พบผลลัพธ์ทั้งหมด 807 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่ายทำให้ต้องรับผิดชอบร่วมกันเต็มจำนวนค่าเสียหาย
เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1และผู้ตายซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันถึงแม้จำเลยที่1และผู้ตายจะต่างคนต่างประมาทเลินเล่อก็ตามแต่เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1และผู้ตายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันดังกล่าวแล้วจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่2ต่อโจทก์เต็มตามจำนวนค่าเสียหายอย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย, ทางเข้าออกที่ดิน, การทำละเมิด, ค่าเสียหาย, สิทธิเรียกร้อง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยเพื่อให้ที่ดินของส. บุตรชายของโจทก์มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเมื่อที่ดินของจำเลยมีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะและจำเลยพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์แต่โจทก์ไม่ยอมรับโอนที่ดินโดยอ้างว่าที่ดินของจำเลยไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะโจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนับแต่วันทำสัญญาจำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ไถหน้าดินในที่ดินของจำเลยออกไปถมที่ดินของโจทก์เป็นการทำละเมิดต่อจำเลยกรณีเป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อตกลงดังกล่าวฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับฟ้องเดิม โจทก์ไถไร่อ้อยในที่ดินพิพาทเพื่อปรับสภาพที่ดินทำให้ไร่อ้อยได้รับความเสียหายอันเป็นไปตามสัญญาที่จำเลยตกลงยอมให้โจทก์เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแม้จำเลยจะได้รับความเสียหายก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างตอกเสาเข็มใกล้เคียงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
จำเลยที่1เป็นเจ้าของที่ดินที่มีการก่อสร้างและตอกเสาเข็มยินยอมให้จำเลยที่2ขออนุญาตก่อสร้างบนที่ดินมีจำเลยที่3เป็นผู้จ้างให้จำเลยที่4ดำเนินการตอกเสาเข็มบนที่ดินเมื่อเกิดความเสียหายแก่อาคารของโจทก์ที่1ซึ่งอยู่บนที่ดินข้างเคียงจำเลยที่1ถึงที่3ก็เคยเข้าไปตรวจดูแลซ่อมแซมให้บางส่วนพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ถึงที่3มีผลประโยชน์ร่วมกันในการก่อสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่1แม้จำเลยที่3จะเป็นผู้จ้างให้จำเลยที่4ตอกเสาเข็มแต่ก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1ถึงที่3ด้วยถือได้ว่าจำเลยที่1ถึงที่3เป็นผู้ร่วมกันจ้างจำเลยที่4ในการตอกเสาเข็มซึ่งโดยปกติผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างการที่จำเลยที่4ตอกเสาเข็มตามแผนผังแบบแปลนการก่อสร้างของจำเลยที่1ถึงที่3ห่างรั้วกำแพงของโจทก์เพียง2เมตรเท่ากับจำเลยที่4ได้ดำเนินการตามคำสั่งของจำเลยที่1ถึงที่3จำเลยที่1ถึงที่3ผู้ว่าจ้างจึงเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำอันทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่1 ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายของโจทก์ที่1โดยพิเคราะห์ตามคำเบิกความของ ย. พยานโจทก์ที่1ประกอบภาพถ่ายและใบประเมินราคาแล้วเห็นว่ากำแพงรั้วพื้นซีเมนต์ตัวอาคารและสระน้ำเสียหายเป็นจำนวนมากจึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการให้การเกี่ยวกับลายมือชื่อ ทำให้ถูกดำเนินคดีอาญา ผู้ให้การและนายจ้างต้องรับผิดร่วมกัน
จำเลยที่2มีตำแหน่งเป็นสมุห์บัญชีของจำเลยที่1ย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าบุคคลธรรมดาการที่จำเลยที่2ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอแล้วให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเช็คคล้ายลายมือโจทก์ย่อมถือเป็นการยืนยันว่าลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเช็คเป็นลายมือชื่อของโจทก์นั่นเองคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่2จึงเป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์หาใช่เกิดจากดุลพินิจในการพิจารณาพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนตามลำพังไม่การกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่2ให้การต่อพนักงานสอบสวนโดยลงลายมือชื่อเป็นพยานพร้อมประทับตราของจำเลยที่1กำกับไว้และเบิกความตอบคำถามค้านรับว่าตนให้การในฐานะที่เป็นพนักงานของจำเลยที่1ซึ่งจำเลยที่1ก็มิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นคำให้การของจำเลยที่2ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในตำแหน่ง หน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมายจากจำเลยที่1ฉะนั้นการที่จำเลยที่2ให้การต่อพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่1จำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ด้วย การที่จำเลยที่2ได้ให้การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนจนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาต้องถูกออกหมายจับและถูกควบคุมตัวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เสรีภาพและชื่อเสียงของโจทก์โดยตรงโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงระยะเวลาที่โจทก์ถูกจับและถูกควบคุมตัวจนถึงได้รับการประกันตัวเป็นเวลาเพียงประมาณ5ถึง6ชั่วโมงประกอบกับหลังเกิดเหตุถูกจับแล้วโจทก์ซึ่งเป็นนักธุรกิจก็ยังได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศนักธุรกิจดีเด่นแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่2กระทำละเมิดต่อโจทก์นั้นมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงนักที่โจทก์ขอค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสื่อมเสียเสรีภาพ1,000,000บาทและเกี่ยวกับชื่อเสียงอีก1,000,000บาทนั้นสูงเกินไปเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายทั้งสองส่วนนี้ให้รวม300,000บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถบรรทุก, ความเร็ว, สภาพถนน, และการประเมินค่าเสียหาย
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2522) ออกตามความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 2 (1) (ก) กำหนดให้รถยนต์ต้องมีโคมไฟแสงพุ่งไกลหน้ารถมีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า100 เมตร และตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 1 (1) กำหนดให้รถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ใช้ความเร็วนอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร รถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับบรรทุกมันอัดเม็ดรวมน้ำหนักของมันอัดเม็ดและน้ำหนักรถเกิน 1,200กิโลกรัม จำเลยจึงต้องขับรถยนต์บรรทุกด้วยความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตรและถ้าโคมไฟแสงพุ่งไกลของรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับมีแสงสว่างเห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 100 เมตร จำเลยจะต้องมองเห็นรถยนต์โดยสารจอดอยู่ในระยะไม่น้อยกว่า 100 เมตร เมื่อจำเลยเห็นรถยนต์โดยสารจอดอยู่ ในขณะเดียวกันมีรถยนต์บรรทุกแล่นสวนมา ซึ่งจำเลยไม่อาจจะหักหลบรถยนต์โดยสารได้ จำเลยก็ต้องเหยียบห้ามล้อ ถ้าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกมาด้วยความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตรรถยนต์บรรทุกก็ย่อมจะหยุดได้โดยไม่เฉี่ยวชนรถยนต์โดยสาร การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกมาด้วยความเร็วมากมีฝนตกและเป็นทางโค้ง ซึ่งโดยวิสัยของผู้ขับรถจะต้องชะลอความเร็วของรถลงกว่าปกติ แต่จำเลยที่ 1 หาได้ชะลอความเร็วของรถยนต์บรรทุกไม่เป็นการไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในภาวะเช่นนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาในเรื่องค่าเสียหายว่า รถยนต์โดยสารของโจทก์ไม่ได้ซ่อม โจทก์ตีราคาเองสูงเกินไป ตามสภาพรถยนต์โดยสารสามารถซ่อมได้ในราคา 90,000 บาท นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาในเรื่องค่าเสียหายว่า รถยนต์โดยสารของโจทก์ไม่ได้ซ่อม โจทก์ตีราคาเองสูงเกินไป ตามสภาพรถยนต์โดยสารสามารถซ่อมได้ในราคา 90,000 บาท นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อในการขับรถบรรทุกเกินความเร็วและไม่ระมัดระวังในภาวะฝนตกและทางโค้ง ทำให้เฉี่ยวชนรถยนต์โดยสาร
ตามกฎกระทรวงฉบับที่2(พ.ศ.2522)ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522ข้อ2(1)(ก)กำหนดให้รถยนต์ต้องมีโคมไฟแสงพุ่งไกลหน้ารถมีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า100เมตรและตามกฎกระทรวงฉบับที่6(พ.ศ.2522)ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522ข้อ1(1)กำหนดให้รถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน1,200กิโลกรัมใช้ความเร็วนอกเขตกรุงเทพมหานครเขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลไม่เกินชั่วโมงละ80กิโลเมตรรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับรถบรรทุกมันอัดเม็ดรวมน้ำหนักของมันอัดเม็ดและน้ำหนักรถเกิน1,200กิโลกรัมจำเลยจึงต้องขับรถยนต์บรรทุกด้วยความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ80กิโลเมตรและถ้าโคมไฟแสงพุ่งไกลของรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับมีแสงสว่างเห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า100เมตรจำเลยจะต้องมอบเห็นรถยนต์โดยสารจอดอยู่ในระยะไม่น้อยกว่า100เมตรเมื่อจำเลยเห็นรถยนต์โดยสารจอดอยู่ในขณะเดียวกันมีรถยนต์บรรทุกแล่นสวนมาซึ่งจำเลยไม่อาจจะหักหลบรถยนต์โดยสารได้จำเลยก็ต้องเหยียบห้ามล้อถ้าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกมาด้วยความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ80กิโลเมตรรถยนต์บรรทุกก็ย่อมจะหยุดได้โดยไม่เฉี่ยวชนรถยนต์โดยสารการที่จำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกมาด้วยความเร็วมากมีฝนตกและเป็นทางโค้งซึ่งโดยวิสัยของผู้ขับรถจะต้องชะลอความเร็วของรถลงกว่าปกติแต่จำเลยที่1หาได้ชะลอความเร็วของรถยนต์บรรทุกไม่เป็นการไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในภาวะเช่นนั้นจำเลยที่1จึงมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย ที่จำเลยทั้งสองฎีกาในเรื่องค่าเสียหายว่ารถยนต์โดยสารของโจทก์ไม่ได้ซ่อมโจทก์ตีราคาเองสูงเกินไปตามสภาพรถยนต์โดยสารสามารถซ่อมได้ในราคา90,000บาทนั้นฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค1ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรและที่ถูกควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การฟ้องคดีก่อนกำหนด, การละเมิด, การป้องกันความเสียหาย, การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าตามรายงานประจำวันกำหนดให้จำเลยปฎิบัติตามข้อตกลงภายในวันที่30เมษายน2534โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้องดังนั้นข้อที่จำเลยฎีกาว่ารายงานประจำวันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยโดยมิชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามรายงานประจำวันจำเลยรับว่าจะดำเนินการป้องกันความเสียหายแก่ที่ดินของโจทก์โดยจะทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่30เมษายน2534และรับว่าจะไม่ขุดดินในแนวสโลปอีกแต่หลังจากทำบันทึกตามรายงานประจำวันดังกล่าวเมื่อวันที่24มิถุนายน2531แล้วจำเลยไม่ปฎิบัติตามข้อตกลงในรายงานประจำวันดังกล่าวโดยยังกลับขุดดินทำให้ที่ดินของโจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ขึ้นอีกโจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ ตามรายงานประจำวันระบุว่าจำเลยยอมรับผิดชอบในความเสียหายในเนื้อที่ดินของฝ่ายโจทก์และผู้เสียหายรายอื่นทุกแปลงและจะกระทำการต่างๆเพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของดินฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการนำดินมาถมและทำคันดินก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินของฝ่ายโจทก์อีกถือได้ว่าตรงตามความประสงค์ของคู่กรณีในรายงานประจำวันดังกล่าวจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นหมดสิ้นไปและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงในรายงานประจำวันและการละเมิด: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า ตามรายงานประจำวันกำหนดให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงภายในวันที่ 30 เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้นข้อที่จำเลยฎีกาว่ารายงานประจำวันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัย แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยโดยมิชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาล-อุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามรายงานประจำวัน จำเลยรับว่าจะดำเนินการป้องกันความเสียหายแก่ที่ดินของโจทก์โดยจะทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 เมษายน 2534 และรับว่าจะไม่ขุดดินในแนวสโลปอีก แต่หลังจากทำบันทึกตามรายงานประจำวันดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2531 แล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในรายงานประจำวันดังกล่าว โดยยังกลับขุดดินทำให้ที่ดินของโจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ขึ้นอีก โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้
ตามรายงานประจำวันระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชอบในความเสียหายในเนื้อที่ดินของฝ่ายโจทก์และผู้เสียหายรายอื่นทุกแปลง และจะกระทำการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของดิน ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการนำดินมาถมและทำคันดินก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินของฝ่ายโจทก์อีก ถือได้ว่าตรงตามความประสงค์ของคู่กรณีในรายงานประจำวันดังกล่าวจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นหมดสิ้นไปและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว
ตามรายงานประจำวัน จำเลยรับว่าจะดำเนินการป้องกันความเสียหายแก่ที่ดินของโจทก์โดยจะทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 เมษายน 2534 และรับว่าจะไม่ขุดดินในแนวสโลปอีก แต่หลังจากทำบันทึกตามรายงานประจำวันดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2531 แล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในรายงานประจำวันดังกล่าว โดยยังกลับขุดดินทำให้ที่ดินของโจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ขึ้นอีก โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้
ตามรายงานประจำวันระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชอบในความเสียหายในเนื้อที่ดินของฝ่ายโจทก์และผู้เสียหายรายอื่นทุกแปลง และจะกระทำการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของดิน ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการนำดินมาถมและทำคันดินก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินของฝ่ายโจทก์อีก ถือได้ว่าตรงตามความประสงค์ของคู่กรณีในรายงานประจำวันดังกล่าวจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นหมดสิ้นไปและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายราชการโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการละเมิดต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณ
ศูนย์ประสานงานทหารกองหนุนแห่งชาติ(ศูนย์กนช.กอ.รมน.)ยินยอมให้จำเลยที่1นำชื่อกลุ่มสมาชิกกนช.มัคคุเทศก์และเครื่องหมายราชการไปใช้ได้ในขณะเปิดที่ทำการของจำเลยที่1ที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ดังนี้การกระทำของจำเลยทั้งสองขณะนั้นจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองนำชื่อดังกล่าวไปใช้ทำให้โจทก์เสียหายโจทก์ย่อมยกเลิกความยินยอมนั้นเสียเมื่อใดก็ได้เมื่อโจทก์ยกเลิกแล้วจำเลยทั้งสองก็ไม่อาจจะใช้ชื่อและเครื่องหมายดังกล่าวได้อีกต่อไปดังนี้การที่โจทก์บอกให้จำเลยทั้งสองยกเลิกเพิกถอนการใช้ชื่อและเครื่องหมายราชการของโจทก์แล้วแต่จำเลยทั้งสองยังคงใช้ชื่อ"กลุ่มสมาชิกกนช."เป็นชื่อของจำเลยที1และยังคงนำเอาเครื่องหมายราชการรูปคันไถเปลวเพลิงดาบปลายปืนล้อมรอบด้วยสามเหลี่ยมและวงกลมของศูนย์กนช.กอ.รมน.ดังกล่าวซึ่งเป็นของโจทก์ไปติดไว้ที่ป้ายชื่อที่ทำการของจำเลยที่1ที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ต่อไปอีกโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ย่อมเป็นการแอบอ้างอาศัยชื่อหน่วยงานของโจทก์ไปใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในกิจการของตนและเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเพื่อหลอกลวงประชาชนทั่วไปและหน่วยราชการต่างๆให้เกิดความเข้าใจผิดว่าศูนย์ดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนราชการของโจทก์มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการค้าด้านธุรกิจการท่องเที่ยวของจำเลยที่1เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา423 โจทก์เป็นส่วนราชการมิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวอย่างไรก็ดีเมื่อจำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์เสียหายศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา438แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลังจากที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองยกเลิกเพิกถอนการใช้ชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดกลุ่มสมาชิกกนช.มัคคุเทศก์และเครื่องหมายราชการของโจทก์แล้วจำเลยทั้งสองก็ยังคงใช้ชื่อและเครื่องหมายราชการดังกล่าวโดยนำไปติดไว้ที่ป้ายชื่อที่ทำการของจำเลยที่1ต่อมาโจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาแม้ขณะยื่นคำฟ้องการกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมเป็นการละเมิดต่อเนื่องกันตลอดมาคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ การละเมิดชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นบทบัญญัติมาตรา423และ447แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่การนั้นและศาลอาจสั่งให้ผู้กระทำละเมิดจัดการตามควรเพื่อให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีเท่านั้นที่โจทก์ขอให้เพิกถอนทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1เป็นกรณีที่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้ให้ความคุ้มครองไว้ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ถอนคำขอดังกล่าวได้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดกลุ่มสมาชิกกนช.มัคคุเทศก์จำเลยที่1และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงไม่ชอบศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดชื่อเสียงและเครื่องหมายราชการ กรณีการใช้ชื่อและเครื่องหมายโดยไม่ได้รับอนุญาตหลังบอกเลิกความยินยอม
ศูนย์ประสานงานทหารกองหนุนแห่งชาติ (ศูนย์ กนช.กอ.รมน.)ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำชื่อกลุ่มสมาชิก กนช.มัคคุเทศก์และเครื่องหมายราชการไปใช้ได้ในขณะเปิดที่ทำการของจำเลยที่ 1 ที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ดังนี้การกระทำของจำเลยทั้งสองขณะนั้นจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองนำชื่อดังกล่าวไปใช้ ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ย่อมยกเลิกความยินยอมนั้นเสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ยกเลิกแล้ว จำเลยทั้งสองก็ไม่อาจจะใช้ชื่อและเครื่องหมายดังกล่าวได้อีกต่อไป ดังนี้ การที่โจทก์บอกให้จำเลยทั้งสองยกเลิกเพิกถอนการใช้ชื่อและเครื่องหมายราชการของโจทก์แล้ว แต่จำเลยทั้งสองยังคงใช้ชื่อ "กลุ่มสมาชิก กนช." เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และยังคงนำเอาเครื่องหมายราชการรูปคันไถ เปลวเพลิง ดาบปลายปืนล้อมรอบด้วยสามเหลี่ยมและวงกลมของศูนย์ กนช.กอ.รมน.ดังกล่าวซึ่งเป็นของโจทก์ไปติดไว้ที่ป้ายชื่อที่ทำการของจำเลยที่ 1 ที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ต่อไปอีกโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ย่อมเป็นการแอบอ้าง อาศัยชื่อหน่วยงานของโจทก์ไปใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในกิจการของตน และเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเพื่อหลอกลวงประชาชนทั่วไป และหน่วยราชการต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจผิดว่าศูนย์ดังกล่าว ซึ่งเป็นส่วนราชการของโจทก์มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการค้าด้านธุรกิจการท่องเที่ยวของจำเลยที่ 1 เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 423
โจทก์เป็นส่วนราชการ มิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี เมื่อจำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ต้องเสียหาย ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 438 แห่ง ป.พ.พ.
หลังจากที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองยกเลิกเพิกถอนการใช้ชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดกลุ่มสมาชิก กนช.มัคคุเทศก์ และเครื่องหมายราชการของโจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองก็ยังคงใช้ชื่อและเครื่องหมายราชการดังกล่าวโดยนำไปติดไว้ที่ป้ายชื่อที่ทำการของจำเลยที่ 1 ต่อมา โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาแม้ขณะยื่นคำฟ้อง การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมเป็นการละเมิดต่อเนื่องกันตลอดมา คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การละเมิดชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น บทบัญญัติมาตรา 423 และ 447 แห่ง ป.พ.พ.กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น และศาลอาจสั่งให้ผู้กระทำละเมิดจัดการตามควรเพื่อให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีเท่านั้นที่โจทก์ขอให้เพิกถอนทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้ให้ความคุ้มครองไว้ ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ถอนคำขอดังกล่าวได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดกลุ่มสมาชิก กนช.มัคคุเทศก์จำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงไม่ชอบศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
โจทก์เป็นส่วนราชการ มิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี เมื่อจำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ต้องเสียหาย ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 438 แห่ง ป.พ.พ.
หลังจากที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองยกเลิกเพิกถอนการใช้ชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดกลุ่มสมาชิก กนช.มัคคุเทศก์ และเครื่องหมายราชการของโจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองก็ยังคงใช้ชื่อและเครื่องหมายราชการดังกล่าวโดยนำไปติดไว้ที่ป้ายชื่อที่ทำการของจำเลยที่ 1 ต่อมา โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาแม้ขณะยื่นคำฟ้อง การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมเป็นการละเมิดต่อเนื่องกันตลอดมา คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การละเมิดชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น บทบัญญัติมาตรา 423 และ 447 แห่ง ป.พ.พ.กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น และศาลอาจสั่งให้ผู้กระทำละเมิดจัดการตามควรเพื่อให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีเท่านั้นที่โจทก์ขอให้เพิกถอนทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้ให้ความคุ้มครองไว้ ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ถอนคำขอดังกล่าวได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดกลุ่มสมาชิก กนช.มัคคุเทศก์จำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงไม่ชอบศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้