คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 438

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 807 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทส่งผลต่อชื่อเสียงและอาชีพ: ประเมินค่าเสียหายจากความเสียหายต่อเกียรติคุณและรายได้
โจทก์เคยได้รับเลือกเป็นกรรมการสหภาพแรงงานการประปาแห่งประเทศไทยเคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างศาลแรงงาน กรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ และโจทก์ยังมีอาชีพเป็นตัวแทนหาประกันชีวิตของบริษัท ท. แม้ตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นจะไม่ได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งมิใช่เนื่องจากการหมิ่นประมาทของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์เคยได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวย่อมแสดงว่าโจทก์เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงดี ได้รับการยกย่องจากเพื่อนร่วมงานอย่างมาก นอกจากนั้นการที่โจทก์เป็นตัวแทนหาประกันชีวิต โจทก์จะต้องไม่เป็นบุคคลที่มีความประพฤติเสียหาย จึงจะมีผู้เชื่อถือซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านโจทก์ฉะนั้น การที่จำเลยกล่าวหาโจทก์ในเรื่องที่แสดงว่าโจทก์ไม่ซื่อสัตย์ ย่อมต้องกระทบต่อชื่อเสียงเกียรติคุณและทางทำมาหาได้ของโจทก์อันทำให้โจทก์เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ปฏิเสธค่ารักษาพยาบาลถือเป็นการยอมรับ ศาลพิพากษาได้แม้ไม่ระบุจำนวนในคำฟ้อง
ฟ้องโจทก์อ้างเหตุแห่งความเสียหายไว้ 2 ประการคือ ค่ารักษาพยาบาลประการหนึ่ง กับค่าเสียหายอันเกิดจากการบาดเจ็บจนไม่สามารถประกอบการงานตามปกติได้อีกประการหนึ่ง แต่โจทก์รวมยอดค่าเสียหายทั้งสองจำนวนเข้าด้วยกันเป็นเงิน 100,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธเฉพาะค่าเสียหายในส่วนที่ โจทก์ไม่สามารถประกอบการงานตามปกติได้เท่านั้น ส่วนค่าเสียหาย ที่โจทก์ต้องเสียไปเนื่องจากการรักษาพยาบาลนั้น จำเลยมิได้ ให้การปฏิเสธ กรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ต้องสิ้นเงินในการรักษาพยาบาลจริง ศาลชั้นต้นจึงกำหนดจำนวนเงินที่โจทก์ต้องเสียไปเนื่องจากการรักษาพยาบาลได้ มิใช่พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับข้อกล่าวหาบางส่วนของจำเลย ถือเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้อง
ฟ้องโจทก์อ้างเหตุแห่งความเสียหายไว้ 2 ประการ คือ ค่ารักษาพยาบาลประการหนึ่ง กับค่าเสียหายอันเกิดจากการบาดเจ็บจนไม่สามารถประกอบการงานตามปกติได้อีกประการหนึ่ง แต่โจทก์รวมยอดค่าเสียหายทั้งสองจำนวนเข้าด้วยกันเป็นเงิน 100,000 บาท และจำเลยให้การปฏิเสธเฉพาะค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ไม่สามารถประกอบการงานตามปกติได้เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียไปเนื่องจากการรักษาพยาบาลนั้น จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธกรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ต้องสิ้นเงินในการรักษาพยาบาลจริง ศาลชั้นต้นจึงกำหนดจำนวนเงินที่โจทก์ต้องเสียไปเนื่องจากการรักษาพยาบาลได้ มิใช่พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ปฏิเสธค่ารักษาพยาบาล ศาลพิพากษาให้ชดใช้ได้ แม้ไม่ได้ระบุจำนวนในคำฟ้อง
ฟ้องโจทก์อ้างเหตุแห่งความเสียหายไว้ 2 ประการคือ ค่ารักษาพยาบาลประการหนึ่ง กับค่าเสียหายอันเกิดจากการบาดเจ็บจนไม่สามารถประกอบการงานตามปกติได้อีกประการหนึ่ง แต่โจทก์รวมยอดค่าเสียหายทั้งสองจำนวนเข้าด้วยกันเป็นเงิน 100,000 บาทและจำเลยให้การปฏิเสธเฉพาะค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ไม่สามารถประกอบการงานตามปกติได้เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียไปเนื่องจากการรักษาพยาบาลจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธ กรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยยอมรับ ว่าโจทก์ต้องสิ้นเงินในการรักษาพยาบาลจริงศาลชั้นต้นจึงกำหนดจำนวนเงินที่โจทก์ ต้องเสียไปเนื่องจากการรักษาพยาบาลได้ มิใช่พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อทางการแพทย์และการชดใช้ค่าเสียหายจากการผ่าตัดศัลยกรรม
จำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์และเป็นผู้ชำนาญพิเศษในแขนงสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งจากประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 2 กระทำการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงมีสภาพปกติที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หลังผ่าตัดแล้วจำเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปผ่าตัดแก้ไขที่คลีนิกจำเลยที่ 2 อีก 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น โจทก์จึงให้แพทย์อื่นทำการรักษาต่อ โดยเดิมจำเลยที่ 2 ทำการผ่าตัดหน้าอกในวันที่12 เมษายน 2537 รักษาตัวที่โรงพยาบาล 1 วัน วันที่ 13 เมษายน 2537จำเลยที่ 2 อนุญาตให้โจทก์กลับบ้าน วันที่ 15 เมษายน 2537 จำเลยที่ 2เปิดแผลพบมีน้ำเหลืองไหลบริเวณปากแผลทรวงอกไม่มีร่องอก มีก้อนเนื้ออยู่บริเวณรักแร้ด้านขวา เต้านมด้านซ้ายมีขนาดใหญ่กว่าด้านขวา และส่วนที่เป็นหัวนมจะมีบาดแผลที่คล้ายเกิดจากการถูกไฟไหม้ จำเลยที่ 2 รับว่าเกิดจากการผิดพลาดในการผ่าตัดแล้วแจ้งว่าจะดำเนินการแก้ไขให้ จำเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปทำแผลดูดน้ำเหลืองออกจากบริเวณทรวงอก และได้มีการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกอีก 3 ครั้งแต่โจทก์เห็นว่าทรวงอกไม่มีสภาพดีขึ้น ประกอบกับระยะเวลาล่วงเลยมานานจึงเปลี่ยนแพทย์ใหม่ และแพทย์ที่ทำการรักษาต่อจากจำเลยที่ 2 ได้ทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขทรวงอก 3 ครั้ง จนมีสภาพทรวงอกดีขึ้นกว่าเดิม แม้พยานโจทก์ทั้งสองไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดและรักษาพยาบาลโจทก์อย่างไร แต่การที่แพทย์ต้องทำการผ่าตัดแก้ไขอีก 3 ครั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผ่าตัดมามีข้อบกพร่อง แก้ไข ยิ่งกว่านั้นการที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแพทย์เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ผ่าตัด แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เป็นพิเศษ การที่จำเลยที่ 2 ผ่าตัดโจทก์เป็นเหตุให้ต้องผ่าตัดโจทก์เพื่อแก้ไขถึง 3 ครั้ง ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2ไม่ใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัดและไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงขั้นตอนการรักษาระยะเวลา และกรรมวิธีในการดำเนินการรักษา จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2ทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ติดต่อกับจำเลยที่ 2 ที่คลีนิกของจำเลยที่ 2 เมื่อตกลงจะผ่าตัดจำเลยที่ 2 จึงตกลงให้โจทก์เข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลของจำเลยที่ 1เพียงเท่านี้ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 หรือเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำการผ่าตัดให้โจทก์
ปัญหาที่จะต้องพิจารณาต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด โจทก์มีตัวโจทก์และนายเพียงเทพ พงศะบุตรเบิกความว่า โจทก์จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 70,000 บาทและจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 29,826 บาท ตามเอกสารหมาย จ.5 และค่ารักษาตัวที่โรงพยาบาลปิยะเวท 73,135.70 บาท ตามเอกสารหมาย จ.1และค่ารักษาที่โรงพยาบาลสมิติเวช 52,927 บาท ตามเอกสารหมาย จ.13 รวมค่ารักษาพยาบาลตัวโจทก์ทั้งสิ้นหลังจากเลิกรักษากับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 400,000บาทเศษ เห็นว่า ค่ารักษาพยาบาลโจทก์ที่โรงพยาบาลรามคำแหงเป็นเงิน 29,826บาท ตามเอกสารหมาย จ.5 ค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลปิยะเวทเป็นเงิน73,135.70 บาท ตามเอกสารหมาย จ.1 และค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลสมิติเวช 33,624 บาท ตามเอกสารหมาย จ.2 และ 52,927 บาท ตาม จ.13โจทก์มีหลักฐานมาแสดง มีน้ำหนักรับฟังได้ เชื่อว่าโจทก์จ่ายไปจริง ส่วนค่าผ่าตัดของจำเลยที่ 2 แม้จะไม่มี ภายหลังจากที่โจทก์ทำการผ่าตัดกับจำเลยที่ 2 แล้วมีอาการเครียดเนื่องจากมีอาการเจ็บปวด ต่อมาภายหลังพบว่าการทำศัลยกรรมไม่ได้ผล ทำให้โจทก์เครียดมาก กังวลและนอนไม่หลับ รุนแรงกว่าก่อนผ่าตัดพยานจึงทำการรักษา ดังนี้ แม้โจทก์จะมีการเครียดอยู่ก่อนผ่าตัด แต่เมื่อหลังผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิม ความเครียดของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่าตัดจำเลยต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องรักษาจริง ส่วนค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายหลังจากแพทย์โรงพยาบาลอื่นได้รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกติแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้นอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดทางการแพทย์: ความประมาทเลินเล่อของแพทย์, ค่าเสียหาย, และอายุความ
จำเลยที่ 2 ทำการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หลังผ่าตัดแล้วจำเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปทำการผ่าตัดแก้ไขที่คลินิกจำเลยที่ 2 อีก 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น โจทก์จึง ให้แพทย์อื่นทำการรักษาต่อ แม้ตัวโจทก์และนายแพทย์ ด. ผู้ทำการรักษาโจทก์ต่อจากจำเลยที่ 2 จะไม่สามารถ นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัด และรักษาพยาบาลโจทก์อย่างไร แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ ผ่าตัด จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและ พฤติการณ์เป็นพิเศษ การที่ นายแพทย์ ด. ต้องทำการผ่าตัดแก้ไขอีก 3 ครั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผ่าตัดมา มีข้อบกพร่องจึงต้องแก้ไขและแสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัด และไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบ ถึงขั้นตอนการรักษา ระยะเวลา และกรรมวิธีในการดำเนินการรักษา จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็นความ ประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ พฤติการณ์ที่โจทก์ติดต่อรักษากับจำเลยที่ 2 ที่คลินิกและตกลงให้โจทก์เข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลจำเลยที่ 1โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยที่ 2 จำนวน 70,000 บาทให้จำเลยที่ 1 จำนวน 30,000 บาท ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นนายจ้างหรือตัวการที่ต้องร่วมรับผิด ในส่วนของค่าเสียหายนอกจากส่วนที่มีใบเสร็จแม้โจทก์จะมีอาการเครียด อยู่ก่อนได้รับการผ่าตัดจาก จำเลยที่ 2 แต่เมื่อหลังผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิมความเครียด ของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่าตัดจำเลยที่ 2 ต้องรับผิด และแม้ไม่มีใบเสร็จมาแสดงว่าได้เสียเงินไปเป็นจำนวนเท่าใดแน่นอน แต่น่าเชื่อว่าโจทก์ ต้องรักษาจริง ศาลเห็นสมควรกำหนดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้ สำหรับค่าเสียหายอื่นนั้นเมื่อปรากฏว่าหลังจากแพทย์โรงพยาบาลอื่นได้รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกติแล้ว โจทก์จึง ไม่อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย อื่นอันมิใช่ตัวเงิน เหตุละเมิดเกิดวันที่ 12 เมษายน 2537 ต้องฟ้อง ภายใน 1 ปี ครบกำหนดตรงกับวันหยุดสงกรานต์วันที่ 12 ถึง 14 เมษายน วันที่ 15 และ 16 เมษายน 2538 เป็นวันเสาร์อาทิตย์ ราชการหยุดทำการ โจทก์ยื่นฟ้อง วันเปิดทำการวันที่ 17 เมษายน 2537 ได้ คดีไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แพทย์ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดเสริมหน้าอก ทำให้ผู้ป่วยต้องผ่าตัดแก้ไขซ้ำหลายครั้ง และเกิดความเครียดทางจิตใจ แพทย์ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์และเป็นผู้ชำนาญพิเศษ ในแขนงสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งจากประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 2 กระทำการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงตามสภาพปกติที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หลังผ่าตัดแล้วจำเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปผ่าตัดแก้ไขที่คลีนิกจำเลยที่ 2 อีก 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น โจทก์จึงให้แพทย์อื่น ทำการรักษาต่อโดยเดิมจำเลยที่ 2 ทำการผ่าตัดหน้าอกในวันที่ 12 เมษายน 2537 รักษาตัว ที่โรงพยาบาล 1 วัน วันที่ 13 เมษายน 2537 จำเลยที่ 2 อนุญาตให้โจทก์กลับบ้าน วันที่ 15 เมษายน 2537 จำเลยที่ 2 เปิดแผลพบมีน้ำเหลืองไหลบริเวณปากแผลทรวงอกไม่มีร่องอก มีก้อนเนื้ออยู่บริเวณ รักแร้ด้านขวา เต้านมด้านซ้ายมีขนาดใหญ่กว่าด้านขวา และส่วนที่เป็นหัวนมจะมีบาดแผลที่คล้ายเกิดจากการถูกไฟไหม้ จำเลยที่ 2 รับว่าเกิดจากการผิดพลาดในการผ่าตัดแล้วแจ้งว่าจะดำเนินการแก้ไขให้ จำเลยที่ 2นัดให้โจทก์ไปทำแผลดูดน้ำเหลืองออกจากบริเวณทรวงอก และได้มีการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกอีก 3 ครั้งแต่โจทก์เห็นว่าทรวงอกไม่มีสภาพดีขึ้น ประกอบกับระยะเวลาล่วงเลยมานานจึงเปลี่ยนแพทย์ใหม่ และแพทย์ที่ทำการรักษาต่อจากจำเลยที่ 2 ได้ทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขทรวงอก 3 ครั้ง จนมีสภาพทรวงอกดีขึ้นกว่าเดิม การที่แพทย์ต้องทำการผ่าตัดแก้ไขอีก 3 ครั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผ่าตัดมามีข้อบกพร่องต้องแก้ไขยิ่งกว่านั้นการที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแพทย์เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ผ่าตัด แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เป็นพิเศษ การที่จำเลยที่ 2 ผ่าตัดโจทก์เป็นเหตุให้ต้องผ่าตัดโจทก์เพื่อแก้ไขถึง 3 ครั้ง ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัดและไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงขั้นตอนการรักษาระยะเวลาและกรรมวิธีในการดำเนินการรักษาจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ติดต่อกับจำเลยที่ 2 ที่คลีนิกของจำเลยที่ 2 เมื่อตกลงจะผ่าตัดจำเลยที่ 2 จึงตกลงให้โจทก์เข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลของจำเลยที่ 1 เพียงเท่านี้ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 หรือเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำการผ่าตัดให้โจทก์ จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยภายหลังจากที่โจทก์ทำการผ่าตัดกับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์มีอาการเครียดเนื่องจากมีอาการเจ็บปวดต่อมาภายหลังพบว่าการทำศัลยกรรมไม่ได้ผลทำให้โจทก์เครียดมากกังวลและนอนไม่หลับรุนแรงกว่าก่อนผ่าตัด โจทก์จึงให้แพทย์อื่นทำการรักษา ดังนี้ แม้โจทก์จะมีการเครียดอยู่ก่อนผ่าตัด แต่เมื่อหลังผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิมความเครียดของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่าตัด จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องรักษาจริง ส่วนค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายหลังจากแพทย์โรงพยาบาลอื่นได้รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกตแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7229/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่? ความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชนท้าย การพิสูจน์ความเสียหายและผลของการชนต่อเนื่อง
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ว่า การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายรวม207,167.69 บาท โดยแนบสำเนาใบเสนอราคาค่าซ่อมใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดแนบท้ายฟ้องมาด้วย ซึ่งระบุรายการซ่อม มาชัดแจ้ง ดังนั้นสภาพแห่งความเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ ของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดนั้นจึงแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม รถยนต์ของโจทก์ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับมาชนท้ายก่อนแล้ว จึงได้กระดอนไถลไปชนท้าย รถยนต์ ที่จอดรอเลี้ยวขวาอยู่ข้างหน้า เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 จะชนท้าย รถยนต์ ของโจทก์ในขณะที่รถยนต์ของโจทก์ จอดนิ่งแล้วหรือไม่ และรุนแรงเพียงใดนั้น ย่อมไม่ใช่ข้อเท็จจริง ที่จะฟังเปลี่ยนแปลงผลแห่งความเสียหายที่เกิดจากการกระทำ ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7229/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนแห่งความเสียหายและการรับผิดจากการชนท้าย ย่อมไม่เปลี่ยนแปลงผลจากการกระทำละเมิด
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ว่า การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1ทำให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายรวม 207,167.69 บาท โดยแนบสำเนาใบเสนอราคาค่าซ่อม ใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดแนบท้ายฟ้องมาด้วย ซึ่งระบุรายการซ่อมมาชัดแจ้ง ดังนั้นสภาพแห่งความเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดนั้นจึงแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
รถยนต์ของโจทก์ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับมาชนท้ายก่อนแล้วจึงได้กระดอนไถลไปชนท้ายรถยนต์ที่จอดรอเลี้ยวขวาอยู่ข้างหน้าเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 จะชนท้ายรถยนต์ของโจทก์ในขณะที่รถยนต์ของโจทก์จอดนิ่งแล้วหรือไม่ และรุนแรงเพียงใดนั้น ย่อมไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังเปลี่ยนแปลงผลแห่งความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากละเมิดทางรถยนต์: ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล, ค่าขาดไร้อุปการะ, และค่าฟื้นฟูสภาพจิตใจ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 บัญญัติไว้ว่าบุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 3 ตาย ถือว่าโจทก์ที่ 3 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากบุตร โจทก์ที่ 3จึงชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุหรือในอนาคตเด็กหญิง พ. จะได้อุปการะโจทก์ที่ 3 จริงหรือไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควร ค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ซึ่งโจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์ของโรงพยาบาลในการทำการฝ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กหญิง ส. นั้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสินน้ำใจที่โจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์เองโดยที่คณะแพทย์ ไม่ได้เรียกร้องเป็นความพอใจของโจทก์ที่ 4 ที่ต้องการตอบแทน คณะแพทย์ที่ช่วยเหลือบุตรสาวของตน การจ่ายนี้ไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายรองรับ จึงไม่อาจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ การที่เด็กหญิง ส. บาดเจ็บสาหัสต้องหยุดเรียนไปนานจึงเป็นการจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนพิเศษ ส่วนการเรียนเปียโนก็เป็นการฟื้นฟูจิตใจของเด็กหญิงส. ซึ่งบาดเจ็บสาหัสและต้องกระทบกระเทือนจิตใจจากใบหน้าที่เสียโฉม ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายชอบที่จะได้รับการชดใช้ จากผู้กระทำละเมิด
of 81