คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 438

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 807 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงาน และการแบ่งความรับผิดในละเมิดจากหน้าที่การงาน
คำสั่งงดสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานและคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ต่างเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งของศาลแรงงานไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานได้นำเอกสารทั้งชุดที่โจทก์อ้างมาให้จำเลยที่ 2ตรวจดู และจำเลยที่ 2 รับว่าเอกสารจำนวน 31 แผ่น เป็นระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์จริง ศาลแรงงานกลางจึงรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย จ.4 แล้วเช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
พยานหลักฐานของโจทก์ที่ระบุเพิ่มเติมเข้าลักษณะเป็นพยานที่ไม่จำเป็นจะต้องสืบ ดังนี้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 อุทธรณ์โจทก์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์ 3 ปาก ซึ่งจะเบิกความทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปก่อนแล้วเพราะเห็นว่าเข้าลักษณะพยานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการสั่งงดสืบพยาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคม รวมทั้งค่าบริการตู้ไปรษณีย์เช่า จำเลยที่ 1 รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคมจำนวน1,628,669.90 บาท และรับเงินค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ 1,200 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวไป ส่วนจำเลยที่ 2 ก็เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่บริหารงานและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระโขนงทั้งหมดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวของโจทก์ไปจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์และการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ จึงต่างคนต่างทำละเมิด รวมทั้งเป็นการทำผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ผลแห่งความรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์จึงแบ่งแยกกันได้ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์เต็มตามที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ไป และศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 และไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 291, 296, 297และ 301 มาบังคับแก่กรณีของจำเลยทั้งสอง และเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้าง ป.พ.พ.มาตรา 425, 427, 430มาบังคับแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการและขอบเขตค่าเสียหายในคดีละเมิด รวมถึงการกำหนดค่าเสียหายที่สมควร
กรณีที่บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการตาม ป.พ.พ.มาตรา 1169 วรรคแรกนั้น จะต้องเป็นกรณีที่กรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท และความเสียหายดังกล่าวจะต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำหรืองดเว้นในสิ่งที่ควรกระทำ เมื่อความเสียหายเกิดจากการที่ ส.ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกแก๊สด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้รถพลิกคว่ำ แม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะรถบรรทุกแก๊สมีสภาพและอุปกรณ์ไม่ถูกต้องก็เป็นเพียงเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ได้รับผลร้ายแรงเท่านั้น แต่การที่รถบรรทุกแก๊สมีสภาพและอุปกรณ์ไม่ถูกต้องนั้น มิใช่ผลโดยตรงของความเสียหาย หากจะเป็นการผิดกฎหมายก็เป็นการผิดกฎหมายในส่วนของการที่นำรถยนต์มาใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5กรรมการบริษัทชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในมูลละเมิดของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายตามป.พ.พ.มาตรา 1169 วรรคสอง ได้
ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งการจะรับฟังพยานหลักฐานของฝ่ายใดว่ามีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่ากันก็ต้องพิจารณาจากข้อนำสืบของทั้งสองฝ่าย เมื่อโจทก์ไม่อาจนำสืบในรายละเอียดแห่งทรัพย์สินและราคาทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายได้ ศาลจึงกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควร
ตามเอกสารสัญญาเช่ามิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะนำทรัพย์สินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนสิทธิการเช่าได้ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 10 แห่งเอกสารดังกล่าว สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินค่าโอนสิทธิการเช่ามีอยู่อย่างไร โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าหากโจทก์โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น ผู้ให้เช่าจะต้องยินยอมให้โจทก์โอนได้โดยไม่อาจปฏิเสธได้หรือไม่ ค่าเสียหายอันเกิดจากค่าเสียโอกาสที่โจทก์จะได้รับประโยชน์จากอาคารที่เช่าอยู่ หากโจทก์โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นจึงเป็นความเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ
เงินที่โจทก์จ่ายให้ผู้เช่าล่วงหน้าจำนวน 150,000 บาทเป็นความเสียหายส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการละเมิดของ ส.ลูกจ้างจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึงจะต้องรับผิดชอบชดใช้ให้แก่โจทก์ แต่เงินจำนวน 150,000 บาทดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าเป็นค่าตอบแทนการเช่าระยะเวลา 3 ปีเมื่อโจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลา 8 เดือนเศษ ค่าเสียหายในส่วนนี้จึงสมควรกำหนดให้ลดลงตามส่วน และศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ตามป.พ.พ.มาตรา 438 โดยลดให้เหลือ 120,000 บาท
หลังจากโจทก์ย้ายเข้ามาอยู่ในตึกแถวที่เช่าแล้วโจทก์ได้ซ่อมแซมและต่อเติมอาคารหลายอย่าง เพื่อใช้ประกอบธุรกิจและพักอาศัย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องในส่วนนี้จำนวน 800,000 บาท นั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ชัดว่าสิ่งที่โจทก์หรือภรรยาโจทก์ได้กระทำไปมีรายละเอียดในเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการนั้นอย่างไรบ้าง ศาลจึงกำหนดตามที่เห็นสมควรเพียง 600,000 บาท ได้
การรับจ้างแปลเอกสารเป็นธุรกิจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1015 แม้โจทก์จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัวโดยที่ห้างหุ้นส่วนนั้นมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วย ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการต่อเติมอาคารเช่า ความรับผิดชอบของจำเลยต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโจทก์
กรณีที่บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169วรรคแรกนั้น จะต้องเป็นกรณีที่กรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท และความเสียหายดังกล่าวจะต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำหรืองดเว้นในสิ่งที่ควรกระทำ เมื่อความเสียหายเกิดจากการที่ ส. ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกแก๊สด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้รถพลิกคว่ำ แม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะรถบรรทุกแก๊สมีสภาพและอุปกรณ์ไม่ถูกต้องก็เป็นเพียงเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ได้รับผลร้ายแรงเท่านั้น แต่การที่รถบรรทุกแก๊สมีสภาพและอุปกรณ์ไม่ถูกต้องนั้น มิใช่ผลโดยตรงของความเสียหาย หากจะเป็นความผิดกฎหมายก็เป็นความผิดกฎหมายในส่วนของการที่นำรถยนต์มาใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 กรรมการบริษัทชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในมูลละเมิดของบริษัท จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 วรรคสอง ได้ ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4385 บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดซึ่งการจะรับฟังพยานหลักฐานของฝ่ายใดว่ามีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่ากันก็ต้องพิจารณาจากข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายเมื่อโจทก์ไม่อาจนำสืบในรายละเอียดแห่งทรัพย์สินและราคาทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายได้ ศาลจึงกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควร ตามเอกสารสัญญาเช่ามิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะนำทรัพย์สินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนสิทธิการเช่าได้ตามที่ระบุไว้ในข้อ 10 แห่งเอกสารดังกล่าว สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินค่าโอนสิทธิการเช่ามีอยู่อย่างไร โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าหากโจทก์โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นผู้ให้เช่าจะต้องยินยอมให้โจทก์โอนได้โดยไม่อาจปฏิเสธได้หรือไม่ ค่าเสียหายอันเกิดจากค่าเสียโอกาสที่โจทก์จะได้รับประโยชน์จากอาคารที่เช่าอยู่ หากโจทก์โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นจึงเป็นความเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ เงินที่โจทก์จ่ายให้ผู้เช่าล่วงหน้าจำนวน 150,000 บาทเป็นความเสียหายส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการละเมิดของ ส.ลูกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจะต้องรับผิดชอบชดใช้ให้แก่โจทก์ แต่เงินจำนวน 150,000 บาท ดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าเป็นค่าตอบแทนการเช่าระยะเวลา 3 ปีเมื่อโจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลา8 เดือนเศษ ค่าเสียหายในส่วนนี้จึงสมควรกำหนดให้ลดลงตามส่วน และศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 โดยลดให้เหลือ120,000 บาท หลังจากโจทก์ย้ายเข้ามาอยู่ในตึกแถวที่เช่าแล้วโจทก์ได้ซ่อมแซมและต่อเติมอาคารหลายอย่าง เพื่อใช้ประกอบธุรกิจและพักอาศัย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องในส่วนนี้จำนวน 800,000 บาท นั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ชัดว่าสิ่งที่โจทก์หรือภรรยาโจทก์ได้กระทำไปมีรายละเอียดในเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการนั้นอย่างไรบ้าง ศาลจึงกำหนดตามที่เห็นสมควรเพียง 600,000 บาท ได้ การรับจ้างแปลเอกสารเป็นธุรกิจของห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1015 แม้โจทก์จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัวโดยที่ห้างหุ้นส่วนนั้นมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วย ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าปลงศพจากละเมิด
ค่าใช้จ่ายในการปลงศพ แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในรายละเอียดว่าเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องอะไรบ้างก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะกำหนดให้ตามที่เห็นสมควรได้
โจทก์มีรายได้จากการประกอบอาชีพเลี้ยงสุกร สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ แต่เมื่อสามีและภริยาต่างมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน ดังนั้น การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ย่อมขาดไร้ผู้อุปการะเลี้ยงดู เมื่อจำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ภริยาโจทก์ตายโจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อน ก.ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตายก.เป็นผู้มีส่วนหารายได้มาแบ่งเบาภาระของโจทก์ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร เมื่อก.ถึงแก่ความตาย ทำให้รายได้บางส่วนหายไป โจทก์ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นอีกโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการอุปการะบุตรเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ควรจะได้ ดังนี้โจทก์หาได้ฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะเป็นตัวแทนของผู้เยาว์ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการขับรถชนคนเดินเท้าและการกำหนดค่าเสียหายตามพฤติการณ์
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปตามถนนแจ้งวัฒนะจากสี่แยกหลักสี่มุ่งหน้าไปห้าแยกปากเกร็ด เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 1ขับรถคันเกิดเหตุออกจากช่องทางเดินรถไปบนไหล่ทางด้านซ้ายซึ่งเป็นทางสำหรับคนเดินเท้าและเสียหลักตกไปในคูน้ำข้างถนน โดยทับร่างของผู้ตายทั้งสองขณะเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายดังกล่าวตกไปในคูน้ำข้างถนนด้วย เป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว แม้โจทก์ทั้งสองสำนวนมิได้บรรยายว่าผู้ตายทั้งสองเดินอย่างไร เดินจากไหนไปไหน เดินหันหน้าหรือหันหลังให้รถขณะที่ถูกเฉี่ยวชนก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสองสำนวนจะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปด้วยความเร็วสูงจนไม่สามารถห้ามล้อได้ทัน เป็นเหตุให้รถคันที่จำเลยที่ 1 ขับชนผู้ตายทั้งสองเหตุรถชนจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
ถนนที่เกิดเหตุมีเกาะกลางถนน และถนนด้านซ้ายมีไหล่ทางมีรถยนต์ปิกอัพจอดบนไหล่ทาง ไหล่ทางดังกล่าวมีขนาดความกว้างซึ่งรถยนต์สามารถจอดได้อย่างปลอดภัยเมื่อถนนที่เกิดเหตุมีไหล่ทางและจุดที่ผู้ตายทั้งสองเดินขณะถูกชนก็ไม่มีรถยนต์จอด ขณะเกิดเหตุผู้ตายทั้งสองกำลังเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายด้วยกัน มิได้ปฏิบัติฝ่าฝืน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 103ที่บัญญัติเกี่ยวกับคนเดินเท้าว่า ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน ดังนั้นเหตุที่จำเลยที่ 1 ขับรถชนผู้ตายทั้งสองจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ตายทั้งสองไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
บันทึกข้อความตามหนังสือของผู้บัญชาการตำรวจนครบาลถึงพนักงานสอบสวนแนะนำถึงวิธีปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยชั้นสอบสวนให้คู่กรณีในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้เจรจาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายกัน โดยให้พิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นประกอบกับฐานะการเงินและความสามารถของผู้ต้องหาหรือผู้มีส่วนรับผิดชอบในคดีนั้น ๆ เป็นราย ๆไปด้วยนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติเพื่อช่วยผู้เสียหายไม่ต้องนำคดีไปฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อศาลเท่านั้น บันทึกข้อความดังกล่าวมิใช่หลักปฏิบัติที่ศาลต้องปฏิบัติตาม การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายโดยพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งคดีและความร้ายแรงแห่งละเมิดจึงชอบแล้ว ไม่จำต้องพิจารณาถึงฐานะการเงินและความสามารถชำระของฝ่ายที่ทำละเมิดด้วย
แม้ชั้นสอบสวนผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เจรจากับจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตามที่พนักงานสอบสวนช่วยไกล่เกลี่ย และผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ยอมลดค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องลงเหลือ 3,000,000 บาท แต่จำเลยเสนอให้เงินช่วยเหลือเพียง 70,000 บาท เมื่อการเจรจาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวตกลงกันไม่ได้ จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เจรจากันย่อมสิ้นผลไปด้วย และไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมากกว่าจำนวนดังกล่าว ดังนั้นโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนซึ่งเห็นว่าควรจะได้ตามกฎหมายแม้ค่าสินไหมทดแทนที่ฟ้องจะมากกว่าจำนวนที่เจรจากัน ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิที่ขัดต่อศีลธรรม
ป.วิ.พ.มาตรา 161 บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความเมื่อศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี เหตุที่โจทก์จำต้องใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนประกอบกับการดำเนินคดีของจำเลยแล้ว ใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เต็มตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน การประเมินค่าเสียหาย และการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปตามถนนแจ้งวัฒนะจากสี่แยกหลักสี่มุ่งหน้าไปห้าแยกปากเกร็ดเมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุออกจาก ช่องทางเดินรถไปบนไหล่ทางด้านซ้ายซึ่งเป็นทางสำหรับคนเดินเท้าและเสียหลักตกไปในคูน้ำข้างถนน โดยทับร่างของผู้ตายทั้งสองขณะเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายดังกล่าวตกไปในคูน้ำข้างถนนด้วยเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว แม้โจทก์ทั้งสองสำนวนมิได้บรรยายว่าผู้ตายทั้งสองเดินอย่างไร เดินจากไหนไปไหน เดินหันหน้าหรือหันหลังให้รถขณะที่ถูกเฉี่ยวชนก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสองสำนวนจะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปด้วยความเร็วสูงจนไม่สามารถห้ามล้อได้ทัน เป็นเหตุให้รถคันที่จำเลยที่ 1 ขับชนผู้ตายทั้งสองเหตุรถชนจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ถนนที่เกิดเหตุมีเกาะกลางถนน และถนนด้านซ้ายมีไหล่ทางมีรถยนต์ปิกอัพจอดบนไหล่ทาง ไหล่ทางดังกล่าวมีขนาดความกว้างซึ่งรถยนต์สามารถจอดได้อย่างปลอดภัยเมื่อถนนที่เกิดเหตุมีไหล่ทางและจุดที่ผู้ตายทั้งสองเดินขณะถูกชนก็ไม่มีรถยนต์จอดและเกิดเหตุผู้ตายทั้งสองกำลังเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายด้วยกันมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 103 ที่บัญญัติเกี่ยวกับคนเดินเท้าว่า ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน ดังนั้นเหตุที่จำเลยที่ 1ขับรถชนผู้ตายทั้งสองจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ตายทั้งสองไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย บันทึกข้อความตามหนังสือของผู้บัญชาการตำรวจนครบาลถึงพนักงานสอบสวนแนะนำถึงวิธีปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยชั้นสอบสวนให้คู่กรณีในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้เจรจาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายกันโดยให้พิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นประกอบกับฐานะการเงินและความสามารถของผู้ต้องหาหรือผู้มีส่วนรับผิดชอบในคดีนั้น ๆ เป็นราย ๆ ไปด้วยนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติเพื่อช่วยผู้เสียหายไม่ต้องนำคดีไปฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อศาลเท่านั้น บันทึกข้อความดังกล่าวมิใช่หลักปฏิบัติที่ศาลต้องปฏิบัติตาม การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายโดยพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งคดีและความร้ายแรงแห่งละเมิดจึงชอบแล้วไม่จำต้องพิจารณาถึงฐานะการเงินและความสามารถชำระของฝ่ายที่ทำละเมิดด้วย แม้ชั้นสอบสวนผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เจรจากับจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตามที่พนักงานสอบสวนช่วยไกล่เกลี่ยและผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ยอมลดค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องลงเหลือ 3,000,000 บาท แต่จำเลยเสนอให้เงินช่วยเหลือเพียง70,000 บาท เมื่อการเจรจาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวตกลงกันไม่ได้ จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เจรจากันย่อมสิ้นผลไปด้วย และไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมากกว่าจำนวนดังกล่าว ดังนั้น โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนซึ่งเห็นว่าควรจะได้ตามกฎหมายแม้ค่าสินไหมทดแทนที่ฟ้องจะมากกว่าจำนวนที่เจรจากัน ก็ไม่เห็นการใช้สิทธิที่ขัดต่อศีลธรรม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความเมื่อศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี เหตุที่โจทก์จำต้องใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนประกอบกับการดำเนินคดีของจำเลยแล้วใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เต็มตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ ผู้เช่าไม่ยอมออกและไม่ซ่อมแซมอาคาร โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
แม้สัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจะมีผลผูกพันคู่สัญญาโดยไม่จำต้องมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่ก็มีผลผูกพันคู่สัญญาตามระยะเวลาที่ตกลงกันเท่านั้น
คดีนี้เป็นเรื่องการเช่ามีกำหนดระยะเวลาเช่า ครบกำหนดและต่อสัญญากันมาถึงสามครั้งแล้ว และครั้งพิพาทเป็นครั้งที่สี่ ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาเช่าเพียงสองปี เมื่อครบกำหนดแล้ว โจทก์ไม่ต่อสัญญาให้อีก จำเลยที่ 1 ไม่ซ่อมแซมอาคารพิพาทในสภาพเรียบร้อยแล้วออกไปจากสถานที่เช่า ย่อมทำให้โจทก์เสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติ และที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เท่ากับอัตราค่าเช่าที่จำเลยที่ 1 เช่าคลังสินค้าพิพาทอยู่โดยอาศัยสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยที่ 1มีต่อกัน กรณีไม่จำต้องฟังพยานบุคคลมาสนับสนุนให้ชัดแจ้งเพราะอัตราค่าเช่าตามสัญญาทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างตกลงกันไว้ในขณะทำสัญญาแล้ว ส่วนปัญหาที่จำเลยที่ 1 ได้ส่งชำระค่าเช่าต่อมาโดยตลอดในระหว่างการพิจารณาของศาลนั้นเป็นปัญหาที่ต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การเช่ามีกำหนดระยะเวลาเช่า ครบกำหนดแล้วจำเลยผู้เช่าไม่ยอมออกไปจากที่เช่า และโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าเช่าอาคารคลังสินค้าพิพาทตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองอยู่ซึ่งศาลกำหนดให้แล้วดังนี้ ค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้พื้นที่อื่นที่เกี่ยวข้องในการให้เช่าวางตู้สินค้าเป็นค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนกัน จึงไม่กำหนดให้อีก
ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีโรงเรือนแทนโจทก์ ระหว่างจำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองคลังสินค้าโจทก์มาโดยตลอด ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นบังคับคดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันกระทำละเมิดและขอบเขตความรับผิดของจำเลยร่วม การประเมินค่าเสียหายจากผลกำไรที่ไม่แน่นอน
จำเลยที่ 2 ได้ไปปรึกษาจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับเรื่องจะว่าจ้างทนายความในการดำเนินการขายที่ดิน จำเลยที่ 3ได้พาไปหา ส. ซึ่งเป็นญาติทำงานอยู่ที่สำนักงานทนายความแล้วจึงได้มีการจ้างทนายความที่สำนักงานทนายความนั้นให้เขียนสัญญาซื้อขายและจำเลยที่ 3 เป็นเพียงพยานในสัญญาซื้อขายเท่านั้นส่วนการดำเนินการขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2กับทนายความของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ เมื่อจำเลยที่ 3ไม่ได้เป็นผู้ออกอุบายและร่วมตกลงใจให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่เป็นการกระทำอันเกิดแต่เจตนาของจำเลยที่ 2 เองมาตั้งแต่แรก เพียงแต่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างใดจึงต้องให้ทนายความช่วยดำเนินการให้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3ไปรับเงินจากโจทก์ที่ 3 มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ไปรับเงินเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 เอง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลุงใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหลานช่วยไปรับเงินแทนเท่านั้นดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็จะฟังว่าจำเลยที่ 3มีส่วนร่วมในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ได้ ค่าเสียหายจากการขาดกำไรในการขายที่ดินพิพาทที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอน โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ในการละเมิด เพราะไม่มีส่วนร่วมในการตกลงใจหรือรับประโยชน์โดยตรง
จำเลยที่ 2 ได้ไปปรึกษาจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับเรื่องจะว่าจ้างทนายความในการดำเนินการขายที่ดิน จำเลยที่ 3 ได้พาไปหา ส. ซึ่งเป็นญาติทำงานอยู่ที่สำนักงานทนายความ แล้วจึงได้มีการจ้างทนายความที่สำนักงานทนายความนั้นให้เขียนสัญญาซื้อขายและจำเลยที่ 3 เป็นเพียงพยานในสัญญาซื้อขายเท่านั้นส่วนการดำเนินการขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 กับทนายความของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นผู้ออกอุบายและร่วมตกลงใจให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่เป็นการกระทำอันเกิดแต่เจตนาของจำเลยที่ 2 เองมาตั้งแต่แรก เพียงแต่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างใดจึงต้องให้ทนายความช่วยดำเนินการให้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ไปรับเงินจากโจทก์ที่ 3มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ไปรับเงินเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 เอง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลุงใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหลานช่วยไปรับเงินแทนเท่านั้นดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็จะฟังว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนร่วมในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ได้
ค่าเสียหายจากการขาดกำไรในการขายที่ดินพิพาทที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอน โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกระทำละเมิดและค่าเสียหายจากการขายที่ดิน: การพิสูจน์เจตนาและการเรียกร้องค่าเสียหายในอนาคต
จำเลยที่2ได้ไปปรึกษาจำเลยที่3เกี่ยวกับเรื่องจะว่าจ้างทนายความในการดำเนินการขายที่ดินจำเลยที่3ได้พาไปหาส. ซึ่งเป็นญาติทำงานอยู่ที่สำนักงานทนายความแล้วจึงได้มีการจ้างทนายความที่สำนักงานทนายความนั้นให้เขียนสัญญาซื้อขายและจำเลยที่3เป็นเพียงพยานในสัญญาซื้อขายเท่านั้นส่วนการดำเนินการขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเรื่องที่จำเลยที่2กับทนายความของจำเลยที่2เป็นผู้ดำเนินการเมื่อจำเลยที่3ไม่ได้เป็นผู้ออกอุบายและร่วมตกลงใจให้จำเลยที่2ดำเนินการดังกล่าวแต่เป็นเรื่องที่เป็นการกระทำอันเกิดแต่เจตนาของจำเลยที่2เองมาตั้งแต่แรกเพียงแต่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างใดจึงต้องให้ทนายความช่วยดำเนินการให้ส่วนการที่จำเลยที่3ไปรับเงินจากโจทก์ที่3มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่3ไปรับเงินเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่3เองแต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นลุงใช้ให้จำเลยที่3ซึ่งเป็นหลานช่วยไปรับเงินแทนเท่านั้นดังนี้แม้จำเลยที่2จะกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็จะฟังว่าจำเลยที่3มีส่วนร่วมในการกระทำละเมิดของจำเลยที่2ด้วยไม่ได้ ค่าเสียหายจากการขาดกำไรในการขายที่ดินพิพาทที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอนโจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
of 81