พบผลลัพธ์ทั้งหมด 807 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงาน และการจ่ายเงินเยียวยาโดยไม่มีผลบังคับ
พ.และ ค.ลูกจ้างของจำเลยที่ 4 และที่ 5 นำรถยนต์กระบะของนายจ้างออกไปนอกสถานที่ทำการจนกระทั่งถึงที่เกิดเหตุรถชนกัน โดยก่อนเกิดเหตุ1 วัน พ.ได้ขอยืมรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุจากหัวหน้าช่างของจำเลยที่ 4 ออกไปข้างนอกเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยวรับประทาน การรับประทานอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพให้มีชีวิตอยู่มีกำลังในการทำงาน ถึงแม้จำเลยที่ 4 มีระเบียบว่า เมื่อเลิกงานแล้วคนงานจะออกไปจากที่ก่อสร้างไม่ได้และผู้มีหน้าที่ขับและเก็บรักษารถจะนำรถไปใช้หลังจากเลิกงานแล้วไม่ได้ก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในระหว่างจำเลยที่ 4กับพนักงาน การที่ พ.กับพวกซื้อก๋วยเตี๋ยวไม่ได้ จึงได้ไปรับประทานอาหารในเขตจังหวัด 1 ชั่วโมง ต่อจากนั้นจึงได้พากันไปที่บ้าน ว. ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ก่อสร้าง60 กิโลเมตร จึงยังเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบของการอนุญาตของหัวหน้าช่างผู้มีสิทธิอนุญาตให้นำรถไปใช้แทนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นนายจ้าง อันถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมรู้เห็นในการให้ พ.นำรถออกไปใช้ดังกล่าวด้วย การที่ พ.นำรถออกไปใช้ดังกล่าวเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่ 5 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดอันเกิดจากการนำรถไปกระทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วย
โจทก์ได้จ่ายเงินให้บิดามารดาของผู้ตายไปคนละ 3,000 บาทรวม 6,000 บาท เป็นการจ่ายให้ไปเพื่อมนุษยธรรม จึงเป็นเรื่องการจ่ายให้เปล่าไม่ต้องการผลตอบแทน กรณีจึงเป็นเรื่องให้โดยเสน่หาของโจทก์เองมิใช่เป็นเรื่องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินในส่วนนี้จากผู้กระทำละเมิด
โจทก์ได้จ่ายเงินให้บิดามารดาของผู้ตายไปคนละ 3,000 บาทรวม 6,000 บาท เป็นการจ่ายให้ไปเพื่อมนุษยธรรม จึงเป็นเรื่องการจ่ายให้เปล่าไม่ต้องการผลตอบแทน กรณีจึงเป็นเรื่องให้โดยเสน่หาของโจทก์เองมิใช่เป็นเรื่องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินในส่วนนี้จากผู้กระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดต่อการละเมิดของลูกจ้างที่ขับรถในทางการจ้าง แม้จะมีการเบิกจ่ายค่าปลงศพเป็นค่าช่วยเหลือ
พ. และค. ลูกจ้างของจำเลยที่4และที่5นำรถยนต์กระบะของนายจ้างออกไปนอกสถานที่ทำการจนกระทั่งถึงที่เกิดเหตุรถชนกันโดยก่อนเกิดเหตุ1วันพ. ได้ขอยืมรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุจากหัวหน้าช่างของจำเลยที่4ออกไปข้างนอกเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยวรับประทานการรับประทานอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพให้มีชีวิตอยู่มีกำลังในการทำงานถึงแม้จำเลยที่4มีระเบียบว่าเมื่อเลิกงานแล้วคนงานจะออกไปจากที่ก่อสร้างไม่ได้และผู้มีหน้าที่ขับและเก็บรักษารถจะนำรถไปใช้หลังจากเลิกงานแล้วไม่ได้ก็ตามก็เป็นเรื่องภายในระหว่างจำเลยที่4กับพนักงานการที่พ. กับพวกซื้อก๋วยเตี๋ยวไม่ได้จึงได้ไปรับประทานอาหารในเขตจังหวัด1ชั่วโมงต่อจากนั้นจึงได้พากันไปที่บ้านว. ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ก่อสร้าง60กิโลเมตรจึงยังเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบของการอนุญาตของหัวหน้าช่างผู้มีสิทธิอนุญาตให้นำรถไปใช้แทนจำเลยที่4ซึ่งเป็นนายจ้างอันถือได้ว่าจำเลยที่4ร่วมรู้เห็นในการให้พ. นำรถออกไปใช้ดังกล่าวด้วยการที่พ. นำรถออกไปใช้ดังกล่าวเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่4จำเลยที่4ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่5ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดอันเกิดจากการนำรถไปกระทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วย โจทก์ได้จ่ายเงินให้บิดามารดาของผู้ตายไปคนละ3,000บาทรวม6,000บาทเป็นการจ่ายให้ไปเพื่อมนุษยธรรมจึงเป็นเรื่องการจ่ายให้เปล่าไม่ต้องการผลตอบแทนกรณีจึงเป็นเรื่องให้โดยเสน่หาของโจทก์เองมิใช่เป็นเรื่องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินในส่วนนี้จากผู้กระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความประมาทและการแบ่งความรับผิดในคดีรถชน ศาลฎีกาชี้ว่าการวินิจฉัยความประมาทของทั้งสองฝ่ายไม่เกินกรอบประเด็นอุทธรณ์
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ฟังข้อเท็จจริงว่าจ.ผู้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้มีส่วนประมาทโจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้นั้นเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่าเหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยที่1หรือไม่อันมีความหมายรวมไปถึงว่าความประมาทดังกล่าวจะมีผลทำให้จำเลยที่1ต้องรับผิดต่ออีกฝ่ายหรือไม่เพียงใดและที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยว่าเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1และจ.ซึ่งไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันค่าเสียหายทั้งสองฝ่ายจึงเป็นพับไปนั้นเป็นการวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยในประเด็นพิพาทไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงขึ้นใหม่โดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความประมาทในคดีรถชน และผลต่อการเรียกร้องค่าเสียหาย
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงว่า จ.ผู้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้มีส่วนประมาท โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้นั้นเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า เหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 หรือไม่ อันมีความหมายรวมไปถึงว่า ความประมาทดังกล่าวจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่ออีกฝ่ายหรือไม่เพียงใด และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และ จ.ซึ่งไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ค่าเสียหายทั้งสองฝ่ายจึงเป็นพับไปนั้น เป็นการวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยในประเด็นพิพาท ไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงขึ้นใหม่โดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะโดยการอุทิศและอายุความ การรุกล้ำทางสาธารณะ และอำนาจฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ
เจ้าของเดิมได้อุทิศที่ดินบางส่วนให้เป็นทางสาธารณะโดยประชาชนได้ใช้ทางพิพาทนั้นตลอดมาเป็นเวลา20ปีแล้วไม่ปรากฎว่าผู้รับโอนต่อๆมาได้หวงห้ามทางพิพาทจึงเป็นทางสาธารณะ โจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นเจ้าของที่ดินและมีบ้านในที่ดินซึ่งต้องใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ถนนเป็นประจำไม่มีทางเลือกอื่นหากปิดกั้นทางพิพาทโจทก์ทั้งสิบเอ็ดย่อมได้รับความเสียหายโดยตรงการที่จำเลยและบริวารรุกล้ำทางสาธารณะพิพาททำให้โจทก์ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้เหมือนเดิมโจทก์ทั้งสิบเอ็ดย่อมจะเป็นผู้ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการกระทำของจำเลยโจทก์ทั้งสิบเอ็ดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้รุกล้ำทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสิบเอ็ดขอคิดค่าเสียหายโดยใช้วิธีประเมินเอาจึงมิใช่ความเสียหายตามความเป็นจริงแต่เป็นค่าเสียหายที่ศาลต้องวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834-4835/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท การครอบครองปรปักษ์ และความรับผิดทางละเมิด กรณีบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า"กระทรวงการคลังโดยก.อธิบดีกรมธนรักษ์ผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารเรือมีอำนาจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งกับผู้บุกรุกพร้อมบริวารให้ออกไปจากที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ตามข้อความดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ที่บุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481หาใช่มอบอำนาจทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา801ไม่และในกรณีเช่นนี้ก็ไม่อาจระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องไว้ล่วงหน้าก็ได้เมื่อจำเลยที่1และที่2ถูกกล่าวหาว่าบุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ผู้รับมอบอำนาจก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1และที่2ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรีพ.ศ.2479มีความมุ่งหมายกำหนดเขตหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าสำหรับไว้ใช้ในราชการทหารที่ดินที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)แม้ต่อมาในปี2498จะมีผู้แจ้งการครอบครองที่ดิน(ส.ค.1)นั้นตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา5ก็ตามที่ดินนั้นก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา10ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ราชพัสดุตามความหมายของมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 จำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบเมื่อผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบแจ้งให้จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมออกการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการไม่ชอบการที่โจทก์ที่2ถึงที่8ได้กระทำการขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสี่เข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่แต่ละคนมีอยู่มิได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่การทำละเมิดของบริษัทจำเลยที่1ได้แสดงออกโดยจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนและเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่1จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคสอง จำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังไปไถไปถมทะเลแต่นำที่ดินลูกรังไปถมทำถนนและถมที่ดินพิพาทแล้วปรับพื้นที่ให้ทราบจำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังออกไปจากพื้นที่ของโจทก์ที่1ดินลูกรังยังคงอยู่ในที่ดินของกระทรวงการคลังโจทก์ที่1มิได้สูญหายไปไหนโจทก์ที่1จึงมิได้เสียหายเกี่ยวกับดินลูกรัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4829/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในไม้และละเมิด: การโต้แย้งกรรมสิทธิ์โดยมิชอบทำให้เกิดละเมิดต่อเจ้าของที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่าไม้ของกลางเป็นของจำเลยแต่ละคนและปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของไม้ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ไม้พิพาทเป็นของฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลย การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 นำสืบว่าเป็นหุ้นส่วนทำไม้พิพาทกับโจทก์เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของร่วมในไม้พิพาท ซึ่งหากฟังได้ว่าเป็นความจริง จำเลยที่ 1 ซึ่งฟ้องแย้งก็ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ได้รับแต่ส่วนแบ่งนี้ก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2ศาลก็อาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ จึงถือว่าการนำสืบของจำเลยทั้งสองอยู่ในประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
ไม้พิพาททั้งหมดเป็นของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำขอรับไม้พิพาทอ้างว่าเป็นของจำเลยทั้งสาม ทำให้เจ้าพนักงานระงับการคืนไม้พิพาทให้โจทก์ไว้ และทำเรื่องหารือไปทางกองอุทยาน กรมป่าไม้ ในที่สุดต่างมีความเห็นให้ผู้ขอรับไม้พิพาทไปดำเนินคดีทางศาล จึงเป็นเพราะจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์โดยมิชอบ หาใช่เพราะเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานที่จะคืนไม้ให้ใครหรือไม่การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของไม้พิพาทที่แท้จริง
ไม้พิพาททั้งหมดเป็นของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำขอรับไม้พิพาทอ้างว่าเป็นของจำเลยทั้งสาม ทำให้เจ้าพนักงานระงับการคืนไม้พิพาทให้โจทก์ไว้ และทำเรื่องหารือไปทางกองอุทยาน กรมป่าไม้ ในที่สุดต่างมีความเห็นให้ผู้ขอรับไม้พิพาทไปดำเนินคดีทางศาล จึงเป็นเพราะจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์โดยมิชอบ หาใช่เพราะเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานที่จะคืนไม้ให้ใครหรือไม่การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของไม้พิพาทที่แท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4829/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดกรรมสิทธิ์ไม้: จำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์โดยมิชอบ ทำให้เจ้าของไม้เสียหาย
จำเลยที่1ที่2ให้การว่าไม้ของกลางเป็นของจำเลยแต่ละคนและปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของไม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าไม้พิพาทเป็นของฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยการที่จำเลยที่1ที่2นำสืบว่าเป็นหุ้นส่วนทำไม้พิพาทกับโจทก์เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของร่วมในไม้พิพาทซึ่งหากฟังได้ว่าเป็นความจริงจำเลยที่1ซึ่งฟ้องแย้งก็ควรได้แต่ส่วนแบ่งเมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่1ได้รับแต่สวนแบ่งนี้ก็ได้ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาให้สิ่งใดๆเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องส่วนจำเลยที่2ศาลก็อาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้จึงถือว่าการนำสืบของจำเลยทั้งสองอยู่ในประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ไม้พิพาททั้งหมดเป็นของโจทก์การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำขอรับไม้พิพาทอ้างว่าเป็นของจำเลยทั้งสามทำให้เจ้าพนักงานระงับการคืนไม้พิพาทให้โจทก์ไว้และทำเรื่องหารือไปทางกองอุทยานกรมป่าไม้ในที่สุดต่างมีความเห็นให้ผู้ขอรับไม้พิพาทไปดำเนินคดีทางศาลจึงเป็นเพราะจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งกรรมสิทธิโดยมิชอบหาใช่เพราะเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานที่จะคืนไม้ให้ใครหรือไม่การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของไม้พิพาทที่แท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนบริษัทที่มีชื่อคล้ายคลึงกัน การละเมิดสิทธิในนาม และความรับผิดของผู้ก่อการ
ป.พ.พ. มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติบังคับให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนหรือร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อในทันทีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของชื่อบริษัทที่พ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วหรือตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนไว้แล้ว แม้โจทก์ที่ 2 จะมิได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทันทีหลังจากที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เสียสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปไม่ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2520 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ล แล็ปปิดารี่ จำกัด และมีชื่อภาษีอังกฤษว่า ORIENTAL CAPIDARY COMPANY LIMITED ส่วนจำเลยที่ 1จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อ พ.ศ.2530 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่ จำกัด มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า ORIENTAL GEMESLAPIDARY COMPANY LIMITED แม้ชื่อของโจทก์ที่ 2 มีสองคำ ส่วนชื่อของจำเลยที่ 1 มีสามคำก็ตาม แต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 เป็นคำคำเดียวกันคือ คำว่า "โอเรียนเต็ล" และ "ORIENTAL" ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่ 2 กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่ 1 นั้น แม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกันของโจทก์ที่ 2 สะกดว่า " แล็ปปิดารี่" ส่วนของจำเลยที่ 1 สะกดคำว่า"แลปิดารี่" ก็ตาม แต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ "LAPIDARY" ชื่อของโจทก์ที่ 2และจำเลยที่ 1 คงมีชื่อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่ 1 มีคำว่า "เจมส์"อยู่ตรงกลาง โดยชื่อของโจทก์ที่ 2 ไม่มีคำดังกล่าวเท่านั้น บุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่ 2 และชื่อของจำเลยที่ 1 ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกัน โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้าเช่นเดียวกัน ทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกัน โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าหลังจากโจทก์ที่ 2 เป็นเวลาถึง 10 ปี การกระทำของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้เริ่มก่อการจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่ 2ให้คล้ายคลึงกันจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 420 และจำเลยที่ 2 ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ที่ 2 นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่ 2จากการที่จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่ 2 เป็นจำนวนแน่นอนเพียงใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 ได้ตามที่เห็นสมควร
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มกิจการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย หมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว หรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้ว อันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทแล้วในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแล้วดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้น เมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว บริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามป.พ.พ.มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 420 ต่อไป
โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2520 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ล แล็ปปิดารี่ จำกัด และมีชื่อภาษีอังกฤษว่า ORIENTAL CAPIDARY COMPANY LIMITED ส่วนจำเลยที่ 1จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อ พ.ศ.2530 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่ จำกัด มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า ORIENTAL GEMESLAPIDARY COMPANY LIMITED แม้ชื่อของโจทก์ที่ 2 มีสองคำ ส่วนชื่อของจำเลยที่ 1 มีสามคำก็ตาม แต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 เป็นคำคำเดียวกันคือ คำว่า "โอเรียนเต็ล" และ "ORIENTAL" ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่ 2 กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่ 1 นั้น แม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกันของโจทก์ที่ 2 สะกดว่า " แล็ปปิดารี่" ส่วนของจำเลยที่ 1 สะกดคำว่า"แลปิดารี่" ก็ตาม แต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ "LAPIDARY" ชื่อของโจทก์ที่ 2และจำเลยที่ 1 คงมีชื่อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่ 1 มีคำว่า "เจมส์"อยู่ตรงกลาง โดยชื่อของโจทก์ที่ 2 ไม่มีคำดังกล่าวเท่านั้น บุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่ 2 และชื่อของจำเลยที่ 1 ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกัน โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้าเช่นเดียวกัน ทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกัน โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าหลังจากโจทก์ที่ 2 เป็นเวลาถึง 10 ปี การกระทำของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้เริ่มก่อการจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่ 2ให้คล้ายคลึงกันจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 420 และจำเลยที่ 2 ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ที่ 2 นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่ 2จากการที่จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่ 2 เป็นจำนวนแน่นอนเพียงใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 ได้ตามที่เห็นสมควร
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มกิจการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย หมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว หรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้ว อันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทแล้วในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแล้วดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้น เมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว บริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามป.พ.พ.มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 420 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อบริษัทคล้ายกันจนน่าจะลวงประชาชน ละเมิดสิทธิในนาม, ผู้เริ่มก่อการรับผิดค่าเสียหายเฉพาะช่วงก่อนจดทะเบียนนิติบุคคล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งไม่ได้บัญญัติบังคับให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนหรือร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อในทันทีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของชื่อบริษัทที่พ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วหรือตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนไว้แล้วแม้โจทก์ที่2จะมิได้ฟ้องจำเลยที่1และที่2ทันทีหลังจากที่จำเลยที่1จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตามก็หาทำให้โจทก์ที่2เสียสิทธิฟ้องจำเลยที่1และที่2ไปไม่การที่โจทก์ที่2ฟ้องจำเลยที่1และที่2จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ที่2จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2520โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียลเต็ลแล็ปปิดารี่จำกัดและมีชื่อภาษาอังกฤษว่าORIENTALCAPIDARYCOMPANYLIMITEDส่วนจำเลยที่1จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2530โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่จำกัดมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าORIENTALGEMESLAPIDARYCOMPANYLIMITEDแม้ชื่อของโจทก์ที่2มีสองคำส่วนชื่อของจำเลยที่1มีสามคำก็ตามแต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่2และจำเลยที่1เป็นคำเดียวกันคือคำว่า"โอเรียนเต็ล"และ"ORIENTAL"ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่2กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่1นั้นแม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกันของโจทก์ที่2สะกดว่า"แล็ปปิดารี่"ส่วนของจำเลยที่1สะกดคำว่า"แล็ปปิดารี่"ก็ตามแต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ"LAPIDARY"ชื่อของโจทก์ที่2และจำเลยที่1คงมีชื่อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่1มีคำว่า"เจมส์"อยู่ตรงกลางโดยชื่อของโจทก์ที่2ไม่มีคำกล่าวเท่านั้นบุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่2และชื่อของจำเลยที่1ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกันโจทก์ที่2และจำเลยที่1ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกันทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกันโดยจำเลยที่1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าหลังจากโจทก์ที่2เป็นเวลาถึง10ปีการกระทำของจำเลยที่1โดยจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่2ให้คล้ายคลึงกันจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่2ซึ่งจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420และจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่ง แม้โจทก์ที่2นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่2จากการที่จำเลยที่1ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่2เป็นจำนวนแน่นอนเพียงใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่2ได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มก่อกิจการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วหรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้วอันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทแล้วในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแล้วดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้นเมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้วบริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420ต่อไป