิงหาคม 2542 และส่งแก่จำเลยทราบได้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2542 อันเป็นเวลาพ้น 10 ปี ที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 จะมีอำนาจประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในกรณีหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเงินอากรที่ขาดจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม ไม่ใช่อายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้าแต่ต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากร ท่านให้มีอายุความ 10 ปี และการนับอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 (เดิม) (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งได้แก่วันที่โจทก์ตรวจพบว่าจำเลยหลีกเลี่ยงอากร แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้รับฟังได้ว่า การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์คันพิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องนั้น ไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม เมื่อจำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และได้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งเกิน 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การสำแดงราคาสินค้าเท็จ, อำนาจฟ้อง, อายุความ, ความรับผิดของผู้ชำระบัญชี
ในชั้นชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 5 ข้อ คือ 1. โจทก์มีอำนาจฟ้องและหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 2. ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ 3. คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ 4. ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ 5. จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด แต่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยประเด็นในข้อ 2. และข้อ 5. เท่านั้น โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ทราบแล้วว่าจะต้องชำระภาษีอากรในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มที่ได้สำแดงเท็จไว้ จะถือว่าจำเลยจงใจทำละเมิดให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีกต่อไปแล้วพิพากษายกฟ้อง ซึ่งปัญหาว่าจำเลยทราบหรือไม่ว่าต้องชำระค่าภาษีอากรในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มหรือไม่นั้น หากฟังได้ว่าจำเลยทราบเหตุดังกล่าว ก็จะมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะมิได้นำเงินซึ่งเป็นทรัพย์สินของห้างมาชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ก่อนอันจะถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ฉะนั้น หากจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของห้างจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าห้างสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริง และจะต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มแก่โจทก์เพียงใดเสียก่อน ถ้าหากมิได้เป็นหนี้ค่าภาษีอากรเพราะได้สำแดงราคาสินค้าถูกต้องตามราคาซื้อขายอันแท้จริงในท้องตลาดแล้ว จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินของห้างไปชำระให้แก่โจทก์ แต่เมื่อศาลภาษีอากรกลางยังมิได้วินิจฉัยประเด็นว่าห้างสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ กรณีจึงยังไม่อาจทราบแน่ชัดว่าห้างเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์หรือไม่ เพียงใด แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นแล้วอันเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะวินิจฉัยในประเด็นที่ 1. และประเด็นที่ 3. ที่ยังมิได้วินิจฉัยไปเสียเองได้ก็ตามแต่เพื่อให้คดีมีการตรวจสอบดุลพินิจเป็นไปตามลำดับชั้นศาล จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของศุลกากรเมื่อยึดสินค้าแล้วสูญหาย แม้จะอนุญาตให้ส่งออกได้
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ตรวจสินค้าของโจทก์แล้วพบว่าโจทก์กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 60,99 และดำเนินคดีแก่โจทก์ ซึ่งตามมาตรา 60 บัญญัติให้ริบสินค้าเสียสิ้นเมื่อจำเลยที่ 1 ยึดสินค้าไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตามมาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 กรณีหาใช่เพียงแต่อยู่ในความรักษาหรือตรวจตราดูแลของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 117 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์กระทำความผิดตามมาตรา 99 เท่านั้น และยอมให้โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าแก่โจทก์ เมื่อสินค้าสูญหายก็ต้องใช้ราคา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมื่อสินค้าสูญหายหลังยึดและอนุญาตให้ส่งออก
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกตรวจสินค้าของโจทก์แล้วพบว่าโจทก์กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ จึงยึดสินค้าดังกล่าวแล้วนำไปฝากไว้ในตู้เก็บสินค้า โดยผนึกตะกั่วประทับตราของจำเลยที่ 1 ไว้ การเปิดตู้เก็บสินค้าจะกระทำมิได้เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 1 ยึดสินค้าดังกล่าวไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ แต่สินค้าสูญหายไปก่อน จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าพนักงานศุลกากรต่อการสูญหายของสินค้าที่ยึดไว้เพื่อดำเนินการทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ยึดสินค้าของโจทก์ไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 กรณีหาใช่เพียงแต่อยู่ในความรักษาหรือตรวจตราดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 117 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 99 เท่านั้น และยอมให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระราคา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายสินค้าต่างประเทศ การคิดอัตราแลกเปลี่ยน การชำระหนี้ และการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในคำพิพากษา
คำฟ้องเป็นเพียงการสรุปข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไร พร้อมคำขอบังคับจำเลยเพียงเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจคำฟ้อง เพื่อที่จะให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องเท่านั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์จำนวนเท่าไร ชำระให้โจทก์แล้วเท่าไรเหลือหนี้อีกเท่าไรที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยโดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สิงคโปร์และเงินบาทมาด้วยนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นที่เข้าใจได้แล้วทั้งการที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเฉพาะคำฟ้องโจทก์เป็นสำคัญว่าบรรยายฟ้องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยให้เข้าใจได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172หรือไม่ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคำให้การต่อสู้ของจำเลยตลอดถึงการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณาแต่อย่างใด
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามราคาที่แท้จริง 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์ออกใบแจ้งหนี้ให้จำเลยในราคา 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ซื้อขายสินค้ากันจริงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร แม้ผู้เสียภาษีอากรจะเป็นจำเลยผู้นำเข้าและยังไม่ถูกเจ้าพนักงานกล่าวหากระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27,99 ก็ตาม แต่เมื่อเห็นได้ชัดว่า โจทก์และจำเลยประกอบธุรกิจมีเจตนาเอาเปรียบประเทศไทยถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์ไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวมาเรียกร้องเงินเต็มจำนวน 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์อันเป็นจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงรับผิดชำระให้โจทก์เฉพาะค่าสินค้า 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนที่จำเลยนำไปเสียภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรแล้วพร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน จะมากขึ้นหรือน้อยลงแตกต่างกันในแต่ละวันย่อมขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจเมื่อจำเลยจะต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายกัน หรือหากจะชำระเป็นเงินบาท จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196ซึ่งจำเลยอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในแต่ละวันได้ แต่จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ เพราะโจทก์จะได้รับชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินโดยไม่ได้ระบุว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต้องไม่เกิน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ตามคำขอของโจทก์นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต่อ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เกิน 18 บาท คำพิพากษาของศาลในส่วนนี้จะเกินคำขอของโจทก์จึงสมควรกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงเท็จยี่ห้อสินค้าและผลกระทบต่อสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดงอันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จมีความผิดตามมาตรา 60,99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากรโจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อ ระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้าดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้นจึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 มาตรา 19

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงเท็จทางศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร เมื่อส่งออกเกินกำหนด
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดง อันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จ มีความผิดตามมาตรา 60, 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากร โจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่า โจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้า ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้น จึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 19
of 6